VR ได้ถูกน ามาใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง

เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2565 คงหนีไม่พ้น ‘เทคโนโลยีแห่งโลกเสมือนจริง ที่ให้ความสมจริง และ สร้างประสบการณ์ที่รู้สึกดื่มด่ำกับสภาพแวดล้อม’ นั่นก็คือ เทคโนโลยี VR ที่จะเข้ามามีบทบาท และคาดว่าจะ มีการลงทุนเพิ่มมากยิ่งขึ้น เป็นจำนวนเงิน สูงถึง 5.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 อ้างอิงจาก FinancesOnline Research Center ซึ่งปัจจุบันเห็นได้ชัดเจน ในด้านอุตสาหกรรมความบันเทิง อย่างเช่น วงการเกม ที่ได้นำเอามาใช้อันดับแรก ๆ จนกระทั่งในปัจจุบัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ และ พฤติกรรมของผู้บริโภค ในส่วนของเทคโนโลยีก็มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ และขยายขอบเขตไปยังธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่นเดียวกัน 

เทคโนโลยี VR คืออะไร

VR ย่อมาจากคำว่า Virtual Reality คือ สภาพแวดล้อมที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ โดยจำลองสภาพแวดล้อมให้มีความเสมือนจริง หรือเปรียบได้ว่าเป็น การสร้างโลกเสมือนขึ้นมาอีกใบ โดยเราจะถูกตัดขาดออกจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เช่น การจำลองสถานที่ใน Google Street View ที่ผู้ใช้สามารถสำรวจสถานที่ได้ 360 องศา ราวกับได้ท่องอยู่ในสถานที่นั้นจริง ๆ ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ แท็ปแล็ต ฯลฯ


รวมไปถึงการเข้าถึงประสบการณ์ Virtual Reality ผ่านอุปกรณ์ เช่น แว่น VR หรือ VR Headset ซึ่งเป็นอุปกรณ์แสดงภาพเสมือน ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนได้มองเห็น รับรู้ด้วยตาของตัวเอง ผ่านการจำลองสภาพแวดล้อมเข้าไปให้เสมือนจริงแบบ 3 มิติ และ 360 องศา โดยสามารถรับรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น ได้ยินเสียง การสัมผัส หรือแม้กระทั่งกลิ่น

1. งานแสดงดนตรี (Concerts)

ความบันเทิงเสมือนจริง เป็นการสร้างการรับรู้ต่อประสาทสัมผัสในลักษณะที่รู้สึกราวกับว่าเราอยู่ที่นั่นจริง ๆ ในส่วนของอุตสาหกรรมดนตรีที่มีการใช้เทคโนโลยี VR เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการมีส่วนร่วม ก็คือ การจำลองการแสดงดนตรีโดยศิลปิน และเปิดให้ผู้เข้าชมเข้ามารับชมผ่านการแสดงผลจากอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือ แท็ปแล็ต ที่ให้บรรยากาศราวกับไปอยู่หน้าเวที และสามารถซึมซับความสนุก หรือที่เรียกว่า ความรู้สึกดื่มด่ำ เหมือนจมดิ่งไปกับสถานการณ์นั้น ๆ (Immersive Experience)

ตัวอย่าง การใช้แว่นตา VR ในการรับชมงานดนตรีเสมือนจริง

วิดีโอจาก: VoodooDE VR

นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมเพลงยังมี Virtual Concert รูปแบบอาศัยอุปกรณ์สวมศีรษะ (VR Headset) ในการสร้างประสบการณ์เสมือนจริง ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าไปดื่มด่ำกับบรรยากาศ และ ชมการแสดงดนตรีได้อย่างใกล้ชิด และสมจริงอีกด้วย

2. สวนสนุก (Amusement and Theme Parks)

การสร้างสวนสนุกเสมือนจริงด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้เทคโนโลยี VR เข้ามาช่วยเติมแต่งจินตนาการของผู้เล่น โดยการสร้างสรรค์ความบันเทิงในการสร้างโลกจำลองขึ้นมา เพราะบางสิ่งไม่อาจสัมผัสได้ในชีวิตจริง เช่น การมีตัวละครเหนือธรรมชาติเข้ามาเต็มบรรยากาศความสนุก ระหว่างการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุก บวกกับเสียงประกอบต่าง ๆ ที่ล้อมรอบผู้เล่น ที่จะช่วยสร้างความตื่นเต้น สามารถมอบประสบการณ์ความสนุก และสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมได้มากยิ่งขึ้น

