เป็นประจำเดือน 2 ครั้งใน 1 เดือน

“ประจำเดือน” คือเยื่อบุของโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ในปกติผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน และแต่ละรอบจะยาวนานราว 2-7 วัน หากประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีความผิดปกติอะไรบ้างอย่าง อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้

เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เป็นอย่างไร?

อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด สามารถแบ่งผู้ป่วยได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ยังไม่ควรจะมีประจำเดือน เช่น เด็ก หรือวัยรุ่นผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน กับ กลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ในสองกลุ่มนี้ถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอด ถือว่ามีความผิดปกติ

สำหรับกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เลือดประจำเดือนที่ผิดปกติ อาจพบได้ ดังนี้

  1. เลือดประจำเดือนมีปริมาณมากกว่าปกติ ทั้งในแง่ของปริมาณ และระยะเวลาที่มีประจำเดือน
  2. มีเลือดออกมานอกรอบประจำเดือน

สาเหตุของเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

  1. รังไข่ทำงานผิดปกติ
  2. ใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนผู้หญิงทดแทนในวัยหมดประจำเดือน
  3. ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
  4. โรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคเนื้องอกในมดลูกที่สามารถพบได้บ่อย รวมถึงมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

เลือดออกผิดปกติในช่องคลอดอย่างไร ควรมาพบแพทย์

  1. ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือน (ยังไม่มี หรือหมดแล้ว) แต่มีเลือดออกทางช่องคลอด เช่น ในเด็ก หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  2. ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีประจำเดือนปกติ แต่มีเลือดออกนอกรอบประจำเดือนด้วย หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
  3. มีประจำเดือนในปริมาณที่มากขึ้น หรือมีระยะเวลาของประจำเดือนนานขึ้น สังเกตได้จากการที่ใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 4 แผ่นชุ่มๆ ต่อวัน หรือมีประจำเดือนในแต่ละรอบมากกว่า 7 วัน ซึ่งทำให้มีอาการเหนื่อย เพลีย หลังมีประจำเดือนจากภาวะโลหิตจางได้

การตรวจวินิจฉัยโรค เมื่อมีเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด

แพทย์จะทำการซักประวัติถึงอาการที่เป็นอยู่เพื่อหาสาเหตุอย่างคร่าวๆ จากนั้นในบางรายที่มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ แพทย์อาจขอตรวจภายใน และอาจจะต้องมีการตรวจเซลล์ของปากมดลูกที่เรียกว่า Pap smear เพื่อตรวจคัดกรองภาวะมะเร็งปากมดลูก (แนะนำให้ตรวจทุกๆ 2-3 ปี ในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง แต่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ติดเชื้อ HIV แพทย์จะแนะนำให้ตรวจทุกปี)ในบางกรณี แพทย์อาจขอตรวจเยื่อบุโพรงมดลูก โดยการขูดมดลูก หรือเอาเซลล์ของมดลูกมาตรวจ ในกรณีที่แพทย์อาจสงสัยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกหรือไม่ แพทย์อาจขอตรวจอัลตร้าซาวนด์ หรือที่เรียกว่าการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และในกรณีที่จะตรวจระดับฮอร์โมน แพทย์อาจขอเจาะเลือดตรวจ ซึ่งนอกจากจะตรวจระดับฮอร์โมนแล้ว ยังสามารถตรวจภาวะโลหิตจางได้ด้วย

การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด

ถ้าอาการที่เกิดขึ้นเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของรังไข่ แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยา เพื่อควบคุมการทำงานของรังไข่ แต่ถ้ามีเนื้องอกในมดลูก หรือมีมะเร็งของระบบสืบพันธุ์ อาจรักษาด้วยการผ่าตัด หรือใช้รังสีรักษา สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด สามารถเข้ารับคำปรึกษาที่แพทย์แผนกสูตินรีเวช

ประเด็นสำคัญในบทความ

  • มีรายงานทั่วโลกเกี่ยวกับรอบเดือนของผู้คนที่เปลี่ยนไปหลังจากการติดเชื้อโควิดและการฉีดวัคซีนต้านโควิด
  • ในขณะที่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “น่าจะมีความเชื่อมโยง" ระหว่างโควิดกับการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือนในผู้หญิง

 ผู้คนทั่วโลกได้รายงานว่าถึงการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนหรือประจำเดือนหลังจากติดเชื้อโควิด-19 หรือได้รับการฉีดวัคซีน

