แผนที่การเผยแผ่พระพุทธศาสนา 9 สาย

เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

สมณทูต 9 สาย สมัยพระเจ้าอโศก ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่าอย่างไร

(1/2) > >>

raponsan:
สมณทูต 9 สาย สมัยพระเจ้าอโศก ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่าอย่างไร

เรื่องส่งพระเถระไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ
   ในการนำพระศาสนาสืบมาตามลำดับอาจารย์นั้น   มีอนุบุพพีกถาดังต่อไปนี้ : - 
   ได้ยินว่า พระโมคคลีบุตรติสสเถระ ครั้นทำตติยสังคีตินั้นแล้ว ได้ดำริอย่างนี้ว่า  ในอนาคตพระศาสนา  จะพึงตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในประเทศไหนหนอแล ?

        ลำดับนั้น เมื่อท่านใคร่ครวญอยู่ จึงได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสนาจักตั้งมั่นอยู่ด้วยดี  ในปัจจันติมชนบททั้งหลาย. ท่านจึงมอบศาสนกิจนั้น  ให้เป็นภาระของภิกษุเหล่านั้น  แล้วส่งภิกษุเหล่านั้นๆ ไปในรัฐนั้นๆ คือ

     ส่งพระมัชฌันติเถระไปยัง รัฐกัสมีรคันธาระ ด้วยสั่งว่าท่านไปยังรัฐนั่นแล้ว จงประดิษฐานพระศาสนาในรัฐนั่น. 
     ท่านได้สั่งพระมหาเทวเถระอย่างนั้นเหมือนกัน  แล้วส่งไปยัง มหิสกมณฑล 
     ส่งพระรักขิตเถระไปยัง วนวาสีชนบท 
     ส่งพระโยนกธรรมรักขิตเถระไปยัง อปรันตกชนบท
     ส่งพระมหาธรรมรักขิตเถระไปยัง มหารัฐชนบท 
     ส่งพระมหารักขิตเถระไปยังโลกเป็นที่อยู่ของ ชาวโยนก 
     ส่งพระมัชฌิมเถระไปยังชนบทอันเป็นส่วนหนึ่งแห่ง หิมวัตประเทศ
     ส่งพระโสณกเถระ พระอุตตรเถระ ไปยังสุวรรณภูมิชนบท
     ส่งพระมหินทเถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตนกับพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระสัมพลเถระ พระภัททสาลเถระ  ไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีป  ด้วยสั่งว่า  พวกท่านไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปแล้วจงประดิษฐานกระศาสนาในเกาะนั่น.

    พระเถระแม้ทั้งหมดเมื่อจะไปยังทิสาภาคนั้นๆ ก็เข้าใจอยู่ว่า ในปัจจันติชนบททั้งหลายต้องมี คณะปัญจวรรค  จึงสมควรทำอุปสมบทกรรมได้  ดังนี้  จึงไปกับพวกละ ๕ รวมกับตน.

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอบคุณภาพจาก หนังสือ"เรียนรู้พุทธประวัติด้วยแผนที่" โดย พระสุตาวุธวิสิฐ (ขรรค์ชัย ชนะกุล)

การแพร่กระจายของพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
การสังคายนาครั้งที่ 3

เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง

หลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณทูต 9 สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา คือ

    ๑. คณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และแคว้นคันธาระ
    ๒. คณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือ แคว้นไมซอร์และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบัน
    ๓. คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์(ในปัจจุบันคือมุมไบ)
    ๔. คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์
    ๕. คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์
    ๖. คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถาน
    ๗. คณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือ เนปาลปัจจุบัน
    ๘. คณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ
    ๙. คณะพระมหินทระ ไปลังกา

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสนาพุทธ
ขอบคุณภาพจาก หนังสือ"เรียนรู้พุทธประวัติด้วยแผนที่" โดย พระสุตาวุธวิสิฐ (ขรรค์ชัย ชนะกุล)

    เรื่องที่นำเสนอนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก กระทู้ของคุณครูอริสา (username : tcarisa)      
     "สายการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ที่ไปทั่วโลก มีกี่สาย"
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1104.msg4548#msg4548

