วิธีแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

1.จับมือเด็กไว้ด้วยสีหน้าเรียบเฉย เพื่อให้เด็กหยุดทำพฤติกรรม แล้วพาเด็กไปอยู่ในมุมหรือห้องที่เงียบสงบไม่มีของเล่น ของที่เด็กชอบหรือของที่อาจเป็นอันตรายกับเด็ก

2.ไม่ตำหนิ ประชดประชัน ดุด่า เนื่องจากเด็กอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้เลี้ยงดูต้องการให้เด็กทำ บอกสิ่งที่เด็กควรทำเช่น เด็กที่กำลังตบหน้าตัวเอง ให้จับมือเด็กด้วยสีหน้าสงบ บอกเด็กว่า “เอามือลง”

3.ไม่ลงโทษรุนแรงเพื่อให้เด็กหยุด เพราะอาจทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ถ้าเด็กตอบโต้ไม่ได้อาจทำให้เด็กรู้สึกกดดัน เก็บกดเสียใจ ซึมเศร้า และเกิดเป็นพฤติกรรมรุนแรงต่อเนื่อง นอกจากนั้นเด็กอาจจะเกิดการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้กำลัง

4.เมื่อเด็กใช้พฤติกรรมรุนแรงเพื่อเรียกร้องหรือต่อรองให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ อย่าให้ในสิ่งที่ต้องการ ควรหยุดพฤติกรรมโดยจับมือเด็กไว้ เมื่ออารมณ์สงบจึงชวนให้เด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ

5.หากครั้งใดที่เด็กอารมณ์ดี หรือไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวให้รีบให้รางวัล การเสริมแรง

พฤติกรรมแยกตัว ไม่สนใจเล่นกับเพื่อน

1.พาเด็กไปเล่นกับเด็กคนอื่น

2.สอนการเล่นกับเด็กอื่นให้ดู เช่น จับมือหยิบของเล่นแล้วยื่นให้เด็กอื่น แบ่งขนมให้เด็กอื่น

3.พาเด็กไปร่วมกิจกรรมกลุ่มที่มีเด็กวัยเดียวกันอยู่ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก สวนสาธารณะ

4.ถ้าเด็กเดินเข้าไปหาเด็กอื่น รีบให้รางวัลเพื่อเป็นสิ่งเสริมแรง

5.ให้ญาติหรือคนใกล้ชิดที่มีช่วงวัยใกล้เคียงกันชวนเด็กไปเล่นบ้าง

อารมณ์ฉุนเฉียว

1.ไม่พูดตอกย้ำ หรือตำหนิพฤติกรรมของเด็ก

2.จับมือเด็กไว้เบาๆ แสดงสีหน้าเรียบเฉย พร้อมบอกเด็กว่า “ลุกขึ้น” ออกแรงดึงเล็กน้อย ถ้าเด็กต้านไม่ควรดึงเด็กขึ้นมา แต่ยังจับมือเด็กไว้

3.ให้เด็กนั่งเก้าอี้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันและค่อยๆเพิ่มระยะเวลาการนั่งทำกิจกรรม

4.ถ้าเด็กยังนั่งตามเวลาที่กำหนดไม่ได้หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ พยายามลุกเดินหนี ให้จับมือไว้เบาๆ พร้อมบอกว่า “นั่งลง” เมื่อเด็กทำให้รางวัล การเสริมแรง

5.ไม่ควรให้ของที่เด็กต้องการเมื่อเด็กแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ควรให้เมื่อเด็กมีอารมณ์สงบลงแล้ว

6.หากครั้งใดเด็กอารมณ์ดีให้เข้าไปเล่น และให้รางวัลสิ่งเสริมแรง

พฤติกรรมแยกจากผู้เลี้ยงดูได้ยาก

1.ให้เด็กเล่นของเล่นหรือกินของที่ชอบตามลำพังหรือเล่นกับคนอื่น จากนั้นผู้เลี้ยงดูค่อยๆ แยกห่างจากเด็ก โดยยังอยู่ในระยะที่เด็กมองเห็น ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาของการแยก จาก 1  นาที เป็น 2 นาที และเพิ่มเวลาขึ้นไปเรื่อยๆ

