ความเชื่อเกี่ยวกับดนตรีสากล

  ดนตรีเป็นศาสตร์และศิลปะที่เกิดเคียงคู่มนุษย์มาอย่างยาวนานนับตั้งแต่อดีตและมีบทบาทเกี่ยวข้องกับมนุษย์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหากเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต ดนตรีก็จะเป็นเสมือนมิตรที่อยู่เคียงคู่กับเรา  ไม่ว่าในยามทุกข์ หรือยามสุข ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจศาสตร์ของดนตรีและนำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสม ทั้งนี้ ในแต่ละยุคสมัยของดนตรีสากล มีศิลปิน หรือสังคีตกวีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมากมาย  ดังนี้ การที่จะเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับลักษระของดนตรีสากลได้นั้นจึงเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าของดนตรีในชีวิตประจำวัน  ประเภทของเพลงสากลศัพท์สังคีต และสังคีตกวีสากลที่สำคัย เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป


 ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี

             การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีร ูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติ ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่น ำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติ กรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต ทรัมเป็ต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

             การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบรา ณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขค วามสบาย

              โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย ์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั ้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

             ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ&am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am p;am ; เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

              การศึกษาวิชาประวัติดนตรีตะวันตกหลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องไกลตั วเหลือเกิน และมักมีคำถามเสมอว่าจะศึกษาไปทำไมคำตอบก็คือ ดนตรีตะวันตกเป็นรากเหง้าของดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันทุกวันน ี้ ความเป็นมาของดนตรีหรือประวัติศาสตร์ดนตรีนั้นหมายถึงการมองย้อ นหลังไปใน อดีตเพื่อพยายามทำความเข้าใจกับแง่มุมต่าง ๆ ของอดีตในแต่ละสมัยนับเวลาย้อนกลับไปเป็นเวลาหลายพันปีจากสภาพส ังคมที่แวด ล้อมทัศนะคติและรสนิยมของผู้สร้างสรรค์และผู้ฟังดนตรีในแต่ละสม ัยนั้นแตก ต่างกันอย่างไรจากการลองผิดลองถูกลองแล้วลองอีกการจินตนาการตาม แนวคิดของผู้ ประพันธ์เพลงจนกระทั่งกลั่นกรองออกมาเป็นเพลงให้ผู้คนได้ฟังกัน จนถึง ปัจจุบันนี้

               การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ หรือการมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นนอกจากเป็นไปเพื่อความสุขใจในกา รได้ศึกษา เรียนรู้ และรับทราบเรื่องราวของอดีตโดยตรงแล้ว ยังเป็นการศึกษาเป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจดนตรีที่เกิดขึ้นแล ะการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดนตรีในปัจจุบัน และเพื่อนำมาใช้ในการทำนายหรือคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีในอนาคต ด้วย
            ดนตรีเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ และถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักการสร้างเสียงดนตรีเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร เช่น การตีเกราะ เคาะไม้ การเป่าเขาสัตว์ การเป่าใบไม้ เพื่อส่งสัญญาณต่างๆ มนุษย์รู้จักการร้องรำทำเพลง เพื่อให้หายเครียด เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการประกอบพิธีกรรมต่างๆ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเสียงดนตรี มนุษย์ได้ทำให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาโดยตลอด ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้สนใจดนตรีในด้านศิลปะ ดนตรีจึงได้วิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ

                     นับตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันดนตรีจะมีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างมากตั้งแต่เริ่มแรกของการกำเนิดชีวิตจนกระทั่งถึงตาย จะเห็นว่าในตลอดชีวิตของคนจะต้องมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทั้งนี้จะเป็นไปตามความเชื่อ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละชนชาติ ดนตรีมีส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความสุขความสนุกสนาน เพื่อให้มนุษย์คลายจากความกลัว ความกังวล ความเหน็ดเหนื่อย หรือความทุกข์ทั้งปวง ดนตรีนับว่ามีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์มากมาย
แต่ก่อนที่นักเรียนจะใช้ประโยชน์จากดนตรีได้อย่างแท้จริง นักเรียนต้องรู้จักรู้วิธีการสร้างสรรค์ผลงานจากดนตรีเสียก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

                 1. การสร้างสรรค์ทางดนตรี

ให้นักเรียนได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีที่ผ่านมาแล้วเรียบเรียงสาระความรู้แลประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับ จะเห็นว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีประสบการณ์เกี่ยวกับดนตรีเพิ่มขึ้นมาก ทั้งดนตรีพื้นเมือง ดนตรีไทยและดนตรีสากลการฟังเพลงหรือการฟังดนตรี ตลอดจนการวิเคราะห์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานดนตรี ถ้านักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ มาคิดสร้างสรรค์เป็นผลงานทางดนตรีจะได้กิจกรรมดนตรีเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานให้นักเรียนที่มีความสนใจทางด้านดนตรี สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ มีความสามารถในเชิงดนตรีต่อไปในภายหน้าได้ หรืออาจนำไปปรับ
และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

               ผลงานทางดนตรีที่นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้ด้วยตนเองมีมากมาย ได้แก่

1.1 การจัดทำสมุดภาพรวบรวมเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล

1.2 การรวบรวมบทเพลงทั้งเพลงไทยและเพลงสากล

1.3 การรวบรวมความรู้ทางด้านดนตรีและการขับร้อง

1.4 การร้องเพลงไทยและเพลงแนวสากล

1.5 การร้องเพลงประกอบการแสดง

1.6 การเล่นเครื่องดนตรีที่ตนเองถนัดหรือสนใจ

1.7 การร่วมเล่นดนตรีกับเพื่อน ๆ เป็นวงดนตรีประเภทต่าง ๆ

1.8 การแสดงท่าทางประกอบเพลง

1.9 การแสดงชุดร้องรำทำเพลงหรือชุดแสดงต่าง ๆ

1.10 การแต่งเพลงง่าย ๆ

                  2. การนำความรู้ทางดนตรีไปใช้ในการเรียนรู้
การเรียนรู้ในยุคนี้คงไม่เรียนเฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น คงจะต้องเรียนรู้อย่างกว้างขวางและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นความรู้และประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับ สามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนี้

2.1 ดนตรีกับศิลปะด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องทฤษฎี รูปแบบ เทคนิค กระบวนการ หลักการวิธีการสร้างสรรค์และสุนทรียภาพมาเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน

2.2 ดนตรีกับภาษา เกี่ยวกับเรื่องการใช้ภาษา การประพันธ์ การพูด การเขียน การสื่อความหมาย และการสื่อสาร

2.3 ดนตรีกับคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องการคิดคำนวณ การวิเคราะห์ จินตนาการ และการสร้างสรรค์

2.4 ดนตรีกับวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องดนตรี หลักกลไก การเกิดเสียงและระบบไฟฟ้า

2.5 ดนตรีกับสุขศึกษา-พลศึกษา เกี่ยวกับเรื่องการรักษาสุขอนามัย การเคลื่อนไหว การพัฒนาบุคลิกภาพ และการออกกำลังกาย

2.6 ดนตรีกับงานอาชีพ สามารถเชื่อมโยงในเรื่องการเลือกประกอบอาชีพการพัฒนางานโดยใชนวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และการสร้างสรรค์ผลงานด้านอื่น ๆ

จะเห็นว่าความรู้ทางดนตรีสามารถที่จะนำไปเชื่อมโยงกับความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ถ้านักเรียนสามารถเรียนรู้ในลักษณะการเชื่อมโยงกันอย่างนี้ จะทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้สอดคล้องกับชีวิตจริงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

                 3. การนำความรู้ทางดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจหรือมีประสบการณ์ทางดนตรีและสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ เราสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้

3.1 การแสดงความสามารถพิเศษในการร้องเพลงและเล่นดนตรีที่ตนเองถนัดและสนใจ

3.2 การแสดงออกในโอกาสต่าง ๆ เมื่อได้รับเชิญหรือถูกกำหนดให้แสดงความสามารถ

3.3 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเมื่อมีเวลาว่าง เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

3.4 การฟังเพลงร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความเห็นเหน็ดเหนื่อยหรือความเครียด

3.5 การฟังเพลง ร้องหรือเล่นดนตรีเพื่อพัฒนาความคิดหรือความสามารถในการเรียนรู้

3.6 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อพัฒนาความสามารถทางดนตรี

3.7 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อเป็นการฝึกสมาธิและส่งเสริมสุขภาพจิต

3.8 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลิกภาพและค่านิยม

3.9 การฟังเพลง ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเพื่อส่งเสริมการสร้างมนุษยสัมพันธ์

