งาน วัด และ ประเมิน ผล การ ศึกษา

 มีหน้าที่

1. ส่งเสริมการวัดและประเมินผลการศึกษา ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง โดยศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีการวัดผล และประเมินผลการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย   ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหาร ครูให้ใช้วิธีการที่หลากหลายในการวัดและประเมินผลในสถานศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  ศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบ วิธีการในการพัฒนาแนวทางการวัดผลกและประเมินผลในสถานศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย  จัดทำคู่มือการวัดผลเทียบโอนผลการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

2. ส่งเสริมเสริมและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษา ได้แก่ รวบรวมเครื่องมือการวัดและประเมินผลการศึกษา ศึกษา วิเคราะห์ เครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่มีผู้จัดทำแล้ว คัดเลือกให้เหมาะสมกับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ครอบคลุมด้านต่อไปนี้   (1) เครื่องมือวัดและประเมินผลตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ (2)  เครื่องมือวัดผลและประเมินผลตามประเภทของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (3) เครื่องมือวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง (4) เครื่องมือวัดผลและประเมินผลคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ (5) เครื่องมือวัดผลและประเมินผลความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และการเขียน สื่อความ (6)  บริการเครื่องมือวัดและประเมินผลทางการศึกษาแก่สถานศึกษา

3. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล การวัดและประเมินผลการศึกษา ได้แก่ (1) ศึกษา วิเคราะห์ แนวทาง ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา  (2) ดำเนินการ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา (3)  จัดทำรายงาน การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา (4)เผยแพร่ผล การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการศึกษา

4.  จัดสอบทางการศึกษา  ได้แก่  ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เกี่ยวกับระบบ วิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผล การศึกษา  วางแผนการทดสอบทางการศึกษา ให้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่มสาระของสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กำหนดแนวทางในการทดสอบทางการศึกษา ให้สอดคล้องตามที่กระทรวงศึกษาธิการและสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติกำหนด   ประสานความร่วมมือกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  ดำเนินการทดสอบทางการศึกษาและให้บริการสอบวัดความรู้ ความสามารถให้กับนักเรียน  พัฒนาคลังข้อสอบมาตรฐานการศึกษา  จัดสร้างโปรแกรมเก็บข้อมูลคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนทุกกลุ่มสารระการเรียนรู้

1. ควบคุมดูแล การวัดและประเมินผลของโรงเรียนทั้งหมด
2. จัดทำแผนงานวัดผล เสนองบประมาณค่าใช้จ่าย งานวัดผล จัดทำแผนปฏิบัติการงานวัดผล เสนอปฏิทินงานด้านวัดผล จัดทำระเบียนแนวปฏิบัติ  กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานด้านการวัดผลและประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
3. ควบคุมดูแลติดตามงานด้านการวัดผล ให้มีการปฎิบัติจัดทำให้เป็นไปแผน ตามปฏิทินการปฎิบัติงานให้ทันตามเวลาที่กำหนด
4. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุ ครุภัณฑ์ จัดทำแบบพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานวัดผลทั้งหมด รับผิดชอบวัสดุ ครุภัณฑ์ ของงานวัดผลทั้งหมดและประเมินผลการเรียน เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้า
5. จัดจ้างพิมพ์สมุดประเมินผลรายวิชา และแบบฟอร์มต่าง ๆ ให้บริการแบบพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานวัดผล และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้มีอย่างครบถ้วนและเพียงพอ
6. สร้างและปรับปรุงเครื่องมือวัดผลการเรียน ประสานงานจัดให้ความรู้แก่ครูผู้สอนในด้านการสร้างเครื่องมือวัดผล ที่เป็นไปตามจุดประสงค์รายวิชา  จัดให้มีการให้ความรู้ การวิเคราะห์เครื่องมือวัดผล และให้ครูผู้สอนทำการวิเคราะห์ และนำผลการวิเคราะหฺ์ไปปรับปรุงเครื่องมือวัดผลให้มีประสิทธิภาพต่อไป
7. การดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐานการวัดและประเมินผลการเรียน ได้แก่ แบบทดสอบ หลักฐานการเก็บคะแนน แบบอนุมัติผล ปพ. ต่าง ๆ มีหลักฐานเก็บไว้ครบถ้วนและเป็นระบบ
8. ให้ความรู้คำแนะนำการปฏิบัติ เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลแก่ครู นักเรียน ในโรงเรียน
9. รับผิดชอบการจัดให้นักเรียนลงทะเบียนรายวิชาแต่ละภาคเรียน จัดเตรียมใบลงทะเบียนเรียน ประสานงานกับฝ่ายธุรการ ในการลงทะเบียนเรียน ตรวจสอบรายวิชาที่นักเรียนลงทะเบียนเรียนให้ถูกต้องตามแผนการเรีนน เก็บหลักฐานการลงทะเีบียนเรียนเพื่อติดตามแจ้งผลการเรียน
10. ดำเนินการสำรวจนักเรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 เก็บรวบรวมแบบสำรวจรายชื่อนักเรียนที่มีเวลาเรียนเวลาเรียน ไม่ถึงร้อยละ 80 จากครูประจำวิชา นำเสนอผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาประกาศรายชื่อนักเรียนที่ไม่มีสิทธิ์สอบและรายชื่อนักเรียนที่ได้รับผ่อนผันให้เข้าสอบ
11. ดำเนินการจัดทำคำสั่งและตารางสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน จัดเตรียมอุปกรณ์การสอบ เก็บรักษาและเบิกจ่ายข้อสอบระหว่างสอบ ประสานหมวดวิชาให้เก็บรักษาข้อสอบที่ได้สอบแล้ว 1 ภาคเรียน แล้วดำเนินการจำหน่ายให้ถูกต้องตามระเบียบ
12. รวบรวมผลการสอบปลายภาค ใบสรุปผลการเรียนรายวิชา ที่ครูประจำวิชา สรุปผลให้ระดับผลการเรียน นำเสนอผู้อำนวยการเพื่ออนุมัติผลการเรียน และรวบรวมข้อมูลนักเรียนที่สอบไม่ผ่านทุกรายวิชาเพื่อวางแผนในการจัดสอบแก้ตัว
13. สรุปรวบรวมผลการเรียนรายวิชา แยกเป็นห้องเรียน เพื่อให้ครูที่ปรึกษารับไปทำ ต.2 ก. แล้วนำผลไปกรอกสมุดรายงาน และส่งสมุดรายงานให้ผู้อำนวยการลงนาม เพื่อแจ้งผลการเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบต่อไปตามเวลาที่กำหนด
14. กำหนดวันสอบแก้ตัว ดำเนินการรับคำร้องการสอบแก้ตัว
15. จัดเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับงานวัดผล เช่น ใบสรุปผลการเรียนรายวิชา ใบสรุปผลการเรียนรวม ผลการเข้าร่วมกิจกรรม ฯลฯ ให้เป็นระบบเพื่อสะดวกรวดเร็วในการดำเนินงาน
16. จัดเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล เช่น ข้อมูลนักเรียนที่เข้าสอบ ข้อมูลสถิติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา รายหมวดวิชา ข้อมูลสถิตินักเรียนที่สอบไม่ผ่าน ทำกราฟแสดงผลการเรียน จัดทำสารสนเทศงานวัดผลเผยแพร่แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
17. สอนและปฏิบัติงานอื่นตามที่โรงเรียนมอบหมาย