ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด

แผนที่โลก: ตัวอย่างการแสดงลักษณะทางกายภาพของโลกที่ออกมาเป็นระนาบสองมิติ

แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น

องค์ประกอบ[แก้]

องค์ประกอบของแผนที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่าง ๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ

  1. ชื่อแผนที่ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่องอะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วย เช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น
  2. ขอบระวาง แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่แผ่นนั้น มักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดง ตำแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่าง ๆ
  3. ทิศทาง มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืน ต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้น เนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา การใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศ หรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ ที่เราต้องการได้ ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอ ถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ ก็ให้เข้าใจว่าด้านบนของแผนที่คือทิศเหนือ
  4. สัญลักษณ์ เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ
  5. มาตราส่วน

ประเภท[แก้]

แผนที่สามารถแบ่งออกตามลักษณะการแสดงผล เช่น

  • แผนที่กายภาพ เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก
  • แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่เน้นการแสดงเขตการปกครองเป็นหลัก
  • แผนที่เศรษฐกิจ แสดงเขตอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และทรัพยากรธรรมชาติ
  • แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) แผนที่แสดงชั้นหินต่างๆ และลักษณะทางธรณีวิทยาอื่นๆ
  • แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map) แสดงที่ตั้งของสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ เช่น แผนที่แสดงสถานที่ท่องเที่ยว แผนที่แสดงที่ตั้งบริษัท ห้าง ร้าน เป็นต้น
  • แผนที่เล่ม (atlas) เป็นการรวบรวมแผนที่ชนิดต่างๆมาไว้ในเล่มเดียวกัน

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • แผนที่ประเทศไทย
  • แผนที่โลก
  • ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  • แผนที่โลกแห่งแฮรฟอร์ด

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • กรมแผนที่ทหาร
  • แผนที่ประเทศไทยโดย longdo.com
  • แผนที่ประเทศไทยโดย Google
  • แผนที่ประเทศไทยโดย Siam Map Info
  • แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา โดย khemtid.com

ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด

เมื่อพูดถึงภูมิศาสตร์ สิ่งแรกที่เพื่อน ๆ นึกถึงคืออะไร ? 

ภาพแรกที่เรานึกถึงคงเป็นลูกโลกกลม ๆ หรือกระดาษแผ่นกว้างระบุชื่อประเทศกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ไว้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า 'แผนที่' นั่นเอง นอกจากเราจะใช้แผนที่เพื่อบอกเส้นทางแล้ว ยังสามารถบอกข้อมูลลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางภูมิอากาศ หรือข้อมูลอื่น ๆ ทางภูมิศาสตร์ได้ในภาพกว้าง แต่ก็ใช่ว่าแผนที่ทุกชนิดจะเหมือนกันซะทีเดียว วันนี้เราเลยอยากจะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับแผนที่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่า “แผนที่เฉพาะเรื่อง” ซึ่งจะเป็นยังไงนั้น ไปดูกันเลยดีกว่า

แผนที่คืออะไร ?

“แผนที่” เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้บอกข้อมูลของสิ่งที่อยู่บนผิวโลก ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งถ่ายทอดข้อมูลนั้นลงบนแผ่นราบหรือกราฟิก โดยย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการ

แผนที่มีกี่ประเภท ?

แผนที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แผนที่อ้างอิง (General Reference Map) ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างแผนที่ชนิดอื่น ๆ เช่น แผนที่ภูมิประเทศ ที่หลายคนอาจจะเคยเห็นอยู่บ่อย ๆ และแผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) ซึ่งเป็นแผนที่ที่มีจุดประสงค์เพื่อแสดงข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยมีหลากหลายประเภทซึ่งเราจะพาเพื่อน ๆ ไปเรียนรู้กันต่อในหัวข้อถัดไป

แผนที่เฉพาะเรื่อง คืออะไร และมีอะไรบ้าง ?

