หลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม

โรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบตัน ส่วนใหญ่มากกว่า 95% มาจากการอักเสบ การเสื่อมของหลอดเลือดซึ่งใช้เวลานานนับสิบๆ ปี
       ความเสื่อมจะมากหรือน้อยนั้นต่างกันตามสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น กรรมพันธุ์ ความดันโลหิต สูงเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ การสูบบุหรี่ ความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย ถ้าหลอดเลือดในหัวใจเริ่มตีบแคบเกิน 50% จะเริ่มมีอาการเหนื่อยเมื่อออกแรงมากขึ้น พอพักก็หาย และถ้าตีบเกิน 75% อาจมีอาการแม้อยู่เฉยๆ นอกจากนี้ บางสถานการณ์อาจมีการปริแตกของตระกรัน (Plaque) ในหลอดเลือดแดง เกล็ดเลือด และปัจจัยแข็งตัวของเลือดจะเข้ามาอุดทำให้หลอดเลือดหัวใจเส้นนั้นเกิดตีบตันฉับพลัน มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเป็นมากขึ้นก็หอบเหนื่อย (เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว) หรือหัวใจหยุดเต้น เรียกกลุ่มอาการอันตรายนี้ว่า ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน (ACS: Acute Coronary Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะเร่งด่วนทางหัวใจที่ต้องรักษาฉับพลัน คนทั่วไปอาจเรียกว่า Heart Attack (อาการโรคหัวใจอันตรายฉับพลัน) 
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
 
      ในอดีตโรคนี้มักเจอในผู้ชายวัยกลางคน และหญิงวัยทอง แต่ปัจจุบันพบภาวะนี้ในอายุน้อยลงๆ อาจเป็นเพราะสถานการณ์ทุกวันนี้มีความเครียดสูง การแข่งขันกันมาก การเร่งรีบ พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ส่งผลเร่งให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงเร็วขึ้น จึงไม่แปลกเลยที่พบเห็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันในอายุ 30 ปีกว่าๆ มากขึ้น บางคนมี Heart Attack เสียชีวิตระหว่างขับรถในขณะที่อายุ 48-49 ปีเท่านั้น ปัจจัยเสี่ยงของอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ

Show

  • ปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้: อายุ เพศชาย มีประวัติบิดาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อน 55 ปี หรือมารดาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจก่อนอายุ 65 ปี
  • ปัจจัยที่แก้ไขได้: ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสูง สูบบุหรี่ อ้วนลงพุง (ผู้ชายวัดเส้นรอบสะดือ>36 นิ้ว ผู้หญิงวัดได้>32 นิ้ว) การไม่ออกกำลังกายบุคลิกเคร่งเครียดตลอดเวลา

การควบคุมปัจจัยเสี่ยง

  • หยุดสูบบุหรี่เด็ดขาด (ยังช่วยรักษาโรคอื่นด้วย)
  • ควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า หรือเท่ากับ 130/85 สำหรับคนที่ไม่เป็นเบาหวาน สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานควรมีความดันน้อยกว่า หรือเท่ากับ 130/80 และสำหรับผู้ที่เป็นไตเสื่อมควรมีความดันน้อยกว่า หรือเท่ากับ 125/75 (มีไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าวันละ 1 กรัม)
  • ควบคุมเบาหวาน< 130 mg% เมื่ออดอาหาร 6 ชม. และให้เบาหวานเฉลี่ย 3 เดือน (HbA1c) < 7%
  • ควบคุมไขมัน คอเลสเตอรอล< 200 mg%, ไตรกลีเซอร์ไรด์< 150 mg%, แอลดีแอล (ไขมันร้าย)< 100 mg%, เฮชดีแอล (ไขมันดี)> 40 mg% (ชาย) และ> 45 mg% (หญิง)
  • ควบคุมน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย (BMI) < 25 หรือให้เส้นรอบสะดือ< 36 นิ้ว (ชาย) < 32 นิ้ว (หญิง)
  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค> 30 นาที มากกว่า 5 ครั้ง/สัปดาห์
  • รู้จักพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เคร่งเครียดตลอดเวลา

