แบบฟอร์มลาออกจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กสิกรไทย

ก่อนตัดสินใจลาออกจากกองทุน สมาชิกควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนเองสามารถกลับเข้ามาเป็นสมาชิกกองทุนได้อีกหรือไม่ เพื่อไม่ให้เสียโอกาสและประโยชน์ในการเก็บออมเงินอย่างต่อเนื่องในระยะยาวสำหรับรองรับชีวิตหลังเกษียณ  ทั้งนี้ สมาชิกสามารถดูเงื่อนไขการกลับเข้ามาเป็นสมาชิกกองทุนได้จากข้อบังคับกองทุนซึ่งกำหนดแตกต่างกันไป โดยบางแห่งอาจกำหนดให้สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนโดยไม่ลาออกจากงานสามารถกลับเข้ามาเป็นสมาชิกได้ทันที บางแห่งอาจกำหนดระยะเวลา และบางแห่งอาจไม่เปิดโอกาสให้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกได้อีก  (คลิก เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับประโยชน์ของการออมเงินเร็วและต่อเนื่อง)

               ในกรณีอายุเกิน 55 ปี หากอยากย้าย PVD ไป RMF ขอให้ตรวจสอบเงื่อนไขว่า เงินจาก PVD จำเป็นต้องใช้หลังเกษียณเมื่อใด ถ้ายังไม่จำเป็นต้องใช้ในระยะเวลา 1-2 ปี ก็สามารถย้าย PVD ไป RMF ได้ ทั้งนี้ ควรเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการจัดการก่อนตัดสินใจย้ายไป RMF ด้วย

         ข้อดีของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือ เป็นตัวช่วยชั้นเยี่ยมสำหรับการสร้างหลักประกันเพื่อเกษียณอายุ เปรียบเสมือนการลงทุนที่เราได้รับผลประโยชน์ถึง “สองต่อ” เพราะเมื่อจ่าย “เงินสะสม” เข้าไปในกองทุนแล้ว นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย “เงินสมทบ” ให้เราด้วย เพื่อนำเม็ดเงินไปบริหารโดยผู้จัดการกองทุนฯ มืออาชีพ ที่จะทำให้เกิดผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่ที่ดีไปกว่านั้น คือ เงินที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปทุกๆ ปี สามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง หรือไม่เกินปีละ 500,000 บาท

1.1 กรณีไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ให้ยื่นแบบ สปส.1-03 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )

1.2 กรณีเคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อน (ไม่ว่าทางประกันสังคมจะออกบัตรรับรองสิทธิให้แล้วหรือไม่ก็ตาม) ให้ยื่นแบบ สปส. 1-03/1 เท่านั้น
หมายเหตุ บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

หลักการนำส่ง สปส.1-03 และ สปส. 1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. สปส. 1-03 → แนบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน → พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (รวมเรียกว่า 1 แผ่น)
2. สปส. 1-03/1 (รวมเรียกว่า 1 แผ่น )
3. ปะหน้าด้วย สปส.1-02 แล้วรวมจำนวนแผ่นที่นำส่งประกันสังคม
4. ส่งให้ นายจ้าง / ผู้รับมอบอำนาจ → เซ็น → พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)

2. กรณีพนักงานลาออก ให้ยื่นแบบ สปส. 6-09

3. กรณีพนักงานขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ และหรือขอแก้ไขบัตร ให้ยื่นแบบ สปส.9-02
(ขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ประจำปีได้ในวันที่ 1 ม.ค – 31 มี.ค ของทุกปี )

4. กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ให้ยื่นแบบ กท.16 และ กท.44

5. กรณีขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม ให้ยื่นแบบ สปส.2-01

ข้อกำหนดของประกันสังคม

– กรณีนำส่ง สปส. 1-03 และ สปส. 1-03 / 1 ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้า
ทำงาน มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– กรณีนำส่ง สปส. 6-09 ให้แจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 15
ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การกรอกแบบเพื่อนำส่ง สปส.1-03 และ สปส.1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ในส่วนข้อมูลนายจ้าง

