ในปี พ.ศ.ใดที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก *

จุดเริ่มต้นมาจากการเปิดเสรีทางการเงินและการจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจไทย (BIBF) ทำให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศได้สะดวก

ตอนนั้นการกู้เงินจากต่างประเทศได้รับความนิยม เพราะมีดอกเบี้ยถูกกว่าในประเทศ ภาคเอกชนจำนวนมาก จึงไปกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุน

อย่างไรก็ตาม เงินจำนวนไม่น้อยกลับถูกนำไปเก็งกำไรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์จนเกิดเป็นฟองสบู่

ช่วงปี 1996 การส่งออกของประเทศเริ่มชะลอตัวลง ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเริ่มขาดดุลมากเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสัญญาณการอ่อนค่าของเงินบาท

ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาซื้อเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงิน แต่เมื่อทุนสำรองระหว่างประเทศเริ่มเหลือน้อยลงเรื่อยๆ

สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยจึงตัดสินใจปล่อยค่าเงินบาทลอยตัวจากระดับที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเงินบาทนั้นเคยเพิ่มไปถึงระดับ 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

คนที่กู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากต้องล้มละลาย สถาบันการเงินหลายแห่งปิดกิจการ คนไทยจำนวนมากต้องตกงาน และวิกฤตนี้ยังกระจายไปอีกหลายประเทศในเอเชีย

ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3/1997 - ไตรมาสที่ 2/1998

2) ครั้งที่ 2 ในปี 2008 วิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา

แม้ว่าวิกฤตดังกล่าวเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา แต่กลับมีผลกระทบไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลกโดยเฉพาะในยุโรป เพราะสถาบันการเงินในยุโรปหลายแห่งมีการลงทุนในตราสารที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อประเภทซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกาจํานวนมาก

โดยผลของวิกฤตดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกานั้นชะลอตัว จนมีผลทำให้ความต้องการสินค้าจากไทยไปขายที่สหรัฐอเมริกา และความต้องการวัตถุดิบจากไทยที่นำไปผลิตและส่งออกยังสหรัฐอเมริกานั้นลดลงไปด้วย

ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2008 - ไตรมาสที่ 1/2009

3) ครั้งที่ 3 ในปี 2013 การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูงกว่า 10% จากผลกระทบของวิกฤตหนี้สาธารณะจำนวนมากของหลายประเทศอย่างกรีซ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ และ สเปน ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปลายปี 2009 แต่ส่งผลกระทบต่อเนื่องหลายปีต่อมา

เมื่อรวมกับวิกฤตภัยแล้งของประเทศไทยที่กระทบหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ภาคการส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรมของไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2013 - ไตรมาสที่ 2/2013

4) ครั้งที่ 4 ในปี 2013-2014 ความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง

ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2013 มาจนถึงกลางปี 2014 โดยมีการชุมนุมและประท้วงต่อต้านรัฐบาล จนนำไปสู่การปิดกรุงเทพฯ หรือเรียกว่า Bangkok Shutdown ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้นำไปสู่การรัฐประหารโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ การท่องเที่ยว การลงทุน การค้าของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงนั้น เพราะสถานที่สำคัญหลายแหล่งในกรุงเทพฯ ถูกใช้เป็นที่ชุมนุม

ในตอนนั้น GDP ของประเทศไทยลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2013 - ไตรมาสที่ 1/2014

โดยปกติแล้ว เมื่อเศรษฐกิจมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะเข้ามามีบทบาทด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากช่วงที่ประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

แต่การระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้อาจถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญ เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยก็กำลังอยู่ ณ จุดต่ำสุดในประวัติศาสตร์เรียบร้อยแล้ว หรือพูดอีกอย่างก็คือ นโยบายการเงินของประเทศกำลังมีข้อจำกัดมากขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต เพราะกระสุนเกือบหมดแล้ว

ซึ่งตอนนี้หลายคนก็ได้แต่หวังว่า นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) ซึ่งเป็นการใช้จ่ายของภาครัฐ ต้องเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากขึ้นกว่านี้

เราก็ต้องมาตามดูกันต่อไปว่า ด้วยนโยบายการเงินที่มีอยู่ เมื่อรวมกับนโยบายการคลังของประเทศจะสามารถช่วยไม่ให้เศรษฐกิจของไทยเข้าสู่ภาวะถดถอยได้หรือไม่

ที่น่าสนใจคือ ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังเจอกับเรื่องนี้ แต่ประเทศทั่วโลกกำลังเจอความเสี่ยงที่เข้าสู่ภาวะถดถอยเหมือนกันหมด

และโดยปกติแล้วแต่ละประเทศจะดำเนินเข้าสู่ภาวะถดถอยต่างเวลากัน

แต่ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศทั่วโลกมีเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยพร้อมกันทั้งหมด..

ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ

รู้ไหมว่า ภาวะเศรษฐกิจที่รุนแรงและยาวนานกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Economic Depression) ซึ่งจะกินเวลาหลายปี บางครั้งก็ใช้เวลากว่า 10 ปี กว่าที่เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรงมากที่สุดก็คือ The Great Depression ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 1929-1941 มีจุดเริ่มต้นจากสหรัฐอเมริกา

โดยตั้งแต่ปี 1929-1933 มูลค่า GDP ของสหรัฐอเมริกาหายไปกว่า 33% อัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสูงกว่า 25% ซึ่งนับเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา

ธนาคารในสหรัฐอเมริกากว่า 11,000 แห่งต้องปิดตัวลง คนที่ฝากเงินไว้กับธนาคารเหล่านี้ต้องสูญเงินไปทั้งหมด ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ตกต่ำอย่างหนัก

การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ท่ามกลางเศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ 2470 ซึ่งนำโดยคณะทหารและพลเรือนนั้น มีความคาดหวังว่า “คณะราษฎร” จะนำอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะบทบาทของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป แต่ปัจจัยหลายอย่างมีผลต่อข้อจำกัดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของคณะราษฎรที่สำคัญคือ ข้อจำกัดจากสนธิสัญญาเบาว์ริง แนวนโยบายอนุรักษ์ทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมและเสถียรภาพเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะก่อนปี 2484

เศรษฐกิจได้ตกต่ำทั่วโลก โดยเริ่มจากสหรัฐอเมริกา ในปี 2472 เข้าสู่ยุโรปและประเทศอื่น ๆ หลังจากนั้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ธุรกิจปิดตัวลงและล้มละลาย การว่างงานเพิ่มขึ้นระดับสูง ราคาสินค้าทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง หนี้สินต่างประเทศเพิ่มขึ้น หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศชั้นนำทางอุตสาหกรรมได้ใช้นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม โดยการตั้งกำแพงภาษีและโควตานำเข้าเพื่อปกป้องอุตสาหกรรม และบรรเทาการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงิน

เศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ 2470 ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอันมาก ที่สำคัญคือ ราคาข้าวได้ตกต่ำลงถึง 2 ใน 3 ชาวนาสูญเสียที่ดิน และภาวะหนี้สินเพิ่มขึ้น โรงงานและธุรกิจทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดปิดตัวลง การว่างงานเพิ่มขึ้น [2]

เศรษฐกิจตกต่ำยังมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอำนาจทางการเมืองเพื่อแสวงหาแนวทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งประเทศอุตสาหกรรม และประเทศด้อยพัฒนาโดยทั่วไป เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และหลายประเทศในอเมริกาใต้

ในปี พ.ศ.ใดที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก *
โรงสีข้าวในอดีต

ที่สหราชอาณาจักร เศรษฐศาสตร์ของเคนส์ (Keynesian Economics) ได้ถือกำเนิดในปี 2478 หนังสือของ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) คือ The General Theory of Employment, Interest and Money (หรือภาษาไทยเรียกว่า ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงาน, ดอกเบี้ย และเงินตรา) ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ครั้งสำคัญ

โดยแกนกลางของเศรษฐศาสตร์เคนส์ คือ ได้ปฏิรูปทฤษฎีเงินตรา บทบาทของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการคลังแบบขยายตัวหรือแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์เคนส์ได้แผ่ขยายแนวคิดไปแทนที่ เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกและสำนักนีโอคลาสสิกที่ใช้ “กลไกราคา หรือ “พลังตลาด” เป็นตัวแบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยฐานความคิดเชื่อว่า “เศรษฐกิจในระบอบทุนนิยมจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลและมีการจ้างงานเต็มที่ในที่สุด”

เศรษฐศาสตร์เคนส์เน้นการใช้นโยบายงบประมาณแบบขาดดุล และได้รับการยกย่องเปรียบเสมือนการปฏิวัติทางเศรษฐศาสตร์หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติเคนส์ (Keynesian Revolution)

ในสหภาพโซเวียต ต้นทศวรรษ 2470 ใช้นโยบายวางแผนโดยรัฐบาลจากส่วนกลางและนโยบายเศรษฐกิจ 5 ปี (Five-Year Plans) เร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เศรษฐกิจของรัสเซียแปรรูปจากเศรษฐกิจที่มีฐานการผลิตเป็นเกษตรสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ในเยอรมนี ในทศวรรษ 2470 ฮิตเลอร์ใช้นโยบายเศรษฐกิจวางแผนจากส่วนกลางอัดฉีดงบประมาณมหาศาล เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อผลิตอาวุธและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในการเป็นแสนยานุภาพทางทหาร รวมทั้งจัดสรรงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อการก่อสร้างกิจการสาธารณะของรัฐ โดยมีผลให้การว่างงานได้ลดลงเป็นจำนวนมาก

ที่สหรัฐอเมริกา แผนการนิวดีลของประธานาธิบดี รูสเวลต์ (Roosevelts New Deal) ในปี 2476 สนับสนุนให้มีการกระตุ้นการใช้งบประมาณเพื่อเพิ่มสวัสดิการของประชาชนโดยผ่านเงินโอนและเงินกู้ และเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ว่างงาน รวมทั้งกระตุ้นงบประมาณในกิจการสาธารณะของรัฐ เช่น การสร้างถนนหลวง เขื่อน กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ตลอดจนให้เงินชดเชยเกษตรกรเพื่อให้ลดเนื้อที่การเพาะปลูกสินค้าเกษตรกรรมเพื่อลดอุปทานของสินค้าเกษตรลง

ในปี พ.ศ.ใดที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก *
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญ, 10 ธันวาคม 2475

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำในทศวรรษ 2470 มีผลกระทบต่อสถานะการเงินของราชสำนักของไทยทั้งในสถานะส่วนบุคคลและกรมพระคลังข้างที่ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

แท้ที่จริงแล้ว ปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินของราชสำนักได้ก่อตัวนับแต่ทศวรรษ 2460 ความยุ่งยากทางเศรษฐกิจภายในประเทศและของโลก ในทศวรรษ 2460 คือ ความอ่อนแอของฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ การลดลงของรายรับของรัฐบาล การเพิ่มขึ้นการใช้จ่ายเกินตัวของราชสำนักในกิจการที่ไม่ก่อให้ผลิตภาพทางการผลิต ผลของการล้มละลายของธนาคารจีนสยามและการขาดทุนอย่างมหาศาลของธุรกิจการเดินเรือและธุรกิจอื่น ๆ (ตอนกลางทศวรรษ 2450)

นอกจากจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นแล้ว กรมพระคลังข้างที่ต้องประสบกับปัญหาการขาดแคลนเงินลงทุนในกิจการทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ส่งผลให้การลงทุนได้ซบเซาลง เงินของกรมพระคลังข้างที่ในธนาคารฝรั่งเศสลดลงอย่างรวดเร็ว ช่วงปี 2453-60 พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเล่าว่า ในช่วงระหว่างปี 2466-67 กรมพระคลังข้างที่ใช้เงินสูงถึง 11.5 ล้านบาท แต่ก็ยังไม่พอ และราชสำนักใช้เงินเกินงบประมาณตั้งแต่ปี 2466-68 ในอัตราร้อยละ 19 14 และ 115 ตามลำดับ จากการใช้เงินเกินพระองค์มากเช่นนี้ ทำให้กรมพระคลังข้างที่ต้องประกาศขายที่ดิน 293 แปลง [3]

หนี้ทั้งหมดของกรมพระคลังข้างที่ในปี 2468 มีเท่ากับ 15 ล้านบาท [4] และเมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2468 หนี้สินส่วนพระองค์มีประมาณ 5.5 ล้านบาท ซึ่งนอกเหนือจาก 4.6 ล้านบาทซึ่งท่านได้ยืมจากเงินคงคลัง [5]

สถานการณ์ความยุ่งยากทางเศรษฐกิจยังคงมีต่อไปโดยเฉพาะวิกฤติการณ์การเงินและการคลังของรัฐบาล เมื่อรัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 2468 ภาวะการเงินและการคลังของประเทศได้เริ่มตึงตัวอีกครั้งหนึ่ง ในปี 2469 มีการตัดทอนงบประมาณของราชสำนักหรืองบประมาณที่จัดสรรแก่กรมพระคลังข้างที่ลงถึงร้อยละ 37 รวมทั้งมีการลดข้าราชการและกำลังคนลง มีการตัดทอนงบประมาณของกระทรวงกลาโหมสงเท่ากับ 1.83 ล้านบาท และกระทรวงมหาดไทยลงเท่ากับ 1.45 ล้านบาท [6]

แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางการคลัง โดยการเพิ่มภาษีโดยเฉพาะภาษีของผู้อาศัยอยู่ในเขตเมือง แต่ทว่าการเพิ่มขึ้นของภาษีก็ไม่พอเพียงต่อการเพิ่มขึ้นของรายจ่าย รัฐบาลจึงต้องลดงบประมาณรายจ่าย ข้าราชการและลูกจ้างจำนวนมากได้ถูกปลดออก เช่น ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2472 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2472 มีจำนวนถึง 1,292 คน [7] นโยบายการคลังที่เข้มงวดสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก และเมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำได้อุบัติขึ้นในตอนต้นทศวรรษ 2470 เหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การปฏิวัติการเปลี่ยนการปกครอง ในปี 2475

