ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

พิธีกรรมและความเชื่อของภาคเหนือ: พิธีกวนกระยาสารท (กำแพงเพชร) ; พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก (เชียงราย) ; พิธีบวชต้นไม้ (พะเยา) ; พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (เพชรบูรณ์) ; พิธีสรงน้ำพระสงฆ์และห่มผ้าเจดีย์ พระบรมธาตุ (กำแพงเพชร) ; พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ ; พิธีโกนจุก (ตาก) ; พิธีทานสลากภัต หรือกิ๋นสลาก (น่าน) ; พิธีถอนตีนเสาเฮือน (แพร่) ; พิธีแฮนโก่จ่า (แม่ฮ่องสอน) ; พิธีบูชาขันตั้ง หรือขันครู (ลำปาง) ; พิธีเลี้ยงผี (ลำพูน) ; พิธีถวายสลากภัตทุ่งเสลี่ยม (สุโขทัย) ; พิธีดำหัว หรือดำหัวปีใหม่ (เชียงใหม่) -- พิธีกรรมและความเชื่อของภาคกลาง: พิธีบวงสรวงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (กาญจนบุรี) ; พิธีกองข้าวบวงสรวง (ชลบุรี) ; พิธีลูกโกศ (เพชรบุรี) ; พิธีไหว้นางสงกรานต์ (ราชบุรี) ; พิธีบวงสรวงพันท้ายนรสิงห์ (สมุทรสาคร) ; พิธีไหว้พระใหญ่ของชาวกะเหรี่ยง (อุทัยธานี) ; พิธีไหว้พระแข (สุพรรณบุรี) ; พิธีเซ่นผีแต่งงาน (ตราด) ; พิธีทำบุญกลางบ้าน (ปทุมธานี) ; พิธีบวชของชาวมอญ (สมุทรสงคราม) ; พิธีบายศรีพระ (นครนายก) ; พิธีไหว้แม่ย่านาง (ระยอง) ; พิธีรำเจ้า "ไหว้เจ้าพ่อหนุ่ม" (นนทบุรี) -- พิธีกรรมและความเชื่อของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: พิธีบายศรี - สู่ขวัญ (กาฬสินธุ์) ; พิธีขอขมาวัวควาย (นครราชสีมา) ; พิธีสมโภช และงานนมัสการพระธาตุศรีสองรัก (เลย) ; พิธีเชิญวิญญาณผู้ตายคืนเรือนของชาวไทโซ่ง (สกลนคร) ; พิธีเลี้ยงผีปู่ตา (หนองคาย) ; พิธีกรรมมงคลเกี่ยวกับบ้าน (กาฬสินธุ์) ; พิธีลำผีฟ้า (ขอนแก่น) ; พิธีแสกเต้นสาก (นครพนม) ; พิธีเรียกขวัญข้าว (นครราชสีมา) ; พิธีเซ่นสรวงเทพยดาด้วยปะต็วล (สุรินทร์) ; พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (หนองบัวลำพู) ; พิธีทำบุญเลี้ยงบ้าน (อุดรธานี) ; พิธีเซียงข้อง หรือเสี่ยงข้อง (มหาสารคาม) -- พิธีกรรมและความเชื่อของภาคใต้: พิธีสวดมาลัย ายักมาลัยำ (ชุมพร) ; พิธีแห่ผ้าขึ้นธาตุ (นครศรีธรรมราช) ; พิธีทำขวัญเด็ก (นครศรีธรรมราช) ; พิธีสระบัวบะดัน (นราธิวาส) ; ลาซัง - โต๊ะชุมพุก (ปัตตานี) ; โก๊ยห่าน (พังงา) ; พิธีลอยเรือชาวเล (ภูเก็ต) ; พิธีทำเคราะห์บ้าน (ตรัง) ; พิธีกวนข้าวยาคู "ข้าวมธุปายาสยาคู" (นครศรีธรรมราช) ; พิธีสวดอุบาทว์ฟ้า (ยะลา) ; พิธีสวดกลางบ้าน (ระนอง ) ; พิธีสมโภชและสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัว หรือ พิธีตายายย่าน (สงขลา)

