เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตทำหน้าที่หรือกระบวนการต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ซึ่งรูปร่างของเซลล์แต่ละอย่างจะแตกต่างกันมากแต่จะมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน

ประวัติของเซลล์

ประมาณ พ.ศ. 2133 (ค.ศ. 1590) Zaccharias Janssen และ Hans Janssen ในการประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับส่องและขยายภาพของสิ่งที่มีขนาดเล็กให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น เรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า "กล้องจุลทรรศน์"

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

พ.ศ. 2216 อันตน ฟัน เลเวนฮุก (Anton Van Leeuwenhoek) นักวิทยาศาสตร์ชาวฮอลันดา

ผลงานประดิษฐ์แว่นขยายธรรมดา ให้มีกำลังขยายมากขึ้น และใช้ส่องดูสิ่งต่างๆ เช่นเลืด อสุจิ น้ำจากแหล่งน้ำ

พบแบคทีเรีย สาหร่าย โพรโตซัวเป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์เป็นคนแรก

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

โรเบิร์ตฮุค พ.ศ.2208

ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ประดิษฐ์ขึ้นตรวจดูชิ้นไม้คอร์คที่ฝานบางๆ พบว่าชิ้นไม้คอร์กประกอบด้วย ช่องขนาดเล็มมากมายเขาจึงตั้งชื่อแต่ละช่องว่าง เรียกว่าเซลล์ (CELL) ชิ้นไม้คอร์ก เป็นเซลล์ที่ตายแล้วเหลืออยู่แต่ผนังเซลล์(cell wall) ที่แข็งแรงประกอบไปด้วยสารพวก เซลลูโลส และ ซูเบอริน

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

ธีออร์ดอร์ ชวานน์(Theodor Schwan) พ.ศ.2382และแมทเธียส ชไลเดน (Matthias Schleiden) นักชีววิทยาชาวเยอรมัน ได้เสนอทฤษฎีของเซลล์ ( Cell theory) มีใจความว่า“สิ่งมีชีวิตทั้งปวงประกอบด้วย เซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ ”

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) Dujardin เป็นผู้พบว่าภายในเซลล์มีส่วนประกอบที่มีลักษณะเป็นของเหลวและสำคัญต่อชีวิต

- Hugo Von Mohl ได้ตั้งชื่อของเหลวดังกล่าวว่า "โพรโทพลาซึม" (Protoplasm)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

- ในปี พ.ศ. 2374 โดย Robert Brown ยังมีการค้นพบก้อนโพรโทพลาซึมที่เรียกว่า "นิวเคลียส" (Nucleus)

สรุปทฤษฎีเซลล์ได้ดังนี้

1. เซลล์เป็นหน่วยหนึ่งในทางโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

2. เซลล์เป็นหน่วยหนึ่งในทางหน้าที่ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

3. เซลล์ทั้งหลายเกิดมาจากเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อนแล้ว (โดยการแบ่งเซลล์)

ทฤษฎีของเซลล์

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบขึ้นด้วยเซลล์และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและทฤษฎีเซลล์ในปัจจุบันยังครอบคลุมถึงใจความสำคัญ 3 ประการคือ

1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ และภายในเซลล์มีสารพันธุกรรมและมีกระบวนการเมแทบอลิซึมทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นดำรงอยู่ได้

2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบการทำงานภายใจเซลล์และโครงสร้างของเซลล์

3. เซลล์ต่าง ๆ มีกำเนิดมาจากเซลล์เริ่มแรกโดยการแบ่งเซลล์ของเซลล์เดิม (ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของสารอินทรีย์พบว่าสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดมาจากสิ่งไม่มีชีวิต) โดยนักชีววิทยา



ประเภทของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

1. โปรคาริโอติค เซลล์ (prokaryotic cell)

- ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสห่อหุ้มสารพันธุกรรม (genetic material)

- มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ได้แก่ ไรโบโซม ขนาด 70S ไม่มี Cytoskeleton

- เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อยู่เป็นเซลล์เดียว หรือ colony

