ลูก น้อย มี กลิ่น ปาก ทำ ไง ดี

ปัญหากลิ่นปากในเด็ก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากในช่องปากนั่นแหละค่ะ ไม่ว่าจะเป็นฟันผุ เหงือกอักเสบ แปรงฟันไม่สะอาด ลิ้นมีคราบเป็นฝ้าขาว แต่หากตรวจดูในช่องปากไม่พบความผิดปกติใดๆ อาจมีสาเหตุมาจากระบบทางเดินหายใจ เช่น ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ภูมิแพ้ หรือระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจต้องพบหมอเฉพาะทางเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง

ลูก น้อย มี กลิ่น ปาก ทำ ไง ดี

เริ่มอาหาร กลิ่นปากย่อมมากขึ้น 

ธรรมชาติกลิ่นปากจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาต่างๆ ได้ ตอนเช้าหลังตื่นนอนจะมีกลิ่นปากแรงกว่าปกติเพราะกลางคืนน้ำลายไหลน้อยทำให้ ชะล้างเชื้อโรคในช่องปากได้ไม่ดี ช่วงเวลาก่อนมื้ออาหารหลักกลิ่นปากก็จะแรงกว่าปกติได้เช่นกัน เมื่อลูกได้กินอาหาร มีการหลั่งของน้ำลายมากขึ้น กลิ่นปากก็จะค่อยๆ ลดลงเองค่ะคุณพ่อคุณแม่อย่าพึ่งกังวลใจไปเลยนะคะ ส่วนมากในเด็กเล็กเมื่อตรวจดูในช่องปากพบว่าไม่มีปัญหาใดๆ ฟันสะอาด ลิ้นสะอาด หลายครั้งดมพิสูจน์ด้วยตัวเองก็พบว่าเป็นกลิ่นน้ำลายธรรมดา เมื่อลูกอายุเกิน 6 เดือน กินอาหารเสริมต่างๆ เพิ่มขึ้น เชื้อโรคในช่องปากก็สามารถย่อยสลายอาหารทำให้มีกลิ่นได้มากขึ้น ถือเป็นเรื่องปกติ

วิธีป้องกันและลดปัญหากลิ่นปากในเด็ก

  1. แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  2. ขัดฟันก่อนนอน
  3. สำคัญมากแปรงลิ้นให้ลูกด้วยเพราะลิ้นที่ไม่สะอาดเป็นคราบขาวเป็นอีก สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก วิธีทำความสะอาดลิ้นอาจทำได้โดยใช้แปรงสีฟันขนนิ่มชุบน้ำสะอาดแปรงลิ้นอย่าง เบามือ หรือใช้ผ้าอ้อมชุบน้ำสะอาดพอหมาดเช็ดลิ้นก็ได้ โดยทำความสะอาดจากโคนลิ้นสู่ปลายลิ้น ไม่ต้องล้วงลึกมากเพราะจะกระตุ้นให้ลูกอาเจียน

เมื่อลูกมีฟันซี่แรก คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมพาลูกไปพบทันตแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสถานที่เเละเครื่องมือในการตรวจฟันนะคะ

ลูกชายอายุ 1 ขวบ 4 เดือน มีกลิ่นปากทั้งๆ ที่แปรงฟันให้วันละ 2 ครั้ง ทั้งเช้าและก่อนนอน ไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใดได้บ้างคะ?

กลิ่นปากเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งในเด็กเล็กๆ ดังนั้นเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ที่ลูกกำลังมีปัญหาในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ได้ทราบถึงสาเหตุว่าแท้จริงแล้ว การเกิดกลิ่นปากขึ้นกับลูกตั้งแต่วัยยังเล็กอยู่อาจมาได้จากหลายสาเหตุ ซึ่ง แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด ได้ให้คำตอบ พร้อมอธิบายถึงแนวทางแก้ไข ไว้ดังนี้ค่ะ

1. เศษอาหารเน่าเสียหรือคราบนมที่ตกค้างในช่องปาก เนื่องจากการย่อยสลายอาหารเหล่านี้โดยเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในปาก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ บริเวณโคนลิ้น ซอกฟัน และร่องเหงือก

วิธีแก้ไข แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหารทันที ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารระหว่างซอกฟัน แปรง เช็ด หรือขูดเบาๆ ที่ลิ้น พาลูกพบหมอฟันทุก 6 เดือนเพื่อกำจัดคราบสกปรกที่แปรงฟันด้วย

