แผนการสอน project based learning วิทยาศาสตร์

จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning หรือ PBL) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

                    ขั้นที่ 1 ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน

  1. ครูกล่าวชี้แจงว่าวันนี้เราจะมาทำกิจกรรมเรื่องอะไร
  2. ครูนำนักเรียนลงไปสำรวจดินบริเวณต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 12-13 คน  เก็บตัวอย่างดินขึ้นมาศึกษาต่อ  พร้อมทั้งอธิบายถึงสิ่งที่นักเรียนสังเกตเห็น
  3. ครูอธิบายเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่นักเรียนกระทำข้างต้น

                    ขั้นที่ 2 ขั้นกระตุ้นความสนใจ              

ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน ดังนี้

  • นักเรียนคิดว่า ดินประกอบด้วยอะไรบ้าง
  • นักเรียนคิดว่าดินในแต่ละที่เหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร
  • นักเรียนเคยสังเกตเวลาที่นักเรียนรดน้ำต้นไม้นั้น น้ำมีการซึมผ่านเร็วหรือช้า

                    ขั้นที่ 3 ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ        

  1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน ซึ่งมีเกณฑ์ในการแบ่งนักเรียนจากระดับการเรียน ได้แก่ เด็กเรียนดี ปานกลาง และอ่อน โดยให้นักเรียนแต่ละระดับคละกันในแต่ละกลุ่ม
  2. ครูมอบหมายหัวข้องานที่แต่ละกลุ่มต้องไปสืบค้นและทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีเงื่อนไขว่า ทุกคนในกลุ่มจะต้องมีหน้าที่เป็นของตนเอง อย่างน้อย 1 หน้าที่
  3. ครูอธิบายกิจกรรมการเรียนรู้
    • นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาลักษณะของดินในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน จากตัวอย่างดินที่กลุ่มของตนเองศึกษามา
    • เมื่อศึกษาข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนร่วมกันวางแผนการทำงานในการนำข้อมูลออกมานำเสนอ โดยครูแจกกระดาษสำหรับให้นักเรียนวางแผนงาน ซึ่งนักเรียนสามารถนำเสนอผลงานของกลุ่มออกมาในรูปแบบใดก็ได้ และสามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่ภายในห้องมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอได้ทุกอย่าง
    • สรุปความคิดรวบยอดและนำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเองผ่านแอพพลิเคชั่น HP Reveal

                    ขั้นที่ 4 ขั้นแสวงหาความรู้

ทดลองเรื่องการอุ้มน้ำของดิน สรุปและอภิปรายผลการทดลองลงในใบกิจกรรม

                    ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้

  1. นักเรียนวางแผนและสรุปความคิดรวบยอดของกลุ่มลงในกระดาษปรู๊ฟ ซึ่งครูจะซักถามข้อสงสัยระหว่างการทำงาน คอยแนะนำและสังเกตการทำงานร่วมกันของนักเรียนภายในกลุ่ม
  2. นักเรียนจัดทำชิ้นงานของกลุ่มตัวเอง
  3. นักเรียนอัพโหลดชิ้นงานผ่านแอพพลิเคชั่น HP Reveal โดยครูคอยช่วยอธิบายการใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้ และคอยให้คำปรึกษาต่าง ๆ

                    ขั้นที่ 6 ขั้นนำเสนอผลงาน

นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแผนผังความคิดและผ่านทางแอพพลิเคชั่น HP Reveal เพื่อให้กลุ่มอื่น ๆ ได้ชม

          ขั้นสรุป

ทำการทดสอบหลังเรียน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ดินน่ารู้  เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  1. ดิน
  2. ใบกิจกรรม
  3. แบบทดสอบ
  4. ปากกาเมจิก
  5. กระดาษปรู๊ฟ
  6. Application (HP Reveal)
  7. Hardware (Tablet, Smartphone)

4. การวัดและการประเมินผล

จุดประสงค์การเรียนรู้วิธีการวัดเครื่องมือเกณฑ์1.       อธิบายองค์ประกอบและสมบัติทางกายภาพของดินได้ตรวจแบบทดสอบ เรื่อง ดินน่ารู้แบบทดสอบ เรื่อง ดินน่ารู้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 602.       จำแนกและจัดประเภทของดินได้ตรวจแบบทดสอบ เรื่อง ดินน่ารู้แบบทดสอบ เรื่อง ดินน่ารู้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 603.       สำรวจ  และอธิบายเกี่ยวกับดินในท้องถิ่นได้– ประเมินแผนผังความคิด

– ประเมินชิ้นงาน

– ใบกิจกรรม

– แผนผังความคิด

– ชิ้นงาน

คะแนนได้ระดับคุณภาพดีขึ้นไป4.       สมรรถนะของผู้เรียน

– ความสามารถในการสื่อสาร

– ความสามารถในการคิด

– ความสามารถในการแก้ปัญหา

– ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

– ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

– ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายกลุ่ม

– ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

– แบบประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายกลุ่ม

– แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

คะแนนได้ระดับคุณภาพดีขึ้นไป5.       เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการใช้ ICT ได้– ประเมินชิ้นงาน– ชิ้นงานคะแนนได้ระดับคุณภาพดีขึ้นไป

 

แบบประเมินชิ้นงาน (แผนผังความคิดและวิดีโอ)     คลิก
เกณฑ์แบบประเมินชิ้นงาน โดยใช้ rubric score     คลิก

แบบประเมินและเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม     คลิก

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์     คลิก
เกณฑ์แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์     คลิก

 

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนในรูปแบบ PBL Using ICT เรื่อง ดินน่ารู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบแผนผังความคิดลงบนกระดาษ จากนั้นทำการจัดทำวิดีโอนำเสนอผลงาน และทำการอัพโหลดวิดีโอโดยการใช้แอพพลิเคชั่น HP Reveal โดยกิจกรรมนี้ได้สงเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะทั้ง 5 ด้าน คือ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี