ทฤษฎีระบบ input process output

ทฤษฏีระบบเปิดของรัฐประศาสนศาสตร์ (Open Systems Theory of Public Administration)

ระบบเปิด (open system) เป็นระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นในรูปของสารสนเทศ พลังงาน หรือการแลกเปลี่ยนวัสดุ เข้าไปและออกมาจากขอบเขตของระบบ ขึ้นอยู่กับศาสตร์ที่ศึกษา ระบบเปิดนี้ตรงข้ามกับระบบปิด (isolated system) ที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนพลังาน วัสดุ หรือสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม

แนวคิดระบบเปิด เริ่มมาจากการใช้อธิบายทฤษฎีสิ่งมีชีวิต (theory of organism) ทฤษฎีความร้อน (thermodynamics) และ ทฤษฎีวิวัฒนาการ (evolutionary theory) ที่เป็นระบบที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและมีการพัฒนาที่จะปรับตนเองเพื่อความอยู่รอดหรือความสมดุล ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นพื้นฐานของการสร้างทฤษฎีสารสนเทศ (information theory) และทฤษฎีระบบ (systems theory) ในปัจจุบันแนวคิดระบบเปิดได้นำมาใช้ประยุกต์ในศาสตร์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural sciences) และ สังคมศาสตร์ (social sciences)

ในทางรัฐประศาสนศาสตร์ สามารถอธิบายการบริหารรัฐกิจหรือกิจกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ด้วยทฤษฎีระบบเปิด (ตามรูป) ว่า ทั้งปัจจัยนำเข้า (input) และผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (ultimate outcome) คือ ประโยชน์สาธารณะ (public interests) ในปัจจัยนำเข้าเป็น ความต้องการและการเรียกร้องของพลเมือง (citizens' needs and demands) ส่งมายังกระบวนการ (process) ที่เป็นการบริหารรัฐกิจ ซึ่งก็คือวงรอบของนโยบายสาธารณะ (public policy cycle) คือการก่อกำเนิดของนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย (policy formulation, policy implementation and policy evaluation) ในที่นี้จะเน้นเรื่องการนำนโยบายไปปฏิบัติที่เป็นกระบวนการ (process)

การบริหารรัฐกิจเช่นเดียวกับการบริหารด้านอื่นๆ ในกระบวนการนั้น ผู้บริหารต้องสร้างความกลมกลืนสอดคล้อง (congruence) ระหว่างมิติที่ดูเสมือนแตกต่างกันให้ดำเนินการไปด้วยกันได้ คือมิติระหว่าง กฎระเบียบและคน (rules and regulations vs. man) และมิติระหว่างความต้องการและทรัพยากร (needs vs. resources) ซึ่งผู้บริหารที่มีความสามารถและประสบการณ์จะเข้าใจลึกซึ้งและปฏิบัติได้ดี

ผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติคือ ผลผลิต (output) ที่เป็นรูปธรรม เช่น สร้างถนนได้ถนนที่เป็นสิ่งของ แต่จะมี ผลลัพธ์ (outcome) ที่เป็นนามธรรมหรือไม่ เช่น ความสะดวกสบายในการคมนาคม ความมั่นคงปลอดภัย ก็ต้องพิจารณาดูกันอีกที จากนั้นก็เป็น ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (ultimate outcome) ที่เป็นประโยชน์สาธารณะ (public interests) ว่าสังคมประเทศชาติโดยรวมได้รับผลลัพธ์ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ เช่นเป็นเชิงบวก ถนนที่สร้างนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมเครือข่ายคมนาคมของทั้งประเทศ หรือถนนที่สร้างอาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ เช่นกรณีถนนขึ้นเขาใหญ่ทางปราจีนบุรี ที่ทำให้เกิดการทำลายป่าและสัตว์มากขึ้น

ในกระบวนการ input-process-output-outcome-ultimate outcome นี้ เป็นพลวัตร (dynamic) ปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการพัฒนาหรืออยู่รอดด้วยการมีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) และยังมีระบบย่อยอยู่ซ้อนกันมากมาย ในการเป็นระบบเปิด ระบบฯ นี้มีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก ซึ่งก็คือสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และธรรมชาติ หรือเพิ่มด้วยโลกาภิวัตน์ (globalization)

