ค่าแรงขั้นต่ำ อาเซียน 2565

ประเทศแถบอาเซียนพากันปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานไทยกลับถูกแช่แข็งไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงมา 2 ปี อัตราค่าแรงขั้นต่ำสูงสุดยังคงอยู่ที่ 336 บาทต่อวัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า หลังรัฐประหาร 2557 จนถึงปี 2564 ประเทศไทยมีราคาอาหารเพิ่มขึ้น 55.9 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มขึ้นปีละ 6.5 เปอร์เซ็นต์

 

14 ก.ค. 2565 เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเกาหลีใต้ประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มอีก 5 เปอร์เซ็นต์ในปีหน้า เป็นชั่วโมงละ 9,260 วอน (262 บาท) หรือประมาณ 2,080 บาทต่อวัน เพื่อรองรับอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานภายในประเทศ โดยให้มีผลบังคับใช้ในเดือน มกราคม 2566 เป็นต้นไป นอกจากเกาหลีใต้แล้ว ประเทศในแถบอาเซียนอีกหลายประเทศต่างประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อาทิ อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา และลาว

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมา สำนักนายกรัฐมนตรีของลาวประกาศขึ้นค่าแรงรายเดือนขั้นต่ำเป็น 1.2 ล้านกีบ หรือราว 2,800 บาท และในวันที่ 1 พ.ค. ปีหน้าจะขยับขึ้นเป็น 1.3 ล้านกีบ หรือราว 3,000 บาท เพื่อเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศให้กลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาลาวมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 12.8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 18 ปี

ขณะที่เวียดนามประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 6 เปอร์เซ็นต์ทั่วประเทศเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (1 ก.ค. 2565) ถือเป็นการปรับขึ้นค่าแรงในรอบ 2 ปีครึ่ง ทำให้ตอนนี้ค่าจ้างขั้นต่ำของเวียดนามอยู่ที่ราว 234 บาทต่อวัน นายกรัฐมนตรีของเวียดนามได้ลงนามในข้อตกลงของสภาค่าจ้างแห่งชาติ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมระหว่างภาครัฐ ตัวแทนแรงงาน และตัวแทนนายจ้าง แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านจากภาคธุรกิจ เนื่องจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 2.86 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน

กัมพูชาประกาศเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้แรงงานในภาคผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า เดือนละ 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 67 บาท) เป็น 194 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 6,540 บาทต่อเดือน) มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมกราคม 2565

  • กัมพูชาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำภาคผลิตเสื้อผ้าอีก 2 ดอลลาร์ฯ มีผล ม.ค. 2565

ในปี 2565 อินโดนีเซียมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มจากปีก่อน TODAY Bizivew รายงานว่า ขณะนี้อินโดนีเซียมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 220 บาทต่อวัน (เป็นค่าแรงขั้นต่ำรายเดือนหาร 20 วัน)

ส่วนมาเลเซียเป็นประเทศที่มีการขยับเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำสูงเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียนในช่วงโควิด-19 โดยเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา (วันแรงงาน) มาเลเซียปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 35 เปอร์เซ็นต์ จาก 1,100 ริงกิต หรือราว 8,600 บาทต่อเดือน เป็น 1,500 ริงกิต หรือราว 12,000 บาทต่อเดือน เพื่อเร่งฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงโควิด-19 โดยการปรับขึ้นครั้งนี้พิจารณาจากเส้นแบ่งความยากจน ค่าครองชีพ รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ

ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำสูงสุดอยู่ที่ 336 บาทต่อวัน ในจังหวัดชลบุรีและภูเก็ต ส่วนกรุงเทพฯ มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 331 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำที่มีการประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) เท่ากับว่าประเทศไทยไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างเฉพาะแรงงานตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา ในอัตรา 400-650 บาท เพื่อส่งเสริมให้ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน

Rocket Media Lab เปิดเผยข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า หลังรัฐประหาร 7 ปี นับตั้งแต่พฤษภาคม 2557 จนถึงปี 2564 ประเทศไทยมีราคาอาหารเพิ่มขึ้น 55.9 เปอร์เซ็นต์ หรือหากเทียบต่อปีเท่ากับเพิ่มขึ้นปีละ 6.5 เปอร์เซ็นต์ และเหตุผลที่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยปรับขึ้นยาก เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ต้องผ่านคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคี โดยคณะกรรมการเหล่านี้มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 มีปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนฝ่ายรัฐบาล 4 คน ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละ 5 คน รวม 15 คน แน่นอนว่าทุกครั้งทีมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือเพิ่มค่าแรง จะต้องเห็นชอบ 2 ใน 3 เสียง จึงเกิดการตั้งคำถามว่าในกระบวนการนี้มีความเสมอภาคหรือไม่

ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดของประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ 7.66 เปอร์เซ็นต์ ราคาสินค้าปรับตัวแพงขึ้นจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม กิริฎา เภาพิจิตร เคยทำงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสให้กับธนาคารโลก ให้สัมภาษณ์กับบีบีซี ไทย ว่า “เทรนด์ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นจึงเห็นได้ตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามรัสเซียยูเครนแล้ว” และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อ เป็นแนวคิดเดียวกับธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือ เฟด

  • ครม. เคาะปรับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา
  • ของแพง แต่ค่าแรงไม่ขึ้น? สำรวจค่าแรงขั้นต่ำทั่วโลก และไทย ทำไมถึงยังไม่ขึ้นค่าแรง
  • 'ค่าจ้างต่ำ ค่าครองชีพสูง' ความจำยอมของคนเป็นแรงงาน

ในวันแรงงานที่ผ่านมา ด้านเครือข่ายแรงงานหลายแห่งมีการเรียกร้องให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 492 บาททั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น

ต้นปี 2564 มานี้ อัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศในภูมิภาคอาเซียนถูกปรับเพิ่มสูงขึ้นให้สอดคล้องกับสภาพค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ แต่ก็ยังเป็นค่าแรงขั้นต่ำที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชีย และประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนาแล้วในภูมิภาคอื่นของโลก รวมถึงว่าในช่วงการระบาดของโควิด-19 ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศก็ไม่ได้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างมีนัยสำคัญ

เว็บไซต์ aseanbriefing.com ได้รวบรวมอัตราค่าแรงขั้นต่ำประจำปี 2564 ของประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยไม่ได้นับรวมสิงคโปร์และบรูไนดารุสซาลาม เนื่องจากไม่ได้มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเอาไว้

ทั้งนี้ ข้อมูลรายละเอียดของแต่ละประเทศ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนและนักธุรกิจที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจแล้ว อาจจะช่วยทำให้เห็นภาพเงื่อนไขที่มาของอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ท้ายที่สุดจะช่วยส่งเสริม หรือ ไม่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะความเป็นอยู่และการคุ้มครองผู้ใช้แรงงานในแต่ละประเทศด้วย

ข้อมูลค่าแรงขั้นต่ำประจำปี 2564 โดยสรุปของ 8 ประเทศ มีดังนี้

● ประเทศไทย – ค่าแรงขั้นต่ำต่อวันอยู่ระหว่าง 313 บาท (US$10.03) ถึง 336 บาท(US$10.77) แตกต่างไปตามแต่ละจังหวัด

ค่าแรงขั้นต่ำ อาเซียน 2565

● ลาว – ยังไม่ได้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำมาตั้งแต่ปี 2561 โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับปี 2564 ยังอยู่ที่ 1.1 ล้านกีบ (US$116) ส่วนการหารือเพื่อกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำนั้น เป็นการหารือไตรภาคีระหว่างสมาชมนายจ้าง องค์กรแรงงาน และผู้แทนจากภาครัฐ

● กัมพูชา – กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมของกัมพูชา (Ministry of Labor and Vocational Training – MLVT) ออกประกาศกระทรวงฉบับที่ 33 (Prakas No. 33) กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 สำหรับแรงงานประจำ (regular workers) อยู่ที่ US$192 เพิ่มจากปี 2563 ที่ US$2 ส่วนอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับแรงงานทดลองงาน (probationary workers) อยู่ที่ US$187

นอกจากนี้ แรงงานยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ได้แก่ ค่าที่พัก US$7 ต่อเดือน โบนัสการเข้างาน US$10 ต่อเดือน ค่าอาหาร US$0.5 ต่อวัน โดยแรงงานที่ทำงานเป็นปีที่ 2 ถึงปีที่ 11 จะได้รับค่าทำงานล่วงเวลาและโบนัสตามความอาวุโส (seniority bonus) ระหว่าง US$2 ถึง US$11

ประกาศกระทรวงดังกล่าวยังได้กำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานที่ทำงานเป็นชิ้น โดยจะจ่ายตามจำนวนสินค้า อาทิ เสื้อผ้า และรองเท้า ที่ผลิตได้

● เมียนมา – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันในเมียนมาจะมีการปรับทุก 2 ปี และการหารือครั้งล่าสุด ตามกำหนดคือจะต้องเริ่มเมื่อกลางปี 2563 แต่เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 (รวมถึงเหตุการณ์ทางการเมือง) ทำให้การหารือดังกล่าวต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

โดยหากยึดตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันตามเดิม จะอยู่ที่ 4,800 จ๊าด (US$3.07) สำหรับการทำงานเป็นเวลา 8 ชั่วโมง และตามแผนการเดิมจะมีการเสนอให้ปรับเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็น 7,200 จ๊าด (US$4.62)