1. กรอกชื่อสถานประกอบการ
2. เลขที่บัญชี ของสถานประกอบการ
3. ลำดับที่สาขา (ถ้ามี)
4. วันที่ผู้ประกันตนเข้าทำงาน (ให้กรอกวันเดือนปี ที่ผู้ประกันตนเข้าปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะมีผลต่อการขอรับประโยชน์)
5. ประเภทการจ้าง

ข้อมูลผู้ประกันตน

– ให้กรอกข้อมูลผู้ประกันตนในลำดับที่ 1 – 6 ให้ครบถ้วนเรียบร้อย
คำแนะนำ ข้อ 6. สถานภาพครอบครัว ให้ระบุตามความเป็นจริง กรณีมีบุตรอายุไม่เกิน 6 ปี มากกว่า 2 คน ให้กรอกปี พ.ศ.เกิดเพียง 2 คน เรียงตามลำดับการเกิดก่อนหลังที่มีชีวิตอยู่

ข้อปฏิบัติผู้มีอำนาจเซ็น
– ผู้ลงชื่อรับรองข้อมูลผู้ประกันตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น
– ใน ( …………………………… ) → ให้ลงคำนำหน้านาม ชื่อ – ชื่อสกุลให้เรียบร้อย
– วันที่ ………………………….. พร้อมลงวันที่ให้เรียบร้อย

ข้อมูลการเลือกสถานพยาบาล
– การเลือกสถานพยาบาลในข้อ 8 ให้ผู้ประกันตนเลือกได้ตามเอกสารรายชื่อสถานพยาบาลประกันสังคมปีปัจจุบันเท่านั้น

รายละเอียดการทำ สปส.1-03/1 มีขั้นตอนดังนี้

1.กรอกชื่อสถานประกอบการและชื่อสาขาพร้อมเลขที่บัญชี ลำดังสาขา ที่ตั้งสถานประกอบการหรือสาขา ตามที่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างไว้ กรณีเป็นสำนักงานใหญ่หรือเป็นกิจการซึ่งไม่มีสาขากรุณาใส่ 000000 ลงที่ช่องลำดับที่สาขา

2.กรอกลำดับที่ เลขประจำตัวประชาชน คำนำหน้านาม ชื่อ-ชื่อนามสกุล ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน

3.กรอก วันเดือนปี ที่ผู้ประกันตนเข้าทำงาน

4.ผู้ลงชื่อรับรองข้อมูลผู้ประกนตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบหมายอำนาจเท่านั้น

5.ลงชื่อ………………………….. นายจ้าง/ผู้รับมอบอำนาจ (ให้เซ็นชื่อนายจ้างหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น)
6.ใน ( …………………………… ) → ให้ลงคำนำหน้านาม ชื่อ – ชื่อสกุลให้เรียบร้อย
7.ตำแหน่ง……………… ( ให้กรอกเป็นภาษาไทยชื่อตำแหน่งเต็ม ) ** ห้ามใช้ตัวย่อหรือภาษาอังกฤษ ( PM.)

8. วันที่ ………………………….. พร้อมลงวันที่ให้เรียบร้อย

รายละเอียดการทำ สปส. 6-09 มีขั้นตอนดังนี้

1.กรอกชื่อสถานประกอบการและชื่อสาขาพร้อมเลขที่บัญชี ลำดับที่สาขา ที่ตั้งสถานประกอบการหรือสาขา ตามที่ได้แจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างไว้ กรณีเป็นสำนักงานใหญ่หรือเป็นกิจการซึ่งไม่มีสาขากรุณาใส่ 000000 ลงที่ช่องลำดับที่สาขา

2.กรอกลำดับที่ เลขประจำดัวประชาชน คำนำหน้านาม ชื่อ – ชื่อสกุล ของผู้ประกันตนให้ชัดเจน

3.กรอก วัน เดือน ปี ที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน คือ วันที่ถัดจากวันสุดท้ายที่ผู้ประกันตนมาทำงาน เช่น ผู้ประกันตนมาทำงานวันสุดท้ายวันที่ 31 สิงหาคม 2550 ให้กรอกวันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเป็นวันที่ 1 กันยายน 2550
กรณีตาย ระบุวัน เดือน ปี ที่ผู้ประกันตนตาย

4.สาเหตุการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีลาออก ให้ทำเครื่องหมาย √ ในช่องที่ 1

5.ผู้ลงชื่อรับรองการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเป็นผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันบริษัทหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเท่านั้น