การดำเนินกิจกรรมทางรัฐประศาสนศาตร์ หรืออีกชื่อคือ การบริหารรัฐกิจ มีการดำเนินการภายใต้แนวคิดพาราไดม์ที่นิยมในเวลานั้น ซึ่งในปัจจุบันพาราไดม์ของรัฐประศาสนศาตร์คือ ความเป็นมืออาชีพ ที รปศ. เป็นวิชาชีพหนึ่ง เช่นเดียวกับแพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ (รปศ. คือ รปศ. public administration as public administration paradigm) และในขณะเดียวกันก็มีพาราไดม์ซ้อนกันคือ พาราไดม์ ธรรมาภิบาล (governance paradigm) (Henry, 2010) หรือที่เรียกว่าเป็น พาราไดม์บริการสาธารณะแนวใหม่ (new public service paradigm) (Denhardt, 2011) ที่ผู้ปฏิบัติต้องคำนึงถึง ธรรมาภิบาล ประโยชน์สาธารณะ ความเป็นพลเมือง และค่านิยมประชาธิปไตย (governance, public interests, citizenship, democratic values) ควบคู่ไปกับการทำงานอย่างมืออาชีพด้วย

การบริหารรัฐกิจในปัจจุบัน จึงต้องมีความสอดคล้องกลมกลืน ระหว่าง รัฐ (government) ที่สื่อถึงการควบคุม กับ ธรรมาภิบาล (governance) ที่สื่อถึงการตอบสนองและการมีส่วนร่วมของพลเมือง อีกทั้งการพัฒนาการบริหารจำเป็นต้องสร้างความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ ซึ่งก็คือ การวิจัย นั่นเอง

นำเสนอ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น

โดย รัฐวัชร์ พัฒนจิระรุจน์  D.B.A.06


ทฤษฎีระบบ System Theory 

ประวัติความเป็นมาและความหมาย

        แนวคิดและทฤษฎีระบบ เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ ปี 1920 1940 บรรดานักวิทยาศาสตร์ สังเกตุเห็นเหตุการณ์ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนโลกนี้เกิดขึ้นอย่างมีความซับซ้อนเป็นไปในลักษณะเดียวกันคล้ายกัน ซึ่งเรียกว่า ความเป็นระบบ  จนกระทั่งเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1930 Ludving Von Bertalanffy ค้นพบ ทฤษฎีระบบทั่วไป (General Systems Theory) และนำเสนอมุมมองระบบแบบองค์รวม ในปี ค.ศ.1956


            ทฤษฎีระบบ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ บนโลกนี้มีลักษณะเป็นระบบ ต้องมีองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ได้กำหนดไว้ โดยระบบจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดงนี้

            ระบบปิด  (Closed System) เป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่สัมพันธ์กับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางสังคม สามารถควบคุมได้ เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะต้องอยู่ในกระบวนการที่ถูกควบคุม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ถูกต้อง

            ระบบเปิด (Open System) เป็น ระบบที่ต้องปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งต่าง ๆ ทั้ง บุคคล องค์การ หรือหน่วยงาน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง มีการเอื้อประโยชน์ พึ่งพาซึ่งกันและกัน  โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลหรือมีอิทธิพลต่อการทำงานขององค์การด้วย ไม่สามารถควบคุม(ประชุม รอดประเสริฐ (2543, หน้า 67) วิโรจน์ สารรัตนะ (2545, หน้า 24-25) French and Bell (1990, pp. 53-54) Robbins et al. (2006, p. 55) Kinichi and Kreitner (2003, p. 307)


            องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 7 ประการ ได้แก่

1.      วัตถุประสงค์ (goals)

2.      ปัจจัยนำเข้า (inputs)

3.      กระบวนการ (processes)

4.      ผลลัพธ์ (outputs)

5.      การส่งข้อมูลป้อนกลับ (feedback)

6.      การควบคุม (control)

7.      สิ่งแวดล้อม (environments)

          ทั้งนี้ผู้ที่ศึกษาทฤษฎีระบบ มีหลักการจดจำ ซึ่งสามารถสรุปเป็นองค์ประกอบหลักได้ 3 ส่วนใหญ่         
           สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ หรือองค์ประกอบแรกนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ  โดยรวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของระบบนั้น ๆ  ในระบบการศึกษาตัวป้อนเข้าไป ได้แก่     นักเรียน สภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน สมุด ดินสอ และอื่น ๆ เป็นต้น
             
