การฝึกร้องด้นสดสามารถฝึกจากเพลงใด

หลักและวิธีการบรรเลงดนตรี

                  หลักและวิธีการบรรเลงดนตรีโดยทั่วไป ได้แก่ การนั่งหรือยืนบรรเลงด้วยบุคลิกที่สง่างาม หลังตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง ไม่เกร็ง มีสมาธิ จัดท่าท่างการจับอปุกรณ์คสนตรีและปฏิบัติตามวิธีการของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
รูปแบบการบรรเลงดนตรี
                  1.การบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ๑ ชิ้น บรรเลงทำนองเพลง หรือการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ๑ ชิ้น
                  2.การบรรเลงหมู่ เป็นการบรรเลงเครื่องดนตรี ๒-๙ ชิ้น โดยใช้เครื่องดนตรีประเภทเดียวกัน หรือ หลายประเภท
                  3.การบรรเลงหมู่ขนาดใหญ่ เป็นการบรรเลงเครื่องดนตรีจำนวนมากและจัดรูปแบบเช่นเดียวกับวงโยธวาทิต                การฝึกปฏิบัติการขับร้องและบรรเลงดนตรี1.การจำเพลง ได้แก่ การออกเสียงตามสัญญาณมือ ๑-๒ แนว การออกเสียงตามโน้ตทำนองเพลง การระบุชื่อเพลงจากโน๊ตทำนองเพลงที่นักเรียนรู้จัก
                   2.การด้นสด หมายถึง การคิดแนวขับร้องและบรรเลงดนตรีใหม่โดยทันที ได้แก่ การสร้างรูปแบบของจังหวะเพื่อใช้บรรเลงเพลงประกอบทำนองเพลง ออกเสียงและบรเลงดนตรีตามโน้ตในกุญแจเสียงต่าง ๆ
การฝึกปฏิบัติการขับร้องเดี่ยว ขับร้องหมู่และขับร้องประสานเสียง
เริ่มจากการขับร้องจนสามารถขับร้องในกลุ่มได้ถูกต้อง จึงฝึกการขับร้องเดี่ยวและขับร้องเพลงปรานเสียง                  เพลงสำหรับการขับร้องเดี่ยวและขับร้องหมู
    1. เพลงพื้นเมือง
     2.เพลงไทย
     3.เพลงสากล                   เพลงประสานเสียง
    1.เพลงวน
    2.เพลงประสานเสียง 2 แนว
    3.เพลงประสานเสียง 3 แนว                   การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีเฉพาะอย่าง


           1.เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงจังหวะ
       1.1 เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น โทน กลองยาว ฉิ่ง เป็นต้น
       1.2 เครื่องดนตรีไทย เช่น กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น
       1.3 เครื่องดนตรีสากล เช่น กลองเบส กลองแท็ก ฉาบ เป็นต้น            2. เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทำนอง
        2.1 เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น ระนาด อังกะลุง ฉาบ เป็นต้น
        2.2 เครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาดเอก ขลุ่ย ซออู้ ฮอด้วง เป็นต้น
        2.3 เครื่องดนตรีสากล เช่น เมโลเดียน คีย์บอร์ด ไวโอลีน กีตาร์ เป็นต้น        การบรรเลงดนตรี
การรบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีสร้างทำนองเพียงเครื่องเดียว โดยมีเครื่องเคาะจังหวะบรรเลงประกอบด้วย ปกติเพลงที่ใช้บรรเลงเดี่ยวจะเป็นเพลงขับร้องและบรรเลงหมู่ทั่วไป
               ซออู้
เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้ร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ โดยเฉพาะในพิธีเชิญผีไท้ ผีแถน การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์ขึ้นให้สอดตล้องกับธรรมชาติของเสียงในขณะที่มรเสียงต่ำก็จะใช้ซออู้แทนเพื่อให้คล้ายคลึงกับเสียงผู้เฒ่า ใช้ซอด้วงแทนเสียงหนุ่มสาวซออู้แทนเสียงธรรมชาติ
ลักษณะของซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่งและใช้หนังลูกวัวขึงหน้าซอ กว้างประมาณ 13-14เซนติเมตร เจาะกโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อให่คันทวนที่ทำไม้ผ่านกะโหลกลงไปออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันลูกบอกซออู้ยาวประมาณ 17-18เซนติเมตร ใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอกเวลาสี ส่วนคันสีชองซออู้ทำด้วยไม่ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ใช้ขนหางม้าประมาณ 160-200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงามและเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้

     

การฝึกร้องด้นสดสามารถฝึกจากเพลงใด
    
การฝึกร้องด้นสดสามารถฝึกจากเพลงใด

ติดต่อขอเยี่ยมชมการฝึกซ้อมเพลงอีแซวและเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ ได้ทุกวัน (จันทร์-ศุกร์) เวลา 16.00-17.30 น. และในวันเสาร์หรืออาทิตย์ เวลา 09.00-12.30 น. ที่ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 72170 (นายชำเลือง มณีวงษ์ 084-976-3799)

สอนร้องด้นกลอนสด

ถ่ายทอดภูมิปัญญา

เพลงอีแซวด้นสด

เพลงแหล่ด้นสด

เพื่อการพัฒนาสู่อาชีพ

ชำเลือง  มณีวงษ์

(ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมการแสดงเพลงพื้นบ้าน ราชมงคลสรรเสริญ 2547)

          วันนี้ผลงานเพลงพื้นบ้านในชื่อเพลงอีแซวด้นสดเป็น 1 ใน 92 รายการ ในงานมหัศจรรย์เด็กไทย ได้จัดแสดงผลงานที่บูธ 32 ฮอล 8 อารีน่า  เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2550 ผ่านไปแล้วก็ตาม แต่ควันหลงและกลิ่นไอแห่งความพยายาม ตั้งใจของนักเรียนที่ฝึกปฏิบัติเรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าคงทำไม่ได้ ให้เกิดเป็นความจริงขึ้นมา เรียกว่า เป็นรูปธรรม สามารถที่จะนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้มาเยือนได้อย่างมั่นใจและด้วยความภาคภูมิใจ เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่เด็ก ๆ เขาทำได้  

               

           แต่ว่า กว่าที่จะทำได้ก็ยากมาก  การที่เราจะสอนใครสักคน ให้ร้องด้นกลอนสดได้ เป็นเรื่องที่ยากลำบากยิ่ง แต่การที่เราจะต้องสอนให้นักแสดงทุกคนในวงเพลงอีแซวด้นกลอนสดได้ มันยากยิ่งกว่านั้นอีกหลายร้อยหลายพันเท่า ต้องทำใจให้สบายแล้วไปที่จุดตั้งต้นทำต่อไปอย่างมีความหวัง จาก 1 คน เป็น 2 คน จาก 2 คน เป็น 4 คน จนได้ทั้งคณะ (มีทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน) นั่นหมายถึงว่าจะมีนักด้นสดที่เป็นแม่เหล็กอยู่  2-4 คน (หทัยกาญจน์, รัตนา, ธีระพงษ์, ยุพาภรณ์) รองลงไปก็ 8-10 คน และยังไม่ค่อยคล่องก็ 2-4 คน ส่วนรหัสลับในการด้นกลอนสดก็ไม่มีอะไรมาก อาศัยครูเป็นแม่แบบ เป็นงานที่เราทำอยู่ประจำ

หลักการของผมมีดังนี้ 

ขั้นการเรียนรู้ (ศึกษาทำความเข้าใจผังคำกลอนขั้นพื้นฐาน) 

         1. ให้นักแสดงศึกษาผังคำกลอน (กลอนหัวเดียว) ง่าย ๆ ไปก่อน เริ่มกลอน ไล

         2.  ครูร้องด้นให้เด็กฟังอย่างช้า ๆ เปรียบเทียบคำร้องกับผังคำกลอน

         3. นักเรียนบอกคำมา แล้วครูร้องด้นด้วยคำนั้น ๆ เพียงอย่างเดียว

         4.  นักเรียนชี้บอกไปที่วัตถุ สิ่งของแล้วครูร้องด้นสดอธิบาย ขยายความในสิ่งนั้น

         5.  ครูด้นสดให้ฟังโดยจับเอาบุคลิกการเคลื่อนไหวของนักเรียนมาร้อง 

ขั้นฝึกปฏิบัติ (ถอดรหัสจากคำ ออกมาเป็นสิ่งแทนให้ได้ความหมายชัดเจน) 

               1. ใช้ไหวพริบคิดตามคำ หรือชื่อที่กำหนดมาให้ อย่างรวดเร็วฉับพลัน

         2.  แปลคำที่ได้รับ (รหัส) ออกมาเป็นสัญลักษณ์หรือเป็นรูปธรรม (ถอดรหัส)

         3. นึกถึงสิ่งที่จะเชื่อมโยงกับคำเหล่านั้นให้ได้นำเอาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและแคบที่สุดมาใช้

        4.  นำเอาข้อมูลที่มีในอากาสมาร้องออกไปเลย แม้ว่าจะยังไม่ลงกลอนก็ตาม

        5.  ฝึกร้องคำเดิม ๆ ไปก่อนจนคล่องแล้วจึงร้องคำใหม่ ๆ ต่อไป 

ขั้นต่อกลอน (หาคำมาร้องให้อยู่ในกรอบความคิดอย่างรวดเร็ว ฉับไว) 

               1.  ครูเป็นผู้ร้องขึ้นต้น แล้วให้ผู้เรียนร้องต่อ (ร้องเพียงวรรคขึ้นกับวรรคลง 2 วรรค)

         2.  ครูร้อง 1 บทมี 2 วรรค วรรคหน้ากับวรรคหลังผู้เรียนร้องต่ออีก 1 บท เรื่องเดียวกัน

         3.  ผู้เรียนขึ้นมาก่อน 1 วรรค (วรรคขึ้นต้น) ครูร้องต่อในวรรคลง 1 วรรค เรื่องเดียวกัน

         4.  ฝึกร้อง ร้องบทยาว ๆ มากกว่า 1 บท โต้กันระหว่างครูกับผู้เรียน สลับกันไป

         5. โต้กลอนกันโดยไม่กำหนดหน้าที่ใครร้องได้ มาที่ไมโครโฟนร้องไปเลย คนต่อไปมาแทรกเอาเอง (ตรงนี้สนุกมาก) เมื่อฝึกร้องมาก ๆ ข้อมูลก็มาเรียงในสมองนำมาใช้ได้ 

กล่าวโดยสรุป การฝึกด้นสดเพลงอีแซว มีดังนี้

         1.  ศึกษาทำความเข้าใจผังคำกลอนขั้นพื้นฐาน ให้รู้การส่งสัมผัส

         2.  ถอดรหัสจากคำ ออกมาเป็นสิ่งแทนให้ได้ความหมายชัดเจน

         3.  หาคำมาร้องให้อยู่ในกรอบความคิดอย่างรวดเร็ว ฉับไว 

              

                คงไม่มีที่ไหนตั้งโรงเรียนสอนร้องด้นสด เพราะเท่าที่ผ่านมาการแต่งกลอนสด ว่ากลอนสด ยังมีการเขียนข้อความเป็นตัวอักษรลงในกระดาษก่อน แล้วจึงนำมาอ่านโต้กัน ในความเป็นจริงคำว่า สดจะต้องฉับพลัน ไม่มีการเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า ยิ่งถ้าเป็นการทำให้ผู้ชม ผู้ฟังประหลาดใจ เกิดความพิศวงขึ้นมาได้ จะเป็นความสดที่ไม่ต้องตอบคำถามใด ๆ อีก นั่นหมายความว่า คำร้องทุกคำ ทุกบททุกตอนจะต้องแต่งสด ๆ ในอากาศ (พื้นที่ว่าง ๆ ในอากาศคือกระดาษที่จะเขียนบทกลอน)  กระบวนการในการฝึกด้นสดนั้น จะต้องกระทำโดยที่ไม่เป็นทางการ  เพราะถ้าตั้งใจที่จะทำงานนี้ให้ได้จริง ๆ ผู้ที่เข้ามารับการฝึกอาจจะเกิดความท้อใจ เพราะการที่เราจะสร้างผลงานที่เกินเอื้อมสูงมากไปอาจจะเป็นความกดดันมายังผู้ฝึกก็ได้ โดยเฉพาะจุดเริ่มต้นของการคิดคำมาร้อง สำคัญที่สุด ทั้งนี้เพราะคำที่ร้องจะต้องอยู่ในกรอบของความหมายในสิ่งที่กำหนดมาให้ และผู้ร้องจะต้องขมวดคำให้มีความกระชับรัดกุม ขอบเขตแคบที่สุด

                มาถึงวันนี้ ประสบการด้นกลอนสดที่ผมใช้ในการร้องทำขวัญนาค ผมร้องเพลงพื้นบ้านหลายชนิดบนเวที ได้ถูกถ่ายทอดไปยังนักเรียนที่อยู่ในสังกัดวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ ได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถฝึกให้ร้องด้นสดได้ดีทุกคน แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็ก ๆ มองเห็นทางในการพัฒนา เพราะอย่างน้อย อิม-หทัยกาญจน์ เมืองมูล  ยุ้ย-รัตนา ผัดแสน  ท็อป-ธีระพงษ์  พูลเกิด ลูกหนู-ยุพาภรณ์ สุขเกษม ยุ-ยุวดี มูลทองชุน  แป้ง-ภาธิณี นาคกลิ่นกุล  เจ-จิระพงษ์ มามีสุข เบียร์-สหรัฐ อินทร์ละม่อม แนน-กนกพรพลายละหารและวรรณา แก้วมณี ก็คงเป็นเครือข่ายที่ดี ที่จะนำเพื่อน ๆ น้อง ๆ ไปสู่เป้าหมายอันเป็นเอกลักษณ์ของวงเพลงของพวกเราได้ 

          อิม-หทัยกาญจน์ เมืองมูล และ ยุ้ย-รัตนา ผัดแสน เป็น 2 คนแรกที่บุกเบิกเรื่องของความ คิดสร้างสรรค์ในการด้นกลอนสด  อิม จะคิดได้เร็ว หาคำมาร้องได้ฉับพลัน  ยุ้ย จะคิดได้ช้ากว่าเล็กน้อย แต่คำร้องคม เสียงร้องสดใสน่าฟังมาก เป็นนักร้องที่เสียงดีทั้งคู่ เมื่อเวลาไปเล่นเพลงจะมีผู้ชมมาข้อให้เขาร้องเพลงลูกทุ่งแถมในตอนท้ายตลอดทุกงาน ต่อมาก็ต้องยกให้ ท็อป เจ้าของเหรียญทอง เพลงลูกทุ่งชาย คนล่าสุดจากงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 56 คนนี้ร้องด้นสด ๆ ได้ยาว ๆ ร้องอย่างต่อเนื่อง ไม่มีติดขัด เพียงแต่คำร้องยังไม่ลึก เพราะเขายังเด็กมาก (อยู่ ม.3/6) ส่วนคนที่มาแรงมาก ฝึกได้เร็วเป็นไวทั้งกลอนเดียว และกลอนผูก (กลอนแปด) คือ ลูกหนู-ยุพาภรณ์ สุขเกษม เสียงร้องสดใส เป็นคนเสียงดีด้นสด ๆ ไว้ใจได้ ร้องโต้กับผมได้ยาว ๆ ไม่มีติดขัดเลย

          ผมยินดีที่จะสอนวิธีการด้นสด ให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจทุกคน เพียงแต่ผู้ที่จะมาฝึกทักษะในชั้นนี้ จะต้องมีคุณสมบัติคือ เป็นนักร้อง เป็นนักแสดงเพลงพื้นบ้านระดับมืออาชีพ เพราะถ้าจะมาเริ่มต้นฝึกจากผู้ที่มีประสบการณ์เป็นศูนย์ คงจะเป็นเรื่องยาก หรือคงไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร การด้นกลอนสด เป็นการต่อยอดเพลงแหล่ เพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านและเป็นการนำเอาไหวพริบ ปฏิภาณที่มีอยู่ในตัวเองออกมาให้เห็นความประหลาดที่ซ่อนอยู่ในตัวตนของเรา ไม่มีอะไรยากเกินที่เราจะสามารถฝึกฝนได้ หากแต่สิ่งนั้น ๆ จะต้องตรงกับความถนัด ความสนใจ ความชอบ และชีวิตจริงของเรา ธรรมชาติแห่งความเป็นจริงจะพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางได้ 

               

                ติดต่อขอเยี่ยมชมการฝึกซ้อมเพลงอีแซวและเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ ได้ทุกวัน (จันทร์-ศุกร์) เวลา 16.00-17.30 น. และในวันเสาร์หรืออาทิตย์ เวลา 09.00-12.30 น. ที่อาคาร 5 ห้อง 512 พบกับนักแสดงวงเพลงอีแซว สายเลือดสุพรรณฯ  โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1  อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 72170  โทร. 035-591012 (โรงเรียน) แฟกซ์ 035-592040  โทร. 035-591271 และ  084-976-3799 (นายชำเลือง มณีวงษ์)

เพลงด้นสดคือเพลงอะไร

การร้องด้นสดของนักร้องหรือที่เรียกว่า การสแกต (Scat) เป็นการขับร้องสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากเนื้อร้องและ แนวท านองหลักที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ เปรียบเสมือนการขับร้องด้วยวิธีการเลียนเสียงการบรรเลงของเครื่อง ดนตรี โดยการร้องค าหรือวลีที่ไม่มีความหมาย (Nonsense syllables) รวมไปถึงการน าเนื้อร้องมาใช้ในแนวท านองด้น สด ที่ ...

การขับร้องเพลงไทยหน้าวงดนตรีต้องนั่งอย่างไร

1. ท่านั่ง การนั่งมีทั้งการนั่งราบกับพื้นหรือการนั่งบนเก้าอี้ ผู้ขับร้องควรนั่งสำรวมทั้งท่าทางและการเคลื่อนไหวมือเท้า ลำตัว อริยบถอื่นๆ หันหน้าไปทางด้านหน้าของวงดนตรี หรือด้านหน้าของผู้ชม 2. ท่ายืน บางครั้งการขับร้องเพลงไทย อาจมีการยืน ผู้ขับร้องควรยืนสำรวมท่าทางและการเคลื่อนไหวมือ เท้า และลำตัว

เครื่องดนตรีชนิดใดใช้ประกอบการด้นสด

เครื่องดนตรีชนิดใดใช้ประกอบการร้องด้นสด รำมะนา ระนาด

การออกเสียงอักขระให้ชัดเจนมีประโยชน์ในข้อใด

การออกเสียงอักขระให้ชัดเจน มีประโยชน์ข้อใด answer choices. ทำให้ร้องได้พร้อมเพรียง ทำให้ร้องได้ระยะเวลานาน