หาเงิน ใช้ หนี้ ยัง ไง ดี

ก้อยได้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน และมีโอทีด้วย  รวมแล้ววันหนึ่งเธอมีรายได้อยู่ที่วันละ 500 บาท แต่โอทีก็ไม่ได้มีทุกวัน เอาเป็นว่า เดือนหนึ่งก้อยมีรายได้ที่หมื่นต้นๆ ที่นี้ก้อยต้องสร้างบัญชีรายจ่ายขึ้นมาแล้วละค่ะ สรุปที่ก้อยมีเงินเข้าบัญชีที่หนึ่งหมื่นสองพันบาทต่อเดือนแน่ๆ แล้วเรามาดูรายจ่ายของเธอกันค่ะ

1.จ่ายค่าผ่อนคอนโด   3500 บาท

  1. จ่ายค่าน้ำ+ไฟ   1000 บาท
  2. จ่ายค่าบัตรผ่อนสินค้า   3000 บาท

นี่คือรายจ่ายต่อเดือนที่ก้อยต้องจ่ายเป็นประจำ รวมเป็นเงิน 7500บาท  ซึ่งก้อยก็ยังมีเงินเหลืออีก 4500 บาท ที่เงินก้อนนี้แหละที่ก้อยต้องกินต้องใช้ให้ชนเดือน  แต่ก้อยก็อยากมีเงินเก็บไว้เผื่อเกิดฉุกเฉินขึ้นถ้าคุณเป็นก้อยจะทำอย่างไรดี…..

สมมุติว่า ดิฉันเป็นน้องก้อย ก็จะคิดและวางแผนการเงินในวงเงินที่เหลืออยู่เพียง 4500บาท เราก็ต้องคิดและวางแผนว่า เดือนนี้ต้องใช้จ่ายอย่างจำกัดวงเงินของตนเองให้อยู่ที่วันละไม่เกิน 100 บาท ซึ่งภายในหนึ่งเดือน (30วัน) เราก็จะใช้เงินไปแค่ 3000 บาท  สรุปว่า เดือนนี้ก้อยไม่มีหนี้เพิ่มขึ้น แถมยังมีเงินติดบัญชีอีก 1500 บาท  ซึ่งก้อยอาจแบ่งเงินส่วนที่เหลือกลับบ้านได้อีก 500 บาท  เงินอีก 1000 บาทที่เหลือ ไม่ควรไปยุ่งกับมันอีก ให้ทำเป็นลืมเงินก้อนนั้นไปเสีย  ถ้าก้อยบริหารการเงินแบบมีระเบียบแบบนี้ได้ทุกเดือน ก็จะไม่มีหนี้เพิ่มขึ้นแถมยังมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินอีกด้วย


การทำบัญชี ลงบัญชีทุกวัน ก็จะทำให้เราสามารถประเมินได้ว่า รายจ่ายไหนลดลงได้ อันไหนเกินจำเป็น เช่น ลดการซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ หรือลองซื้อของมือสองเพื่อความประหยัด ซื้อเครื่องสำอางทีละชิ้น และที่สำคัญ อย่าซื้อของเพราะเพียงแต่อยากได้ แต่จงซื้อเพราะเราจำเป็นต้องใช้ ให้มีสติ คิดเสมอว่า ถ้าเราไม่จัดระบบระเบียบการใช้จ่ายให้ดี ซื้อของด้วยความอยากได้ เราจะได้เป็นหนี้กันจนแก่ และเพิ่มขึ้นๆ เป็นดินพอกหางหมูไปเรื่อยๆ อย่างแน่นอน  นี่คือการวางแผนจัดระเบียบการเงินของมนุษย์เงินเดือน และรู้จักการประมาณกำลังเงินของตนเอง


ทีนี้ในทางตรงกันข้าม ลองมาดูคนอีกกลุ่มซิคะว่าเขาจัดการกับเงินเดือน 12000 บาท อย่างไร สมมุติตัวแทนของคนกลุ่มนี้ชื่อ “น้องนก” นะคะ สมมุติว่า นกทำงานที่เดียวกับก้อย รายรับเท่ากัน ค่าเช่าห้องพักและค่าน้ำค่าไฟเท่ากัน แต่นกไม่เคยจัดระเบียบการเงินเลย  พอเงินเดือนออกปุ๊บ นกก็จะไปห้างช็อปกระจาย ทั้งเสื้อผ้าที่ออกใหม่ๆรองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอางชุดใหม่ๆ โดยที่เธอยังไม่ได้จ่ายสิ่งที่ควรจ่ายเลย แม้แต่ค่าเช่าห้องที่พักอยู่ ดังนั้น รายจ่ายส่วนที่แตกต่างจากก้อยคือ ค่าบัตรเครดิตที่นกจ่ายเวลาไปซื้อของนั่นเอง  ดังนั้น สิ่งที่นกต้องจ่ายประจำคือ