VR ได้ถูกน ามาใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง

ตัวอย่าง การใช้ VR Headset สำหรับเครื่องเล่น

ภาพจาก travelchannel.com

สวนสนุก LEGOLAND รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเทคโนโลยี VR เข้ามาใช้โดยการทำให้ผู้เล่นได้เข้าสู่โลกเสมือนจริงผ่าน VR Headset จำลองสถานการณ์ที่ต้องเผชิญหน้าคู่แข่ง เช่น โจรสลัดเลโก้ ฟาโรห์ และพ่อมด ที่จะเติมเต็มประสบการณ์ความสนุกให้กับผู้เล่นได้อย่างตื่นตา ตื่นใจ 

3. กีฬา (Sports)

VR ได้ถูกน ามาใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง

ด้านอุตสาหกรรมกีฬา ได้มีการใช้เทคโนโลยี VR เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การรับชมของแข่งขันกีฬาได้อย่างสมจริง ในรูปแบบความจริงเสมือนที่ใช้ VR Headset โดยในบางระบบนั้น มีการอนุญาตให้ผู้ชมนั้นสามารถเดินชมภายในสนามกีฬา หรือ สถานที่เล่นกีฬาอื่น ๆ ได้ ซึ่งนับว่าเป็นความพิเศษที่สำคัญของเทคโนโลยี VR อีกทั้งยังเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมตัดสินใจซื้อบัตรเข้างาน ด้วยความต้องการที่จะได้รับอรรถรส ความสนุกสนาน และ ตื่นเต้น ราวกับได้เข้าไปเชียร์กีฬาที่ชื่นชอบ ติดขอบสนามเลยทีเดียว

VR ได้ถูกน ามาใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง

ตัวอย่าง เกมเบสบอล Home Run Derby VR จาก MLB 

ภาพจาก: identifyla.com

นอกจากนี้ในวงการกีฬายังรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยี Virtual Reality ผสานรวมเข้ากับวงการเกม เพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกาย ยกตัวอย่าง เช่น กีฬาเบสบอล ที่มีการนำมาทำในรูปแบบเกม Home Run Derby VR สร้างประสบการณ์แก่ผู้เล่นในรูปแบบ VR ที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายจริงให้สัมพันธ์กับสถานการณ์ภายในเกม 

4. พิพิธภัณฑ์ และ หอศิลป์ (Museums and Art Galleries)

พิพิธภัณฑ์ และ หอศิลป์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมประเภทความบันเทิง หากกล่าวถึงในแง่ของการสร้างการมีส่วนร่วม โดยนำเทคโนโลยีเสมือนจริง (VR) เข้ามาใช้นั้น จะเป็นเรื่องของการสร้างความน่าสนใจ โดยการสร้างสรรค์ ถ่ายทอดเรื่องราวแบบเสมือนจริง และ ให้ความรู้สึกเหมือนสัมผัสได้จริง ผ่านแว่นตา VR ไม่ว่าจะเป็น ผลงานที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และ ศิลปะ ผ่านการตีความตามข้อเท็จจริง ที่ไม่ได้แต่งเติมขึ้นมา แล้วร้อยเรียงเรื่องราวนั้น ให้เป็นความจริงเสมือนที่จะบอกเล่าความสำคัญของผลงาน ทำให้ผู้คนสามารถชื่นชม ซึมซับ เข้าถึงความงดงาม ผ่านแว่นตา VR ให้เข้าใจถึงคุณค่าของสิ่งนั้น ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพวาด Mona Lisa ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประเทศฝรั่งเศส

ที่มีการนำเสนอความเสมือนจริง ผ่านการใช้อุปกรณ์แว่นตา VR

วิดีโอจาก: HTC VIVE

Mona Lisa: Beyond the Glass เป็นประสบการณ์ VR ครั้งแรกที่นำเสนอต่อสาธารณชน โดยพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ เผยให้เห็นนวัตกรรมทางศิลปะรวมถึงเทคนิค และกระบวนการในการวาดภาพ ของ Leonardo da Vinci ผ่านการสร้างด้วยเทคโนโลยี VR ที่ทำให้หญิงสาวในภาพดูเหมือนมีชีวิตจริง ๆ 

5. นิทรรศการ (Exhibition) 