  1. พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- ไทย
  2. คติชนวิทยา -- ไทย
  3. culture

LOCATIONCALL#STATUSThailand and ASEAN Information Center (6th Floor)[TAIC] 71598CHECK SHELVES
ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง
Interlibrary Loan RequestCentral Library390.09593 ฐ312พLOST AND PAID
Central Library (5th Floor)390.09593 ฐ312พDUE 24-11-20 BILLED
          และจากข้อมูลที่เราได้นำเสนอข้างต้น เป็นเพียงขนบธรรมเนียมและประเพณีแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของภาคกลางเท่านั้น หากใครอยากทำความรู้จักกับภาคกลางให้มากขึ้นกว่าเดิม ก็อย่าลืมมาท่องเที่ยวชมโบราณสถาน หรือสัมผัสวัฒนธรรมประเพณีตามแบบฉบับภาคกลางกันนะคะ "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นหรือจะสู้มือคลำ" แต่จะว่าไป แค่มือคลำอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องลองมาสัมผัสจากสถานที่จริง ๆ กันดูนะคะ ^^

วัฒนธรรมภาคกลาง


ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

        บริเวณภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ที่เกิดจาก การทับถมดินตะกอนของแม่น้ำ การตั้งถิ่นฐานของ ผู้จะอยู่บริเวณน้ำ เช่น การพายเรือสินค้าจนกลาย เป็นตลาดน้ำ การเล่นเพลง หรือการอาศัยอยู่บน เรือนแพ เป็นต้น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย

            

ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

บ้านทรงไทยนับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่ได้คิดสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และประโยชน์ใช้สอย คือ เป็นเรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วมตัวเรือน เพราะในปลายฤดู ฝนจะมีน้ำป่าไหลหลากจากทางเหนือ มาท่วมพื้นที่ลุ่มในภาคกลาง หากมีลมพายุก็สามารถพัดผ่านใต้ถุน เรือนไปได้ ใต้ถุนเรือน สามารถใช้เป็นสถานที่ทอผ้า ตำข้าว เก็บของ ส่วนหลังคาที่สูงและลาดชันก็เหมาะ กับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนตกชุกของภาคกลาง เพราะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทมา ยังห้องได้ช้า และทำให้ฝนไหลลงอย่างรวดเร็ว รอบตัวเรือนมีชายคายื่นยาว เพื่อป้องกันกันฝนสาด และ แสงแดด การสร้างบ้านยังคำนึงเรื่องทิศทางของการระบายลม และระบายความร้อน โดยลมประจำที่พัดผ่าน เรียกว่า ลมว่าว หรือลมตะเภา พัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ การวางตัวเรือนจึงต้องหันทางทิศใต้ หรือทิศเหนือ เพื่อให้ลมพัดผ่าน

ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง
 

เอกลักษณ์อีกอย่างของเรือนไทย คือมีชานบ้านซึ่งเป็นที่โล่งกลางบ้าน ซึ่งมีประโยชน์ เช่น เป็นที่พัก หย่อนใจของคนในครอบครัว นั่งทำงาน รับรองแขก และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกหลานแต่ง งาน และต้องการขยายพื้นที่ของเรือน ก็สามารถสร้างเรือนเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้ชานบ้านเป็นตัวเชื่อมด้วย ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะกับสภาพภูมิศาสตร์ และสภาพชีวิตที่เป็นสังคมเกษตร ทำให้เรือนไทยเป็นเอก ลักษณ์หนึ่งของวัฒนธรรมการดำรงชีวิตในภาคกลาง

บ้านเรือนไทย หรือเรือนไทย เรือนไทยภาคกลางจะสร้างด้วยไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

-  เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง

- เรือนไม้ผูก เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ เอกลักษณ์ของคนไทย คือ ยกพื้นสูง มีใต้ถุนเรือน หลังคาหน้าจั่วทรงสูง สร้างโดยไม่ใช้ตะปู แต่จะนำจำนวนต่างๆ ของเรือนมาประกอบกัน เรียกว่าการ
เข้าไม้ ทำให้สะดวกต่อการย้ายบ้าน