     และกระทู้ของคุณมหายันต์ (username : มหายันต์ )     
     "ขอเสนอให้ทีมงาน เสนอประวัติของ พระโสณะ พระอุตตระ ด้วยครับ"
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5942.msg22286#msg22286

     และขอขอบคุณ คุณ Tanay007 เว็บดีเอ็มซี ที่แจ้งที่มาในพระไตรปิฎก
     http://www.dmc.tv/forum/lofiversion/index.php/t8448.html

     ขอขอบคุณทุกท่านที่เอ่ยนาม
     เรื่องสมณทูต ๙ สาย ยังไม่จบเท่านี้นะครับ ผมยังมีรายละเอียดทั้งเก้าสายมาให้อ่้าน
     ขอพักสักครู่ เดี๋ยวมาใหม่ :49:

raponsan:

สายที่ ๑. พระมัชฌันติกเถระไปประกาศพระศาสนาที่"กัสมีรคันธารรัฐ"
   ก็โดยสมัยนั้นแล  ในแคว้นกัสมีรคันธาระ  ในฤดูข้าวกล้าสุก มีพญานาคชื่ออารวาฬ ได้บันดาลฝน ชื่อว่าฝนลูกเห็บให้ตกลงมา ทำข้าวกล้าให้ลอยไปยังมหาสมุทร.  พระมัชฌันติกเถระเหาะขึ้นไปสู่เวหาจากนครปาตลีบุตร แล้วไปลงเบื้องบนสระอารวาฬที่ป่าหิมพานต์ จงกรมอยู่บ้าง ยืนอยู่บ้าง นั่งอยู่บ้างสำเร็จการนอนอยู่บ้าง   บนหลังสระอารวาฬ. 
        นางนาคมาณวิกาทั้งหลายเห็น  พระเถระนั้นแล้ว  จึงบอกแก่พญานาคอารวาฬว่า  ข้าแต่มหาราช ! มีสมณะโล้นรูปหนึ่ง   ทรงแผ่นผ้าที่ตัดขาดด้วยศัสตรา นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ประทุษร้ายน้ำของพวกเรา.

พญานาคอารวาฬแผลงฤทธิ์ไล่พระเถระ
   พญานาคฟังคำนั้นแล้ว  ก็ถูกความโกรธครอบงำ ได้ออกไปพบพระเถระในทันใดนั้นเอง  เมื่ออดกลั้นความลบหลู่ไม่ได้  จึงได้นิรมิตรูปที่น่าสะพรึงกลัวเป็นอันมาก   บนอากาศกลางหาว. ( คือบันดาลให้) พายุที่กล้าแข็งพัดฟุ้งไปในที่นั้น ๆ.
        รุกขชาติทั้งหลาย   ก็หักโค่นลง. เหล่ายอดบรรพตก็พังทลาย,   เมฆทั้งหลายก็คำรามลั่น,   สายฟ้าทั้งหลายก็แลบแปลบ ๆ . อสนีบาตก็ผ่าลงมา,  อุทกวารีก็ไหลนอง   เหมือนท้องฟ้าแตกฉะนั้น.

        เหล่าลูกนาคซึ่งมีรูปอันน่าสะพรึงกลัว  ก็ประชุมกัน.  ฝ่ายพญานาคเอง ก็บังหวนควัน ลุกโพลงปล่อยฝนเครื่องประหารคุกคามพระเถระด้วยคำหยาบคายเป็นต้นว่า สมณะโล้นผู้นี้  ทรงผ้าที่ตัดขาด (ด้วยศัสตรา) คือใคร?  ได้บังคับหมู่พลนาคไปว่าพวกท่านจงมาจับฆ่า,   ขับใสสมณะรูปนี้ออกไป.