- DNA ไม่มีโปรตีน เป็นแบบวงปิด ประกอบด้วย

Structural DNA 1 ชุด

Plasmid DNA หลายชุด

- ผนังเซลล์ไม่เป็น Peptidoglycan

- Asexual Reproduction แบบ Binary fission

- ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) ในอาณาจักโมเนอรา (K. Monera)

Prokaryoteแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 1 เเสดงชนิดของเซลล์โปรคาริโอต

1) Eubacteria

-อยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมดาทั่วไปทั้งในดิน น้ำ อากาศ อาหาร และในร่างกายสิ่งมีชีวิตอื่น และสามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างพิเศษ คือ สามารถพบได้ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด น้ำกร่อย ในธารน้ำแข็ง แหล่งน้ำพุร้อน

2) Archeabacteria

-อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเป็นพิเศษ เช่น ร้อนจัด หรือมีความเป็นกรดหรือเบสสูง หรือบริเวณที่มีสารพิษสูงเชื่อว่ามีวิวัฒนาการแยกมา เพราะมีเยื่อหุ้มเซล์ที่แปลกออกไป

-กลุ่มของอาร์เคียที่สำคัญได้แก่

อาร์เคียที่อยู่ในสภาพเค็มจัด (extreme halophiles) พบในนาเกลือ

อาร์เคียที่ชอบอากาศร้อนจัด (exthreme thermophilies) พบในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 100oC หรือในแหล่งน้ำที่เป็นกรด ทำให้แหล่งน้ำที่เป็นกรดมีสีเขียว

-อาร์เคียที่ชอบอยู่ในที่ๆไร้ออกซิเจน เช่นในน้ำลึก ในโคลนและในดินก้นบ่อ ในทางเดินอาหารสิ่งมีชีวิต

2. ยูคาริโอติค เซลล์ (eukaryotic cell)

- มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ห่อหุ้มสารพันธุกรรม

- ออร์แกเนลล์มีทั้งมีเยื้อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อหุ้ม 1 ชั้น และไม่มีเยื่อหุ้ม

- DNA อยู่รวมตัวกันเป็นฮิสโตน (Histone) เป็น Chromatin network แบบสายตรง

- ไรโบโซม มีขนาด 80S

- มี Cytoskeleton

- ได้แก่ เซลล์ของ ยีสต์ รา โปรโตซัว เซลล์สัตว์ต่าง ๆ และเซลล์พืช

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 2 เเสดงโครงสร้างที่สำคัญของเซลล์โปรคาริโอตกับเซลล์ยูคาริโอต

เปรียบเทียบเซลล์โปรคาริโอตกับเซลล์ยูคาริโอต

ลักษณะ

เซลล์โปรคาริโอต

เซลล์ยูคาริโอต

1.กลุ่มสิ่งมีชีวิต

แบคทีเรีย,สาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงิน (ไซยาโนแบคทีเรีย)

สาหร่าย,รา,โปรโตซัว,พืช,สัตว์

2.ขนาด

1-2ไมโครเมตรx 1-4ไมโครเมตร หรือเล็กกว่านี้

เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า5ไมโครเมตร

3.โครงสร้างนิวเคลียส

ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส,มีโครโมโซม เป็นวงกลมเส้นเดียว,โครโมโซม ไม่มีฮีสโตน ไม่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส

มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส,มีโครโมโซมมากกว่า1เส้น,ฮีสโตน มีการแบ่งนิวเคลียส แบบไมโตซิส

4.การไหลเวียน ของไซโตปลาสซึม

ไม่มี

มี

5.ฟิโนไซโตซิส

ไม่มี

มี

6.กาซแวคิวโอ

มีในบางพวก

ไม่มี

7.มีโซโซม

มี

ไม่มี

8.ไรโบโซม

70 Sกระจายในไซโตปลาสซึม

80 Sเกาะตามเยื่อหุ้ม เช่นER, 70 Sในไมโตคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์

9.ไมโตคอนเดรีย

ไม่มี

มี

10.คลอโรพลาสต์

ไม่มี

มีในเซลล์บางชนิด

11.กอลจิบอดี

ไม่มี

มี

12.เอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม

ไม่มี

มี

13.แวคิวโอที่มีเยื่อหุ้ม

ไม่มี

มี

14.เยื่อหุ้มเซลล์

โดยทั่วไปไม่มีสเตอรอล เป็นองต์ประกอบ,บางส่วนทำหน้าที่ เกี่ยวกับการหายใจ,เซลล์บางชนิด ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง

มีสเตอรอลเป็นองค์ประกอบ,ไม่ทำหน้าที่หายใจ และสังเคราะห์แสง

15.ผนังเซลล์

ประกอบด้วย เปปติโดไกลแคน (มิวรีน หรือมิวโคเปปไทด์) ยกเว้น ไมโครพลาสมา

ไม่มี เปปติโดไกลแคน เป็นองค์ประกอบ,ราส่วนใหญ่มีไคติน,พืชส่วนใหญ่มีเซลล์ลูโลส,สัตว์ไม่มี

16.อวัยวะในการเคลื่อนที่

เส้นใยไฟบริลสานกันง่ายๆ ประกอบด้วย แฟลกเจลลิน (flagelin)

ประกอบด้วยไมโครทิวบูล มาเรียงกันในลักษณะ9+2

17.เท้าเทียม

ไม่มี

เซลล์บางชนิดมี

18.อัตราส่วนของเบส ของDNAเมื่อเทียบเป็นโมล % ของเบส กวานีน+ไซโตซีน (G+C%)

28-73

ประมาณ40

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป



โครงสร้างและองค์ประกอบของเซลล์ (Cell Structure and Organelles)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 1 เเสดงผนังเซลล์พืชซึ่งเป็นสารประเภทเซลลูโลส

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 2 เเสดงผนังเซลล์แบคทีเรียซึ่งเป็นสารประเภทเปปติโดไกลเคน

ผนังเซลล์ (cell wall)

- ป้องกันไม่ให้ของเหลวต่าง ๆ ภายในเซลล์ได้รับอันตราย

- พบในเซลล์พืช และแบคทีเรีย

- องค์ประกอบทางเคมีเป็น เซลลูโลส (cellulose) สำหรับพืช และ เปปติโดไกลเคน (peptidoglycan) สำหรับแบคทีเรีย

- เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่จะมี extracellular matrix (ECM) ประกอบด้วย สารพวก glycoproteinsเช่น collagen , proteoglycan complex และ fibronectin รวมทั้งคาร์โบไฮเดรทสายสั้นๆ ฝังอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 3 เเสดงโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์

เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)

- ลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ห่อหุ้มทุกสิ่งทุกอย่างภายในเซลล์

- เป็นสารประเภทฟอสโฟไลปิด 2 ชั้น (Phospholipid bilayer) โดยมีองค์ประกอบทางเคมี คือโปรตีน และไขมัน

- ทำหน้าที่ป้องกันการรั่วไหลของสารประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์ คัดเลือกสารอาหารและสารอื่นที่จะเข้าหรือออกจากเซลล์

ไซโตพลาสซึม (cytoplasm)

- เป็นของเหลวส่วนใหญ่เป็นโปรตีน กรดนิวคลีอิก สารอนินทรีย์

- แหล่งที่ปฏิกริยาทางเคมีเกิดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก

นิวเคลียส (nucleus)

- มีความสำคัญที่สุดของเซลล์

- เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรมได้แก่ DNA

- ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเซลล์เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีน

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 4 เเสดงตำแหน่งของ SER, RER และ nucleus

เอ็นโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum : SER)

- มีลักษณะเรียบ

- อยู่ระหว่าง RER กับเซลล์เมมเบรน ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน

- ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์สารประเภท steroid ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้าง ฮอร์โมน จึงพบมากใน อัณฑะ รังไข่ ต่อมหมวกไตส่วนนอก

- เกี่ยวข้องกับกำจัดสารพิษจึงพบมากในตับด้วย

เอ็นโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ (rough endoplasmic reticulum:RER)