  • ค่าแรงขั้นต่ำ อาเซียน 2565
    ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของเวียดนาม 2564
  • ค่าแรงขั้นต่ำ อาเซียน 2565
    ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของมาเลเซีย 2564
  • ค่าแรงขั้นต่ำ อาเซียน 2565
    ค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนของอินโดนีเซีย 2564
  • ค่าแรงขั้นต่ำ อาเซียน 2565
    ค่าแรงขั้นต่ำต่อวันของฟิลิปปินส์ 2564

● เวียดนาม – สภาพเศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในปี 2564 ยังคงเป็นอัตราเดิมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 และจะมีการปรับอีกครั้งวันที่ 1 กรกฎาคม 2564* ทั้งนี้ อัตราค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามยังแตกต่างกันไปตาม 4 ภูมิภาคของประเทศ โดยที่ภูมิภาคที่ 1 (พื้นที่เมืองของฮานอยและกรุงโฮจิมินห์) เป็นภูมิภาคที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนมากที่สุด ที่ 4,200,000 ดง (US$181) ขณะที่ภูมิภาคที่ 4 เป็นภูมิภาคที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำน้อยที่สุด ที่ 3,070,000 ดง (US$132)

นอกจากนี้ พนักงานที่ผ่านการอบรมวิชาชีพมาแล้วจะต้องได้รับค่าแรงอย่างน้อย 7% มากกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำของภูมิภาคนั้นด้วย

● มาเลเซีย – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในเมืองหลัก 56 เมืองอยู่ที่ 1,200 ริงกิต (US$291) ส่วนอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนในเมืองชนบทและพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่เมือง อยู่ที่ 1,100 ริงกิต (US$266) โดยคาดว่าภายในปี 2564 นี้จะมีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันมากที่สุด

● อินโดนีเซีย – กระทรวงแรงงานของอินโดนีเซีย (Ministry of Manpower) ออกหนังสือเวียนเลขที่ M/11/HK.04/X/2020 เมื่อปลายเดือนตุลาคม ปี 2563 ระบุให้ในปี 2564 ยังคงอัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนไว้คงเดิม เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโรคระบาด อย่างไรก็ดี มีจังหวัด 5 จังหวัด (จาการ์ตา ซูลาเวซีใต้ ชวากลาง ชวาตะวันออก และยอคยาการ์ต้า) จาก 34 จังหวัดที่ตัดสินใจปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสำหรับปี 2564 นี้ ซึ่งตามระเบียบของทางราชการที่ GR 78/2015 กำหนดให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่นคำนวณอัตราค่าแรงขั้นต่ำเองได้ โดยมีสูตรคือ

เงินเฟ้อของประเทศ + การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ = เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ

โดยสำหรับค่าแรงขั้นต่ำต่อเดือนสำหรับเมืองหลวงจาร์กาตานั้น อยู่ที่ 4,416,186 รูเปียห์ (US$306)

● ฟิลิปปินส์ – อัตราค่าแรงขั้นต่ำต่อวันประจำปี 2564 ของฟิลิปปินส์แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค โดยอยู่ระหว่าง 316 เปโซ (US$6.57) ถึง 537 เปโซ (US$11.17) ส่วนการหารือเพื่อกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำนั้น เป็นการหารือไตรภาคีของคณะกรรมการ National Wages and Productivity Commission ซึ่งมีอยู่ประจำในทุกภูมิภาค

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ระบุว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ผ่านการหารือและกำหนดไว้อย่างเหมาะสมจะช่วยตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน #SDG8 ด้านการจ้างงานที่มีคุณค่าและสิทธิแรงงาน โดยที่หากกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่ยากจนที่สุด มีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการมีนโยบายทางการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคม ก็จะช่วยให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมในสังคมขึ้น เป็นการลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศตาม #SDG10

แต่หากค่าแรงขั้นต่ำไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจแล้ว ย่อมส่งผลต่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 การขจัดความยากจน
#SDG8 การเติบโตทางเศรษฐกิจและงานที่มีคุณค่า
-(8.5) ส่งเสริมการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี 2573
-(8.8) ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะแรงงานหญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศและระหว่างประเทศ
-(10.1) ส่งเสริมการเติบโตของรายได้ในกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่ยากจนที่สุดอย่างต่อเนื่อง ในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ภายในปี 2573
-(10.4) เลือกใช้นโยบาย โดยเฉพาะนโยบายการคลัง ค่าจ้าง และการคุ้มครองทางสังคม และให้บรรลุความเสมอภาคยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แหล่งที่มา:
Minimum Wages in ASEAN for 2021 (ASEANBriefing) – ข้อมูลล่าสุดเมื่อเมษายน 2564
Minimum wages: an introduction (ILO)

Last Updated on มกราคม 12, 2022

ค่าแรงขั้นต่ำ อาเซียน 2565

Thiraphon Singlor

Editor | อยากรู้ความคิดของคนต่างพื้นเพ ต่างสังคมและวัฒนธรรม สนใจความเป็นไปของโลก ความมั่นคง และการพัฒนา แล้วนำมาถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องราวเล่าให้ฟัง