เป็น ประจำเดือน แล้ว อ่อนเพลียมาก

เป็น ประจำเดือน แล้ว อ่อนเพลียมาก

Show

ก่อนเป็นประจำเดือน ชอบปวดหัว เกิดจากอะไร ?

เรื่องราวนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจจากผู้ชมทางบ้านที่สอบถามเข้ามาใน ‘รายการพบหมอรามา’ เกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิง นั่นคือ ‘การเป็นประจำเดือน’ นั่นเอง โดยสอบถามคุณหมอของเราว่า

“ก่อนเป็นประจำเดือน 1-2 วัน ทำไมชอบมีอาการปวดหัว เป็นเพราะอะไร แล้วมีวิธีรักษาหรือไม่” ?

มาฟังคำตอบของคำถามที่น่าสนใจนี้จาก ผศ.นพ.เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กันเลย

เรื่องอาการปวดหัวก่อนเป็นประจำเดือนนั้น มีผู้หญิงเป็นกันเยอะมาก สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนภายในร่างกายของเรา และมีได้หลากหลายอาการ บางคนจะปวดหัว บางคนจะหน้าแดง หรือบางคนอาจจะเป็นสิว มีการคัดเต้านม ปวดหลัง ปวดเอว อารมณ์หงุดหงิดง่าย หรืออะไรเหล่านี้ ซึ่ง ‘เป็นเรื่องปกติ’ แต่จะแตกต่างกันที่ความไวในการตอบสนองของแต่ละคนที่มีไม่เท่ากัน บางคนมีประจำเดือนก็เป็นปกติไม่มีอาการใดๆ แทรกซ้อน แต่บางคนอาจจะนอนซมไปไหนไม่ได้เลยก็มี

อาการปวดหัวก่อนมีประจำเดือนนั้น เกิดจากเส้นเลือดนอกสมองของเราซึ่งถูกควบคุมด้วยระบบฮอร์โมนมีการขยายตัวเกิดขึ้น

จะทำให้เราปวดศรีษะได้ หรืออาการของ “โรคไมเกรน” นั่นเอง บางคนเข้าใจว่าไมเกรนต้องปวดหัวข้างเดียวไม่ใช่หรือ ? จริงๆ ไม่ใช่ ไมเกรนสามารถมีอาการปวดทั้ง 2 ข้าง หรืออาจจะปวดซ้ายขวาไม่เท่ากันก็ได้ ที่มันสัมพันธ์กันเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้น จะทำให้เกิดการขับเลือดที่ผนังมดลูกแล้วก็มีเลือดออกมาเป็นสัญญาณว่าฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงแล้ว

อาการปวดหัวก่อนมีประจำเดือนนั้นถือเป็นเรื่องปกติ

เมื่อมีอาการปวด ก็ควรพักผ่อน ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลเพื่อลดอาการได้ แต่หากมีอาการปวดหนักมากๆ ก็สามารถติดต่อสูติ-นารีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุว่ามีอาการอื่นร่วมด้วยไหมในช่วงที่เป็นประจำเดือน เช่น โรคไมเกรน โรคความดันโลหิตสูง หรืออะไรเหล่านี้ ซึ่งในกลุ่มนี้อาจจะต้องใช้ยาเพิ่มเติมตามอาการที่เป็น

การจะทำให้อาการปวดหัวก่อนมีประจำเดือนหายสนิทไปเลยนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะร่างกายของเราจะต้องมีฮอร์โมนและมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอยู่บ่อยๆ เป็นเรื่องปกติ จะขาดไปไม่ได้

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร
ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

เป็น ประจำเดือน แล้ว อ่อนเพลียมาก

ประจำเดือนมามากผิดปกติ อันตรายหรือไม่?

ในภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณผู้หญิงบางคนต้องพบเจอ ทำให้มีคำถามอยู่ว่าภาวะดังกล่าวเป็นอันตรายหรือไม่อย่างไร วันนี้ทางเราก็มีรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติมาฝาก เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน

โดยปกติแล้วผู้หญิงเราจะมีประจำเดือนออกมา 3-7 วันแล้วหมดไป ก่อนจะมาใหม่ในเดือนถัดไปตามลำดับ และมีการใช้ผ้าอนามัยต่อวัน 2-3 แผ่น ขึ้นอยู่กับปริมาณประจำเดือนของแต่ละคน แต่ในคนที่มีภาวะมามากกว่าปกติ มักจะมีปริมาณประจำเดือนที่ผิดไปจากเดิม สามารถสังเกตตัวเองได้โดยการเปรียบเทียบกับภาวะปกติที่ประจำเดือนเคยมาในเดือนก่อนๆ

เช่นในกรณีตัวอย่าง ผู้หญิงวัย 50 ปีหนึ่งราย ในภาวะปกติจะมีประจำเดือน 4-5 วันและต่อวันจะใช้ผ้าอนามัยสูงสุดอยู่ที่ 2 แผ่นเท่านั้น แม้ในวันที่มามาก แต่ในภาวะมามากผิดปกติ ผู้หญิงรายนี้มีประจำเดือนเพียงวันเดียวแล้วหมดไป โดยในวันนั้นมีการใช้ผ้าอนามัยมากกว่าปกติอยู่ที่จำนวน 3-4 แผ่นต่อวัน ในรายดังกล่าวยังมีการพบสูติ- นรีแพทย์ แล้วตรวจพบติ่งเนื้อที่บริเวณมดลูกด้วย

กรณีนี้ที่มีติ่งเนื้อบริเวณมดลูกจะต้องได้รับการตรวจวินัจฉัยละเอียด

โดยการขูดมดลูกเพื่อนำติ่งเนื้อดังกล่าวมาตรวจดู จึงจะสามารถสรุปได้ว่าใช่สาเหตุของประจำเดือนมามากผิดปกติหรือไม่อย่างไร แต่ในกรณีทั่วไปสำหรับคนที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ โดยเฉพาะในวัยกลางคนอายุเข้าสู่เลข 5 ซึ่งกำลังจะเข้าสู่วัยทอง มักมีประจำเดือนที่ลดน้อยลง หากพบว่าประจำเดือนมามากกว่าปกตินั้น แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติอยู่แน่นอน ส่วนคำถามที่ว่าอันตรายหรือไม่อย่างไร จะต้องได้รับการตรวจละเอียดอีกทีหนึ่ง ซึ่งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้และควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด

สาเหตุหนึ่งที่สำคัญของปัญหาประจำเดือนมามากผิดปกตินั้นก็คือ

เยื่อบุมดลูกเป็นเนื้อร้ายหรือเป็นมะเร็งในผู้หญิงที่อายุมากขึ้น จึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป โดยปกติแล้วติ่งเนื้อที่บริเวณมดลูก จะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าคนที่มีติ่งเนื้อนี้เกิดขึ้นจะมีความอันตรายทั้งหมด หากติ่งเนื้อดังกล่าวเป็นเพียงติ่งเนื้อทั่วไปจะไม่เป็นอันตราย แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคืองที่เยื่อบุโพรงมดลูก และทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติได้ แต่ถ้าหากเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งถือเป็นอันตรายร้ายแรงและมีความจำเป็นที่จะต้องตัดทิ้งโดยเร็ว

นอกจากนี้ในภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจทำให้มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ด้วย ได้แก่ ภาวะเลือดจาง เป็นต้น ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ซึ่งควรได้รับการรักษาโดยเร็วเช่นกัน แม้ไม่อันตรายก็ตาม แต่ส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว

ข้อมูลจาก
อ.พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา │ถอดเสื้อกาวน์ │ ประจำเดือนมาเยอะผิดปรกติ” ได้ที่นี่

ทำไม เป็น ประจำเดือน แล้ว ง่วง นอน

โรคโลหิตจาง คนที่มีภาวะโลหิตจางหรือในผู้หญิงที่มีประจำเดือนมากผิดปกติก็อาจรู้สึกง่วงนอนบ่อย ๆ ได้ เนื่องจากภาวะที่ร่างกายมีระบบไหลเวียนเลือดไม่สมบูรณ์อาจนำมาซึ่งอาการอ่อนเพลีย และทำให้รู้สึกอยากนอนหลับพักผ่อนมากกว่าปกติ

ประจำเดือนมาเยอะเพราะอะไร

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก ฮอร์โมนไม่สมดุล เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนทำงานผิดปกติ เกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือน...จึงมากตามไปด้วยนั่นเอง

รู้ได้ไงว่าเป็นประจําเดือน

อาการทางด้านร่างกาย เจ็บเต้านม ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืด

อาการก่อนเป็นประจําเดือน กี่วัน

PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนราว 1 – 2 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการ PMS นี้ เป็นตัวการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