        ลักษณะของเรือนไทยภาคกลางเป็นเรือนยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ รวมทั้งระเบียงและ ชานก็ยกสูงด้วย การยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลดหลั่นกัน พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40 เซนติเมตร พื้นชาน ลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตร และปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง การลดระดับ พื้นทำให้ได้ประโยชน์ ดังนี้ คือช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมา ข้างบนสามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้นล่างได้ และใช้ระดับลด 40 เซนติเมตร ไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จากแฝก หรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก น้ำฝนจึงจะ ไหลได้เร็ว ไม่รั่ว การทำหลังคาทรงสูงนี้ มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง ทำให้ที่พัก อาศัยหลับนอนเย็นสบาย สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้าจั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศโดยใช้ ไม้ตีเว้นช่อง หรือทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก เนื่องจากสภาพ ดินฟ้าอากาศของภาคกลาง แดดแรงจัด อุณหภูมิบางเดือนสูงถึง 39.9 องศาเซลเซียส ฝนชุก จึงจำเป็น ต้องต่อเติมกันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด

วัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม

ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

คนในภาคกลางมีวัฒนธรรมที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรมมากมาย ทั้งวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับคน เช่น การลงแขกทำนา การละเล่นเพลงพื้นบ้าน และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เช่น การบูชาแม่โพสพ

ความเชื่อเรื่องแม่โพสพ

คนไทยมีความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีสางเทวดา ชีวิตประจำวันที่ผูกพันอยู่กับอาชีพชาวนา ชาวนาจึงเชื่อว่าในข้าวมีวิญญาณแม่โพสพ ซึ่งมีบุญคุณต่อชาวนาสิงอยู่ จึงมีการ ปฏิบัติพิธีกรรมเพื่อระลึกถึงแม่โพสพ เช่นการสร้างศาลเพียงตาใน ทุ่งนา เรียกว่า “เรือนแม่โพสพ” มีการทำขวัญข้าวเมื่อข้าวเริ่มออก รวง หรือที่เรียกว่า”ข้าวตั้งท้อง” และนำข้าวอ่อนไปทำบุญถวายพระ ในประเพณีสารทเดือนสิบ ซึ่งมีการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก่อนจะนำข้าวเก็บยุ้งฉาง จะมีพิธีบอก กล่าวแม่โพสพ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณต่อ ชีวิตมนุษย์ จึงได้รับการยกย่องโดยมีคำเรียกช่วงเวลาในสมัยโบราณ เมื่อข้าวตั้งท้องว่า “ตะวันอ้อมข้าว” แสดงให้เห็นความสำคัญของ ข้าวว่า เมื่อตั้งท้องแม้แต่พระอาทิตย์ยังต้องอ้อมข้าว เหมือนที่การ ปฏิบัติกันจนทุกวันนี้ คือ ไม่เหยียบข้าว ไม่ทิ้งข้าว เพราะถือว่าเป็น บาปกรรม

พิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้าว ก็จะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องแม่โพสพ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพีที่คอยดูแลรักษาพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ ให้อุดมสมบูรณ์ แม่โพสพก็เหมือนกับ มนุษย์ที่ต้องการความเอาใจใส่ เหมือนบุคคลทั่วๆ ไป มนุษย์ต้องคอยดูแลแม่โพสพเหมือนดูแลตัวเอง ต้องมีความกตัญญู ต้องเคารพนับถือ มีกิริยาที่สุภาพเรียบร้อย จะพูดจาหยาบคายหรือพูดเสียงดังไม่ได้ แม่โพสพเป็นคนขวัญอ่อน เพราะถ้าเกิด ไม่พอใจจะหนีไปเลย และตามประวัติเคยหนีไปหลายครั้ง ด้วยความน้อยใจเวลามี คนพูดเสียงดัง พอหนีไปทีก็อดอยากกันเป็นพันปี เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นสิ่งที่ต้อง ระมัดระวังมาก เวลาติดต่อกับแม่โพสพควรใช้ความสุภาพอ่อนโยน และความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงที่สุด

