หน่วยการเรียน รู้ ที่ 1 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ม. 3

หน่วยการเรียน รู้ ที่ 1 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ม. 3

⇒ตัวชี้วัด⇐
ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  ( ง 3.1  ม.1/3 )

⇒สาระการเรียนรู้แกนกลาง⇐
•  ข้อมูลและสารสนเทศ
•  ประเภทของข้อมูล
•  การประมวลผลข้อมูล
•  การจัดการสารสนเทศ
•   ระดับสารสนเทศ

⇒เป้าหมายการเรียนรู้⇐
1.อธิบายความหมายของข้อมูลและสารสนเทศได้
2.บอกวิธีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสาสนเทศได้
3.ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศได้

⇒สมรรถนะของผู้เรียน⇐
1.ความสามารถในการคิด
2.ความสามารถในการแก้ปัญหา
3.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

⇒คุณลักษณะอันพึงประสงค์⇐
1.ใฝ่เรียนรู้
2.มุ่งมั่นในการทำงาน


แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 3


เนื้อหาสำคัญในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

– ความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ – ประเภทของข้อมูล – วิธีการประมวลผลข้อมูล– ลักษณะของสารสนเทศที่ดี– การจัดการสารสนเทศ -ระบบสารสนเทศ


#ความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ#

ข้อมูล (data)
หมายถึง ข้อเท็จจริง (fact) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งสามารถบันทึกไว้อย่างต่อเนื่องและมีความหมายอยู่ในตัว เช่น ชื่อนักเรียน อายุ เพศ จำนวนประชากร ปริมาณฝน เป็นต้น ข้อมูลจะมีอยู่จำนวนมาก และจะถูกนำไปประมวลผลเพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ ได้มากมาย

ข้อมูลมีความสำคัญมาก หากข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ผิด ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์จะผิดด้วยหรือเรียกว่า ป้อนขยะเข้าย่อมได้ขยะออกมา (garbage in – garbage out)

การประมวลผล (processing) หมายถึง การกระทำของเครื่องคอมพิวเตอร์กับข้อมูล เช่น การรวบรวมเป็นแฟ้มข้อมูล การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่มข้อมูล การจัดทำรายงาน เป็นต้น

สารสนเทศ (information)
หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่าสารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทันต่อเวลาและอยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้สะดวก ซึ่งสารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี

หน่วยการเรียน รู้ ที่ 1 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ม. 3

(คำอธิบาย : ภาพแสดง ความหมายของข้อมูล และสารสนเทศ)

( คำอธิบายวิดีโอ : สื่อวิดีโอจากyoutube ที่เรื่องตรงกับวัตถุประสงค์ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ ชั้น ม.1 )

ดาวน์โหลดใบงานที่  3.1   ข้อมูลและสารสนเทศ


#ประเภทของข้อมูล#

จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก เช่น ข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนรถที่เข้า – ออก มหาวิทยาลัยในช่วงเวลา 08.00 – 09.00 น . ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษา

2. ข้อมูลทุติภูมิ (Secondary Data)

เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลในอดีต และมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้ว ผู้ใช้นำมาใช้ได้เลย จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิจะไม่ตรงกับความต้องการหรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้ใช้จะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่นำมาใช้ สรุปผลการวิจัยผิดพลาดไปด้วย เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุโดยรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาในปี 2540 – 2541 เป็นข้อมูลที่บางครั้งอาจถูกแปรรูปไปแล้ว แต่เนื่องจากบางครั้งเราไม่สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิได้เราจึงต้องศึกษาจากข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้ว

#วิธีการประมวลผลข้อมูล#

การประมวลผลข้อมูลเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะข้อมูลรอบ ๆ ตัวเรามีจำนวนมาก ก่อนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศก่อนจึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้ (สานิตย์ กายาผาด, 2542, หน้า 94)

1.การประมวลผลเชื่อมตรงหรือออนไลน์ (Online Processing)
เป็นเทคนิคการประมวลผลแบบสุ่ม จะประมวลผลตามเวลาที่เกิด การประมวลผลออนไลน์นี้จัดว่าเป็นการประมวลผลแบบ Real-Time Processing หมายความว่าจะทำการประมวลผลทันทีโดยไม่ต้องรอรวบรวมข้อมูล รายการจะถูกนำไปประมวลผลและได้ผลลัพธ์ทันที การประมวลผลแบบ Real-Time นี้ จะมีเทอร์มินัลต่อเข้ากับ CPU โดยตรง ข้อมูลจะมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ระบบลักษณะนี้เรียกว่า Online System เช่น การฝาก-ถอนเงินของธนาคารด้วย ATM