สำหรับบางคน ระยะห่างของรอบเดือนนั้นเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่บางคนพบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดประจำเดือน มีการตกเลือดอย่างต่อเนื่อง และระดับการปวดประจำเดือนที่เพิ่มขึ้น

นี่คือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญรู้จนถึงขณะนี้ว่า เหตุใดรอบเดือนของคนบางคนจึงเปลี่ยนแปลงไปหลังติดโควิด การเปลี่ยนแปลงใดที่ถือว่า "ปกติ" และเมื่อใดควรขอความช่วยเหลือ

มีหลักฐานหรือไม่ว่าโควิดอาจทำให้ประจำเดือนของเราเปลี่ยนแปลงไป?

ในขณะที่หลักฐานจากเรื่องเล่าระบุว่า มีผู้คนจำนวนมากที่มีระยะห่างของประจำเดือนเปลี่ยนแปลงหลังการติดเชื้อโควิด-19 หรือหลังการฉีดวัคซีน นักวิจัยจึงกำลังพยายามอย่างหนักที่จะระบุหาสาเหตุหลักที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้

ดร.ไมค์ อาร์เมอร์ นักวิจัยอาวุโสด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ซิดนีย์ กล่าวว่า นั่นเป็นเพราะว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาใดที่ใช้กลุ่มควบคุม (control group) ที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ได้รับวัคซีน

“เห็นได้ชัดว่านั่นจะทำให้เราสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น” ดร.อาร์เมอร์ บอกกับเอสบีเอสนิวส์

อย่างไรก็ตาม ดร.อาร์เมอร์ กล่าวว่ามีหลักฐานเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่ "น่าจะเป็นไปได้" ของการติดเชื้อโควิดและวัคซีนกับการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนในคนบางคน

พญ.ปาฟ นานายักการา ผู้ชำนาญโรคเฉพาะสตรีและศัลยแพทย์ด้านการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ที่ศูนย์สุขภาพสตรี จีน เฮลส์ (Jean Hailes for Women's Health) กล่าวว่า มีข้อสันนิษฐานหลัก 2 ข้อว่าเหตุใดสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

“มันอาจจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน โดยวัคซีนหรือการติดเชื้อส่งผลต่อฮอร์โมน หรือกลไกที่ 2 คือเป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน คือการอักเสบซึ่งเกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิคุ้มกันในเยื่อบุมดลูก ซึ่งมีศักยภาพที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน” พญ. นานายักการา กล่าว

“เราทราบดีว่าผู้หญิงที่ทั้งใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมหรือผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิด ได้รายงานการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยที่จะมาจากการตอบสนองทางฮอร์โมน แต่น่าจะมาจากการอักเสบมากกว่า”

เป็นประจำเดือน 2 ครั้งใน 1 เดือน

พญ.ปาฟ นานายักการา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนหลังติดโควิด มีกลับไปเป็นปกติเมื่อผ่านไป 2-3 รอบเดือน Source: Supplied / Jean Hailes for Women's Health

ดร. อาร์เมอร์เห็นด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้น่าเชื่อมโยงกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของบุคคล

"ตัววัดระดับการอักเสบเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของสิ่งต่างๆ เช่น อาการก่อนมีประจำเดือน" ดร. อาร์เมอร์ กล่าว

"ดังนั้น ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นไปได้คือทั้งตัวเชื้อโควิดเองและวัคซีนโควิดทำให้เกิดภาวะอักเสบซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง"

การเปลี่ยนแปลงใดเกี่ยวกับประจำเดือนที่ถือว่า 'ปกติ'

แม้ว่าประจำเดือนของแต่ละคนจะมีลักษณะ "ค่อนข้างเฉพาะตัว" แต่ดร. อาร์เมอร์กล่าวว่ารอบเดือนที่มีระยะห่างทุกๆ 24 ถึง 35 วันนั้น "ค่อนข้างปกติ"

นั่นหมายความว่า หลังจากคุณติดเชื้อโควิด-19 หรือได้รับการฉีดวัคซีนแล้วหากประจำเดือนของคุณมาเร็วกว่าหรือช้ากว่าปกติ 2-3 วัน คุณก็ไม่ควรวิตก

ดร. อาร์เมอร์กล่าวว่า ปริมาณของเลือดประจำเดือนที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ หรือมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มักมีรายงานเข้ามา ซึ่งคุณไม่ควรตื่นตระหนก