2. กลิ่นของอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียม หัวหอม

วิธีแก้ไข แปรงฟันให้สะอาด ใช้อาหารบางอย่างเพื่อดับกลิ่น เช่น โยเกิร์ต กลิ่นมินต์ กลิ่นใบสะระแหน่ กลิ่นฝรั่ง กลิ่นมะนาว กลิ่นชะเอม ถ้าเป็นเด็กโต อาจให้กลั้วปากด้วยน้ำยาดับกลิ่นปาก หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 1.5% 10 ซีซี

3. การติดเชื้อภายในหรือบริเวณใกล้เคียงช่องปาก เช่น ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ เหงือกอักเสบ

วิธีแก้ไข รักษาการติดเชื้อ

ลูก น้อย มี กลิ่น ปาก ทำ ไง ดี
Credit Photo : Shutterstock

 

4. โรคของระบบทางเดินอาหาร เช่น ภาวะกรดไหลย้อน ท้องผูก มีพยาธิเป็นจำนวนมาก

วิธีแก้ไข รักษาตามอาการของโรค

5. ลูกเป็นโรคภูมิแพ้หรือต่อมอะดีนอยด์โต ทำให้ต้องอ้าปากช่วยหายใจ เพราะหายใจทางจมูกไม่สะดวก และเมื่ออ้า ปากตลอดเวลาจะทำให้ปากแห้ง จึงมีกลิ่นปาก

วิธีแก้ไข รักษาโรคดังกล่าว จะได้หายใจทางจมูกได้

6. ดื่มน้ำน้อย ทำให้ปากแห้ง จึงมีกลิ่นปาก เช่นเดียวกับเวลากลางคืน น้ำลายหลั่งน้อยลง ตื่นเช้าขึ้นมาจึงมีกลิ่นปาก ทั้งๆ ที่แปรงฟันแล้วก่อนนอน

วิธีแก้ไข ให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นเด็กโต การเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยให้น้ำลายเพิ่มขึ้น

7. ลูกเป็นโรคบางอย่าง ทำให้มีสารของเสียในร่างกายเพิ่มขึ้น ส่งกลิ่นออกมาตามสารคัดหลั่งของร่างกาย เช่น เหงื่อ น้ำลาย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ

วิธีแก้ไข รักษาตามอาการของโรคดังกล่าว

ขอขอบคุณแพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด นิตยสาร Amarin Baby & Kids

กลิ่นปากเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป แต่หากเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ โดยเฉพาะเมื่อลูกแปรงฟันเป็นประจำอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นกังวลว่ากลิ่นปากเป็นสัญญาณบอกโรคอะไรหรือเปล่า การเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กมีกลิ่นปากอาจช่วยให้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

นอกจากความกังวลที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอ กลิ่นปากอาจทำให้ความมั่นใจในการพูดคุยหรือสื่อสารกับคนรอบข้างของเด็กลดลงอีกด้วย เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยไม่ทันสังเกตว่าตนเองกำลังมีปัญหากลิ่นปากอยู่ บางคนอาจรู้ตนเองมีกลิ่นปากจากเพื่อนและคนรอบข้าง ซึ่งการรู้ปัญหาด้วยวิธีนี้อาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรือเกิดความเครียดตามมา

 

ลูก น้อย มี กลิ่น ปาก ทำ ไง ดี

ลูกมีกลิ่นปาก เพราะอะไร

ตามปกติแล้วเด็กมักจะมีกลิ่นปากหลังตื่นนอน แต่ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นกังวลไป เพราะกลิ่นปากจากสาเหตุนี้มักหายไปหลังจากเด็กแปรงฟันหรือกินอาหาร นอกจากนี้ ปัญหากลิ่นปากที่พบในเด็กและวัยรุ่นยังสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น

  • กินอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น กระเทียม หัวหอม ชีส อาหารที่มีน้ำตาลหรือโปรตีนสูง เป็นต้น
  • ดื่มเครื่องดื่มบางชนิด อาทิ กาแฟ ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำส้ม โซดาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่รักษาความสะอาดในช่องปาก
  • ใช้ยาบางชนิดที่อาจทำให้ปากแห้งหรือสูบบุหรี่
  • มีโรคประจำตัวหรือป่วยด้วยโรคบางโรค เช่น เป็นกรดไหลย้อน มีเสมหะในลำคอ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ติดเชื้อภายในปากหรือลำคอ มีอาการคัดจมูก มีภาวะไซนัสอักเสบ เป็นโรคเหงือก ฟันผุหรือมีฝีในปาก ป่วยด้วยกลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren's Syndrome) เป็นต้น

กลิ่นปากมักมาจากบริเวณเหงือกและลิ้น ทำให้เด็กหลายคนอาจไม่ทันรู้ตัวว่าตนเองนั้นมีปัญหากลิ่นปากอยู่ แต่การจะสังเกตว่าตนเองมีกลิ่นปากหรือไม่นั้น ทำได้ด้วยการใช้สำลีหรือผ้าก๊อซสะอาดเช็ดพื้นผิวในช่องปากและดม หรือเลียลงบนหลังมือก่อนปล่อยให้แห้งประมาณ 10 วินาทีแล้วลองดม หากรู้สึกว่ามีกลิ่นเหม็น อาจต้องระมัดระวังและหาวิธีกำจัดกลิ่นปากอย่างถูกวิธี

วิธีกำจัดกลิ่นปากสำหรับเด็กและวัยรุ่น

การกำจัดกลิ่นปากที่เกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่นสามารถทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

รักษาความสะอาดภายในช่องปากอยู่เสมอ

การสะสมของแบคทีเรียและคราบพลัค (Plaque) ภายในปากอาจเป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก ขั้นแรกอาจให้เด็กแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน สอนการแปรงลิ้นและใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งเพื่อกำจัดเศษอาหารที่อาจติดค้างอยู่ตามร่องฟัน ซึ่งการทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหากลิ่นปากเบื้องต้น

ดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดทั้งวัน

เด็กหรือวัยรุ่นที่มีกลิ่นปากหรือมีภาวะปากแห้ง ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอหรือประมาณ 8 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นภายในช่องปากและกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำลายออกมามากขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงหรือมีน้ำตาลสูง

เคี้ยวหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล

การเคี้ยวหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล (Sugar-free Gum) จะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลายในช่องปาก ทำให้เศษอาหารหรือแบคทีเรียถูกกำจัดออกไปมากขึ้น โดยให้เคี้ยวหลังมื้ออาหารหรือหลังจากการกินอาหารที่มีกลิ่นฉุน

ทำความสะอาดรีเทนเนอร์

รีเทนเนอร์อาจเป็นแหล่งสะสมทั้งแบคทีเรีย คราบพลัคและคราบหินปูน หากทำความสะอาดไม่เหมาะสมก็อาจก่อให้เกิดกลิ่นปากได้ จึงควรทำความสะอาดรีเทนเนอร์ทุกวัน หลังกินอาหารทุกครั้งหรือหลังการแปรงฟัน โดยอาจแช่น้ำยาทำความสะอาดรีเทนเนอร์โดยเฉพาะหลังการใช้งาน หรือทำความสะอาดขณะที่รีเทนเนอร์เปียกก็จะช่วยให้ขจัดคราบที่ติดอยู่ได้ง่ายขึ้น

กินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่เป็นมิตรต่อช่องปาก

อาหารและเครื่องดื่มที่อาจช่วยระงับกลิ่นปาก เช่น แครอท แตงกวา แอปเปิ้ล ส้ม สับปะรด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ หรือผลไม้อื่น ๆ ที่มีวิตามินซีสูง โดยวิตามินซีจะช่วยกำจัดแบคทีเรียและบรรเทาอาการของโรคเหงือกที่อาจเป็นสาเหตุของกลิ่นปากได้

นอกจากนี้ การกินชาเขียวหรือสมุนไพรชนิดต่าง ๆ อาจช่วยเรื่องกลิ่นปากได้เช่นกัน อย่างเมล็ดโป๊ยกั๊ก เมล็ดยี่หร่า หรือพาร์สลีย์ ทั้งนี้ อย่าลืมหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง ไม่ว่าจะเป็นกระเทียม หัวหอม อาหารรสเผ็ด อาหารที่มีน้ำตาลหรือมีส่วนประกอบของโปรตีนสูง

เลิกบุหรี่

การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดการเกิดกลิ่นปาก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือก ฟันผุ การรับรสได้น้อยลงหรือมะเร็งช่องปากได้ โดยสามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญถึงแนวทางการเลิกบุหรี่ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน

นอกจากนี้ การรักษาโรคหรือภาวะที่ก่อให้เกิดกลิ่นปาก อย่างโรคเหงือก ภาวะไซนัสอักเสบ โรคเบาหวานหรือกรดไหลย้อน จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ลงได้ หากสงสัยว่ากลิ่นปากของลูกเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

สิ่งสำคัญในการกำจัดกลิ่นปาก คือ การดูแลช่องปากอย่างเหมาะสม การตรวจสุขภาพของช่องปากประจำปี และการพบทันตแพทย์เมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติในช่องปากของลูก เช่น เด็กมีกลิ่นปากอย่างรุนแรงในตอนเช้าหลังตื่นนอน ฟันผุ กลิ่นปากไม่บรรเทาลงหลังพยายามกำจัดกลิ่นด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว ซึ่งการพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่องปากได้ทันก่อนจะมีอาการที่รุนแรงขึ้น