หน่วยการเรียน รู้ ที่ 1 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ม. 3
(คำอธิบาย: ภาพการประมวลผลเชื่อมตรงหรือออนไลน์ (Online Processing)

2.การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing)
คือ การประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนทำการประมวลผล การประมวลผลจะทำตามช่วงเวลาที่กำหนดอาจทำทุกวันหรือทุกสิ้นเดือน ผู้ใช้ไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ทันทีและไม่สามารถโต้ตอบกับระบบได้ แต่การประมวลผลแบบนี้จะช่วยลด ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลได้มากกว่าการประมวลผลแบบอื่น ข้อมูลจะเป็นแบบ Transaction file ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลนี้เรียกว่า Off-line System เช่น ระบบคิดดอกเบี้ยของธนาคาร การคิดค่าน้ำ-ค่าไฟ เป็นต้น

 ดาวน์โหลดใบงานที่ 3.2    ประเภทของข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล


#ลักษณะของสารสนเทศที่ดี#

1.มีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) 
หมายถึง  สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงกับความเป็นจริง และเชื่อถือได้ สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำจะต้องเกิดจากการป้อนข้อมูลและการประมลผลที่ถูกต้อง
2.ทันต่อเวลา  (Timeliness)
หมายถึง  ข้อมูลที่ป้อนต้องมีความเป็นปัจจุบัน ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา  เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
3.มีความสมบูรณ์ครบถ้วน  (Complete)
หมายถึง ต้องเก็บรวมรวมให้ได้รายละเอียดมากและถูกต้องที่สุด ในส่วนของข้อมูลนั้น
4.มีความสอดคล้องกับความต้องการของผุ้ใช้ (Relevancy)
หมายถึง  การเก็บข้อมูลต้องมีการสอบถามการใช้งานว่าต้องการข้อมูลส่วนใดบ้าง  จึงนำมาสรุปเป็นสารสนเทศ ที่ถูกต้องสมบูรณ์
5.สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable)
หมายถึง  ต้องสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้  ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องน่าเชื่อถือของสารสนเทศนั้นๆได้

ดาวน์โหลดใบงานที่ 3.3    ลักษณะของสารสนเทศที่ดี


#การจัดการสารสนเทศ#

มนุษย์ให้ความสนใจกับข้อมูลและสารสนเทศมาตั้งแต่ในอดีต มีการเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตนับเป็นเครือข่ายการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลก มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่สะดวก รวดเร็ว เป็นแหล่งข้อมูลที่ทุกคนเข้าถึงได้ตลอดเวลา การที่มนุษย์ให้ความสนใจกับข้อมูลและสารสนเทศนั้น เนื่องมาจากมนุษย์ต้องใช้ข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจในเรื่องเล็ก ๆ เช่น เลือกซื้อสินค้า จนถึงการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ เช่น การตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจ

หน่วยการเรียน รู้ ที่ 1 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ม. 3

(คำอธิบาย: ภาพแสดงการจัดการระบบสารสนเทศ)

สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และจำเป็นสำหรับการใช้งานในด้านต่าง ๆ การจัดการสารสนเทศนั้นหมายรวมถึงขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศนั้นมีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล การประมวลผล และการดูแลรักษาข้อมูล การมีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการในการจัดการสารสนเทศจะทำให้สามารถนำสารสนเทศ

ดาวน์โหลดใบงานที่ 3.4   การจัดการสารสนเทศ


#ระบบสารสนเทศ#

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ

1.ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์
2.ซอร์ฟแวร์
3.ข้อมูล
4.บุคลากร
5.ขั้นตอนการปฎิบัติงาน

หน่วยการเรียน รู้ ที่ 1 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ ม. 3
(คำอธิบาย: ภาพแสดงองค์ประกอบของ ระบบสารสนเทศ)

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ

2.ซอฟต์แวร์ (Software)
หมายถึง  ลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ

– ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์

– ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิกซอฟต์แวร์ประมวลคำ  ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน

3.ข้อมูล (Data)
เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ

4.บุคลากร (Peopleware)
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure)
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

ดาวน์โหลดใบงานที่ 3.5  ระบบสารสนเทศ


แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 3