ในปี พ.ศ.ใดที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก *
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ประทับฉายพระบรมฉายาลักษณ์พร้อมด้วยเหล่าเสือป่าที่สโมสรเสือป่า พระราชวังดุสิต(ภาพจาก www.vajiravudh.ac.th)

คณะราษฎรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2475-84

เจตจำนงของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในทางเศรษฐกิจ (หนึ่งในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร) คือ การนำพาประเทศไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยจะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

แม้ว่าคณะราษฎรจะยึดคุมอำนาจทางการเมือง แต่ก็ขาดฐานอำนาจทางเศรษฐกิจ จึงได้ขยายฐานอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มตน โดยแทรกแซงทางเศรษฐกิจในเบื้องต้นช่วงปี 2475-80 วิธีการที่สำคัญคือ การก่อตั้งรัฐวิสาหกิจ สนับสนุนคนไทยมีบทบาททางเศรษฐกิจโดยเฉพาะพ่อค้ารายย่อย สงวนอาชีพให้คนไทย กีดกันและต่อต้านชาวจีน

มาตรการเพื่อจำกัดบทบาททางเศรษฐกิจคนจีนและสงวนอาชีพให้กับคนไทย เช่น ออกกฎหมายสงวนการให้สัมปทานรังนกแก่องค์การของรัฐบาลหรือตัวแทน ออกกฎหมายเพิ่มภาษีคนเข้าเมืองกับคนจีน ออกกฎหมายควบคุมอุตสาหกรรมฆ่าสัตว์ เพื่อให้อาชีพการขายเนื้อสัตว์นี้อยู่ในการดำเนินการของคนไทย ฯลฯ หลังจากนั้น ในทศวรรษ 2480 ขยายการก่อตั้งรัฐวิสาหกิจ การก่อตั้งและยึดกุมธนาคารพาณิชย์ การผูกขาดอุตสาหกรรมสีข้าว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง การผูกขาดกิจการนำเข้า การกระจายและการขนส่งสินค้า บริโภค นำเข้า รวมทั้งสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศ ตลอดจนไปถึงอำนาจทางการเมืองในการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยรัฐมีบทบาทนำเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและธนาคารพาณิชย์ขยายตัว [8]

ในช่วงปี 2475-84 คณะราษฎรกลับเข้าไปมีบทบาท ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ช่วงระยะเวลาดังกล่าวสังคมเศรษฐกิจไทยแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย เศรษฐกิจข้าวยังเป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ ทั้งการส่งออกและเป็นแหล่งการจ้างงานขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศสูงถึงมากกว่าร้อยละ 80 ของกำลังแรงงานของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมยังมีขนาดเล็กและแรงงานจีนก็ยังเป็นแรงงานสำคัญในการผลิต

นอกจากโรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานไม้ขีดไฟ โรงงานผลิตเบียร์แล้ว โรงงานเกือบทั้งหมดเป็นโรงงานขนาดเล็ก ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นสำคัญ ในปี 2481 มีโรงงานในกรุงเทพฯ และธนบุรีมีทั้งสิ้น 285 โรง โดยส่วนใหญ่เป็นโรงงานเครื่องหนัง 32 โรง โรงสีข้าวและโรงเลื่อย 27 โรง โรงงานทอผ้า 26 โรง โรงงานผลิตขวดและกระป๋อง 21 โรง และโรงงานทำเครื่องจักรกล (12 โรง) [9]

ปัจจัยสำคัญที่มีผลให้รัฐบาลโดยคณะราษฎรมีบทบาทค่อนข้างจำกัดในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างปี 2475-84 คือ

ประการแรก ข้อเสนอของนายปรีดี พนมยงค์ ในปี 2476 แกนนำคนสำคัญของคณะราษฎร เรื่อง “เค้าโครงเศรษฐกิจ” ได้ถูกยับยั้ง โดยสาระสำคัญในเรื่องการเพิ่มพลังการผลิต โดยรัฐเป็นผู้วางแผนและบริหารจัดการทางเศรษฐกิจเสียเอง โดยมีการโอนทุนและโรงงานอุตสาหกรรมเป็นของรัฐ โดยให้ค่าตอบแทนแก่เจ้าของปัจจัยการผลิตในรูปพันธมิตรและหุ้นกู้สามัญ และควบคุมให้มีการลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์ระยะยาวอย่างแท้จริง มีการเก็บภาษีมรดกและกระจายที่ดินถือครอง [10] รัชกาลที่ 7 ก็คัดค้านเพราะเห็นว่าเค้าโครงเศรษฐกิจจะทำลายเสรีภาพของราษฎรบังคับกดขี่เหมือนทาส และจะนำประเทศไปสู่การปกครองแบบคอมมูนิสต์ที่เกิดขึ้นในรัสเซีย