1.ค่าห้องเช่า 3500 บาท

2.ค่าน้ำ+ไฟ   1000 บาท

  1. ค่าบัตรเครดิตต่างๆ อีกหลายใบ   5500 บาท

รวมรายจ่ายของนกที่ต้องจ่ายประจำคือเดือนละ  10000 บาท  ดังนั้น นกจะเหลือเงินให้ใช้ตลอดเดือนเพียง 2000 บาท แล้วต้องทำยังไงดีล่ะคะทีนี้  เพราะเงินเดือนที่ออกมาก็ช็อปแหลกไปซะ 3000 บาท แล้วต้องจ่ายหนี้ประจำไปด้วย เงินที่จะต้องกินต้องใช้ก็ไม่พอ  คำถามเดิมค่ะ  ถ้าคุณคือนก จะแก้ปัญหายังไงดี?

ปัญหานี้ หลายคนคงคิดได้แบบเดียวกันกับดิฉัน นั่นคือ ทางออกแรกคือใช้บัตรกดเงินสด หรือกดเงินสดจากบัตรเครดิตมาใช้  แต่ในกรณีนี้ ช่างโชคร้ายนักที่วงเงินเต็มไปแล้วทุกบัตร เพราะเธอมีนิสัยการเงินที่ขาดการบริหารจัดการที่ดีมาตลอดนั่นเอง  แล้วอาจต้องกู้หนี้นอกระบบ  มาถึงตรงนี้แล้ว ทุกคนคงเห็นประโยชน์ของการจัดระเบียบการใช้เงินแล้วนะคะ ว่ายุคนี้เราควรทำตัวอย่างคุณน้องนกหรือแบบน้องก้อยกันดี เราจึงจะมีเงินใช้หนี้ได้  และเหลือไว้ใช้ยามฉุกเฉินอีกด้วย

การปลดหนี้ คือบันไดขั้นแรกสู่อิสรภาพทางการเงิน เพราะถึงแม้จะต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ แต่ก็ย่อมดีกว่าติดลบ แถมบางคนยังติดลบพร้อมดอกเบี้ยทบต้นทบดอกเข้าไปอีกจากการเป็นหนี้นอกระบบ การกู้เงินปิดหนี้จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่มีภาระหนี้สิน โดยเฉพาะการเลือกเงินก้อนปิดหนี้จากสินเชื่อธนาคารที่วางใจได้ ถือเป็นทางรอดสำหรับคนที่เป็นหนี้นอกระบบในปัจจุบัน

คนที่อยากมีเงินใช้หนี้ หลายคนอาจรู้สึกไม่มั่นใจที่จะกู้เงินปิดหนี้นอกระบบจากสถาบันการเงิน เพราะกลัวจะไม่ได้รับอนุมัติ เนื่องจากมีฐานเงินเดือนไม่สูง หรือขาดคนค้ำประกัน แต่ตอนนี้ปัญหาดังกล่าวจะหมดไป ด้วยสินเชื่อเงินด่วนจากธนาคารกรุงไทย ที่ออกแบบมาสำหรับคนที่ต้องการกู้เงินด่วน หรือมองหาเงินกู้ฉุกเฉิน เพื่อให้ทันต่อความจำเป็นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น “สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ” “สินเชื่ออเนกประสงค์ 5 Plus” หรือ “สินเชื่อกรุงไทย Smart Money” ซึ่งสินเชื่อเหล่านี้ให้วงเงินกู้สูงสุด 1 ล้านบาท* โดยไม่ต้องมีคนค้ำประกัน สำหรับคนที่ยังลังเลที่จะกู้เงินปิดหนี้นอกระบบจากธนาคาร ลองมาดูกันว่าเงินกู้ในระบบ แตกต่างจากเงินกู้นอกระบบอย่างไร


ความแตกต่างของเงินกู้ในระบบและนอกระบบ


ข้อเปรียบเทียบเงินกู้ในระบบเงินกู้นอกระบบผู้ปล่อยกู้ธนาคารหรือสถาบันการเงินภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเจ้าหนี้ทั่วไป ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมายขั้นตอนการปล่อยกู้ปัจจุบันมีสินเชื่อหลายรูปแบบให้เลือก โดยไม่จำเป็นต้องมีคนค้ำประกัน และอนุมัติไวผ่านช่องทางออนไลน์กู้ง่าย ไม่ต้องใช้เอกสาร ได้เงินทันทีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 28% ต่อปี โดยจะระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้กำหนด และมักคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก ไม่มีสัญญาชัดเจนความคุ้มครองทางกฎหมายมีไม่มีการประนอมหนี้สามารถติดต่อธนาคารเพื่อประนอมหนี้ได้เจรจาได้ยาก และมีวิธีทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสม หรืออันตราย