ก้าวมาถึงยุคที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการเสมือนจริงได้ (Virtual Exhibition) แม้ว่าจะไม่มีอุปกรณ์เสริม อย่างแว่น VR เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ก็สามารถรับประสบการณ์แบบเสมือนจริง (Virtual Experience) ที่แสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน ฯลฯ ซึ่งเป็นการจำลองพื้นที่เสมือนของห้องแสดงนิทรรศการขึ้นมาให้ผู้เข้าชม สามารถรับชมแบบ 360 องศา ได้อย่างไร้รอยต่อ


ทั้งนี้ การจัดนิทรรศการเสมือน อาจไม่จำเป็นต้องมีสถานที่จริง โดยจำลองสภาพแวดล้อมขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนทางกายภาพ แล้วยังเป็นการสร้างช่องทางให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขายผลงานได้อีกด้วย

VR ได้ถูกน ามาใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง

นิทรรศการแฟชั่นเสมือนจริงที่จัดโดย The National Gallery of Victoria 

ภาพจาก: lifestyleasia.com

Collecting Comme เป็นนิทรรศการเสมือนจริงของแบรนด์แฟชั่น Comme Des Garçons ที่ได้มีการนำเทคโนโลยี VR เข้ามาใช้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชม สามารถชมชุด 65 ชุดจากกว่า 40 คอลเลกชันที่บริจาคโดยแบรนด์ และคุณ Takamasa Takahashi โดยภายในนิทรรศการนี้ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้จากทั่วทุกมุมโลกเพียงปลายนิ้วสัมผัส

สรุป 

การผสมผสานของอุตสาหกรรมบันเทิง และ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของธุรกิจที่การกระตุ้นเติบโตของกันและกัน นับว่าเป็นการสร้างโอกาสที่ดีในการดึงดูดความน่าสนใจด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ทำให้ผู้คนอยากเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเรื่อย ๆ 

อุตสาหกรรมความบันเทิงเสมือนจริงนี้ สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ด้านความบันเทิงแบบเดิม ๆ ให้มีมิติมากขึ้นได้อย่างหลากหลาย ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง Virtual Reality จะเป็นการช่วยกำหนดทิศทางในการพัฒนา ‘ความบันเทิงเสมือนจริง’ ให้มีประสิทธิภาพ และ ปรับปรุงประสบการณ์การมีส่วนร่วมที่ดีขึ้นในอนาคตได้

VR มีการใช้งานในด้าน ใด บ้าง

ย่อมาจาก Virtual Reality เป็นเทคโนโลยีที่จำลองสถานที่ขึ้นมาเป็นโลกเสมือนโดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการมองเห็น โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาได้ผ่านอุปกรณ์ เช่น แป้นพิมพ์, เม้าส์ หรือ ว่าอุปกรณ์ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น ถุงมือ, รองเท้า เป็นต้น

Augmented Reality ใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง

5 เหตุผลที่เทคโนโลยี AR สามารถสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจในโลกดิจิทัล.
1. เพิ่มยอดขายด้วยฟีเจอร์ทดลองสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ ... .
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ UX UI. ... .
3. ผลิตคอนเทนต์ได้อย่างสร้างสรรค์และสร้างกระแสให้กับแบรนด์ ... .
4. สร้างการมีส่วนร่วมได้โดยการใช้ AR รูปแบบ Gamification..

เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านใดได้บ้าง

VR ถูกนำมาใช้ในธุรกิจหรือวงการใดบ้าง? อุตสาหกรรมบันเทิงเช่น การชมคอนเสิร์ตผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (VR360) ธุรกิจ/ร้านค้า เช่น AIS ได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์ม V-Avenue.Co สร้างห้างสรรพสินค้าบนโลกเสมือนจริง(Metaverse) ผ่าน 5G VR. การท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวหรือชมตัวอย่างสถานที่เที่ยวผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง(VR360)

VR ถูกนำมาใช้ในธุรกิจหรือวงการใดบ้าง

รวมทั้งมีการนำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ที่นำมาเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ อาทิ เป็นเทรนด์สำหรับการเลือกซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต (ต่างประเทศ) รวมทั้งร้านปลีกสินค้ารายอื่นๆ อาทิ เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องสำอาง เป็นต้น ต่างหันมาลงทุนเทคโนโลยี VR กันมากมาย เพื่อจัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการ สำหรับการ ...