3.10 ประกอบอาชีพสุจริต

การสืบสาวเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของดนตรีตั้งแต่สมัยโบราณมา นับว่าเป็นเรื่องยากที่จะให้ได้เรื่องราว สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค Middle age คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6 และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง และจังหวะ ( Pitch and time ) ดนตรีเกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง ในถ้ำ ในโพรงไม้ แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ เช่นรู้จักปรบมือ เคาะหิน เคาะไม้ เป่าปาก เป่าเขา และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย บันดาลความสุขความอุดมสมบูรณ์ต่างๆให้แก่ตน หรือเป็นการบูชาแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ตนมีความสุขความสบาย

                โลกได้ผ่านหลายยุคหลายสมัย ดนตรีได้วิวัฒนาการไปตามความเจริญและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เครื่องดนตรีที่เคยใช้ในสมัยเริ่มแรกก็มีการวิวัฒนาการมาเป็นขั้นๆ กลายเป็นเครื่องดนตรี ที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เพลงที่ร้องเพื่ออ้อนวอนพระเจ้า ก็กลายมาเป็นเพลงสวดทางศาสนา และเพลงร้องโดยทั่วๆไป

                   ในระยะแรก ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า Melody ไม่มีการประสานเสียง จนถึงศตวรรษที่ 12 มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ เกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา

                              ยุคต่างๆของดนตรีสากล

                  นักปราชญ์ทางดนตรีได้แบ่งดนตรีสากลออกเป็นยุคต่างๆดังนี้

                       1. Polyphonic Perio (ค.ศ. 1200-1650) ยุคนี้เป็นยุคแรก วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมีแบบฉบับและหลักวิชการดนตรีขึ้น วงดนตรีอาชีพตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
                       2. Baroque Period (ค.ศ. 1650-1750) ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่น มีแบบแผนการเจริญด้านนาฏดุริยางค์ มีมากขึ้น มีโรงเรียนสอนเกี่ยวกับอุปรากร (โอเปร่า) เกิดขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่านคือ J.S. Bach และ G.H. Handen
                      3.Classical Period ( ค.ศ. 1750-1820 ) ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ มีความรุ่งเรืองมากขึ้น มีนักดนตรีเอก 3 ท่านคือ HaydnGluck และMozart
                       4. Romantic Period ( ค.ศ. 1820-1900 ) ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัดเป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด เรียกว่ายุคทองของดนตรี นักดนตรีเช่น Beetoven และคนอื่นอีกมากมาย
                       5.Modern Period ( ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน ) เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมาก ดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน


                     ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติ ศาสนา โดยเฉพาะทางดนตรีตะวันตก นับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเรียกว่าเพลงวัดนั้น ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์ ตามหลักวิชาการดนตรี ผู้แต่งเพลงวัดต้องมีความรู้ความสามารถสูง เพราะต้องแต่งขึ้นให้สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้นิยมเลื่อมใสในศาสนามากขึ้น ดังนั้นบทเพลงสวดในศาสนาคริสต์จึงมีเสียงดนตรีประโคมประกอบการสวดมนต์ เมื่อมีบทเพลงเกี่ยวกับศาสนามากขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการลืมจึงได้มีผู้ประดิษฐ์สัญลักษณ์ต่างๆแทนทำนอง เมื่อประมาณ ค.ศ. 1000 สัญลักษณ์ดังกล่าวคือ ตัวโน้ต ( Note ) นั่นเอง โน้ตเพลงที่ใช้ในหลักวิชาดนตรีเบื้องต้นเป็นเสียงโด เร มี นั้น เป็นคำสวดในภาษาละติน จึงกล่าวได้ว่าวิชาดนตรีมีจุดกำเนิดมาจากวัดหรือศาสนา ซึ่งในยุโรปนั้นถือว่าเพลงเกี่ยวกับศาสนานั้นเป็นเพลงชั้นสูงสุด
วงดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษต้นๆจนถึงปัจจุบัน จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงก็มีจำนวนและชนิดแตกต่างกันตามสมัยนิยม ลักษณะการผสมวงจะแตกต่างกันไป เมื่อผสมวงด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างชนิดกัน หรือจำนวนของผู้บรรเลงที่ต่างกันก็จะมีชื่อเรียกวงดนตรีต่างกัน
ประเภทของเพลงดนตรี