‘แผนที่เฉพาะเรื่อง’ จะแสดงข้อมูลหรือปรากฏการณ์หนึ่ง ลงบนพื้นที่หนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบตามลักษณะการนำเสนอข้อมูล ได้แก่

1. แผนที่จุด (Dot Map) เป็นแผนที่ที่ใช้จุดแสดงความหนาแน่นหรือการกระจายตัวของข้อมูล เช่น แผนที่จุดแสดงความหนาแน่นของประชากร โดยบริเวณที่มีจุดกระจุกตัวอยู่จำนวนมาก แสดงว่าบริเวณนั้นมีประชากรอาศัยอยู่มาก เป็นต้น  ซึ่งหนึ่งจุดในแผนที่อาจแทนหนึ่งหน่วย (1:1) หรือแทนจำนวนที่กำหนดไว้ เช่น 1 จุด = จำนวนประชากรในจังหวัด 1,000 คน 

ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด

ภาพตัวอย่างแผนที่จุด (ขอบคุณภาพจาก GISGeography)

2. แผนที่แสดงลักษณะสัดส่วน (Proportional symbol map) เป็นแผนที่ที่ใช้สัญลักษณ์ขนาดแตกต่างกัน แสดงสัดส่วนหรือความหนาแน่นของข้อมูล เช่น บริเวณที่มีความหนาแน่นของประชากรมาก วงกลมหรือจุดที่แสดงข้อมูลจะมีขนาดใหญ่กว่า บริเวณที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อย 

ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด
ภาพตัวอย่างแผนที่แสดงลักษณะสัดส่วน (ขอบคุณภาพจาก GISGeography)

3. แผนที่แสดงเส้นเท่า (Isoline Map) เป็นแผนที่ที่ใช้เส้นแสดงข้อมูล เพื่อบอกความห่าง ถี่ของข้อมูล โดยแต่ละเส้นจะลากผ่านบริเวณที่ข้อมูลมีค่าเท่ากัน บางครั้งอาจใช้ระดับสีเข้ามาช่วยเพื่อแสดงถึงความแตกต่างของข้อมูล เช่น ถ้าเส้นมีความถี่มากแสดงว่ามีความต่างมาก อาจใช้สีเข้มในบริเวณดังกล่าว เป็นต้น 

ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด

ภาพตัวอย่างแผนที่แสดงเส้นเท่า (ขอบคุณภาพจาก ResearchGate)

4. แผนที่แสดงการเคลื่อนที่ (Flow Map) เป็นแผนที่ที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายของข้อมูล จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง เช่น การอพยพย้ายถิ่นของประชากร การขนส่งสินค้า เป็นต้น

ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด

ตัวอย่างแผนที่แสดงการเคลื่อนที่ (ขอบคุณภาพจาก Goldensoftware)

5. แผนที่โคโรเพลท (Choropleth Map) เป็นแผนที่ที่ใช้สีเข้ม-อ่อนแสดงปริมาณของข้อมูลในพื้นที่นั้น ๆ โดยสีเข้มแสดงถึงข้อมูลที่มีปริมาณมาก และสีอ่อนแสดงถึงข้อมูลที่มีปริมาณน้อย

ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด
 ตัวอย่างแผนที่โคโรเพลท (ขอบคุณภาพจาก datavizcatalogue.com)

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องแผนที่กันไปแล้ว เพื่อน ๆ ชั้นม.3 ยังสามารถเข้าไปศึกษาบทเรียนวิชาอื่น ๆ ต่อได้ อย่างเรื่องการคิดค่าไฟฟ้า ของวิชาฟิสิกส์ หรือจะเสริมทักษะการบริหารเวลา ไปกับบทความ ใช้สองชั่วโมงให้คุ้มด้วยการบริหารเวลาแบบมะเขือเทศ Pomodoro technique และถ้าใครอยากจะเรียนกับคุณครูต่อแล้วล่ะก็ กดดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ด้านล่างนี้ได้เลย

ถ้าต้องการแสดงข้อมูลรายละเอียดจำนวนประชากร ปริมาณน้ำฝน ควรใช้แผนที่ประเภทใด