ในปี พ.ศ. 2542 มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด

ในปี พ.ศ. 2542 มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด

                 เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ท่าฉลอม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ มา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการ กระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิก กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543 จากวิวัฒนา การรูปแบบการปกครองท้องถิ่นจนถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่น รูปสุขาภิบาลจนหมดสิ้น ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ทำให้มีเทศบาลใน ปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 1,129 แห่ง
การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครอง ท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของกรุงเทพมหานคร และเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมี การทดลองรูปแบบเมืองพัทยาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตาม รูปแบบของเทศบาลนคร ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ให้ สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้ดังนี้
" มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมย์ของประชาชนในจังหวัดนั้น "
ขนาดเทศบาล
เทศบาลในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามจำนวนประชากรและรายได้ของเทศบาลนั้นๆ ในพระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2496 มาตรา 9,10,11 ได้กำหนดขนาดเทศบาลดังนี้
    มาตรา 9 เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีการประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้นให้ระบุชื่อและเขตเทศบาลไว้ด้วย
    มาตรา 10 เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มี ราษฎรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตาม พระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อ และเขตของเทศบาลไว้ด้วย
    มาตรา 11 เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป ทั้งมีรายได้ พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และซึ่งมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลนคร พระราชกฤษฎีกานั้นให้ระบุชื่อ และเขตของเทศบาลไว้ด้วย
    สภาเทศบาล
    เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 12 คน
    เทศบาลเมือง ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 18 คน
    เทศบาลนคร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 24 คน
    ทั้งนี้ สภาเทศบาล ประกอบไปด้วย ประธานสภาเทศบาลหนึ่งคน และรองประธานสภาเทศบาลสองคน และนายกเทศบาล ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานในเทศบาลทั้งหมด
    รายชื่อเทศบาลขนาดใหญ่
เทศบาลนคร  ปัจจุบันมี 23 แห่ง
ภาคเหนือ
    เทศบาลนครเชียงใหม่
    เทศบาลนครลำปาง
    เทศบาลนครเชียงราย
    เทศบาลนครพิษณุโลก
    เทศบาลนครนครสวรรค์

    ภาคใต้
    เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
    เทศบาลนครหาดใหญ่
    เทศบาลนครยะลา
    เทศบาลนครสงขลา
    เทศบาลนครตรัง
    เทศบาลนครภูเก็ต

    เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    เทศบาลนครนครราชสีมา
    เทศบาลนครขอนแก่น
    เทศบาลนครอุดรธานี
    เทศบาลนครอุบลราชธานี

    ภาคกลางและภาคตะวันออก
    เทศบาลนครนนทบุรี
    เทศบาลนครปากเกร็ด
    เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
    เทศบาลนครนครปฐม
    เทศบาลนครระยอง
    เทศบาลนครสมุทรปราการ

    เทศบาลนครสมุทรสาคร
    เขตเทศบาลที่มีประชากรถึงจำนวน 50,000 คนแล้ว แต่ยังมิได้เป็นเทศบาลนคร
    เทศบาลเมืองสระบุรี
    เทศบาลเมืองเขลางค์นคร
    เทศบาลตำบลบางปู
    เทศบาลตำบลบางเมือง
    เทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์
    เทศบาลตำบลสำโรงใต้
    เทศบาลเมืองลัดหลวง
    เทศบาลเมืองรังสิต
    เทศบาลเมืองบ้านสวน
    เทศบาลตำบลแหลมฉบัง
    เทศบาลตำบลด่านสำโรง
    เทศบาลเมืองหัวหิน
    เทศบาลเมืองคลองหลวง
    เทศบาลตำบลธัญบุรี
    เทศบาลเมืองสกลนคร

เทศบาลนคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในประเทศไทย, เทศบาลนครเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป และมีรายได้พอเพียงต่อการให้บริการสาธารณะตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้. การจัดตั้งเทศบาลนครกระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนครตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 (ฉบับล่าสุด). ปัจจุบันมีเทศบาลนครอยู่ 23 แห่งทั่วประเทศ. เทศบาลนครสองแห่งแรกของไทยคือเทศบาลนครกรุงเทพ และ เทศบาลนครธนบุรี ซึ่งปัจจุบันได้ยุบรวมกันกลายเป็น กรุงเทพมหานคร.

เทศบาลนครประกอบด้วยนายกเทศมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารและสภาเทศบาลที่มีสมาชิกจำนวน 24 คนมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในเขตเทศบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ. นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรในเขตเทศบาลและมีรองนายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรี. นอกจากนี้ยังมีสำนักงานเทศบาลนครซึ่งมีปลัดเทศบาลเป็นหัวหน้าพนักงานเทศบาล ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการและหน่วยงานให้บริการประชาชนภายใต้การบังคับบัญชาของนายกเทศมนตรี
อันดับของเมืองใหญ่ (นคร) ในประเทศไทยตามขนาดประชากรเป็นดังนี้ (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
ชื่อเมือง ชื่อเทศบาล/ องค์กรปกครองท้องถิ่น จำนวนประชากร(คน) จังหวัด จัดตั้ง
กรุงเทพฯ* กรุงเทพมหานคร 5,672,721 กรุงเทพมหานคร 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515
นนทบุรี เทศบาลนครนนทบุรี 266,656 นนทบุรี 24 กันยายน พ.ศ. 2538
ปากเกร็ด เทศบาลนครปากเกร็ด 168,029 นนทบุรี 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
หาดใหญ่ เทศบาลนครหาดใหญ่ 157,341 สงขลา 24 กันยายน พ.ศ. 2538
เชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ 148,421 เชียงใหม่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2478
นครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา 147,688 นครราชสีมา 24 กันยายน พ.ศ. 2538
อุดรธานี เทศบาลนครอุดรธานี 142,445 อุดรธานี 24 กันยายน พ.ศ. 2538
สุราษฎร์ธานี เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 125,934 สุราษฎร์ธานี 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่น 119,858 ขอนแก่น 24 กันยายน พ.ศ. 2538
นครศรีธรรมราช เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 107,325 นครศรีธรรมราช 24 สิงหาคม พ.ศ. 2537
พัทยา* เมืองพัทยา 101,939 ชลบุรี
นครสวรรค์ เทศบาลนครนครสวรรค์ 93,327 นครสวรรค์ 24 กันยายน พ.ศ. 2538
อุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี 86,073 อุบลราชธานี 8 มีนาคม พ.ศ. 2542
นครปฐม เทศบาลนครนครปฐม 84,724 นครปฐม 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
พิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลก 79,318 พิษณุโลก 8 มีนาคม พ.ศ. 2542
ภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต 75,146 ภูเก็ต 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
สงขลา เทศบาลนครสงขลา 74,648 สงขลา 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
เชียงราย เทศบาลนครเชียงราย 69,528 เชียงราย 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
ยะลา เทศบาลนครยะลา 63,767 ยะลา 24 กันยายน พ.ศ. 2538
ตรัง เทศบาลนครตรัง 60,510 ตรัง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ลำปาง เทศบาลนครลำปาง 59,996 ลำปาง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
สมุทรปราการ เทศบาลนครสมุทรปราการ 56,755 สมุทรปราการ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542
สมุทรสาคร เทศบาลนครสมุทรสาคร 56,300 สมุทรสาคร 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ระยอง เทศบาลนครระยอง 55,783 ระยอง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
พระนครศรีอยุธยา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา 54,950 พระนครศรีอยุธยา 15 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ข้อมูลจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

หมายเหตุ 1. กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นระดับมหานครเพียงหนึ่งเดียวของไทย มีลักษณะครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดเช่นเดียวกับ อบจ. แต่มีถือว่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นเขตเมืองทำนองเดียวกับเทศบาล. กทม.มีผู้ว่าราชการ กทม.ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นฝ่ายบริหาร มีสภา กทม.เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และมีสภาเขตเป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
2. เมืองพัทยาเป็นเทศบาลพิเศษซึ่งเดิมมีรูปแบบ "สภา-ผู้จัดการนคร" อันแตกต่างจากเทศบาลทั่วไปที่ใช้รูปแบบ "นายกเทศมนตรี-สภา" แต่ปัจจุบันเมืองพัทยาได้หันมาใช้รูปแบบ "นายกเทศมนตรี-สภา" เหมือนเทศบาลนครอื่นๆ แต่ยังเรียกนายกเทศมนตรีว่า "นายกเมืองพัทยา" และสภาว่า "สภาเมืองพัทยา" เหมือนเดิม.

อ้างอิง • http://www.tambol.com/municipal/website.asp?page=1&key=&districtwebsite=&provincewebsite=

องค์กรใดจัดอยู่ในประเทศของสุขาภิบาล

สุขาภิบาล เป็นเขตการปกครองย่อยของประเทศไทย บริหารโดยคณะกรรมการสุขาภิบาล ซึ่งมีทั้งกำนัน หัวหน้าประจำหมู่บ้าน และพ่อค้าในท้องที่

สุขาภิบาลส่วนภูมิภาคแห่งแรกที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2448 ชื่ออะไร

หลังจากนั้น 8 ปี คือในวันที่ 18 มีนาคม .. 2448 (ร.. 124) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาครเป็น "สุขาภิบาล" เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม" ซึ่งถือว่าเป็นสุขาภิบาล "หัวเมือง" แห่งแรกของไทย ซึ่งในปัจจุบันคือ "เทศบาลนครสมุทรสาคร"

การปกครองแบบสุขาภิบาลเป็นการปกครองในลักษณะเช่นใด

นอกจากจะเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เก่าที่สุดในประเทศไทยแล้ว สุขาภิบาลยังเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่สุด ทั้งในแง่ขนาดของพื้นที่หรือในแง่จำนวนประชากร โดยสุขาภิบาลมักประกอบด้วยท้องที่ราว 4-6 หมู่บ้าน มีสุขาภิบาลน้อยรายที่มีขนาดใหญ่กินเนื้อที่ทั้งตำบลหรือหลายๆตำบลรวมกัน[3]

การปกครองแบบสุขาภิบาลนำมาใช้ครั้งแรกที่ใด

จากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็น "สุขาภิบาลท่าฉลอม" ในวันที่ 18 มีนาคม 2448 (ร.ศ. 124) ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจการปกครองให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อันนำไปสู่การวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย