การขับร้องเพลงไทยหน้าวงดนตรีต้องนั่งอย่างไร



หลักการปฏิบัติเบื้องต้น 



  ๑.  การนั่ง  เริ่มแรกของการฝึกท่านั่ง  นั่งพับเพียบ  ซึ่งเป็นลักษณะแบบไทยๆ  หน้าตรง  ไม่ก้มหน้า  ไม่เหลียวหน้าเหลียวหลัง  การนั่งพับเพียบดูเรียบร้อยงามตาตามลักษณะวัฒนธรรมไทย  การนั่งตัวตรงไม่เหลียวไปมา  เป็นลักษณะที่ถูกต้องตามหลักของสรีรสัทศาสตร์  คือ  ช่วยให้สามารถระบายลมหายใจเข้า-ออก  ได้สะดวก  ช่วยให้ทุกส่วนในร่างกายปลอดโปร่ง  ทำให้เสียงดังและไม่เหนื่อยแรง  อย่างไรก็ตาม  ผู้ที่ขับร้องเพลงไทยไม่จำเป็นต้องนั่งพับเพียบเสมอไป  การนั่งนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามโอกาสและสถานที่  เช่นในบางโอกาสต้องนั่งเก้าอี้  ที่สำคัญคือ  ต้องนั่งตัวตรงไม่เหลียวไปมาตามที่กล่าวแล้ว

            

  ๒.  การใช้กำลังเสียง  กำลังเสียงหมายถึงการออกเสียงดังอย่างเต็มที่ในช่วงระยะลมหายใจแต่ละช่วง  ออกเสียงให้เต็มที่ไม่ออมแรง  การฝึกให้ร้องเต็มเสียงนี้ จะทำให้รู้กำลังของตัวเองว่าช่วงหายใจแต่ละช่วงจะออกเสียงได้นานเท่าใด  เพราะในขณะที่เสียงออกจะเป็นช่วงของการระบายลมหายใจออกเท่านั้น  เวลาฝึกอ้าปากเล็กน้อยเพื่อให้เสียงออกได้ชัดเจนและไม่ขึ้นจมูก

              

  ๓.  การผ่อนเลาหายใจ  ช่วงระยะของการหายใจมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขับร้องเพลงไทย  ควรรู้ระยะการผ่อนหายใจในแต่ละวรรค  แต่ละช่วงด้วย  ฝึกอ่านหนังสือให้ถูกวรรคตอน  และได้ใจความ  ฝึกให้กักลมหายใจไว้แล้วค่อยๆผ่อนเมื่อหมดวรรคเพราะปกติแล้ว  คนเราหายใจเข้าทุกๆ  ๕  วินาที  แต่ถ้าเราพูดประโยคยาวๆเราเปลี่ยนอัตราการหายใจเข้าออก  ปกติเราจะพูดเวลาหายใจออกเท่านั้น  การผ่อนหายใจจึงมีส่วนสัมพันธ์กับกำลังเสียงเป็นอย่างมาก  ถ้าเราสามารถกักลมหายใจไว้ได้นาน จะช่วยให้เอื้อนหรือเปล่งเสียงได้ยาวตามต้องการ