 อาการเส้นเลือดหัวใจตีบ       เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง ร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้ายบางรายมีปวดร้าวขึ้นไปตามคออาการเป็นมากขึ้นเวลาออกแรง นั่งพักจะดีขึ้นในรายที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็น ถ้านำส่งโรงพยาบาลไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้ จากอาการที่กล่าวมาข้างต้น หากเกิดความสงสัยว่ามีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นได้จาก 2 กรณี คือ เกิดจากการขาดเลือดเนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการอุดตันของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างกะทันหัน หากเป็นการขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบ คือมีอาการขณะออกแรง หรือออกกำลังกาย ให้หยุดการออกแรง หรือออกกำลังกายที่มากจนทำให้เกิดอาการ และพบแพทย์โดยเร็ว แต่ไม่ถึงกับฉุกเฉิน แต่หากเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการอุดตันของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างกะทันหัน คือมีอาการในขณะพัก หรืออยู่เฉยๆ โดยมีอาการค่อนข้างมาก ให้พบแพทย์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยด่วนทั้งนี้ กล้ามเนื้อหัวใจจะตายเกือบทั้งหมดภายใน 4-6 ชั่วโมง แต่ถ้าเราแก้ไขได้ก่อน 4-6 ชั่วโมง จะสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยเฉพาะในปัจจุบันมียาฉีดที่สามารถละลายก้อนเลือดที่ไปอุดตันหลอดเลือดได้ผลดีมาก ฉะนั้น ถ้ามีอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ไม่ควรปล่อยไว้นานเกิน 4-6 ชั่วโมงนอกจากนี้ ภาวะไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตีบเพิ่มขึ้น

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 
      ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบหลายวิธี เช่น การทำบายพาส โดยการนำเส้นเลือดจากบริเวณอื่นมาต่อเชื่อมจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปยังหลอดเลือดหัวใจใต้จุดที่มีการอุดตัน การใช้บอลลูนเข้าไปขยายหลอดเลือด และการใช้ขดลวดตาข่ายค้ำยันหลอดเลือดที่มีการอุดตัน อย่างไรก็ตาม ในรายที่พบหลอดเลือดอุดตันแล้ว การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นเพียงการประคับประคองอาการเท่านั้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการป้องกัน ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หรือสูบบุหรี่ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเลิกสูบบุหรี่ ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หมั่นออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารให้มีไขมัน แป้ง น้ำตาล ให้น้อยลง เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงมากขึ้น

หลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม

การทำผ่าตัดบายพาสโรคเส้นเลือดหัวใจตีบปัจจุบัน มี2วิธี คือ

  1. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (Off-Pump CABG) หรือ แบบ “ไม่ต้องหยุดหัวใจ” มีข้อดี คือใช้ปริมาณเลือดในการผ่าตัดน้อยลง และลดระยะเวลาในการผ่าตัด รวมถึงการดมยาสลบ ตลอดจนระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาลสั้นกว่าแบบผ่าตัดบายพาสหยุดหัวใจ
  2. การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แบบต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On Pump CABG) เพื่อ “หยุด” การทำงานของหัวใจทั้งหมด

อาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
      เป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสชาติไม่จัดจนเกินไป ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตที่มีกากใยสูง มีส่วนประกอบของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวต่ำ (low glycemic index) และเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ โดยไขมันที่รับประทานควรมีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว นอกจากนี้ ควรเพิ่มการบริโภคอาหารที่มีผัก ผลไม้ อาหารกลุ่มธัญพืช และกากใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันภาวะท้องผูก และลดการเกิดมะเร็งลำไส้ อีกทั้ง ไม่ควรรับประทานผลไม้ และอาหารที่มีรสจัด


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ หัวใจ

หลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจมีกี่วิธี

การรักษาด้วยยา เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด ยาขยายหลอดเลือด ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ยาลดไขมัน ยาควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น การรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวน เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนร่วมกับการสอดฝังขดลวดค้ำยันผนังหลอดเลือด การให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์ชนิดพิเศษ

หลอดเลือดหัวใจตีบ ตรวจยังไง

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography) การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 128 slice)

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบอาการเป็นยังไง

มักจะเหนื่อยง่ายเฉียบพลัน เวลาที่ออกกำลังหรือต้องใช้แรงจำนวนมาก หายใจหอบ หายใจเข้าได้ไม่เต็มปอด และไม่สามารถนอนราบกับพื้นได้ หน้ามืด เวียนหัว และแน่นหน้าอก เนื่องจากความดันโลหิตต่ำแบบเฉียบพลัน เจ็บหน้าอกเหมือนถูกเค้นแรงๆ หมายรวมไปถึงอาการร้าวตั้งแต่ คอ กราม ไหล่ และแขน 2 ข้าง

ทำไงให้หายจากโรคหัวใจ

เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดบุหรี่ รับประทานยาลดไขมันในเลือดให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 70 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที ยิ่งมาเร็วยิ่งดี