พระเถระทรมานพวกนาคให้คลายพยศแล้ว
   พระเถระป้องกันกำลังพลนาคที่น่าสะพรึงกลัวทั้งหมด  ด้วยกำลังฤทธิ์ ของตน พูดกะพญานาคว่า
   ดูก่อนพญานาค ! โลกแม้ทั้งเทวโลก  จะพึงมายังเราให้ครั่นคร้ามได้ไซร้, ก็ไม่พึงมีผู้สามารถเพื่อจะบันดาลภัยที่น่ากลัวให้เกิดแก่เราได้, 
        ดูก่อนพญานาค ! แม้หากท่านจะยกแผ่นดินขึ้นทั้งหมด  พร้อมทั้งสมุทร ทั้งบรรพต แล้วพึงเหวี่ยงไปเบื้องบนของเราได้ไซร้, ท่านก็ไม่พึงสามารถเพื่อจะบันดาลภัยที่น่ากลัวให้เกิดแก่เราได้เลย,

           ดูก่อนพญาอุรคาธิบดี ! ท่านเท่านั้น จะพึงมีความแค้นใจอย่างแน่แท้.
   ครั้นเมื่อพระเถระกล่าวอย่างนั้นแล้ว  พญานาค  ถูกพระเถระกำจัดอานุภาพแล้ว  เป็นผู้มีความพยายามไร้ผล  มีความทุกข์เศร้าใจซบเซาอยู่. พระเถระชี้แจงให้พญานาคนั้นเข้าใจ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาอันสมควรแก่ขณะนั้นแล้ว  ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์และเบญจศีล  พร้อมด้วยนาคจำนวนแปดหมื่นสพัน.     
        ยักษ์  คนธรรพ์  และกุมภัณฑ์  แม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก ที่อยู่ป่าหิมพานต์ได้ฟังธรรมกถาของพระเถระแล้ว ก็ได้ตั้งอยู่ในสรณะและศีล. แม้ปัญจกยักษ์ พร้อมด้วยนางหาริดียักษิณี  และบุตร ๕๐๐ ก็ได้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค.

พระเถระให้โอวาท พวกยักษ์ และรากษส เป็นต้น
   ลำดับนั้น   ท่านพระมัชฌันติกเถระ   เรียกพวกนาคและรากษสแม้ทั้งหมดมาแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า
   จำเดิมแต่บัดนี้เป็นต้นไป   พวกท่านอย่าให้ความโกรธเกิดขึ้นเหมือนในกาลก่อน เลย  และอย่าทำลายข้าวกล้า ( ให้เสียหาย ) เพราะว่า   สัตว์ทั้งหลาย  ใครต่อความสุข จงแผ่เมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายว่า  ขอมวล
มนุษย์ จงอยู่เป็นสุขเถิด.

   นาคและยักษ์เป็นต้นเหล่านั้นทั้งหมด รับโอวาทขอพระเถระว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ !  ได้ปฏิบัติตามที่ท่านพร่ำสอนแล้ว.  ก็ในวันนั้นแล  เป็นสมัยทำการบูชาพญานาค. เวลานั้น พญานาค สั่งให้นำรัตนบัลลังก์ของตน มาแต่งตั้งถวายพระเถระ.  พระเถระ ก็นั่งบนบัลลังก์.   
        ฝ่ายพญานาค  ได้ยืนพัดพระเถระอยู่ในที่ใกล้.  ในขณะนั้น มนุษย์ทั้งหลายผู้อยู่ในแคว้นกัสมีรคันธาระมาเห็นพระเถระแล้ว ก็พูดกันว่า   พระเถระมีฤทธิ์มากแม้กว่าพญานาคของพวกเราแล้วได้นั่งลงไหว้พระเถระนั่นแล.       พระเถระ   ก็แสดงอาสิวิโสปมสูตร*  แก่มนุษย์เหล่านั่น.
* น่าจะเป็นอลคัททูปมสูตร  ม.  ม.  ๑๒/๒๖๑.

        ในเวลาจบพระสูตร   สัตว์ประมาณแปดหมื่น ได้บรรลุธรรมาภิสมัย. แสนตระกูลออกบวชแล้ว, ก็แลจำเดิมแต่กาลนั้นมา  แคว้นกัสมีรคันธาระ  ก็รุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์   อบอวลไปด้วยลมพวกฤษีจนตราบเท่าทุกวันนี้.
        ในกาลนั้นพระมัชฌันติกะผู้ฤษี ไปยังแคว้นกัสมีรคันธาระแล้ว  ให้พญานาคผู้ดุร้าย  เลื่อมใสแล้ว ได้ปลดเปลื้องสัตว์เป็นอันมาก ให้พ้นจากเครื่องผูกแล้วแล.