หลักการขับร้องเพลง
     การขับร้องเป็นการสร้างสรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีเปล่งเสียงออกมาให้เป็นเพลงต่าง ๆ โดยอาศัยองค์ประกอบทางดนตรี เพื่อทำให้เพลงที่ร้องมีความไพเราะขึ้น
     1.  ประเภทของการขับร้อง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
          1.  การขับร้องอิสระ คือ การขับร้องทั่วไป โดยไม่มีดนตรีประกอบผู้ขับร้องสามารถขับร้องตามที่ตนเองถนัดหรือต้องการ โดยไม่คำนึงถึงระดับเสียงของเครื่องดนตรี
          2.  การขับร้องประกอบดนตรี คือ การขับร้องให้เข้ากับการบรรเลงเครื่องดนตรี โดยคำนึงถึงทำนอง จังหวะ และรูปแบบของเพลง
          3.  การขับร้องประกอบการแสดง คือ การขับร้องเพื่อบรรยายเนื้อเรื่องหรือเนื้อเพลงประกอบการแสดงต่าง ๆ
          4.  การขับร้องหมู่ คือ การขับร้องพร้อมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การขับร้องทำนองเดียวกันและการร้องประสานเสียง
     2.  การขับร้องเพลงไทย การขับร้องเพลงไทย ควรเริ่มจากท่าทางการร้อง เนื่องจากเพลงไทยมีลักษณะเฉพาะ ผู้ขับร้องจะนั่งร้องเป็นส่วนใหญ่และมียืนร้องบ้างตามโอกาส ซึ่งผู้ขับร้องควรจะแสดงท่าทางให้เหมาะสม ดังนี้
          1.  ท่านั่ง ผู้ขับร้องส่วนใหญ่จะนั่งราบกับพื้นเวทีเช่นเดียวกับนักดนตรีซึ่งจะต้องนั่งพับเพียบให้เรียบร้อย สำรวมกิริยา นั่งตัวตรงไม่กระดุกกระดิก หรือเคลื่อนไหวมากเกินไป ขณะร้องให้หันหน้าไปทางผู้ชมเสมอ
          2.  ท่ายืน ในบางโอกาสผู้ขับร้องอาจจะได้ยืนร้อง ซึ่งผู้ขับร้องควรยืนร้อง ซึ่งผู้ขับร้องควรยืนอย่างสำรวมกิริยาท่าทาง และระวังการเคลื่อนไหวมือ เท้า และลำตัว
          การขับร้องเพลงไทย มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
          1.   ร้องให้มีระดับเสียงสอดคล้องกับเสียงดนตรี
          2.  หายใจเข้า-ออก ให้สอดคล้องกับช่วงจังหวะ ทำนอง และเนื้อเพลง
          3.  ออกเสียงพยัญชนนะ สระ คำควบกล้ำ ตามอักขรวิธี
          4.  ร้องให้ถูกต้องตามวรรคตอนของเนื้อเพลง เพราะหากร้องไม่ถูกวรรคตอน อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนได้
          5.  เนื่องจากเพลงไทยมีการเอื้อน ให้ระมัดระวังในเรื่องการออกเสียงควรเอื้อนให้มีน้ำเสียงสม่ำเสมอตามจังหวะและทำนองเพลง

การขับร้องเพลงไทยหน้าวงดนตรีต้องนั่งอย่างไร

การขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งต้องคำนึงถึงสิ่งใด

1. ต้องขับร้องเพลงให้มีระดับเสียงสูงต ่าตามและการเอื้อนให้ถูกต้องตามที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ 2. จังหวะต้องถูกต้องและแม่นย า 3. ออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี 4. แบ่งวรรคตอนของเนื้อร้องให้ถูกต้องได้ความหมาย 5. ใส่อารมณ์ไปตามเนื้อร้องและท านองของเพลง 6. แสดงบุคลิกภาพและท่าทางให้เหมาะสม

ผู้ขับร้องเพลงไทยต้องนั่งพับเพียบไหม

1.1 การนั่งขณะการขับร้องเพลงไทย นิยมการนั่ง 2 วิธี คือ การนั่งพับเพียบกับพื้นและ การนั่งบนเก้าอี้ ท่านั่งนั้นต้องนั่งตัวตรง มือทั้งสองวางทับกันบนตัก ถ้านั่งกับพื้นควรเก็บปลายเท้าให้เรียบร้อย ถ้านั่งเก้าอี้ควรนั่งให้สำารวม ไม่แกว่งขาและเท้า

ท่านั่งในข้อใดมีความเหมาะสมกับการขับร้องเพลงไทยมากที่สุด

1. ท่านั่ง ผู้ขับร้องส่วนใหญ่จะนั่งราบกับพื้นเวทีเช่นเดียวกับนักดนตรีซึ่งจะต้องนั่งพับเพียบให้เรียบร้อย สำรวมกิริยา นั่งตัวตรงไม่กระดุกกระดิก หรือเคลื่อนไหวมากเกินไป ขณะร้องให้หันหน้าไปทางผู้ชมเสมอ

การขับร้องเพลงไทยแบ่งได้กี่รูปแบบ

การขับร้อง การขับร้องเพลง เป็นกิจกรรมสร้างสรรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ร้องและผู้ฟัง ซึ่งการขับร้องอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่