วิธี พูด คุยกับคนเป็นโรค ซึม เศร้า

ความเจ็บป่วยจากการเป็นโรคซึมเศร้า มักส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด รวมไปถึงยังสามารถควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วยได้อีกด้วย หลายคนยังคงมีความเข้าใจผิดว่า โรคซึมเศร้าสามารถหายได้เอง แต่แท้จริงแล้วอาการเหล่านี้ต้องอาศัยการบำบัดรักษาทางจิตเวชอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันบุคคลใกล้ชิดผู้ป่วยกลุ่มนี้ ก็ต้องมีความเข้าใจความรู้สึก นึกคิด ของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีเพื่อจะได้ดูแล และปฏิบัติตัวและไม่สร้างความรู้สึกหดหู่ให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะคำพูด 

ให้ลูกรัก-เกรงใจ เริ่มได้จากความใกล้ชิดในวัยเด็ก

เช็ก 3 สัญญาณ ผู้สูงอายุในบ้านเข้าข่ายเสี่ยงเป็น "โรคซึมเศร้า"

วิธี พูด คุยกับคนเป็นโรค ซึม เศร้า

เพราะบางครั้งคำพูดเพียงคำประโยคเดียวก็สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคิดฆ่าตัวตายได้ในทันที ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้ประโยคที่ควรพูด และไม่ควรพูดกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ 

การพูดถึงการกระทำหรือพฤติกรรมของผู้ป่วย โรคซึมเศร้า นั้นเป็นเสมือนการตัดสินว่าเขาทำไม่ดีและไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้อารมณ์ไม่ดีทวีคูณขึ้นไป รวมไปถึงอาจส่งผลกระทบให้ขาดแรงจูงใจเพิ่มขึ้น และอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

  • รู้หรือเปล่าว่ายังมีคนอื่นที่แย่กว่า

การพูดแบบนี้ เป็นอีกทางที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเป็นการด้อยค่าด้อยปัญหาของพวกเขา ซ้ำยังเป็นการทำให้รู้สึกว่าความเจ็บปวดที่เขากำลังเจอนั้นเป็นเรื่องไม่สำคัญ หรือไม่มีใครมองเห็น และเป็นสาเหตุหลักที่รั้งการเปลี่ยนมุมมองของเขาล่าช้าออกไป

  • ฉันรู้ว่าตอนนี้เธอรู้สึกอย่างไร

คำพูดที่เหมือนจะเข้าใจแต่สุดท้ายก็ไม่เข้าใจนั้น เป็นคำพูดที่ไม่ช่วยให้เรื่องใดๆดีขึ้นมา เพราะถ้าหากไม่ได้มีอาการซึมเศร้าเช่นเดียวกัน จะไม่มีทางเข้าใจได้ว่า "ความรู้สึกซึมเศร้านั้นเป็นอย่างไร" อทนที่จะไปนั่งหาคำตอบ การเรียนรู้ที่จะรับฟังจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า

  • พยายามหน่อย แค่นี้ทำไมทำไม่ได้

การพยายามของคนธรรมดาอาจทำให้มีแรงฮึดสู้ แต่เมื่อพูดกับผู้ป่วยซึมเศร้าแล้ว กลับทำให้เจ้าตัว "หดหู่มากขึ้น ซ้ำยังรู้สึกถึงความล้มเหลวในชีวิต" ซึ่งอาจทำให้เก็บไปคิดได้ว่า หรือที่ทำมาก่อนหน้านี้ยังพยายามไม่มากพอ?

