ทํา งาน เร่งรัด หนี้สิน ดี ไหม

ก่อนตัดสินใจกู้เงิน นอกจากต้องดูคุณสมบัติต่างๆ ของเราเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถกู้ผ่านแล้ว ประเด็นสำคัญหนึ่งที่ต้องถามตัวเอง คือ จ่ายไหวหรือเปล่า เพราะเมื่อกู้เงินแล้วก็ต้องอยู่ในฐานะ “ลูกหนี้” และต้องจ่ายหนี้ ซึ่งเป็นกฏเหล็กของลูกหนี้ที่ต้องปฏิบัติ แต่เมื่อถึงเวลาจ่ายหนี้แล้ว ลูกหนี้กลับไม่ยอมจ่าย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะทวงเงินคืนหรือจ้างตัวแทนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้


แน่นอนว่าไม่มีลูกหนี้คนไหนที่อยากเบี้ยวหนี้ เพราะนอกจากจะเสียประวัติเรื่องเครดิต อาจจะโดนตามทวงหนี้ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างไรก็ตาม หากเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แม้ว่าจะเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระ ก็มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม เช่น เจ้าหนี้ต้องทวงหนี้เฉพาะเวลาที่กำหนด คือ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลาแปดโมงเช้าถึงสองทุ่มเท่านั้น


นอกจากนี้ ผู้ที่มีหน้าที่ทวงหนี้ต้องใช้วิธีการและพูดด้วยคำสุภาพ แสดงตัวเมื่อติดตามทวงถามหนี้ ห้ามใช้คำข่มขู่ ใช้กำลัง หรือทวงหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่กำหนด เป็นต้น


สำหรับฝ่ายลูกหนี้ ถ้ารู้ตัวว่ากำลังเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหวและมีโอกาสโดนทวงหนี้ ก่อนอื่นต้องตั้งสติ และท่องให้ขึ้นใจว่า “ต้องเป็นลูกหนี้ที่ดี” 

ทํา งาน เร่งรัด หนี้สิน ดี ไหม

1. อย่ากลัวการทวงหนี้

เมื่อฝ่ายติดตามทวงถามหนี้โทรศัพท์มาทวงหนี้ ฝ่ายลูกหนี้อย่าพูดคุยด้วยเสียงสั่นเครือ หรือใช้น้ำเสียงจนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่ากำลังหวาดกลัว แต่ต้องกล้าคุย เพื่อแสดงความมั่นใจ พร้อมรับมือ เพราะอย่าลืมว่าการเป็นหนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา


ถ้าลูกหนี้ถูกฝ่ายติดตามทวงหนี้ข่มขู่ว่า “ถ้าไม่จ่ายหนี้จะจับเข้าคุก” ก็ให้ตอบกลับไปว่า “หนี้สินเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา” นั่นหมายความว่า ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่สามารถพาตำรวจมาจับได้ แสดงให้ฝ่ายติดตามหนี้เข้าใจว่าฝ่ายลูกหนี้รู้กฎหมายดี ทำให้เวลาจะพูดอะไรต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย


2. ถามให้ชัดเจน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อลูกหนี้ได้รับโทรศัพท์จากฝ่ายติดตามทวงหนี้ก็จะรอตอบคำถาม แต่ความจริงแล้วลูกหนี้ต้องเป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน เริ่มจากถามชื่อนามสกุล สถานที่ทำงานและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ติดตามทวงหนี้


จากนั้นให้ตั้งคำถามลึกลงไป เช่น ตอนนี้ทราบหรือไม่ว่าลูกหนี้ได้จ่ายหนี้ไปแล้วเท่าไหร่ ยังมีหนี้คงเหลืออยู่เท่าไหร่ คิดดอกเบี้ยอย่างไร ถ้าจ่ายตอนนี้จะโดนปรับดอกเบี้ยร้อยเท่าไรต่อปี เป็นต้น


การตั้งคำถามลักษณะนี้จะทำให้ฝ่ายติดตามทวงหนี้รู้สึกว่าลูกหนี้รู้ลึกรู้จริงและเข้าใจกฎกติกามารยาทในการทวงหนี้ ที่สำคัญไม่ทำให้เกิดการข่มขู่หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงในการทวงหนี้ 