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอบคุณภาพจาก หนังสือ"เรียนรู้พุทธประวัติด้วยแผนที่" โดย พระสุตาวุธวิสิฐ (ขรรค์ชัย ชนะกุล)

    แคว้นกัสมีรคันธาระ ปัจจุบัน คือ แคว้นแคชเมียร์ และแคว้นคันธาระ
แผนที่แสดงที่ตั้งรัฐชัมมูและกัศมีร์
รัฐชัมมูและกัศมีร์ (เปลี่ยนมาจาก แคชเมียร์)
    รัฐชัมมูและกัศมีร์ คือ รัฐเหนือสุดของประเทศอินเดีย ดินแดนส่วนมากตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย นอกจากนั้นยังเป็นบริเวณพิพาทระหว่างอินเดีย ปากีสถาน และจีนด้วย

    รัฐชัมมูและกัศมีร์เคยเป็นดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ต่อมาได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิดุรรานีในอัฟกานิสถาน จักรวรรดิโมกุล ในอินเดีย และเคยอยู่ภายใต้การปกครองของชาวสิกข์ ภายหลังขับไล่ชาวสิกข์ออกไปได้

        ในยุคที่อังกฤษเข้ามา กษัตริย์ของชัมมูและกัศมีร์ช่วยอังกฤษรบกับชาวสิกข์และได้เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ เมื่ออังกฤษให้เอกราชแก่อินเดียและมีการแบ่งเป็นอินเดียและปากีสถาน รัฐชัมมูและกัศมีร์กลายเป็นกรณีพิพาทของทั้งสองประเทศจวบจนปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/แคชเมียร์

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท
แคว้นคันธาระ
     แคว้นคันธาระอยู่ในหุบเขาเปศวาร์ ประเทศปากีสถาน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาสุไลมานติดพรมแดนของอัฟกานิสถานและมีแม่น้ำสินธุไหลขนาบข้างด้วย ดินแดนนี้ได้รับวัฒนธรรมอินเดียและผสมกับวัฒนธรรมกรีกไซเธียน ปาร์เธียน และกุษาณะ ซึ่งอยู่รอบคันธาระเป็นเหตุให้เกิดศิลปะแบบคันธาระ และภาษาคันธารี

     ดังนั้นแคว้นนี้จึงถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาสมัยโบราณ ซึ่งมีการค้นพบธรรมบทภาษาคันธารีที่ค้นพบใน เมืองโขตาน เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีนนอกจากนั้นยังพบคัมภีร์ใบลานและเปลือกไม้

     ขณะนี้เก็บไว้ที่ภาควิชาตะวันออกศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย และมีบางส่วนเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

     คัมภีร์ที่พบในอัฟกานิสถานว่าด้วยเรื่องปฐมเทศนา คำสวดมนต์ เป็นต้น เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงคาบูล อัฟกานิสถาน จากนั้นตามฝาผนังถ้ำก็มีรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญสมาธิภาวนา ห่มผ้าสีขาวอมเหลืองด้วย

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/แคว้นคันธาระ

http://www.youtube.com/watch?v=hZcQKRovJpI

raponsan:

มหิสกมณฑล คือ แคว้นไมซอร์และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี
ในอินเดียใต้ ปัจจุบันอยู่ในรัฐ "กรณาฏกะ" (Karnataka) หมายเลข 12
สายที่ ๒. พระมหาเทวเถระไปประกาศพระศาสนาที่ มหิสสกมณฑล
   ฝ่ายพระมหาเทวเถระ  ไปยังมหิสสกมณฑลแล้ว  ก็แสดงเทวทูตสูตร(๑.)ในเวลาจบพระสูตร  สัตว์ประมาณสี่หมื่น  ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว.  สัตว์ประมาณสี่หมื่นนั่นแล ออกบวชแล้ว.
   พระมหาเทวเถระผู้มีฤทธิ์มาก  ไปยังมหิสสกรัฐแล้ว โอวาทตักเตือน ด้วยเทวทูตทั้งหลาย  ได้ปลดเปลื้องสัตว์เป็นอันมาก ให้พ้นจากเครื่องผูกแล้วแล.

(๑.) ม. อุป. ๑๔/๓๓๔.