  • อย่าคิดมากเดี๋ยวมันก็ดีขึ้น

คำพูดดังกล่าวไม่ได้ช่วยในการปลอบประโลม แต่กลับทำให้รู้สึกแย่ยิ่งขึ้น เพราะการคิดมากไม่ใช่สาเหตุของโรคซึมเศร้าอย่างเดียว แต่เพราะความคิดที่กำลังเผชิญอยู่มักจะมีตอนต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งในทางความรู้สึกของผู้ป่วยนั้น ก็รู้สึกเช่นกันว่าอยากเลิกนิสัยคิดมาก เพียงแต่มันทำไม่ได้

  • หยุดร้องไห้ จะร้องไห้ไปทำไม

ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่ได้อยากร้องไห้ตลอดเวลา แต่เพราะการร้องไห้เป็นอีกหนทางหนึ่งในการระบาบความเศร้า ที่รู้สึกว่าอาจจะช่วยให้ดีขึ้น เพราะการร้องไห้อาจจะง่ายกว่าการต้องแก้ปัญหาที่กำลังเจออยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นการห้ามไม่ให้ร้องไห้ อาจเป็นการปิดปั้นความรู้สึกให้มากกว่าเดิมก็เป็นได้

ผู้ป่วยซึมเศร้าหลายคนอาจมีอาการรู้สึกผิดอยู่เรื่อยๆ และทำให้เกิดความอยากอาหารลดลง ซึ่งการถามแบบดังกล่าวอาจทำให้เจ้าตัวรู้สึกแย่กว่าเดิม และอาจทำให้อารมณ์หรือความสัมพันธ์ยิ่งแย่ตามลงไปด้วย ลองทำอาหารที่ผู้ป่วยชอบอาจจะลดความเบื่ออาหารได้

เป็นหนึ่งในคำพูดให้กำลังใจที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วย เนื่องจากอาจแสดงถึงการเพิกเฉย ในทางกลับกันการรับฟังอย่างตั้งใจพร้อมค่อยๆเสนอทางแก้ อาจเป็นประโยชน์มากกว่า หากแต่ว่าถ้าไม่ได้เตรียมแนวทางไว้ก็ไม่ควรเสนออะไรให้ เพราะคำพูดเป็นดาบสองคมเสมอ

คำที่ควรพูด

  • อดทนไว้นะ อีกไม่นานเธอก็จะดีขึ้น
  • ไม่มีใครตั้งใจให้เรื่องร้ายๆ มันเกิดหรอก ฉันรู้ดี
  • ฉันก็ไม่รู้หรอกนะว่าเธอจะรู้สึกแย่สักแค่ไหน แต่ฉันยินดีจะทำความเข้าใจ
  • พวกเราจะไม่ทิ้งเธอนะ เราจะอยู่ข้างๆ เธอ
  • มากอดกันไหม / ออกไปเดินเล่นกันไหม
  • เธอไม่ได้เป็นบ้า เธอก็แค่เศร้า
  • ฉันรักเธอ แม้เธอจะเป็นยังไง
  • เธอไม่ได้อยู่คนเดียวนะ
  • ฉันเห็นแล้วว่าเธอกำลังพยายาม มีอะไรที่ให้ฉันช่วยได้บ้าง

หากคุณรู้จักผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า อาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าควรพูดอะไรหรือทำอะไรเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งจริงๆ แล้วอาจเป็นเพียงแค่การรับฟัง การกอดกัน หรือช่วยทำสิ่งต่างๆ อาจช่วยได้เช่นกัน

การพูดคุยอย่างอ่อนโยน เพื่อดูว่าสถานการณ์ที่อาจช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นได้ หากยังคงมีอาการซึมเศร้าอยู่เป็นระยะเวลานาน ถือว่าเป็นอาการร้ายแรง หรือหากมีความคิดอยากฆ่าตัวตายร่วมด้วย ก็ถึงเวลาที่ต้องขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพ

ทั้งนี้ทั้งนั้น การพยายามเข้าใจผู้ป่วยซึมเศร้าถือเป็นเรื่องที่ดี เพียงแค่ทำให้ผู้ป่วยได้รับรู้ถึงการพยายาม อาจทำให้เขามีแรงฮึดในการใช้ชีวิตต่อ แต่กลับกันเมื่อเรากลัวที่จะต้องรับมือกับผู้ป่วยซึมเศร้า และไม่กล้าพูดอะไรเพราะกลัวจะทำร้ายจิตใจ สิ่งนั้นอาจกลายเป็นการทำให้เขาต้องรู้สึกโดดเดี่ยวกว่าเดิมก็เป็นได้