2.จากนั้นผู้เลี้ยงดูค่อยๆ ออกไปให้ลับสายตา แต่ยังส่งเสียงบอกหรือคุยกับเด็กอยู่ ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาให้เด็กเห็นไปเรื่อยๆ

3.ค่อยๆลดเสียงพูดกับเด็กลง

4.เมื่อเด็กทำได้ให้รางวัล การเสริมแรง เช่น การชม กอด หอม ยิ้ม ปรบมือ หรือให้สิ่งของที่เด็กชอบ

พฤติกรรมซน ไม่อยู่นิ่ง

1.ให้เด็กนั่งเก้าอี้ในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เล่นของเล่น กินข้าว ทำการบ้าน

2.เพิ่มระยะเวลาการนั่งทำกิจกรรมไปเรื่อยๆ

3.ถ้าเด็กยังนั่งไม่ครบตามเวลาที่กำหนดหรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ พยายามเดิน ให้จับเด็กไว้เบาๆ พร้อมบอกว่า “ นั่งลง”

4.เมื่อเด็กเริ่มทำได้ให้รางวัล การเสริมแรง

5.พาเด็กไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อปลดปล่อยพลังงานในร่างกาย เช่น ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย เล่น

6.ลดสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กไม่มีสมาธิ เช่น การดูโทรทัศน์ตามลำพัง เนื่องจากภาพในโทรทัศน์เป็นภาพเคลื่อนไหวเร็ว หากจำเป็นต้องดูควรมีผู้เลี้ยงดูคอยแนะนำหรือพูดคุยกับเด็กด้วย

7.จัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบวินัยให้กับเด็ก เช่น เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ เอาเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไปใส่ตะกร้า วางรองเท้าในที่เก็บ

พฤติกรรมไม่สบตา

1.เรียกชื่อทุกครั้งเมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กหรือต้องการให้เด็กละสายตาจากการมองแบบได้จุดหมาย

2.หากเด็กไม่หันมาเมื่อเรียกชื่อ ให้จับหน้าเด็กเบาๆให้หันมาสบตา

3.เล่นหูเล่นตา เช่น กระพริบตา ทำตาโต หรี่ตา เพื่อให้เด็กสนใจมองสบตา

4.ชมเชยเมื่อเด็กรู้จักสบตาแม้ทำได้เพียงชั่วครู่ หรือให้รางวัลเพื่อเป็นแรงเสริม

พฤติกรรมจำกัด ชอบโยกตัว สะบัดมือ

1.ไม่ด่าทอ ดุว่า ตำหนิ ประชดประชัน หรือลงโทษรุนแรง

2.เบี่ยงเบนพฤติกรรมโดยให้เด็กทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ถ้าเด็กนั่งโยกตัวให้พาไปเล่นชิงช้า ถ้าเด็กชอบสะบัดมือให้ร้อยลูกปัดหรือเล่นลูกบิด

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) หาแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) ติดตามผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ ขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย  จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้วิจัย จำนวน 1 คน และผู้ร่วมวิจัย คือ  ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน รวม 2 คน ครูผู้ร่วมกิจกรรมพ่อครูแม่ครู 2 คน ครูชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 7 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน และกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลการศึกษาปัญหาของการมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2

1.1 ปัญหา พบว่า ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่มีปัญหามากที่สุดคือ พฤติกรรมการไม่ส่งงานและวิชาที่มีปัญหาคือ คณิตศาสตร์ ภาษาไทยและวิทยาศาสตร์

1.2 สาเหตุพบว่าพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนที่มีปัญหามากที่สุดคือ สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวนักเรียนที่ไม่ดีกฎระเบียบทางโรงเรียนเข้มงวด และการคบเพื่อนที่ไม่ดี

2. แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ประกอบด้วย

2.1 การจัดกิจกรรมตามแนวทางในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้ คือ ในการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ ใช้กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมการพบ พ่อครู แม่ครู 2) กิจกรรมการอบรมคุณธรรม 3) กิจกรรมการให้คำปรึกษาแบบเผชิญความจริง 4) กิจกรรมดนตรีพาเพลิน 5) กิจกรรมกีฬานอกเวลา 6) กิจกรรมการการเยี่ยมบ้าน

2.2 การนิเทศภายใน

3. ผลการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านเปือยทานตะวันพิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 พบว่า จากการติดตามและประเมินผลการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึง ที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยร่วมกันหาแนวทางขึ้นและได้นำปฏิบัติพบว่า สามารถนำไปใช้ได้จริง บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรวมทุกกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62) และส่งผลให้จำนวนนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมการไม่ส่งงาน ลดลงร้อยละ 51.18 พฤติกรรมหนีเรียน ลดลงร้อยละ 69.03 พฤติกรรมการแต่งกายผิดระเบียบ ลดลงร้อยละ 60.51 และพฤติกรรมการไม่แสดงความเคารพ ลดลงร้อยละ 67.25

Abstract

ABSTRACT

The purposes of this research were to 1) investigate the undesirable behaviors of the Lower Secondary students, 2) find out guidelines to solve the undesirable behaviors of the Lower Secondary students, 3) monitor the application of problem solving on the undesirable behaviors of the Lower Secondary students of Ban PueaiThantawanPhitthayasan School under the Office of SakonNakhon Primary Educational Service Area 2. The study employed two spirals of four-stage participatory action research comprising planning, action, observation and reflection. The sampling group consisted of the researcher, and 11 co-researchers comprising 2 administrators, 9 classroom teachers in charge of PrathomSuksa 5 to MathayomSuksa 3. There were 30 informants. The target group was composed of 30 students in MathayomSuksa 1 to MathayomSuksa 3. The instruments used were composed of a form of interview and a questionnaire. The statistics applied for analyzing quantitative data were percentage, mean and standard deviation. To analyze qualitative data, descriptive analysis was utilized.

The findings of this study were as follows:

1. The effects of the problems on the undesirable behaviors of the Lower Secondary students at Ban PueaiThantawanPhitthayasan School could be Concluded that:

1.1 The problems revealed that, in the second semester of academic year 2014, the most found undesirable behaviors of the students included: behaviors on no submission of works assigned,. The subjects concerned were Thai and Science.

1.2 The causes of the students’ undesirable behaviors most found were: economic status of families, the strict school rules and regulations along with the association with bad friends.

2. The guidelines to solve the undesirable behaviors of the Lower Secondary students comprised:

2.1 The application of activities to solve the undesirable behaviors of the Lower Secondary students was composed of the following activities: 1) Teacher-parents/guardians meeting, 2) Moral training, 3) Counseling based on truth, 4) Music for fun, 5) Sports on leisure time, 6) Visiting of the students, places. In both the first and second spirals, the 6 activities were implemented and volunteer-mindedness was included.

2.2 The internal supervision

3.  The effects of the problem solution to solve undesirable behaviors of the Lower Secondary students revealed that from the monitoring and evaluation of the problem solution showed that what the co-researchers worked together and put into action able to be actually applied and achieved the goals set. The co-researchers involved in solving the problem of the students ,undesirable behaviors in every activity at the highest level in general leading to the decrease of the students ,undesirable behaviors. These were composed of: 1) no submission of assignments lowered at 51.18 percent, 2) the students’ truancy lowered at 69.03 percent, 3) clothing violation behaviors lowered at 60.51 percent and aggressive behaviors lowered at 67.25 percent.

คำสำคัญ

การแก้ไขปัญหา, พฤติกรรมไม่พึงประสงค์

Keyword

problem-solving, Undesirable Behaviors of the Lower Secondary Students

Copyright (c) 2021 วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำเท่านั้น