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/

http://www.youtube.com/watch?v=WRnZFaHqSlw

raponsan:
คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ
 ได้แก่เมืองมุมไบในปัจจุบัน อยู่ในรัฐมหาราษฏระ(Maharashtra) หมายเลข 15
สายที่ ๓. พระรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่แคว้นวนวาสี
          ส่วนพระรักขิตเถระ  ไปยังแคว้นวนวาสีชนบทแล้ว   ยืนอยู่บนอากาศให้ชนชาวนวาสีชนบทเลื่อมใส   ด้วยอนมตัคคปริยายกถา(๒.)  ก็ในเวลาจบกถาของพระเถระนั้น สัตว์ประมาณหกหมื่น ได้บรรลุธรรมแล้ว.    ประชาชนประมาณสามหมื่นเจ็ดพันบวชแล้ว.  วิหาร  ๕๐๐  หลัง  ก็ประดิษฐานขึ้นแล้ว. 
        พระเถระนั้น  ได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในแคว้นวนวาสีชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
___________________________
(๒.) สํ.  นิทาน.  ๑๖/๒๑๒-๒๒๘

       พระรักขิตเถระผู้มีฤทธิ์มากไปยัง วนวาสีชนบทแล้ว ได้ยืนอยู่บนอากาศกลางหาว แล้วแสดงงอนมตักคิยกถา (แก่มหาชน) ในวนวาสีชนบทนั้นแล.

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/

มุมไบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีมุมไบ (อังกฤษ: Mumbai; มราฐี: मुंबई ; สัท.: /'mumbəi/) เดิมชื่อ บอมเบย์ (Bombay) ที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งทะเลอาหรับในประเทศอินเดีย ท่ามกลางชายฝั่งที่ทอดยาวกับภูเขาสูงที่ปกคลุมด้วยป่าเขตร้อนชื้นและป่าผลัดใบ มุมไบมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองท่า และเป็นศูนย์กลางทางการค้า การท่องเที่ยว

ข้อมูลที่สำคัญ
    ขนาดพื้นที่ : 440 ตารางกิโลเมตร
    ประชากร : 18 ล้านคน
    รัฐ : มหาราษฏระ
    ภาษา : ฮินดีและมราฐี

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/มุมไบ

raponsan:

คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท(ในภาพ คือ อปรันตา)
สันนิษฐานว่า อยู่แถบทะเลอาหรับ ทางเหนือของเมืองมุมไบในปัจจุบัน
สายที่ ๔ พระโยนกถธรรมรักขิตเถระไปประกาศพระศาสนาที่อปรันตชนบท
      ฝ่ายพระโยนกธรรมรักขิตเถระ  ไปยังอปรันตกชนบทแล้ว  ให้ชนชาวอปรันตกชนบทเลื่อมใส  ด้วยอัคคิขันธูปมสุตตันตกถา(๑)แล้ว  ก็ให้สัตว์ประมาณสามหมื่นเจ็ดพันดื่มอมตธรรม.   บุรุษออกบรรพชา  แต่ขัตติยตระกูลหนึ่งพันคน.  และสตรีออกบรรพชาหกพันถ้วน. พระเถระนั้นได้ประดิษฐานพระศาสนาให้ดำรงมั่นอยู่ในอปรันตกชนบทนั้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

      พระโยนกธรรมรักขิตเถระ ย่างเข้าสู่ปรันตกชนบทแล้ว   ก็ให้ชนเป็นอันมาก ในอปรันตกชนบทนั่นเลื่อมใสแล้ว  ด้วยอัคคิขันธูปมสูตร(๒) แล.

_______________________
๑. องฺ   สตฺตก. ๒๓/๑๒๙-๑๓๗.   
๒.  สํ.  นินทาน. ๑๖/๒๑๒-๒๒๘.

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอบคุณภาพจาก หนังสือพุทะประวัติด้วยแผนที่ (ขรรคชัย ชนะกุล)

     ทะเลอาหรับ (อังกฤษ: Arabian Sea, อาหรับ: بحر العرب‎) เป็นบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศอินเดีย ทิศเหนือติดประเทศปากีสถานและประเทศอิหร่าน ทิศตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับ

     ส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลอาหรับลึก 4,652 เมตร ส่วนที่ยาวที่สุดยาว 2,400 กิโลเมตร แม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดที่ไหลลงทะเลอาหรับคือแม่น้ำสินธุ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/ทะเลอาหรับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป