การส่งลูกครั้งแรกในการเล่นประเภทคู่ กระทำอย่างไร

          หาก ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้เท่ากันในคะแนนที่ 20 จะมีการเล่นต่อ จนกว่าว่าจะมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน แต่ถ้ายังไม่สามารถทำคะแนนห่างกัน 2 แต้มได้ จะเล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ เมื่อแต้มได้ 29 เท่ากัน ใครที่ทำได้แต้ม 30 ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ

การเสิร์ฟ/การส่งลูกในกีฬาแบดมินตัน กล่าวได้ว่าเป็นหัวใจของแบดมินตันก็ว่าได้ เพราะผู้เล่นมีคะแนนได้ก็ต่อเมื่อได้สิทธิ์เสิร์ฟ/ส่งลูก ทั้งนี้ การเสิร์ฟ/ส่งลูกแบดมินตันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ควรเสิร์ฟ/ส่งลูกอย่างมีเป้าหมายให้ตกในที่ฝ่ายรับจะรับได้ยากลำบาก

การเสิร์ฟแบดมินตัน/การส่งลูกแบดมินตันแบบโด่ง ผู้ส่งจะต้องสวิงแร็กเกตไปข้างหลังมากๆ โดยยกแร็กเกตให้ส่วนหัวอยู่สูงระดับศีรษะไปทางด้านหลังมากกว่าปกติ พร้อมเสิร์ฟ/การส่งลูกแบดมินตันไปด้วยความเร็ว และแรงให้ต่อเนื่องกัน ไม่งอข้อมือก่อนแร็กเกตกระทบลูก มีการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังมาเท้าหน้า ขั้นสุดท้ายของการเสิร์ฟแบดมินตัน/การส่งลูกแบดมินตัน คือ ให้บิดตัวไปให้ตั้งฉากกับฝ่ายตรงข้าม

4.1 เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มม. ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5 และได้แสดงไว้ในภาพผัง ค.


การส่งลูกครั้งแรกในการเล่นประเภทคู่ กระทำอย่างไร

  4.1.1 ด้านจับ เป็นส่วนของแร๊กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ
  4.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
  4.1.3 หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
  4.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)
  4.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง
4.2 พื้นที่ขึงเอ็น
  4.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ และ
  4.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มม. และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มม. อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มม. และความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มม.
4.3แร๊กเกต
  4.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่นสะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่น และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ
  4.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต  

5. การยอมรับอุปกรณ์

สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ จะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาของแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฏเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เองหรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคล ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือสมาชิกขององค์กรนั้น ๆ

ในการเล่นประเภทเดี่ยวนิยมส่งลูกโด่ง แต่ก็จะส่งลูกโด่งในการเล่นประเภทคู่ได้บ้าง การส่งลูกโด่งก็คล้าย ๆ กับการส่งลูกสั้น แตกต่างกันที่ การส่งลูกโด่ง ต้องใช้แรงและกำลังมากกว่า เพื่อให้วิถีของลูกลอยโด่งไปตกใกล้เส้นหลังในการเล่นประเภทเดี่ยว และให้ลูกลอยไปตกใกล้เส้นส่งลูกยาวในการเล่นประเภทคู่ การรับลูกควรยืนอยู่กลางสนามและคอยสังเกตุการยืนของผู้ส่งลูกว่าจะส่งมาทิศทางใด และควรเปลี่ยนวิธียืนรับให้ค่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังมาเล็กน้อย แล้วแต่จะเหมาะสมที่จะมีโอกาสตีโต้กลับไปและทำคะแนนได้

วิธีส่งลูกในการเล่นประเภทคู่

นิยมส่งลูกสั้น เพราะใช้แรงเพียงเล็กน้อยให้ลูกเฉียดตาข่าย สูงกว่าตาข่ายประมาณ 1-8 นิ้ว การส่งลูกสั้นจะบังคับให้ผู้รับตีกลับมาด้วยลูกสั้นหรือลูกโด่ง ซึ่งทำให้ฝ่ายส่งลูกตบหรือตีทำคะแนนได้ จุดที่ควรส่งลูกสั้น คือ มุมทั้งสองข้างของสนามฝ่ายรับ เมื่อส่งลูกไปแล้วผู้ส่งควรรีบวิ่งตามลูกเข้าไปใกล้ตาข่าย เพื่อป้องกันมิให้อีกฝ่ายตีลูกสั้นกลับมา ส่วนคู่ของผู้ส่งจะครอบครองเนื้อที่ด้านหลังของสนาม เพื่อมิให้มีพื้นที่ว่าง