ในปี พ.ศ.ใดที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก *
ปรีดี พนมยงค์ (ภาพจาก AFP FILES / STR)

แนวคิดของนายปรีดีได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีของฟรีดริช ลิสต์ (Friedrich List ค.ศ. 1789-1846) นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่เห็นว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมรัฐควรมีบทบาทในทางเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศผลิตสินค้าเองทุกอย่าง ลิสต์สนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนนำเข้าที่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กำแพงภาษี เมื่อโครงการเศรษฐกิจของนายปรีดีถูกยับยั้ง นายปรีดีได้ถูกบังคับให้ลี้ภัยไปต่างประเทศ และต่อมาได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยโดยในปี 2476 หลังจากนั้นก็ไม่มีการฟื้นฟูเค้าโครงเศรษฐกิจอีกเลย

หากข้อเสนอของนายปรีดีประสบความสำเร็จ บทบาทรัฐในทางเศรษฐกิจทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมย่อมมีมากขึ้น รวมทั้งมีการกระจายทรัพย์สินที่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เพราะประชาชนได้มีส่วนร่วมและได้รับผลตอบแทนจากการผลิตอย่างเป็นธรรม

ประการที่ 2 นโยบายการเงินและการคลังแบบอนุรักษ์ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของไทยก็ยังคงเป็นแบบอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากที่ปรึกษาทางคลังชาวต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ซึ่งมีภูมิหลังแนวคิดแบบการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าจะเป็นการเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เน้นบทบาทของรัฐไปมีบทบาททางเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยระมัดระวังพิเศษที่จะไม่อยู่ตรงกันข้ามกับสหราชอาณาจักรหรือประเทศยุโรปอื่น ๆ เช่น ฝรั่งเศส เพราะกลัวอิทธิพลจากประเทศมหาอำนาจนั่นเอง โดยเฉพาะนโยบายที่ยกเลิกหรือไม่สนับสนุนการค้าเสรีซึ่งผลมาจากสนธิสัญญาเบาว์ริง

แนวนโยบายของอนุรักษนิยมของที่ปรึกษาทางการคลังที่สำคัญ คือ ไม่สนับสนุนการก่อหนี้สาธารณะ โดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศดำเนินนโยบายแบบเมินเฉยหรือ passive ที่เน้นการรักษาเสถียรภาพ รักษาเศรษฐกิจระหว่างประเทศและในประเทศ คือ ธำรงไว้ซึ่งการรักษาค่าเงิน เพื่อไม่ให้ก่อให้ภาวะดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงินขาดดุล ตลอดจนใช้นโยบายงบประมาณแบบสมดุล เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะ เป็นต้น

ที่ปรึกษาการคลังชาวอังกฤษที่สำคัญตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 คือ นาย ซี. ริเวตต์คาร์แนค (C. Rivett Carnac) นาย ดับบลิว.เจ.เอฟ. วิลเลียมสัน (W.I.E. Williamson) และเซอร์เอดเวิร์ด คุก (Sir Edward Cook) และนายฮอลล์-แพตช์ (Hal-Patch) ในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ต่อช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ที่เศรษฐกิจเริ่มส่อเค้าลางความยุ่งยากทางเศรษฐกิจและเข้าสู่เศรษฐกิจตกต่ำต่อมา

ที่ปรึกษาทางการคลังได้เสนอให้ตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดิน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศ และค่าใช้จ่ายของราชสำนักทั้งในส่วนที่เป็นของกรมพระคลังข้างที่ และงบรายจ่ายเพื่อราชสำนักอื่น ๆ เพราะเห็นว่าเป็นที่มาของการคลังขาดเสถียรภาพด้วย โดยเฉพาะงบของราชสำนัก ซึ่งในปี 2468 คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 10.7 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งสูงกว่าญี่ปุ่น (ร้อยละ .25) เดนมาร์ก (ร้อยละ 0.9) เนเธอร์แลนด์ (0.1) สเปน (ร้อยละ 0.3) และนอร์เวย์ (0.1) [11] รัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 7 ก็ได้ตัดทอนงบประมาณรายจ่ายลงเพื่อให้งบประมาณสมดุล