ทํา งาน เร่งรัด หนี้สิน ดี ไหม

3. บันทึกเสียง

ก่อนลูกหนี้จะตอบคำถามฝ่ายติดตามทวงหนี้ อย่าลืมขออนุญาตบันทึกเสียงด้วยคำพูดสุภาพ เพราะหากมีปัญหา เช่น โดนข่มขู่ก็สามารถใช้เสียงที่บันทึกให้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบได้


4. รับโทรศัพท์ทุกครั้ง

 เป็นเรื่องปกติที่ลูกหนี้มักไม่ชอบให้ฝ่ายเจ้าหนี้โทรศัพท์มาทวงถามหนี้ หรือเมื่อเจ้าหนี้โทรมาก็ไม่รับหรือรับแล้วก็บอกว่ายังไม่สะดวก เดี๋ยวโทรกลับ แต่สุดท้ายก็เงียบหาย


ความจริงแล้ว ถ้าลูกหนี้ต้องการแสดงความจริงใจ ควรรับโทรศัพท์ฝ่ายเจ้าหนี้ทุกครั้ง ขณะเดียวกันต้องอธิบายด้วยเหตุผลและบอกความจริงถึงปัญหาที่ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด หากทำแบบนี้จะนำไปสู่การหาทางออกร่วมกันได้    


5. ชิงโทรศัพท์ไปหาเจ้าหนี้ก่อน

เมื่อมีสัญญาณว่าจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด เพื่อแสดงความจริงใจก็ควรติดต่อไปหาเจ้าหนี้พร้อมอธิบายเหตุผลและสัญญาว่าจะจ่ายหนี้วันไหน วิธีการนี้นอกจากจะแสดงออกถึงความรับผิดชอบแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี อาจทำให้เจ้าหนี้ผ่อนผันการชำระหนี้ได้อีกด้วย


เมื่อโดนทวงตามหนี้ ทางออกของลูกหนี้ คือ การเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งก็มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับนโยบายของเจ้าหนี้ เช่น ขอลดยอดหนี้ลงบางส่วน, ขอขยายระยะเวลาจ่ายหนี้ (เช่น 1 ปี, 2 ปี), ขอลดวงเงินที่ต้องผ่อนแต่ละงวดลง (เช่น จาก 10,000 บาท ลดลงเป็น 7,000 บาท), ขอหยุดคิดดอกเบี้ยระหว่างผ่อนชำระ, ขอไม่คิดค่าธรรมเนียมระหว่างผ่อนชำระ หรือขอใช้หลักประกันเพื่อจ่ายหนี้ เป็นต้น


ไม่มีใครอยากเป็นหนี้แต่เมื่อก่อหนี้จนจ่ายไม่ไหว นอกจากจะโดนปรับดอกเบี้ย เสียประวัติด้านการเงินแล้ว ก็อาจเจอกับการถูกตามหนี้ไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้น ถ้าคิดจะก่อหนี้ต้องท่องคาถา “ก่อหนี้เท่าที่จำเป็นและจ่ายไหว” เอาไว้ขึ้นใจ

ใครมีสิทธิทวงหนี้?

ผู้มีสิทธิทวงหนี้คือ เจ้าหนี้โดยตรง อาจเป็นสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินเชื่อ/บัตรเครดิต/เช่าซื้อ ซึ่งครอบคลุมเจ้าหนี้นอกระบบ และเจ้าหนี้ในกิจกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย (เช่น หนี้การพนัน) รวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจช่วง (ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากผู้รับมอบอำนาจอีกทอดหนึ่ง) ผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ซึ่งในกรณีผู้รับมอบอำนาจมาทุกกรณี หากลูกหนี้ทวงถามต่อหน้าต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดงด้วย

กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ทวงหนี้ได้ในขอบเขตไหน?

การทวงหนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของลูกหนี้ กฎหมายจึงกำหนดวิธีการทวงหนี้ไว้ ดังนี้ 

1. การติดต่อ: โดยบุคคล หรือไปรษณีย์ 

2. สถานที่ติดต่อ: สถานที่ที่ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้ หากลูกหนี้ไม่ได้แจ้งให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือตามที่คณะกรรมการทวงถามหนี้ประกาศกำหนด

3. เวลาที่ติดต่อ: สามารถทวงหนี้โดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่าง 8.00 น.- 20.00 น. วันหยุดราชการ 08.00 น.-18.00 น. 

4. ความถี่: สามารถทวงได้ ไม่เกิน 1 ครั้ง/วัน (ถ้า “เพื่อนทวงเพื่อน” ทวงได้เกิน 1 ครั้ง/วัน) 

นับความถี่การทวงอย่างไร? 

นับการทวงเมื่อลูกหนี้รับโทรศัพท์และรับทราบการทวงอย่างชัดเจน หรือเมื่อลูกหนี้เปิดอ่านไลน์การทวง แต่ถ้าไลน์ไปแต่ไม่ได้เปิดอ่าน โทรหาไม่รับ หรือโทรไปแต่ยังไม่ทันได้พูดเรื่องหนี้ชัดเจน เป็นแค่การทักทายกัน ตามกฎหมายจะไม่นับเป็นการทวงหนี้

เจ้าหนี้ “ห้ามทวงหนี้” แบบไหนบ้าง? 

ลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ดังนั้น เจ้าหนี้จะต้องทวงถามหนี้กับลูกหนี้อย่างสุภาพชน ให้เกียรติ ละเว้นการประจานดูหมิ่นให้ลูกหนี้เกิดความเสื่อมเสียและอับอาย เพื่อปกป้องสิทธิของลูกหนี้ กฎหมายจึงกำหนด ข้อห้ามต่าง ๆ ในเรื่องการทวงหนี้ไว้อย่างชัดเจน ได้แก่

- ห้ามทวงถามหนี้กับคนอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้ เว้นแต่บุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้

- ห้ามบอกความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากกฎหมายไม่ให้ประจานลูกหนี้ หรือทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียง โดยบอกคนที่ไม่เกี่ยวข้อง ยกเว้น (1) เป็นคนในครอบครัวลูกหนี้ เช่น สามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน และกรณีที่บุคคลอื่นถามเจ้าหนี้ว่า “มาติดต่อเพราะสาเหตุอะไร” 

- ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมาย หนังสือหรือสื่อใด ๆ ให้(บุคคลอื่น) เข้าใจว่า ติดต่อเพื่อทวงหนี้ 

- ห้ามติดต่อ แสดงตนทำให้ผู้ติดต่อด้วยเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อของลูกหนี้

- ห้ามข่มขู่ ใช้ความรุนแรง หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น ถือว่ามีความผิด ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาด้วย 

- ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น 

- ห้ามทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประกาศ

หากเจ้าหนี้ละเมิดข้อห้ามจะมีผลอย่างไร? 

หากพบว่ามี เจ้าหนี้หรือผู้ที่ทวงถามหนี้ฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการทวงหนี้ข้างต้น ถือว่ามีความผิด ประชาชนสามารถแจ้งร้องเรียนเอาผิดได้ โดยคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้สามารถมีคำสั่งให้หยุดการกระทำดังกล่าว หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับได้ 

เมื่อลูกหนี้พบว่าเจ้าหนี้ละเมิดข้อห้ามข้างต้นจะทำอย่างไร? 

ลูกหนี้หรือประชาชนสามารถร้องเรียนได้ที่ “คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้” ที่มีตั้งแต่ระดับประเทศ และระดับจังหวัด หรือ “ที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ” ในท้องที่ เพื่อแจ้งการกระทำความผิดได้

และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ พ.ร.บ. ทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 คุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ และตาม พ.ร.บ. นี้ ถ้าเจ้าหนี้ทวงถามหนี้ที่เป็นเท็จ (มาตรา 12) หรือผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม (มาตรา 13) จะได้รับโทษที่หนักขึ้นด้วย สุดท้ายนี้ ทีมงานของธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกหนี้ เพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง 

ผู้เขียน:
นภนาง เอกอัคร
ธนวัต รินธนาเลิศ
ฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

>> Download PDF