                                            เพลงประเภทต่างๆ แบ่งตามลักษณะของวงดนตรีได้ 6 ประเภท ดังนี้
                      1. เพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า ( Orchestra ) มีดังนี้
- ซิมโฟนี่ (Symphony) หมายถึงการบรรเลงเพลงโซนาตา ( Sonata) ทั้งวง คำว่าSonata หมายถึง เพลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เช่นเพลงของไวโอลิน เรียกว่า Violin Sonata เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆก็เช่นเดียวกัน การนำเอาเพลง
โซนาตาของเครื่องดนตรีหลายๆชนิดมาบรรเลงพร้อมกันเรียกว่า ซิมโฟนี่
- คอนเซอร์โต ( Concerto) คือเพลงผสมระหว่างโซนาตากับซิมโฟนี่ แทนที่จะมีเพลงเดี่ยวแต่อย่างเดียว หรือบรรเลงพร้อมๆกันไปในขณะเดียวกัน เครื่องดนตรีที่แสดงการเดี่ยวนั้น ส่วนมากใช้ไวโอลินหรือเปียโน
- เพลงเบ็ดเตล็ด เป็นเพลงที่แต่งขึ้นบรรเลงเบ็ดเตล็ดไม่มีเนื้อร้อง
                      2. เพลงที่บรรเลงโดยวงแชมเบอร์มิวสิค ( Chamber Music ) เป็นเพลงสั้นๆ ต้องการแสดงลวดลายของการบรรเลงและการประสานเสียง ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย คือไวโอลิน วิโอลา และเชลโล
                      3. สำหรับเดี่ยว เพลงประเภทนี้แต่งขึ้นสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวเรียกว่า เพลง โซนาตา
                       4. โอราทอริโอ ( Oratorio ) และแคนตาตา ( Cantata) เป็นเพลงสำหรับศาสนาใช้ร้องในโบสถ์ จัดเป็นโอเปรา แบบหนึ่ง แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา
                       5. โอเปรา (Opera ) หมายถึงเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครที่มีการร้องโต้ตอบกันตลอดเรื่อง เพลงประเภทนี้ใช้ในวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ

                         6. เพลงที่ขับร้องโดยทั่วไปได้แก่ เพลงที่ร้องเดี่ยว ร้องหมู่ หรือร้องประสานเสียงในวงออร์เคสตรา คามวงคอมโบ ( Combo) หรือชาโดว์ (Shadow ) ซึ่งนิยมฟังกันทั้งจากแผ่นเสียงและจากวงดนตรีที่บรรเลงกันอยู่โดยทั่วไป




อ้างอิง https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-3-kar-ptibati-dntri-thiy/kenth-ni-kar-pramein-khunphaph-phl-ngan-dntri-thiy

ดนตรีสากลมีความสำคัญกับสังคมไทยอย่างไร

การใช้ดนตรีสากลประกอบใน พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์อันเคร่งครัด เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทย คนไทยยอมรับในความเชื่อ ความ- ศักดิ์สิทธิ์และความเกรียงไกรนั้น • นักดนตรีไทยมีความเคารพครู ดนตรีและเครื่องดนตรีไทยเป็นของ สูง ซึ่งหากมีความศรัทธาและ ประพฤติตามหลักคุณธรรมก็จะ ประสบความสาเร็จในอาชีพดนตรี

ดนตรีมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่ออย่างไร

5. ดนตรีมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่ออย่างไร ตอบ เป็นสิ่งที่เชื่อถือว่าสามารถสื่อถึงเทพเจ้าหรือสิ่งที่มองไม่เห็นได้)

ดนตรีสากลมีประโยชน์ในการพัฒนาสมองมนุษย์อย่างไร

ช่วยพัฒนาสมอง การฟังเพลงจะทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาได้ทำงานอย่างเต็มที่ เพราะเสียงเพลงจะทำให้ผู้ฟังปลดปล่อยจินตนาการ และความคิดออกมา แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อสมองซีกขวา และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สมองซีกซ้ายอีกด้วย

ดนตรีสากลมีลักษณะเด่นชัดอย่างไร

ดนตรีสากลยังมีลักษณะเด่น คือ มีรากฐานมาจากเพลงศาสนา ในเวลาต่อมาเริ่มประดิษฐ์ให้มีระดับเสียงต่างๆ เพิ่มขึ้นจนกลายเป็น ทานองในที่สุด ลักษณะเด่นที่ทาให้ดนตรีสากลเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก เช่น เช่น วงออร์เคสตรา เป็นวงดนตรีที่ได้รับ การยอมรับและได้รับการพัฒนามาหลายศตวรรษ จนถึงปัจจุบัน