- มีลักษณะขรุขระเพราะมีไรโบโซมมาจับอยู่ที่เมมเบรน

- ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งไปทำงานบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์

- พบในเซลล์สัตว์เท่านั้น

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 5 เเสดงโครงสร้างของกอลจิบอดี้

กอลจิบอดี้ (golgi body)

- โครงสร้างประกอบด้วยถุง ( vacuole) หุ้มด้วยเยื่อบาง ๆ หลายๆถุงเรียงกันภายใน

- ทำหน้าที่เติมคาร์โบไฮเดรตให้กับโปรตีนที่ได้จาก RER แล้วบรรจุไว้ในรูป vesicle ที่จะกลายไปเป็นไลโซโซม

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 6 เเสดงโครงสร้างเเละตำแหน่งของไลโซโซม

ไลโซโซม (lysosome)

- ลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก มีเยื่อหุ้มภายในถุง

- ประกอบด้วย hydrolytic enzymes ที่สามารถย่อยแป้ง ไขมัน โปรตีน และกรดนิวคลีอิค

- ย่อยองค์ประกอบภายในเซลล์ (Autophagy) ทำลายสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย หรือเชื้อโรค

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 7 เเสดงโครงสร้างของไรโบโซม

ไรโบโซม (ribosome)

- มีขนาดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม

- พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

- พบในคลอโรพลาสท์และไมโตคอนเดรีย

- ประกอบไปด้วยสารโปรตีนรวมกับ rRNA (ribosomal RNA) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน

เซนตริโอล (centriole)

- ประกอบด้วยไมโครทูบูล (microtubule)

- ทำหน้าที่สร้างเส้นใยสบินเดิล (spindle fiber) ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์โดยการบังคับ

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 8 เเสดงโครงสร้างของไมโตคอนเดรีย

ไมโตคอนเดรีย (mitochondria)

- พบเฉพาะในเซลล์ยูคาริโอต

- มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น

- ประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน DNA RNA และไรโบโซม

- เกี่ยวข้องกับการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) โดยผลิตพลังงาน ATP ให้กับเซลล์ และเกิดขึ้นบริเวณ matrix และ inner membrane ซึ่งเกี่ยวข้องกับ Kreb’s cycle และ Electron transport chain

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

รูปที่ 9 เเสดงโครงสร้างของเเวคิวโอ

แวคูโอล (vacuole)

- ทำหน้าที่ได้แตกต่างกัน เช่น Food vacuole, Contractile vacuole, Central vacuole หรือ Tonoplast

- พบในเซลล์พืช ภายในจะมี น้ำ, สารอินทรีย์, สารอนินทรีย์ O2และ CO2

แฟลเจลลัม (flagellum)

- พบในแบคทีเรียบางชนิด ยูกลีนา และ อสุจิ

- ประกอบไปด้วยโปรตีนที่ยืดหดได้ (contractile) ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์

โครงร่างของเซลล์ (Cytoskeleton)

- มีลักษณะเป็นเครือข่ายของเส้นใย ( network of fiber) ภายในเซลล์

- ประกอบไปด้วย microtubules , microfilaments และ intermediate filament ทำหน้าที่ค้ำจุน

- ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ ช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์ (Cell motility) และ vesicles



การแบ่งเซลล์ (CELL pISION)

การเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ 2 ขบวนการ คือ การแบ่งตัวของนิวเคลียส (KARYOKINESIS) และการแบ่งตัวของไซโทพลาซึม (CYTOPLASM) เมื่อการแบ่งตัว ของนิวเคลียสสิ้นสุด ขบวนการแบ่งตัวของไซโทพลาสซึมทันที

การแบ่งตัวของนิวเคลียสมีอยู่ 2 แบบ คือ

1. การแบ่งตัวแบบไมโทซิส

2. การแบ่งตัวแบบไมโอซิส

วัฏจักรของเซลล์ (cell cycle) หมายถึง ช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัว ซึ่งประกอบด้วย 2 ระยะได้แก่ การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะแบ่งตัว และกระบวนการแบ่งเซลล์

1. ระยะอินเตอร์เฟส (Interphase)– Chromosome จะมองเห็นไม่ชัดเนื่องจากกำลังจำลองตัวเอง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย

G1 : ระยะก่อนสร้าง DNA สร้างสารเพื่อใช้สร้าง DNA

S : ระยะสังเคราะห์และสร้าง DNA

G2 : ระยะหลังสร้าง DNA พร้อมแบ่งโคโมซมและไซโทพลาสซึม

2. ระยะ M (M-phase) เป็นระยะที่มีการแบ่งนิวเคลียส และแบ่งไซโทพลาสซึมซึ่งโครโมโซมจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอน ก่อนที่จะถูกแบ่งแยกออกจากกัน ประกอบด้วย 4 ระยะย่อย คือ โพรเฟส เมทาเฟส แอนาเฟส และเทโลเฟส

-Prophase - Chromosome เห็นชัด, เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลิโอลัสหายไป

-Metaphase - Chromosome มาเรียงตรงกลางเซลล์

-Anaphase - Chromosome แยกไปคนละข้างของเซลล์

-Telophase - นิวเคลียสแยกเป็น 2 อัน

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

- แบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกาย ในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

- การแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์ ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

- ไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซม (2n ไป 2n หรือ n ไป n )

- เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์จะได้ 2 เซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซมเท่าๆ กัน

- พบที่เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด, ปลายราก, แคมเบียม ของพืชหรือเนื้อเยื่อบุผิว, ไขกระดูกในสัตว์, การสร้างสเปิร์ม และไข่ของพืช

- มี 5 ระยะ คือ อินเตอร์เฟส (interphase), โพรเฟส (prophase), เมทาเฟส (metaphase), แอนาเฟส (anaphase) และเทโลเฟส (telophase)

สรุปการแบ่งเซลล์แบบMitosis

-ได้เซลล์ 2 เซลล์

-Chromosome จำนวนเท่าเดิม (2n = 2n)

-เซลล์ที่ได้มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ

-พบในการแบ่งเซลล์เพื่อการเจริญเติบโต

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

1. แบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เกิดในวัยเจริญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต สัตว์และมนุษย์พบในอัณฑะ (testes), รังไข่ (ovary), ในพืชแบ่งเพื่อสร้างสปอร์ (spore) ในพืช พบในอับละอองเรณู (pollen sac) และอับสปอร์ (sporangium) หรือโคน (cone) หรือในออวุล (ovule)

2. การลดจำนวนชุดโครโมโซมจาก 2n เป็น n ซึ่งเป็นกลไกหนึ่ง ที่ช่วยให้จำนวนชุดโครโมโซมคงที่ ในแต่ละสปีชีส์

3. มี 2 ขั้นตอน คือ ไมโอซิส I (Meiosis - I) และไมโอซิส II (Meiosis - II)

Meiosis I มีขั้นตอนการแบ่งเหมือน Mitosis แตกต่างจาก Mitosis คือ

1. ระยะ Prophase มีการแลกเปลี่ยน (Synapsis) ส่วนของ Chr. ใน Chr. คู่ที่เหมือนกัน (Homologous Chromosome)

2. ระยะ Anaphase Homologous Chromosome จะแยกตัวออกจากกันไปคนละข้างของเซลล์ ดังนั้นแต่ละเซลล์ที่แยกไปจึงมี Chr. ลดลงครึ่งหนึ่ง (ในคน 46 แท่ง เหลือ 23 แท่ง)

3. Synapsis

4. การแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซมระหว่าง Homologous Chromosome คู่เดียวกัน

5. มีการไขว้กันของ Homologous Chromosome เรียก Crossing Over

Meiosis II คล้าย Mitosis แต่ไม่มี การจำลองตัวของ Chromosome (ระยะ Interphase ตอนกลาง)

สรุปการแบ่งเซลล์แบบ Meiosis

เพื่อให้เซลล์ที่แบ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ (อสุจิ - ไข่)