            พิธีกรรมเกี่ยวกับแม่โพสพก็มีขั้นตอนต่างๆ พิธีในภาคกลางจะเห็นว่า จะดำนาจะ ไถอะไรก็ต้องเชิญแม่โพสพมาก่อน ตั้งแต่ข้าวเริ่มตั้งท้องก็ต้องไปเอาอกเอาใจหา อาหารเปรี้ยวหวานมันเค็มไปบูชาแม่โพสพ หรือว่าเมื่อเสร็จแล้วจะนวดจะเอาข้าวเข้ายุ้ง ทุกอย่างนี้จะต้องมี พิธีกรรมเข้าไปประกอบ เพื่อก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ หรือความมั่นใจว่าปีนี้มีข้าว และปีหน้าต้องมีนะ หรือว่าพันธุ์ข้าวที่มีต้องเก็บไว้และทำอย่างไร? ให้เก็บได้ดี ไม่เสียไม่หาย เพื่อที่จะใช้เป็นพันธุ์ในปีต่อไป ลักษณะของพิธีกรรมเรื่องข้าว ส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวข้องกับการที่จะพยายามเอาอกเอาใจขวัญของข้าว โดยมี แม่โพสพเป็นตัวแทน

        การทำพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว นอกจากในสังคมที่เป็นบ้านเป็นเมือง อย่างสังคมไทย แล้วจะเห็นว่าในสังคมอื่นๆ ที่ยังไม่ได้พัฒนาเป็น บ้าน เป็นเมือง การทำไร่ ทำนา ก็มีพิธีกรรมเหมือนกัน ในการที่จะดู แลข้าวของตัวเอง อย่างเช่นในกลุ่มชาวเขาก็มีพิธีกรรมเวลาปลูก ข้าวไร่ เขาจะมีวันไหนที่จะไปเผาไร่ได้ วันไหนเผาไม่ได้ เวลาข้าว ตั้งท้อง ต้องรู้ว่าจะทำอย่างไร เขาถือว่าช่วงข้าวตั้งท้อง หรือช่วงข้าวเกี้ยวพาราสี เขาจะบอกว่าห้ามไปไร่ในช่วงนั้น เพราะว่าข้าวกำลัง เกี้ยวพาราสีกัน หรือเวลาข้าวตั้งท้อง ก็จะต้องหาเงินไปผูกเอาไว้ ต้องผูกเตี้ยๆ ด้วย เพราะว่าแม่ข้าวเขาตัวเตี้ย จะได้เก็บเงินไปได้ ถ้า เกิดไม่เอาเงินหรือเอากระดาษไป ผูกเป็นรูปเงินให้แล้วอาจจะไม่ดลบันดาลให้ข้าวอุดมสมบูรณ์ก็ได้ ฉะนั้น ในกลุ่มทุกกลุ่ม หรือแม้แต่พวกขิ่นก็มีความเชื่อเรื่องการปลูกข้าวเหมือนกัน ก่อนการปลูกข้าวก็มีการสร้างตูบ ผีเอาไว้เชิญผี ซึ่งเคยอยู่ที่ท้องนาขึ้นมาอยู่บนตูบ เวลาจะไถจะได้ไม่รังควานผี มีการเซ่นไหว้ เวลาจะหยอด ข้าวก็ต้องเรี่ยไรเงินมาซื้อหมู ฆ่าหมูมาเซ่นผี มาเอาใจผีอีก เพราะว่าถ้าผีไม่พอใจ ปลูกข้าวแล้วจะมีผลเสีย หรือถ้าหากว่าจะทำสู่ขวัญข้าวก็ต้องทำพิธีเลี้ยงผีอีก ก็ต้องไปซื้อสัตว์เรี่ยไรกันเอาเงินมาฆ่า เอาสัตว์มา สังเวยและจะปิดตาเหลวเอาไว้

“ตาเหลว” เป็นสัญลักษณ์ของการป้องกันและบอกขอบเขตไม่ให้สัตว์ ป่าต่างๆ มาทำลายข้าวในไร่ จะเห็นว่ามีกฎหมายลงโทษคนที่ไปทำมิดี มิร้าย ไปขี้ไปเยี่ยว ช้าง ม้า วัว ควาย ไปละเมิดทำให้ไร่นาข้าวปลาเสีย หาย มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าให้ทำบัตรพลีดีไหว้ หรือว่าต้องเซ่นไหว้ เพราะไม่ใช่เพียงแต่ว่าเป็นการลงโทษ คนที่ละเมิดทำข้าวเสียหายเท่า นั้น แต่ว่าเป็นลักษณะของความอุบาทว์หรือสิ่งที่ทางเหนือ อาจเรียกว่า”ขึด” คือถ้าเผื่อว่าทำแล้ว มันเสียหายแก่ท้องนาแก่ข้าว แล้วไม่ใช่เพียง แต่ว่าคนคนนั้นหรือเจ้าของนาจะเดือดร้อน แต่ว่าจะก่อให้เกิดความ อุบาทว์ หรือวิปริตไปทั้งหมดได้ เพราะฉะนั้นเพื่อกันความเสียหายของ ชุมชน จะต้องทำการบัตรพลีดีไหว้ อันนี้เป็นกฎหมายตราไว้เลย

 วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งปลูก ข้าวที่สำคัญของประเทศ และมีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งพืช ผักและสัตว์ต่างๆ คนภาคกลางนิยมรับประทานข้าวเจ้าเป็นอาหาร หลักในอดีต คนภาคกลางนิยมใช้ใบบัวห่อข้าวนำไปรับประทานเวลา ออกไปทำงานในนา หรือการเดินทางเรียกกันว่า“ข้าวห่อใบบัว” กับ ข้าวที่นิยมมีเกือบทุกมื้ออาหาร คือ น้ำพริกประเภทต่างๆ เช่น น้ำพริก เผา น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาย่าง รับประทานกับผักนานาชนิดที่หา ได้ในท้องถิ่นและนิยมปรุงรสอาหารด้วยน้ำ ปลาเช่นเดียวกับคนภาค อีสานที่นิยมใช้น้ำปลาร้าปรุงอาหาร

ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

คนไทยภาคกลางบริโภคข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหาร ในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง รสชาติอาหารภาค กลางมีการผสมผสานของหลากหลายรสชาติ ทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหาร ไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุง เพียงอย่างเดียว เช่น รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหาร อาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผล ไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความ หลากหลายใช้ชนิดของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาว เพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้ง ใช้น้ำมะขามเปียก เพื่อให้รส เปรี้ยวแทน

ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

นอกจากนั้นยังมีรสเค็ม ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืช ชนิดต่างๆ เช่น มะระ เป็นต้น และ ความเผ็ด ที่ได้จากพริก พริกไทย และเครื่องเทศ อาหารภาคกลางเป็น อาหารที่มีครบทุกรส ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จัก และนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาค กลางทั้งนั้นไมว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวานผัดไทย พะแนง เป็นต้น จึงทำให้อาหารภาคกลางมีความ โดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเพลงพื้นบ้าน

เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเกษตรกรรม เพราะการสร้างสรรค์เพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงเหย่ย ขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ชาวบ้านคิดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องผ่อนคลายจาการทำ งานหนัก ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดความสามัคคีในหมู่บ้านเดียวกัน และเป็นการเปิด โอกาสให้หนุ่มสาวได้รู้จัก พบปะพูดคุยกันโดยในสายตาของผู้ใหญ่ ในปัจจุบันสภาพสังคมและลักษณะการ ดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เพลงพื้นบ้านถูกละเลย และเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว

 เพลงพื้นบ้าน

เป็นร้อยกรองที่นำมาจัดจังหวะของคำ และใส่ทำนองเพื่อขับร้องในท้องถิ่นสืบทอดต่อกันมาด้วยวิธีจดจำ ที่มาของเพลงพื้นบ้าน เกิดจากนิสัยชอบบทกลอน หรือที่เรียกว่า “ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน” ของคนไทย ในท้องถิ่นต่างๆ ที่เรียงร้อยถ้อยคำมีสัมผัสคล้องจอง และประดิษฐ์ทำนองที่ร้องง่ายแล้วนำมาร้องเล่นในยาม ว่าง หรือระหว่างทำงานร่วมกัน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำ งาน เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อความสามัคคีในกลุ่มชน การใช้ถ้อยคำในเพลงพื้นบ้านนั้นมีลักษณะตรง ไปตรงมา นิยมใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางครั้งก็แฝงนัยให้คิดในเชิงสองแง่สองง่าม บางเพลงก็ ร้องซ้ำไปมาชวนให้ขับขัน

ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

คุณค่าของเพลงพื้นบ้าน

เพลงพื้นเมืองเป็นมรดกทางวรรณกรรม ชาวบ้านนิรนามได้แต่งเพลงของเขาขึ้น บทเพลงนี้อาจจะมา จากความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และความอยู่ไม่สุขของปาก แต่บังเอิญหรือบางทีไม่ใช่บังเอิญ เพลงของ เขาไพเราะและกินใจชาวบ้านคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นเพลงดังกล่าวจึงได้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ และในที่สุด ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนแต่งเพลงบทนั้น และแต่งเมื่อใด

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม

ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ในเทศกาลออกพรรษา ตำนานของประเพณี รับบัวตำนานหนึ่งเล่าว่า ในสมัยก่อนนั้นอำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงมาก เมื่อถึงช่วงออกพรรษา ชาวบ้านที่อยู่ใกล้อำเภอบางพลี โดยเฉพาะที่อำเภอ เมือง และอำเภอพระประแดง จะเดินทางไปเก็บดอกบัว ที่อำเภอบางพลี เพื่อนำมาประกอบพิธีทำบุญในวันออกพรรษา ต่อมาชาวบางพลีเป็นผู้เก็บดอกบัวไว้แจกให้ ชาวบ้านต่างถิ่น เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน

รุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างถิ่น จะพายเรือไปรับดอกบัวจากชาวบางพลี เพื่อนำดอกบัวไปนมัสการหลวงพ่อโต ที่วัดบางพลีใหญ่ ในการให้ และรับดอกบัวกระทำกันอย่างสุภาพ รับส่งกันมือต่อมือ ผู้ให้จะอธิฐานก่อน ส่วนผู้รับก็จะพนมมือไหว้ขอบคุณ แต่ถ้าเป็นผู้สนิทสนมกัน ก็อาจโดยดอกบัวให้โดยไม่มีพิธีรีตอง เมื่อเวลาผ่านไปการโยนดอกบัวให้กัน ก็ กลายเป็นความนิยมแทนการรับส่งมือต่อมือ จนชื่อประเพณีถูกเรียกว่า “โยนบัว” แทน “รับบัว เมื่อรับดอก บัวแล้วชาวบ้านต่างถิ่นก็พายเรือกลับ โดยมีการพายแข่งกัน จนต่อมาจัดเป็นการแข่งขันด้วย

ความเชื่อในท้องถิ่นภาคกลาง

เมื่อสภาพการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป มีโรงงานอุตสาหกรรม มีบ้านจัดสรรเกิดขึ้นที่อำเภอบางพลีมากขึ้น แหล่งน้ำที่มีดอกบัวน้อยลง หน่ายงานราชการจึงคิดจัดงานรับบัวขึ้นมา เพื่ออนุรักษ์ประเพณีไว้ โดยจัดให้มี การประกวดเรือสวยงาม และนำไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูป ปิดด้วยกระดาษสีทอง สมมุติว่า เป็นหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน นำมาตั้งบนเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทร ปราการ ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งคลองและชาวบ้านที่นำเรือมาจอดอยู่ริมคลอง จะนำดอกบัวโยนถวายหลวงพ่อ โต ซึ่งปฏิบัติต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีโยนบัวที่แตกต่างจากประเพณีรับบัวแต่เดิม

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

         เป็นประเพณีถวายเภสัช หรือยาแด่พระสงฆ์ โดย ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พุทธศาสนิกชนจะ นำอาหารและข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มลูกโยนไปทำ บุญที่วัด และจะมีของทำบุญพิเศษ คือน้ำผึ้งชนิด บริสุทธิ์ พร้อมทั้งน้ำตาลทรายและผ้าแดงผืนเล็กๆ การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่สืบเนื่องจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยปรากฏอยู่ในชาดก หลายเรื่อง เช่น ชาวบ้านมีความศรัทธานำน้ำผึ้งถวายพระพุทธเจ้า เรื่อง พญาวานรนำรวงผึ้งถวายแด่พระ พุทธเจ้า เมื่อเสด็จจำพรรษาอยู่ ณ ป่ารักขิตวัน เรื่อง พระสงฆ์เกิดอาพาธจากการถูกน้ำฝน จนร่างกายซูบ ผอม พระพุทธเจ้าจึงทรงพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ฉันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย เนยข้น เนยใส และน้ำมันพืชได้ในยาม วิกาล เพื่อบำรุงร่างกาย เพราะถือว่าทั้งห้าสิ่งนี้เป็นยา จึงมีการถวายน้ำผึ้งเป็นเภสัชทานแด่พระสงฆ์สืบมา

ภาคกลางนับถือศาสนาอะไรบ้าง

ศาสนาสำคัญของประชากรในภาคกลาง คือ พระพุทธศาสนา แต่ประชากรที่นับถือศาสนาอื่นก็มีอยู่มาก เช่น ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจะกระจายปะปนกันอยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนศาสนาคริสต์มีทั้งผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และนิกายโปรเตสแตนต์ นอกจากนี้ยังมีผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ปะปนอยู่อีกด้วย

การแสดงการละเล่นและประเพณีภาคกลางมีอะไรบ้าง

การละเล่นพื้นบ้านของชาวภาคกลางนั้น มีทั้งการละเล่นแบบที่ใช้อุปกรณ์เป็นตัวเชื่อมการเล่น หรือการละเล่นเป็นกลุ่ม บ้างก็เป็นการละเล่นแบบเดี่ยว แต่ส่วนมากมักจะมีการร้องเพลงประกอบการละเล่นต่าง ๆ อาทิ หมากเก็บ, ว่าว, ตี่จับ, รำตง, การเล่นโม่ง, สะบ้าล้อ, เพลงเรือบก, คำทาย (โจ๊กปริศนา), เพลงปรบไก่, กลองยาว, หลุมเมือง, เพลงเรือ ...

ที่อยู่อาศัยของคนภาคกลางมีลักษณะอย่างไร

ที่อยู่อาศัย บ้านเรือนในภาคกลางแต่เดิมมีลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างชัดเจน ภาคกลางอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฝนตกชุกและอากาศร้อน จึงปลูกสร้างบ้านเรือนเพื่อให้อยู่อาศัยอย่างสบายในภูมิประเทศมีแม่น้ำลำคลองมากก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ หรือปลูกเรือนลอยอยู่ในน้ำเรียกว่า เรือนแพ สำหรับที่อยู่อาศัยปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย มี ...

วัฒนธรรมด้านการแต่งกายของคนในภาคกลางมีลักษณะตรงกับข้อใด

วัฒนธรรมการแต่งกายภาคกลาง การแต่งกาย นุ่งผ้าลายโจงกระเบน เสื้อผ่าอก แขนยาว ห่มแพร จีบตามขวาง สไบเฉียงทาบบนเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ถ้าอยู่บ้านห่มสไบไม่สวมเสื้อ เมื่อมีงานพิธีจึงนุ่งห่มตาด เครื่องประดับ สร้อยคอ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กาไล แหวน เข็มขัด ผู้ชาย ผม เลิกไว้ทรงมหาดไทย หันมาไว้ผมยาวทั้งศีรษะ ผมรองทรง