รายได้ 4 แสน เสียภาษีเท่าไหร่

รายได้ 4 แสน เสียภาษีเท่าไหร่

 >  บทความ >  วิธีคิดคำนวณภาษี 2565 รายได้เท่าไหร่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้

15 ก.ย. 2565

คำนวณภาษีง่าย ๆ ได้ด้วยตัวคุณเอง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เมื่อเริ่มทำงาน และเริ่ม “มีรายได้” เข้ามาในกระเป๋ามากขึ้น หนึ่งสิ่งที่มักตามมาอยู่คู่กันก็คือ “การเสียภาษี”
ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนหลายคนอาจจะต้องตกใจกันอยู่พักใหญ่ เพราะไม่รู้ว่าจะต้องคำนวณภาษีกันยังไง แล้วมีขั้นตอนอะไรบ้าง หรือแม้แต่ไม่รู้ว่าตัวเองต้องเสียภาษีหรือไม่ แต่ในปัจจุบันปี 2565 มีเครื่องมือมากมายที่ช่วยให้เราคำนวณภาษีได้ง่ายขึ้นนั้นก็คือ คำนวณภาษีออนไลน์ ซึ่งถึงแม้จะมีประโยชน์มากมายแต่เราก็ควรจะรู้วิธีการคำนวณภาษีเบื้องต้น จะได้ไม่เสียผลประโยชน์ในเวลาที่เราต้องจ่ายภาษี 

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มคำนวณภาษี

รายได้ 4 แสน เสียภาษีเท่าไหร่

รายได้ 

รายได้รวมตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม ทั้งรายได้จากงานประจำและรายได้เสริมอื่น ๆ เช่น ปล่อยค่าบ้าน

รายได้ 4 แสน เสียภาษีเท่าไหร่

ค่าใช้จ่าย 

ต้นทุนในการทำธุรกิจ หรือหากรับเป็นเงินเดือนสามารถหักลดค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยไม่เกิน 100,000 บาท 

รายได้ 4 แสน เสียภาษีเท่าไหร่

ค่าลดหย่อน 

สิทธิขอลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนพื้นฐาน, ครอบครัว, การลงทุน, กองทุน หรือแม้แต่การทำประกัน 

รายได้ 4 แสน เสียภาษีเท่าไหร่

อัตราภาษี 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได หรือแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะเสียภาษีมากกว่าให้ยึดจ่ายตามนั้น

คำนวณหาเงินได้สุทธิบุคคลธรรมดา

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนเริ่มคำนวณภาษีคือการคำนวณรายได้สุทธิ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการลดภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี แถมยังช่วยให้เราได้เงินคืนหากเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งมีสูตรง่าย ๆ ดังนี้

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

สมมติว่า นาย A เป็นพนักงานเงินเดือนมีรายได้ทั้งปีรวมกัน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และมีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่น ๆ

เงินได้สุทธิ  = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

300,000-100,000-(60,000+9,000) = 131,000 บาท

เท่ากับว่า นาย A จะมีรายได้สุทธิ 131,000 บาทต่อปี ก็จะนำจำนวนดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับตารางภาษีขั้นบันไดแล้วดูว่าตัวเองต้องเสียภาษีถึงขั้นไหน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าถ้าเรานำค่าเบี้ยประกัน หรือกองทุนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะช่วยลดภาษีในแต่ละขั้นลงแล้ว จะช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายได้มากเลยทีเดียว เนื่องจากการคำนวณอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดจะคิดไล่จากปริมาณภาษีที่ละขั้น โดยไล่จากขั้นที่น้อยที่สุดไปหาขั้นที่สูงขึ้น สรุปก็คือยิ่งจำนวนขั้นภาษีที่ต้องจ่ายน้อยเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเสียภาษีน้อยเท่านั้น

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

โดยปกติการคำนวณภาษีจะใช้การคำนวณแบบอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นผู้ที่เสียภาษีนั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่องทางอื่น ๆ เช่น ค่าปล่อยเช่าบ้าน ค่างานพิเศษ หรืองานเสริม จึงจะต้องคำนวณภาษีอีกแบบเพิ่มขึ้นมานั้นก็คือ การคำนวณภาษีแบบเหมา 