หญิง - เกิดที่รังไข่ (Ovary) ได้ไข่ 1 ใบ

ชาย - เกิดที่อัณฑะ (Testis) ได้อสุจิ 4 ตัว

เป็นการแบ่งเซลล์ที่ลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง (2n = n) ได้เซลล์ 4 เซลล์



โครงสร้างของเยื้อหุ้มเซลล์

1. The Davson-Daniell Model

2. Fluid mosaic model (ยอมรับในปัจจุบัน)

โครงสร้างเยื้อหุ้มเซลล์แบบ Fluid Mosaic Model

• Singer และ Nicolson ได้เสนอ Fluid Mosaic Model

• มีการจัดเรียงตัวของไขมัน 2 ชั้น (Lipid Bilayer) โดยโมเลกุลของไขมันหันเอาด้านห่าง

• กรดไขมันชนิดไม่มีประจุ (Non-Polar) ไม่ชอบนํ้า (Hydrophobic) จะหันเข้าหากัน

• หัวเป็นกลีเซอรอล มีประจุ (Polar) ชอบนํ้า (Hydrophilic) จะหันเข้าสู่ด้านนอกและในเซลล์

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

*ไกลโคลิปิด (Glycolipid) หรือ ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำให้กับเซลล์ โดยเป็นตัวรับที่มีความจำเพาะต่อสารเคมีบางชนิด

* เยื่อหุ้มเซลล์มีรูขนาดเล็กที่อนุภาคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 อังสตรอม แพร่ผ่านได้ เยื่อเซลล์จึงมีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (Semipermeable Membrane) ทำให้สาร บางชนิดผ่านเข้าออกได้ เกิดการแลกเปลี่ยนสารระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมและการกระจายของประจุไฟฟ้าระหว่างภายในกับภายนอกเซลล์

1. โปรตีนภายใน (Integral Protein)

เป็นโปรตีนที่โมเลกุลแทรกอยู่ในชั้นของไขมัน

ส่วนที่ไม่มีประจุ (Non Polar) อยู่ด้านใน ส่วนที่มีประจุ (Polar) ทะลุออกมานอก

เป็นโปรตีนตัวพา (Carier Protein) ทำให้ นํ้า ไอออน (Ions) หรือสารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ได้

2. โปรตีนภายนอก (Peripheral Protein)

เป็นโปรตีนที่วางตัวอยู่นอกชั้นไขมัน ส่วนใหญ่อยู่ด้านไซโตพลาสซึม

ทำหน้าที่แตกต่างกัน ได้แก่ ลำเลียงสาร (Transport Protein) เอนไซม์ (Enzyme) โปรตีนตัวรับ (Receptor Protein) เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ (Intercellular Junctions) การจำกันได้ของเซลล์ (Cell-Cell recognition) ยึดโครงสร้างของเซลล์และของเหลวภายในเซลล์ (Attachment to the cytoskeleton and extracellular matrix (ECM))



Endoplanmic Retriculum 

ออร์แกเนลล์ (Organelles) มีโครงสร้าง (Structure) และหน้าที่ (Function) ที่แน่นอน อยู่ในไซโตซอล

1. ร่างแหเอนโดพลาสซึม (Endoplasmic Reticulum, ER)

มีลักษณะเป็นท่อกลวงทรงกระบอก หรือ แบน เรียงตัวเป็นร่างแห เป็นเยื่อชั้นเดียว มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ มี 2 ชนิด คือ ชนิดหยาบและชนิดเรียบ

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

1.1 ร่างแหเอนโดพลาสซึมชนิดหยาบ (Rough Endoplasmic Reticulum, RER)

- เป็นท่อแบนเรียงทับซ้อนกันเป็นชั้น

- มีไรโบโซม (Ribosome) เกาะที่ผิวด้านนอกทำให้มีผิวขรุขระ

- ทำหน้าที่ลำเลียงโปรตีนที่สร้างจากไรโบโซม เพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์ เช่น อิมมูโนโกลบุลิน (Immunoglobulin) เอนไซม์ (Enzyme) และฮอร์โมน (Hormone)

- ทำงานร่วมกับกอลจิ คอมเพล็กซ์ (Golgi Complex) ทำหน้าที่สะสมให้มีความเข้มข้นก่อนส่งออก

1.2 ร่างแหเอนโดพลาสซึมชนิดเรียบ (Smooth Endoplasmic Reticulum, SER)

- มีผิวเรียบเป็นท่อทรงกระบอกโค้งงอ

- ทำหน้าที่สังเคราะห์และหลั่งสาร สเตอรอยด์ฮอร์โมน จึงพบมากในเซลล์ต่อมหมวกไต เซลล์เลย์ดิกในอัณฑะ และ เซลล์ในรังไข่

- สังเคราะห์โปรตีน กำจัดสารพิษที่เซลล์ตับ

- เผาผลาญโคเลสเตอรอล และไกลโคเจน

- ในเซลล์กล้ามเนื้อ (Sarcoplasmic Reticulum) ทำหน้าที่ส่งถ่ายแคลเซียม ซึ่งควบคุมการทำงานของเซลล์ กล้ามเนื้อ



Golgi Body And Ribosome 

2. ถุงกอลจิ คอมเพล็กซ์ (Golgi complex)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

- เป็นออร์แกเนลล์ที่ติดต่อกับ ER มีลักษณะเป็นถุงแบนที่มีเยื่อ 2 ชั้น เรียกว่า Cisterna

- บรรจุโปรตีนที่รับมาจาก RER เพื่อสังเคราะห์เป็นสารหลายชนิดที่พร้อมจะใช้งานได้ใน Vacuole Sac

- หน้าที่สร้าง ไลโซโซม อะโครโซม (Acrosome) สร้างเมือกในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ สร้างแผ่นเซลล์ (Cell Plate) ในการแบ่งเซลล์ของพืช

3. ไรโบโซม (Ribosome)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

- พบในไซโตพลาสซึมของเซลล์ทุกชนิด และยังพบในไมโตคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์

- เป็นออร์แกเนลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ 0.015-0.025 ไมครอน

- ประกอบด้วย โปรตีน และ rRNA

- ไม่มีเยื่อหุ้ม มี 2 หน่วยย่อย (2 Sub Unit)

- ไรโบโซม เกาะติดกับสาร mRNA (Free Poly Ribosome) ทำหน้าที่สร้างโปรตีนเพื่อใช้เป็นเอนไซม์ในเซลล์

- ไรโบโซม (Poly Ribosome) เกาะติดกับผนังด้านนอกของ RER ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งออกนอกเซลล์ 



Peroxisome Centriole Vacuole

เพอร์รอกซิโซม หรือไมโครบอดี (Peroxisome)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

- มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว

- เก็บเอนไซม์พวก Catalase Dehydrogenase พบในเซลล์สัตว์เช่น เซลล์ตับ เซลล์ท่อไต และเซลล์พืช

- หน้าที่ทำลายสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และ ออกซิเจนที่มากเกินพอในเซลล์

เซนตริโอล (Centriole)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

- เป็นออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์สัตว์ แต่ไม่พบในเซลล์พืช

- มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกไม่มีเยื่อหุ้ม 2 อัน วางตัวในแนวตั้งฉากซึ่งกันและกัน

- ทำหน้าที่สร้างเส้นใยสปินเดิล (Spindle Fiber) เพื่อยึดติดกับโครโมโซม เพื่อดึงโครโมโซมไปอยู่คนละขั้วของเซลล์ - เซลล์พืชไม่มีเซนตริโอล จะมีโพลาร์ แคพ (Polar Cap) เพื่อทำหน้าที่สร้างเส้นใยสปินเดิลในเซลล์

แวคิวโอล (Vacuole)

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ม.4 สรุป

1) Sap Vacuole เป็นแวคิวโอลในเซลล์พืช สะสมสารต่าง ๆ ที่พืชสร้างขึ้นในเซลล์ที่เกิดใหม่ ๆ

2) Contractile Vacuole พบในพวกโปรโตซัวนํ้าจืด เช่น อะมีบา พารามีเซียม ทำหน้าที่เก็บและขับถ่ายของเหลวส่วนเกินออกจากเซลล์