ประการที่ 3 รัฐบาลไทยมีบทบาทค่อนข้างจำกัดในการพัฒนาอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งเกิดจากการลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง ในปี 2398 ไทยไม่สามารถกำหนดอัตราภาษีนำเข้าได้เกินร้อยละ 3 ไทยค่อย ๆ ได้รับสิทธิหรืออำนาจในการกำหนดภาษีในปี 2469 และได้รับคืนอย่างสมบูรณ์ในปี 2479 แม้ว่าไทยจะเพิ่มอัตราภาษีนำเข้า หรือตั้งกำแพงภาษีเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมและการแสวงหารายได้ แต่การเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าก็เพิ่มเพียงเล็กน้อย และระดับอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำย่อมไม่เป็นแรงจูงใจในการสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมภายในประเทศ [12]

นายอินแกรมได้แสดงทัศนะว่า จุดประสงค์ของการจัดเก็บภาษีอากรนำเข้าเหล่านี้เพื่อที่จะเพิ่มรายได้ของรัฐบาลมากกว่าจะเป็นเครื่องมือกระตุ้นการขยายตัวของอุตสาหกรรมท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การขึ้นภาษีอากรนำเข้าย่อมมีผลทางอ้อมต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศขยายตัวได้เช่นกัน อาทิ อุตสาหกรรมบุหรี่ สบู่ และไม้ขีดไฟ [13] ไม่เพียงแต่อัตราภาษีอากรนำเข้าอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลไทย ณ ขณะนั้นไม่มีนโยบายและมาตรการใดในการกระตุ้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม นโยบายของรัฐต่อการสนับสนุนอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้ายังคงมีบทบาทจำกัด และเงินตราต่างประเทศของไทยยังคงใช้ระบบเทียบค่าในระบบมาตรฐานทองคำและยังคงผูกติดค่าเงินอยู่กับเงินปอนด์สเตอร์ลิงเป็นสำคัญ [14]

ในปี พ.ศ.ใดที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก *
[จากซ้ายไปขวา] พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) 3 ผู้นำคณะราษฎรในคณะรัฐบาลพระยาพหลฯ ยุคปลาย 2480 ภาพจากปกนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มิถุนายน 2564อัตราภาษีนำเข้าของไทยจึงค่อนข้างต่ำ และไม่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเท่าที่ควรมีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ 2470 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยค่อนข้างจะไม่รุนแรงเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ตลอดช่วงเวลาของทศวรรษ 2470 ประเทศพึ่งพารายได้จากการส่งออกมีความจำเป็นต้องตั้งกำแพงภาษีนำเข้าอยู่ในระดับสูง

เนื่องจากการส่งออกสินค้าและบริการตกต่ำลง บางประเทศได้ออกจากระบบการเงินระหว่างประเทศที่เทียบค่าเงินตราสกุลท้องถิ่นกับเงินตราสกุลหลัก ซึ่งมีผลต่อความไร้เสถียรภาพของการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวและผลจากการตั้งกำแพงภาษีในระดับสูง ส่งผลให้หลายประเทศสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะเริ่มต้น (nascent industrialization) ในทศวรรษ 2470 นอกจากนี้รัฐบาลหลายประเทศได้ส่งเสริมให้มีการลดการนำเข้าซึ่งป้องกันการไหลออกของเงินตราต่างประเทศในที่สุด [15]

ในขณะที่หลายประเทศประสบกับปัญหาการขาดดุลการค้าและบริการ เศรษฐกิจไทยกลับไม่ประสบกับปัญหาดังกล่าว แม้ว่าราคาส่งออกข้าวจะลดต่ำลง แต่ระดับการลดต่ำลงของราคาข้าวของไทยยังลดลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับสินค้าส่งออกเกษตรขั้นปฐมอื่น ๆ อาทิ กาแฟ ยางพารา ข้าวสาลี รวมทั้งระดับราคาของข้าวยังลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับราคาสินค้าอุตสาหกรรมนำเข้า

ผลที่ตามมาก็คือสถานการณ์ของดุลการค้าและบริการของไทย ไม่ประสบกับปัญหาเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ รวมทั้งสามารถรักษาภาวะเกินดุลตลอดทศวรรษ 2470 ด้วยแรงกดดันที่จะเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าหรือมาตรการอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมจึงยังไม่เกิดขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ 2470 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีมากมาย ซึ่งไม่สามารถกล่าวได้ทั้งหมดในที่นี้ โดยผลกระทบที่สำคัญบางประการ 1. ประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกสินค้าขั้นปฐมจะถูกกระทบมากจากการถดถอยอย่างมากของการค้าระหว่างประเทศและของโลกโดยรวม รวมทั้งการลดลงของราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งมีผลให้การลดลงของราคาและปริมาณสินค้าเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน)