ข้อเปรียบเทียบเงินกู้ในระบบเงินกู้นอกระบบผู้ปล่อยกู้ธนาคารหรือสถาบันการเงินภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยเจ้าหนี้ทั่วไป ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมายขั้นตอนการปล่อยกู้ปัจจุบันมีสินเชื่อหลายรูปแบบให้เลือก โดยไม่จำเป็นต้องมีคนค้ำประกัน และอนุมัติไวผ่านช่องทางออนไลน์กู้ง่าย ไม่ต้องใช้เอกสาร ได้เงินทันทีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 28% ต่อปี โดยจะระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้กำหนด และมักคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก ไม่มีสัญญาชัดเจนความคุ้มครองทางกฎหมายมีไม่มีการประนอมหนี้สามารถติดต่อธนาคารเพื่อประนอมหนี้ได้เจรจาได้ยาก และมีวิธีทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสม หรืออันตราย

ทีนี้ลองมาดูวิธีการคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบ กับเงินกู้นอกระบบกันบ้าง

วิธีการคำนวณดอกเบี้ยคือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลาผ่อน (ปี)
ตัวอย่าง: เงินต้น 50,000 บาท ระยะเวลาผ่อน 1 ปี

กรณีกู้เงินนอกระบบ

เงินกู้นอกระบบจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายเดือน สมมติอัตราดอกเบี้ยที่ 20% ต่อเดือน
คิดเป็น 50,000 x (20% x 12) x 1 = 120,000
ดังนั้น ต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงิน 120,000 บาทต่อปี


กรณีกู้เงินในระบบ

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบเป็นอัตราแบบรายปี โดยเรทที่แพงที่สุดตามกฎหมายคือ 28%
คิดเป็น 50,000 x 28% x 1 = 14,000
ดังนั้น ต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงิน 14,000 บาทต่อปี
ใครที่อยากมีเงินใช้หนี้ คราวนี้ก็น่าจะตัดสินใจเลือกกู้เงินธนาคารได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

4 วิธีปิดหนี้นอกระบบ

หาเงิน ใช้ หนี้ ยัง ไง ดี

เราขอนำเสนอวิธีหาเงินมาจ่ายหนี้นอกระบบเบื้องต้นง่ายๆ ดังนี้

1. ลดรายจ่าย

หากการเป็นหนี้ของเราเกิดจากการใช้เงินที่มากเกินไป หรือช็อตเนื่องจากไม่มีเงินเก็บ การลดรายจ่ายคือเรื่องสำคัญที่ต้องทำทันที เพื่อให้มีเงินเหลือพอใช้หนี้ และเหลือเก็บไว้ในอนาคต จะได้ไม่ต้องก่อหนี้เพิ่มไม่รู้จบ

เคล็ดลับช่วยบริหารค่าใช้จ่ายที่ทุกคนทำได้ ก็คือการทำบันทึกรายรับรายจ่าย เพื่อให้รู้ว่าเงินของเราหมดไปกับอะไร และมีรูรั่วในการเก็บเงินอย่างไรบ้าง


2. หารายได้เพิ่ม

เมื่อเงินที่หามาได้ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่าย ก็ควรหารายได้เพิ่มขึ้นด้วยการทำอาชีพเสริม หรือเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ให้กลายเป็นเงินก้อนปิดหนี้ โดยเริ่มจากสินค้าที่ไม่จำเป็นอย่างเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือสินค้าแบรนด์เนมก่อน


3. ขอคำปรึกษา เจรจาหาตัวช่วย

หาเงิน ใช้ หนี้ ยัง ไง ดี

ครอบครัวหรือคนสนิทมักจะเป็นคนแรกๆ ที่เรานึกถึงเวลามีปัญหา แต่นอกจากนี้แล้วเราสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ได้ด้วย โดยเฉพาะหากเป็นหนี้ในระบบ สถาบันการเงินส่วนมากยินดีที่จะช่วยเหลือเสนอทางออกให้กับลูกหนี้อยู่แล้ว เราสามารถขอผ่อนผัน ยืดเวลาชำระหนี้ หรือขอลดดอกเบี้ยบางส่วนได้


4. เปลี่ยนหนี้นอกระบบ เป็นหนี้ในระบบ

หากหนี้ที่มีอยู่เป็นหนี้นอกระบบ ควรกู้เงินปิดหนี้ด้วยสินเชื่อจากธนาคาร เพราะดอกเบี้ยถูกกว่าและปลอดภัยกว่าเงินกู้นอกระบบ โดยเฉพาะตอนนี้มีสินเชื่อมากมายที่อนุมัติไว กู้ง่าย ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน เป็นทางออกที่ดีที่ช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้

มาถึงตรงนี้ หลายคนน่าจะเริ่มสนใจกู้เงินปิดหนี้กับธนาคารมากขึ้นแล้ว จึงอยากขอแนะนำ 4 สินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคารกรุงไทย ที่มีให้เลือกหลากหลาย กู้ง่าย และไม่ต้องมีคนค้ำประกัน