“ที่สำคัญคือ ผู้คนจำนวนมากรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นกลับมาเป็นปกติอีกครั้งหลังจากผ่านไป 2-3 รอบเดือน” พญ.ปาฟ นานายักการา กล่าว

"ในขั้นนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผลใดๆ ต่ออัตราการเจริญพันธุ์หรืออัตราการตั้งครรภ์ในอนาคต"

เมื่อใดที่เราควรปรึกษาแพทย์

ดร. อาร์เมอร์ กล่าวว่า ผู้ใดที่มีอาการปวดประจำเดือนอย่างต่อเนื่อง มีเลือดออกต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือตกขาวที่มีสีเปลี่ยนไป ควรปรึกษาแพทย์

“ผมคิดว่า ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า” ดร. อาร์เมอร์ กล่าว

"เราไม่ต้องการให้ผู้คนเพิกเฉยโดยมองว่ามันแค่อาการที่เกี่ยวข้องกับโควิด"

เป็นประจำเดือน 2 ครั้งใน 1 เดือน

ดร.ไมค์ อาร์เมอร์ นักวิจัยอาวุโสด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ซิดนีย์ Source: SBS / Insight

พญ.ปาฟ นานายักการา เห็นด้วย โดยกล่าวว่าผู้คนควรปรึกษาแพทย์หากพบการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับรอบเดือนที่ทำให้พวกเขากังวล

"อาจเป็นอาการมีเลือดออกมาก เช่นเต็มผ้าอนามัยภายในหนึ่งชั่วโมง หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ออกมา หรือหากคุณสังเกตเห็นว่าประจำเดือนมาบ่อยขึ้น หรือคุณไม่มีประจำเดือนมาสักระยะแล้ว จากเป็นเช่นนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตัดสาเหตุอื่นที่อาจนำไปสู่อาการเหล่านั้นออกไป” พญ.นานายักการา กล่าว

"สิ่งที่แย่ที่สุดคือการที่คุณนั่งอยู่บ้านขณะที่ทุกข์ทรมานอยู่อย่างเงียบๆ รู้สึกกังวล หรือใช้หมอกูเกิลหาข้อมูลเอง ขณะที่ความจริงแล้วมีความช่วยเหลือให้ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าไม่มีอะไรที่คุณต้องกังวล"

พญ.นานายักการา กล่าวว่า การติดต่อแพทย์ของคุณหากคุณพบว่ามีประจำเดือนที่เปลี่ยนไปนั้น อาจยังช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการติดเชื้อโควิด-19 และการฉีดวัคซีน

“ในขั้นนี้ ดูเหมือนว่าความเสี่ยงทั้งหมดจะอยู่ในระยะสั้นมากในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน แต่วิธีเดียวที่เราจะรู้ได้คือ คุณออกมาให้ข้อมูล” พญ.นานายักการา กล่าว

ประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติเกิดจากอะไร

เป็นภาวะที่ประจำเดือนมาเร็วกว่ากำหนดเป็นเวลา 7 วันขึ้นไป ติดต่อกัน 2 รอบ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะชี่พร่อง ระบบชงเริ่นไม่แข็งแรง หรือร่างกายมีภาวะร้อนกระทบระบบชงเริ่น ทำให้มดลูกเก็บกักเลือดไว้ไม่ได้ตามปกติ

ประจําเดือนมาน้อยสุดกี่วัน

อาการประจำเดือนมาน้อย โดยทั่วไป รอบเดือนของผู้หญิงอยู่ในช่วง 21-35 วัน และมีช่วงเวลาที่ประจำเดือนมาแต่ละครั้งประมาณ 3-5 วัน แต่บางรายอาจมีประจำเดือนประมาณ 2-7 วัน ซึ่งเป็นภาวะปกติ โดยเลือดที่ไหลออกมานั้น อาจมีปริมาณมาก ปานกลาง หรือน้อยแตกต่างกันไป

ผู้หญิงจะเป็นประจําเดือนกี่วัน

ประจำเดือนปกติเป็นอย่างไร? ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35วัน) ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

ประจำเดือนมาคร่อมเดือนผิดปกติไหม

ดังนั้น หากประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือมีอาการสงสัยอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนมากระปริบกระปรอย ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ แนะนำมาพบแพทย์สูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจวินิฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดจะดีที่สุดค่ะ