2. ประเทศเหล่านี้มักจะพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมด้วย ระดับราคาของสินค้าอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดต่ำลงน้อยกว่าสินค้าขั้นปฐม

3. ประเทศผู้ผลิตสินค้าขั้นปฐมดังกล่าวมักจะมีภาระเป็นหนี้ต่างประเทศในระดับสูง และเป็นการลำบากที่จะใช้หนี้ต่างประเทศคืนได้หมด หากรายได้จากการส่งออกได้ตกต่ำลง 4. ประเทศผลิตสินค้าขั้นปฐมมักจะมีการพึ่งพาตลาดส่งออกเพียงไม่กี่แห่ง (ประเทศ) และหากประเทศคู่ค้าประสบกับความผันผวนทางเศรษฐกิจหรือล้มละลายย่อมมีผลให้ประเทศที่ผลิตสินค้าขั้นปฐมดังกล่าวมาแล้วประสบกับปัญหาอย่างมาก [16]

เช่น ในปี 2472 มีจำนวน 18 ประเทศได้ส่งออกสินค้าถึง 1 ใน 3 หรือมากกว่านั้นไปยังสหรัฐ (มาเลเซียส่งออกยางพารา ส่วนบราซิลส่งออกกาแฟเกือบทั้งหมดไปยังสหรัฐ) ราคาส่งออกได้ตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะราคายางพาราและกาแฟได้ลดลงถึงมากกว่าร้อยละ 75 ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่สินค้าขั้นปฐม อันประกอบไปด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ กลุ่มประเทศดัตช์ อีสต์ อินดีส (Dutch East Indies) อาร์เจนตินา บราซิล และมาเลเซีย ประสบกับปัญหาดุลการค้าและปัญหาการล้มละลายของการชำระหนี้คืนระหว่างประเทศในระยะต่อมา

เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ในหลายประเทศได้พยายามแก้ไขปัญหาในทศวรรษ 2470 โดยใช้มาตรการที่สำคัญ อันประกอบด้วยการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าในอัตราสูง การจำกัดการนำเข้า การลดค่าเงิน การสร้างการค้าระดับทวิภาคี และยกเลิกการชำระหนี้ระหว่างประเทศ เพื่อที่จะส่งผลให้ในการแก้ปัญหาดุลการค้าขาดดุล นโยบายและมาตรการดังกล่าวข้างต้นได้ส่งผลสนับสนุนการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นอันมาก

ในงานของ Malcolm Falkus ได้กล่าวว่า “ในอาร์เจนตินา บราซิล แอฟริกาใต้ และประเทศอื่น ๆ ได้จุดประกายของการพัฒนาอุตสาหกรรมและผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ในอินเดียผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้น และในปี 2476 ผลผลิตได้ก้าวล้ำผลผลิต ในปี 2472 และได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าเดิมถึงร้อยละ 50 ประมาณ ปี 2481” [17]

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การดำเนินนโยบายภาษีเพื่อจำกัดการนำเข้า รวมทั้งการปกป้องการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ มีผลให้การบรรเทาผลกระทบของเศรษฐกิจตกต่ำและกระตุ้นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของหลายประเทศ

บูมการ์ดและบราวน์ชี้ให้เห็นว่า การกีดกันทางการค้า เช่น ตั้งกำแพงภาษีในระดับสูง และแรงงานราคาถูก มีผลต่อการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในหลายประเทศ [18] เช่น ในกรณีของอินโดนีเซียหรือที่เรียกว่า เดอะ เนเธอร์แลนด์ อินดีส แคลเรนซ์-สมิธได้บันทึกว่า “หนึ่งในผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดของเศรษฐกิจตกต่ำ [ในคริสต์ศตวรรษ 1930 – ผู้เขียน] คือ การผลักดันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ค่อย ๆ ผลักดันให้มีกิจกรรมการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งโดยได้มีการตั้งโรงงานทอผ้าสมัยใหม่เพื่อแข่งขันกับการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากญี่ปุ่น” [19]

อ่านเพิ่มเติม :

  • สมัย ร.7 เศรษฐกิจตกต่ำ แต่เสนาบดีกลาโหมกลับทรงขอขึ้นเงินเดือนให้นายทหาร
  • หลังม่านการสัมภาษณ์เจ้าพระยาธรรมาฯ เผยชีวิต-ความในใจเมื่อว่างงานห้วงเศรษฐกิจตกต่ำ
  • “น้ำตาลไม่หวาน” ของคณะราษฎร : การร่วมทุนธุรกิจ ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎรและเอกชน

เชิงอรรถ :

[2] Wyatt, D. (1984). Thailand : A Short History, Pasuk Phongpaichit and Baker, Chris (1995). Thailand : Economy and Politics

[3] ทวีศิลป์ (2528 : 141).