การรับลูก

เมื่อฝ่ายส่งลูกส่งลูกข้ามตาข่ายมา ฝ่ายรับจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะเกมการเล่นอยู่ภายใต้การบังคับของฝ่ายส่งลูก ไม่ว่าฝ่ายส่งลูกจะส่งมายังจุดใดก็ตาม ฝ่ายรับจำเป็นต้องรับ และพยายามตีลูกให้ข้ามไปตามจุดที่ฝ่ายตนจะได้เปรียบ การรับลูกต้องคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเป้าหมายการตีของฝ่ายส่งลูกหรือฝ่ายที่ตีโต้กลับมา และการรับลูกต้องตีไปยังจุดที่ห่างตัวอีกฝ่ายหนึ่งให้มากที่สุด ยิ่งตีห่างมากเท่าใด อีกฝ่ายจะมีเวลาจำกัดและตกเป็นฝ่ายรับทันที การรับลูกในเกมแบดมินตัน ไม่ควรตื่นเต้นและรีบร้อน ควรจะควบคุมสติให้มั่นคงตั้งรับโดยไม่กลัวเกรงว่าจะเป็นลูกแบบใหน มีหลักในการรับลูกที่ควรทราบดังนี้ คือ

1. ยืนอยู่ในสนามด้านของตน

2. ยืนคอยจนผู้ส่งลูก ส่งลูกข้ามมา

3. ไม่หลอกล่อ หรือบัง หรือรบกวนผู้ส่งลูก

4. ไม่ทำชักช้าถ่วงเวลาผู้ส่งลูก ทำให้ผู้ส่งลูกเสียเปรียบ

5. ในการเล่นประเภทคู่ คู่ของผู้รับจะต้องไม่รบกวนผู้ส่งลูก มอฉะนั้นฝ่ายรับจะเสียคะแนนทันที

 

การรับลูกในการเล่นประเภทเดี่ยว

ควรยืนรับโดยห่างจากเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2 ฟุต ในท่าเตรียมพร้อม เงื้อไม้สูงพยายามวิ่งเข้าหาลูก อย่าปล่อยให้ลูกลอยเข้าหาตัว ถ้าลูกมาโด่งให้ฟุตเวอร์คถอยหลังกลับไปตีลูกด้วยลูกตบหรือลูกตัดหยอด หรือโยนมุมหลัง ถ้าส่งลูกมาต่ำจะแย็บหรืองัดโด่งไปสองมุมหลัง หรือหยอดสูงมุมหน้าก็ได้

การรับลูกในการเล่นประเภทคู่

ฝ่ายส่งมักจะส่งลูกดสดเฉียดข้ามตาข่ายมา การยืนรับลูกควรยืนใกล้เส้นส่งลูกสั้น และพยายามที่จะหาทางตีโต้กลับไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝ่ายส่งแก้สถานการณ์ได้ยากการรับลูกในการเล่นประเภทคู่ จะต้องพยายามตีลูกกดลงให้ต่ำไว้เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นฝ่ายรับ อาจรับด้วยลูกดาด ลูกหยอด และลูกทแยงสนามให้ข้ามตาข่ายไป

การตามลูก (Follow-Through) เป็นสิ่งสำคัญมากจะตามลูกไปในทิศทางขึ้นข้างบนหรือไปในทิศทางที่ต้องการให้ลูกไปตก ถ้าตามลูกน้อยไปลูกจะไปตกไม่ถึงที่ต้องการ

การส่งลูกเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำคะแนนได้ ควรส่งลูกอย่างมีเป้าหมายให้ตกในที่ฝ่ายรับจะรับได้ลำบาก เวลาส่งควรยืนให้เท้าซ้ายอยู่ข้างหน้า จับลูกขนไก่ด้วยมือซ้ายสำหรับคนถนัดขวา ค่อย ๆ ปล่อยลูกขนไก่ให้ได้จังหวะเดียวกับที่มือขวาเงื้อแล้วตีลูกข้ามตาข่ายไปตกตามต้องการ

ข้อควรระวังในการส่งลูกมิให้ผิดกติกา คือ

1. ขณะส่งลูก ผู้เล่นต้องยืนในแดนที่ถูกต้อง เท้าทั้งสองต้องไม่เหยียบเส้นใดเส้นหนึ่ง

2. ขณะที่แร็กเก็ตกำลังสัมผัสลูก เท้าทั้งสองต้องอยู่ติดพื้นสนาม จะยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งพ้นพื้นสนามไม่ได้

3. หัวแร็กเก็ตต้องอยู่ต่ำกว่าปลายมืออย่างเห็นได้ชัด ถ้าหัวไม้อยู่ระดับปลายมือถือแสดงว่าเป็นการส่งลูกผิดกติกา