กระบวนการ (Process) คือองค์ประกอบต่อมาของระบบ หมายถึง วิธีการ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ และในระบบการศึกษาได้แก่ วิธีการสอนต่าง ๆ เป็นต้น
           
ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product) เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ  หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในลักษณะต่าง ๆ หรือนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถที่จะดำรงชีวิตในอนาคตได้ตามอัตถภาพ เป็นต้น
            โดยองค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้
ผสมผสานอย่างมีเอกภาพเพื่อบรรลุตามเป้าหมายองค์การ

ทฤษฎีระบบ input process output

การนำไปประยุกต์ใช้

  การดำเนินงานใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้นอย่างมีระบบ เราจะเห็นถึงความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นองค์รวม องค์กรแห่งหนึ่งจัดกิจกรรมการแถลงข่าว เริ่มต้นด้วยการวางแผนงานในด้านต่าง  ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การจัดทำแผนงาน, รูปแบบการดำเนินงาน, งบประมาณ , ทีมงาน, พันธมิตร ฯลฯ ในกรอบเวลาที่กำหนด เมื่อเข้าสู้การดำเนินงานปฏิบัติ จนงานเสร็จสิ้นกระบวนการ  ต้องประเมินผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งในรูปตัวเงิน การสนับสนุนจากสปอนเซอร์ หรือพันธมิตร อาทิ สินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ของพรีเมื่ยมในการทำกิจกรรม คน หรือองค์กรที่มีส่วนร่วม สื่อแขนงต่าง ๆ ที่เผยแพร่ข่าวสารกิจกรรม ฯลฯ ตลอดจน การประเมินผลจาก Feedback ในการปฏิบัติงานในลักษณะ 360 องศา ปัญหา และอุปสรรค รวมถึงสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินงาน เพื่อนำไปปรับปรุงการวางแผน การปฏิบัติในครั้งต่อไป

ขอบคุณที่มาและแหล่งข้อมูล

1. www.hrd.nida.ac.th/fileupload/paper/.../present%20system%20theory.ppt

3. http://www.kamsondeedee.com/school/chapter-002/51-2008-12-13-14-44-22/109--system-theory

4. http://www.ex-mba.buu.ac.th/Research%202556/Research_Bangsaen/PM-11/53710715/05_ch24.pdf

5. Managing conflict through communication 2007 Dudley D. Cahn, Ruth Anna Abigail

6.http://writer.dek-d.com/plugna99/story/viewlongc.php?id=675528&chapter=50

Input process output คือระบบอะไร

การทำงานของระบบจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ 1. ตัวป้อน (input) ได้แก่ ทรัพยากร หรือข้อมูลนำเข้า 2. กระบวนการเนินงาน (process) ได้แก่ การปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลผลิต 3. ผลผลิต (output) ได้แก่ จุดหมายปลายทางของการดำเนินการ

กระบวนการ output คืออะไร

กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น

ปัจจัยนําเข้า output มีอะไรบ้าง

ปัจจัยนำออก หมายถึง ปริมาณการผลิต หรือปริมาณลูกค้าที่ได้รับบริการ สำหรับปัจจัยนำเข้า หมายถึง ชั่วโมงการทำงาน, ปริมาณวัตถุดิบ, ต้นทุนการผลิต หรือความต้องการของลูกค้า และต้องมีหน่วยเหมือนกันทั้งปัจจัยนำเข้าและปัจจัยนำออก

หัวใจของ System Theory อยู่ที่ข้อใดเป็นสําคัญ

ด้วยเหตุผลของระบบกระบวนการ System Theory นี้เองจึงมีลักษณะเป็นสหวิชาการ (Interdisciplinary) เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลาย ๆ สาขาวิชา โดยจุดสำคัญ ของ System Theory อยู่ที่การมองแบบไม่แยกส่วนหรือการมองว่าทุกอย่างสัมพันธ์กัน หรือส่วนย่อยสัมพัน์กันส่วนใหญ่ เป็นต้น