วิธีที่ 1 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบขั้นบันได (ฉบับย่อ)

เนื่องจากการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดมีวิธีการคำนวณที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน อาจไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ เพราะต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ อาจสับสนได้ยิ่งเวลามีตัวเลขเยอะ ๆ วันนี้จึงขอนำเสนอสูตรคำนวณภาษีง่าย ๆ ที่สามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง 

สูตรการคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย

[ (เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดในขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ] + ภาษีสะสมที่ต้องจ่ายในขั้นก่อนหน้า

เพียงหารายได้สุทธิที่ผ่านการหักลบค่าลดหย่อนภาษีเรียบร้อยแล้ว นำมาเปรียบเทียบตารางด้านล่างว่าอยู่ในช่วงไหน จากนั้นก็นำเงินได้สุทธิของตัวเองไปคำนวณในสูตรได้เลย เพียงเท่านี้เราก็จะรู้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในปีนั้นแล้ว

เงินได้สุทธิ (บาท)

ภาษีที่ต้องจ่าย = 

0 - 150,000

ได้รับการยกเว้นภาษี

150,000 - 300,000

(เงินได้สุทธิ – 150,000) x 0.05

300,001 - 500,000

[ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x 0.10 ] + 7,500

500,001 - 750,000

[ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x 0.15 ] + 27,500

750,001 - 1,000,000

[ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x 0.20 ] + 65,000

1,000,001 - 2,000,000

[ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x 0.25 ] + 115,000

2,000,001 - 5,000,000

[ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x 0.30 ] + 365,000

5,000,001 ขึ้นไป

[ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x 0.35 ] + 1,265,000

วิธีที่ 2 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบเหมา 0.5%

หากผู้ที่มีเงินได้จากช่องทางอื่น ๆ นอกจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะต้องคำนวณภาษีแบบเหมาในอัตราร้อยละ 0.5 ด้วยโดยนำรายได้ต่าง ๆ มารวมกันแล้วคูณด้วย 0.005 เพื่อที่จะหาค่าภาษีที่ต้องจ่าย และถ้าหากไม่เกิน 5,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าไม่มีรายได้อื่น ๆ สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย

สูตรการคำนวณภาษีแบบเหมา

ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005

เมื่อคำนวณเสร็จแล้วให้นำภาษีที่ต้องจ่ายมาเปรียบเทียบกันดูว่าวิธีไหนต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น
 

เงินเข้าเท่าไรต้องเสียภาษี

อ่านสั้นๆ : กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ เริ่มบังคับใช้แล้ว มีผลให้สถาบันทางการเงินต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมเฉพาะให้แก่กรมสรรพากร โดยบัญชีจะต้องมีเงื่อนไขคือ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมียอดฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป

เงินเดือนกี่แสนเสียภาษี

ผู้ที่มีรายได้จากงานประจำหรือเงินเดือนเพียงทางเดียว และมีรายได้ตลอดทั้งปี เกิน 120,000 บาท และคำนวณเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี เพราะฉะนั้นสำหรับผู้มีรายได้มากกว่า 26,583.33 บาท ต่อเดือน ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี

รายได้เท่าไรต้องเสียภาษี 2565

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการยื่นภาษี 2565 หากรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเกินกว่านั้น ก็จะเสียภาษีในอัตราเริ่มต้น 5% และจะสูงขึ้นตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได แต่รายการลดหย่อนภาษีจะช่วยทำให้รายได้สุทธิให้ลดลง จึงเสียภาษีน้อยกว่าคนที่ไม่มีรายการลดหย่อนภาษีเลย

รายได้เท่าไรเสียภาษี 2564

รายได้ 0-150,000 บาท ยกเว้นอัตราภาษี รายได้ 150,001-300,000 บาท อัตราภาษี 5% (ภาษีที่ต้องเสียสูงสุดในขั้นนี้คือ 7,500 บาท) รายได้ 300,001-500,000 บาท อัตราภาษี 10% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 20,000 บาท) รายได้ 500,001-750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท)