ปัจจัยส่วนประสม ทางการ ตลาด

          กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างตลาดใหม่ที่ไร้การแข่งขัน ทำให้คู่แข่งขันไร้ความหมาย สร้างและเน้นลูกค้าใหม่ กรองความต้องการของผู้บริโภค สร้างความต้องการที่ไม่เคยมีมาก่อน ราคาไม่มีผลต่อคุณค่าของสินค้า สร้างความแตกต่างและที่ต้นทุนต่ำ เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบดั้งเดิม ผู้ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้องสร้างความต้องการใหม่ ๆ (New Demand) โดยใช้ Innovation ใหม่ๆ เนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนที่มีความเป็นปัจจุบัน ดังนั้น หากผู้ประกอบการจะสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นกลยุทธ์แบบ “ทะเลสีน้ำเงิน” เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของตนเอง ในเวลานี้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเหตุผลด้วยราคาที่ต่ำ หรือซื้อที่ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นจึงเริ่มมาวิเคราะห์ว่าใครคือผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของธุรกิจเรา? (Non-Custommer)

4C คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่เปลี่ยนมุมมองของส่วนประสมทางการตลาดจากเดิมที่ 4P จะมองจากมุมมองของผู้ขายว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้า แต่สำหรับกลยุทธ์ Marketing Mix 4C คือ กลยุทธ์ที่จะเปลี่ยนเป็นมุมมองของฝั่งลูกค้า เพื่อค้นหาว่าลูกค้าต้องการอะไรเพื่อที่จะตอบสนอง

โดยกลยุทธ์ 4Cs คือ กลยุทธ์ที่จะมุ่งเน้นไปที่การค้นหาว่าจริงๆ แล้วผู้บริโภคต้องการอะไรและลูกค้าคิดอย่างไร ซึ่งการตลาดแบบ 4C จะช่วยทำให้แบรนด์สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงจุดมากขึ้นกว่าการผลักสิ่งที่แบรนด์คิดว่าดีไปให้ลูกค้าโดยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วลูกค้าต้องการหรือไม่

กลยุทธ์ 4C Marketing Mix จะประกอบไปด้วย Customer Cost Convenience และ Communication ที่จะมาแทน P ทั้งสี่ตัวของส่วนประสมทางการตลาด 4P แบบเก่า โดยแต่ละปัจจัยมีความหมายคร่าวๆ ดังนี้

  • Customer คือ สิ่งที่ตัวผู้บริโภคต้องการหรือกำลังมองหา
  • Cost คือ ความคุ้มค่าของราคาในมุมมองของลูกค้า
  • Convenience คือ ความสะดวกของผู้บริโภคในการหาซื้อ และความสะดวกในการจ่ายเงินซื้อสินค้า
  • Communication คือ การสื่อสารให้ถูกกลุ่มลูกค้า และการเลือกช่องทางสื่อสารที่ตรงกับที่กลุ่มเป้าหมายรับสาร

ความสัมพันธ์ของ 4P กับ 4C

อย่างที่ได้อธิบายเอาไว้ในตอนต้นว่า 4P กับ 4C คือ เรื่องเดียวกันเป็นส่วนประสมทางการตลาดเหมือนกัน เพียงแค่เปลี่ยนมุมจากมุมมองของผู้ผลิตหรือผู้ขายมาเป็นมุมมองของลูกค้า ดังนั้นถ้าหากคุณเข้าใจส่วนประสมทางการตลาดแบบเดิมหรือ Marketing Mix 4P อยู่แล้ว 4C คือ การมองเรื่องเดิมจากอีกมุมเท่านั้นเอง

มุมมองของสินค้าแบบเดิม Product คือ การสร้างสรรค์คุณค่าให้กับสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สำหรับ 4C จะมองในมุมมองของลูกค้าหรือ Customer คือ การมองหาสิ่งที่ตัวผู้บริโภคต้องการหรือกำลังมองหาอยู่จริงๆ

การตั้งราคาแบบเดิม Price คือ การที่จะตั้งราคาอย่างไรให้ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือจะตั้งราคาโดยเอากำไรมากน้อยแค่ไหน แต่สำหรับมุมมองของลูกค้า Cost คือ ความคุ้มค่าของราคา การตั้งราคาเท่านี้กับคุณภาพของสินค้าเท่านี้ลูกค้ามองว่าคุ้มหรือไม่

ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบเดิมหรือ Place คือ การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุมในวงกล้าง แต่สำหรับ Convenience คือ การมองหาว่าจริงๆ แล้ว ลูกค้าสะดวกที่จะซื้อสินค้าที่ไหน

การประชาสัมพันธ์หรือ Promotion คือ การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารทางการตลาดโดยเน้นทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก แต่ในมุมมองของ 4C Communication คือ การศึกษาช่องทางที่ตรงกับลูกค้าเพื่อที่จะสามารถประชาสัมพันธ์สินค้าได้อย่างถูกกลุ่มเป้าหมาย

สำหรับผู้ที่สนใจในส่วนประสมทางการตลาด 4P แบบเดิม สามารถอ่านเพิ่มเติมแบบละเอียดได้ที่บทความ Marketing Mix 4P คืออะไร


Customer

Customer คือ มุมมองในฝั่งผู้บริโภคของ Product โดยกลยุทธ์ 4C ในส่วนของ Customer จะเป็นการวิเคราะห์และสำรวจว่า จริงๆ แล้วผู้บริโภคกำลังมองหาหรือต้องการอะไร ซึ่งนักการตลาดอาจจะทำการสำรวจว่าผู้บริโภคมีปัญหาหรือ Pain Point อะไรที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

สิ่งที่สำคัญของ Customer คือ ต้องตอบได้ว่าสินค้าของเราผู้บริโภคมีความต้องการจริง เพราะสิ่งที่สามารถขายได้ขายได้คือสิ่งที่ผู้บริโภคมีความต้องการ (Demand) ไม่ใช่แค่สิ่งที่เราสามารถผลิตเพราะอยากจะขาย หรือผลิตสินค้าออกมาเพราะคิดว่าสินค้าของเราดี

Cost

Cost คือ มุมมองของผู้บริโภคต่อราคา ในมุมมองของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจะเกิดการเทียบระหว่างราคาสินค้ากับคุณภาพที่ได้รับว่า “มีความคุ้มหรือไม่” ไม่ใช่แค่เรื่องถูกแพง แต่เป็นเรื่องของความสมเหตุสมผลระหว่างคุณภาพกับราคาที่ลูกค้ารู้สึก

ดังนั้น ในการตั้งราคาตามหลัก 4C คือ การตั้งราคาที่อยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผลจากมุมมองของลูกค้า อาจจะเป็นการตั้งราคาที่สูงมากก็ได้ถ้าหากว่าลูกค้ารู้สึกว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผลกับสิ่งที่ลูกค้าได้รับ ตัวอย่างเช่น รู้สึกว่าเป็นสินค้าที่พรีเมี่ยมจริงตามราคา

ในทางกลับกันการตั้งราคาที่ต่ำก็ไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสมเสมอไปเพราะลูกค้าอาจมองว่าเป็นสินค้าราคาถูกที่คุณภาพต่ำตามราคา ทำให้บางครั้งการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning) เอาไว้ว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพอาจจะจำเป็นที่จะต้องเพิ่มราคาสินค้าขึ้นเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม

สรุป การตั้งราคา (Cost) ตามหลักการตลาดแบบ 4C คือ ควรตั้งให้สอดคล้องกับคุณภาพและความคุ้มค่าในมุมมองของลูกค้า ไม่ใช่ตั้งราคาโดยใช้เรื่องต้นทุนการผลิตเพียงเป็นที่ตั้ง

Convenience

Convenience คือ ความสะดวกของผู้บริโภคในการหาซื้อสินค้าของแบรนด์ จากเดิมที่ Place จะมุ่งเน้นเพียงแค่การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าให้ถึงมือลูกค้า

แต่สำหรับ Marketing Mix 4C จะเป็นการทำให้ช่องทางการจัดจำหน่ายสะดวกต่อผู้บริโภค ด้วยการสำรวจว่าปกติลูกค้ากลุ่มเป้าหมายปกติซื้อสินค้าลักษณะนี้จากที่ไหนและอย่างไร

ตัวอย่างเช่น เมื่อพบว่าลูกค้าเป็นกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากหลากหลายช่องทาง ก็จำเป็นที่แบรนด์จะต้องมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มเข้าถึง Product ของเราได้

นอกจากนี้ Convenience จะรวมไปถึงวิธีชำระเงินด้วย ตัวอย่าวเช่น เมื่อสินค้าสามารถสั่งซื้อได้ผ่านทาง Website ลูกค้าจะสามารถชำระเงินได้ด้วยวิธีใดได้บ้าง โดยการเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายและการเลือกวิธีรับชำระเงิน ควรเป็นช่องทางที่ลูกค้าสะดวกและเป็นวิธีที่นิยมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

Communication

Communication คือ มุมมองในฝั่งผู้บริโภคของ Promotion หรือการส่งเสริมการตลาด โดยความสำคัญของ Communication ในกลยุทธ์ 4C คือ การสื่อสารทางการตลาด (Promotion) ที่ถูกต้องตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ซึ่งจะทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายสามารถรับรู้สินค้าของแบรนด์ได้จริง

เพราะสินค้าชิ้นหนึ่งอาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกคน ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะลงทุนโฆษณาสินค้าไปในวงกว้าง แต่ควรสื่อสารให้ถึงลูกค้าที่จะมาซื้อสินค้าเรา ซึ่งในปัจจุบันการโฆษณาบน Internet สามารถทำได้ง่าย เพราะการลงโฆษณาบน Internet สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน

ตัวอย่างเช่น กรณีที่ลูกค้าเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมใช้ Internet การสื่อสารให้ถึงลูกค้ากลุ่มนี้อาจทำได้ด้วบการใช้ Influencer บนโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามเป็นกลุ่มลูกค้าของเรา หรือการเลือกลงโฆษณาบน Internet รูปแบบต่างๆ อย่างเช่น Google Ads, Facebook Ads, และโฆษณาบน YouTube เป็นต้น

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีอะไรบ้าง

ส่วนประสมทางการตลาด คือ กลุ่มของเครื่องมือทางการตลาด ที่นามาใช้ร่วมกัน และใช้อย่างสอดคล้องเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก (4P) คือ ผลิตภัณฑ์(Product) ราคา(Price) ช่องทางการจัดจาหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด(Promotion)

ส่วนประสมทางการตลาด 6p มีอะไรบ้าง

6Ps. ผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place or Distribution Channel) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) อำนาจทางการเมือง (Political Power) และความคิดเห็นสาธารณะ (Public Opinion)

ปัจจัยการตลาดคืออะไร

นิยามศัพท์ ปัจจัยด้านการตลาด (Marketing Factors) หมายถึง สิ่งที่น าเสนอในทางธุรกิจ เพื่อตอบสนองให้เกิด ความพึงพอใจ และส่งผลต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจของลูกค้าให้ซื้อสินค้าหรือเลือกใช้บริการนั้น ๆ

ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการประกอบด้วยอะไรบ้าง

ปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาด 1. ด้านผลิตภัณฑ์ 2. ด้านราคา 3. ด้านสถานที่ 4. ด้านการส่งเสริมการตลาด 5. ด้านบุคลากร 6. ด้านกระบวนการ 7. ด้านสภาพแวดล้อมทาง กายภาพ ความพึงพอใจในคุณภาพ การบริการ 1. สิ่งที่สามารถจับต้องได้ 2. ความน่าเชื่อถือ 3. การตอบสนองต่อลูกค้า 4. การรับประกัน 5. ความเอาใจใส่ลูกค้า