[4] กจช. ร.7 คลัง 19/6 (2468/69).

[5] Greene, S.L.W. (1999 : 169). Absolute Dreams Thai Government Under Rama VI.

[6] Seksan Prasertkul. (1989 : 480). The Formation of the Thai State and Economic Change.

[7] Seksan Prasertkul. (1989).

[8] โปรดดู Suehiro, Arira. (1996). Capital Accumulation in Thailand, Pasuk (1995).

[9] อ้างใน Hewison, Kewin. (1989 : 402). “Industry Prior Industrialisation,” in Journal of Contemporary Asia. 18 (4)

[10] ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2527 : 554-555). “การแสวงหาระบบเศรษฐกิจใหม่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย,” ใน ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484.

[11] พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2527 : 488). “การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468),” ใน ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484.

[12] Ingram, J.C. (1971). Economic Change in Thailand. 1850-1970.

[13] ในประเด็นนี้ โปรดดูใน Ingram, J.C. (1971 : 182-184).

[14] Ingram, J.C. (1971).

[15] Porphant Ouyyanont. (2012). “Underdevelopment and Industrialisation in Pre-War Thailand,” in Australian Economic History Review.

[16] Ibid.

[17] Falkus, M.E. (1975 : 79). The World Depression.

[18] Boomgaard, P. and Ian Brown. (2000 : 8). “Surviving the Slump : Developments in Real Income during the Depression of the 1930s in Indonesia. particularly Java,” in Weathering the Storm : The Economies of Southeast Asia in the 1930s Depression.

[19] Clarence-Smith, W.G. (2000 : 234). “Hadhrami Arab entrepreneurs in Indonesia and Malaysia : facing the challenge of the 1930s recession,” in Weathering the Storm : The Economies of Southeast Asia in the 1930s Depression.


หมายเหตุ : คัดบางส่วนจากบทความ คณะราษฎรกับเศรษฐกิจไทย เขียนโดย พอพันธ์ อุยยานนท์ ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2556 โดยเป็นบทความที่ปรับปรุงและเรียบเรียงจากบทความชื่อเดียวกัน ซึ่งเสนอต่อที่ประชุมสัมนาทางวิชาการ เรื่อง “จาก 100 ปี ร.ศ. 130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย” 22 มิถุนายน 2555 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร

เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 24 มิถุนายน 2564 จัดย่อหน้าใหม่และเน้นคำใหม่โดยกองบรรณาธิการ

ในปีพ.ศ.ใดที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา ทั่วโลก *

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก พ.. 2551–2555 เป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชัดเจนซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม .. 2550 และทรุดหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนกันยายน .. 2551 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งโลก โดยบางประเทศเสียหายกว่าประเทศอื่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าวมีลักษณะของความไม่สมดุลในระบบต่าง ๆ และ ...

มีอะไรบ้างที่ทำให้เศรษฐกิจโลกตกต่ำ

โดยทั่วไปภาวะเศรษฐกิจถดถอยเกิดเมื่อมีรายจ่ายลดลงอย่างกว้างขวาง (การเปลี่ยนแปลงอุปทานเป็นลบ) ซึ่งอาจเกิดจากหลายเหตุการณ์อย่างวิกฤตการเงิน การเปลี่ยนแปลงการค้าภายนอก และการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์เป็นลบ หรือการแตกของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ รัฐบาลปกติสนองต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบขยายตัว เช่น การพิ่ม ...

ผลกระทบต่อโลก ที่เกิดจาก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปีค.ศ 1929 อย่างไรบ้าง

เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความหายนะทางการเงิน ธนาคารหลายพันแห่งของสหรัฐอเมริกาที่ต้องล้มตามภาคอุตสาหกรรมและตลาดหุ้น ผู้คนหลายล้านคนสูญเสียเงินและมีคนตกงานจำนวนมาก ระหว่าง .. 1929-1932 รายได้ประชาชาติ(National Income) ของประเทศลดจาก81,000 ล้านเหรียญดอลลาร์ เหลือเพียง 41,000 ล้านเหรียญดอลลาร์ ธุรกิจกว่า ...

สาเหตุที่โลกเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คือข้อใด

สาเหตุหลัก ๆ ในการเกิด “The Great Depression” สืบเนื่องมาจากการที่เพิ่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารปลดประจำการหลั่งไหลไปเป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม​จนทำให้ค่าแรงตก ผลผลิตทางการเกษตรราคาต่ำและมีการปล่อยกู้มาก สุดท้ายจึงเกิดฟองสบู่แตกในทั้งระบบเศรษฐกิจ​และตลาดหุ้น