หวังว่าเนื้อหาจากคอนเทนต์นี้ จะเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่จะช่วยเหลือให้เข้าใจและพยายามดูแลผู้ป่วย โรคซึมเศร้า ให้มากขึ้น

8 คำพูดปลอบใจคนเป็นโรคซึมเศร้า พูดแบบไหนให้รู้สึกดีขึ้น

วิธี พูด คุยกับคนเป็นโรค ซึม เศร้า

Beau_Monde

7 ตุลาคม 2562 ( 11:40 )

310K

18

     โรคซึมเศร้า คือโรคทางจิตเวชที่มีผลกระทบกับจิตใจ โดยปัจจุบันสามารถพบได้บ่อยขึ้นทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย อาการของโรคนั้นจะมีความคล้ายกับความเศร้าเสียใจทั่วไป แต่ผลกระทบต่อผู้ป่วยนั้นรุนแรงและยาวนานกว่า ซึ่งโรคนี้ถือเป็นโรคหนึ่งที่พรากชีวิตผู้ป่วยไปได้ เราจึงควรทำความเข้าใจทั้งอาการของโรค รวมถึงวิธีถนอมจิตใจของผู้ป่วยเพื่อถือเป็นการช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรคนี้ค่ะ


     สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ที่ป่วยเป็น โรคซึมเศร้า นั้นมีอาการที่ดีขึ้นและแย่ลงได้นั่นก็คือคำพูดของคนรอบกาย โดยคำพูดที่เหมาะสมนั้นก็จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นได้ แต่หากผู้ป่วยเจอคำพูดที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้อาการแย่ลงไปกว่าเดิมได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นคำพูดเพื่อให้กำลังใจและมาจากความหวังดีของเราก็ตาม ดังนั้นก่อนที่เราจะพูดอะไรจึงควรมีการไตร่ตรองและทบทวนให้ดีก่อนว่าคำพูดของเรานั้นจะช่วยทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นหรือว่าแย่ลงกันแน่

คำพูดที่ห้ามพูดกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

1.ชีวิตก็อย่างนี้แหละ มันไม่มีความยุติธรรมหรอก
2. ฉันเข้าใจความรู้สึกของคุณนะ
3. สุดท้ายชีวิตก็ยังดำเนินต่อไป
4. เดี๋ยวก็ผ่านมันไปได้
5. ยังมีคนที่แย่กว่าเราอีก
6. เดี๋ยวก็จะดีขึ้น
7. เข้มแข็งไว้นะ
8. ลองหาความสุขให้ตัวเองบ้าง

 

คำพูดที่ควรพูดกับคนเป็นโรคซึมเศร้า

1. อีกไม่นานก็จะดีขึ้นและเธอจะผ่านมันไปได้
2. ฉันอาจจะไม่เข้าใจเธอ แต่ฉันจะอยู่ข้างๆ เธอนะ
3. เธอยังมีเวลาอีกมาก และฉันจะอยู่ข้างๆ เผื่อว่าจะช่วยอะไรเธอได้บ้าง
4. อดทนไว้นะ เธอยังมีฉันอยู่ข้างๆ นะ
5. เธอไม่ได้อยู่คนเดียวนะ
6. ไม่มีใครตั้งใจให้เรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นหรอก
7. ฉันเห็นแล้วว่าเธอกำลังพยายาม มีอะไรที่ฉันพอจะช่วยเธอได้บ้าง
8. ออกไปเดินเล่นกันไหม / ฉันจะกอดเธอไว้นะ

     โรคซึมเศร้า นั้นไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่ามาจากหลายๆ ปัจจัย ทั้งความผิดปกติของสารเคมีในสมอง กรรมพันธุ์ ความเครียดในเรื่องส่วนตัว การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพย์ติด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงลักษณะนิสัยส่วนตัวก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ หากคุณกำลังสงสัยว่าตนเองนั้นเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ สามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นได้ ที่นี่ หรือ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เพื่อปรึกษาปัญหาเบื้องต้น นอกจากนี้ยังสามารถโทรไปที่ 02-713-6793 สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเพื่อนพูดคุยทางโทรศัพท์ป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยคุณจะได้คุยกับอาสาสมัครที่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยมาแล้วหลายสิบปี



บทความที่คุณอาจสนใจ


โรควิตกกังวล คืออะไร? อีกโรคทางจิตใจที่มีความคล้ายโรคซึมเศร้า


5 อาหารที่ช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้า ลดเครียด ลดความวิตกกังวล

Tag

#ปัญหาชีวิต#สุขภาพจิต#โรคซึมเศร้า#ไลฟ์สไตล์

2

#ไลฟ์สไตล์

40 คำอวยพรวันคริสต์มาส ภาษาอังกฤษ 2022 ทั้งสั้นๆ ยาวๆ ความหมายดี

1.2M2

3

#ไลฟ์สไตล์

55 แคปชั่นคริสต์มาส ภาษาอังกฤษ แคปชั่นคริสต์มาส อ่อยๆ ฮาๆ

600.3K1

4

#ไลฟ์สไตล์

อัปเดตใหม่! 250 แคปชั่นฮาๆ กวนๆ 2022 ลงทวิต ลงเฟซบุ๊ก เรียกไลก์

9.3M57

5

#ไลฟ์สไตล์

50 แคปชั่นน่ารัก อ้อนๆ อ่อยๆ 2022 แคปชั่นน่ารักใสๆ เรียกไลก์ได้เพียบ

1.2M2

#ไลฟ์สไตล์

40 คำอวยพรวันคริสต์มาส ภาษาอังกฤษ 2022 ทั้งสั้นๆ ยาวๆ ความหมายดี

1.2M2

#ไลฟ์สไตล์

50 แคปชั่นปีใหม่ ภาษาอังกฤษ 2023 ส่งท้ายปี 2022 เอาไปโพสต์รับปีใหม่เลย

236.3K1

#ไลฟ์สไตล์

50 แคปชั่นปีใหม่กวนๆ รับปี 2023 คำคมปีใหม่ 2566 แคปชั่นปีใหม่ฮาๆ เด็ดๆ

443.5K31

#ไลฟ์สไตล์

50 คำอวยพรปีใหม่ ภาษาอังกฤษ 2566/2023 สั้นๆ ยาวๆ ความหมายดี

522.7K3

#ไลฟ์สไตล์

40 แคปชั่นเดือนธันวาคม แคปชั่นเดือนสุดท้ายของปี โพสต์ส่งท้ายปีกัน!

88.6K1

คำพูดใดที่ไม่ควรพูดกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า

คำพูดที่ไม่ควร.
- ลืมๆ มันไปซะเถอะ.
- ไม่อยากรู้สึกแบบนี้ ก็เลิกคิดสิ.
- ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ผ่านไป.
- จะเศร้าไปถึงไหนกัน.
- เข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ฉันก็เคยเป็น.
- เลิกเศร้าได้แล้ว.

คนเป็นโรคซึมเศร้า ช่วยยังไง

วิธีรับมือเมื่อมีภาวะซึมเศร้า ผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชอบ หรืองานอดิเรกที่ชอบทำ พยายามพูดคุยกับคนใกล้ชิดหรือคนที่ไว้วางใจ แสดงความรู้สึกให้คนอื่นได้รับรู้ หลีกเลี่ยงการปิดบังความรู้สึก หรือเก็บกดความรู้สึก เพราะอาจทำให้ภาวะซึมเศร้าแย่ลง ออกกำลังกาย 30-45 นาที อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์

คนเป็นโรคซึมเศร้า ห้ามทำอะไร

DON'T สิ่งที่ไม่ควรทำ อย่าบอกปัด หรือ ตีตัวออกห่าง : เพราะจะทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกว่าไม่มีที่พึ่งพิง รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ อาจทำให้เกิดความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อได้