วิธีดับกลิ่นตัว ผู้หญิง pantip

(Dec 4) 'ธุรกิจแลกเงิน'เฮ!แบงก์ชาติผ่อนเกณฑ์ขยายสาขา: ธปท.ผ่อนคลายเกณฑ์ "ธุรกิจแลกเงิน" ยื่นขอใบอนุญาต 1 ใบใช้ได้ครอบคลุมทุกสถานประกอบการ "ซุปเปอร์ริช สีส้ม" ชี้ช่วยลดภาระ หนุนธุรกิจมีความคล่องตัว หลังจากช่วงโควิด ปิดสาขาไปเกินครึ่งเหลือแค่ 17 แห่ง พร้อมถกแบงก์ชาติขอขยับเพดานธุรกรรมจาก 8 แสนบาทต่อวัน เป็น 6-7 ล้านบาทต่อวัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (money changer หรือ MC) โดยเพิ่งปิดรับฟังความคิดเห็นไปเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสาระสำคัญ จะเป็นการปรับปรุงรูปแบบการให้ใบอนุญาต

เนื่องจากที่ผ่านมา ผู้ประกอบธุรกิจมีภาระในการต้องยื่นขอใบอนุญาตต่อ รมว.คลังผ่าน ธปท.ในทุก ๆ ครั้งที่ประสงค์จะเปิดสถานที่ประกอบธุรกิจแห่งใหม่ ดังนั้น การผ่อนคลายดังกล่าวจะช่วยลดภาระการยื่นใบอนุญาตและมีความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ มากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจที่มีใบอนุญาตอยู่จะต้องดำเนินการ ดังนี้

1.แจ้งจำนวนและรายชื่อใบอนุญาตเดิมทั้งหมดที่ได้รับ และใบอนุญาตที่ประสงค์จะใช้ในการประกอบธุรกิจต่อไปต่อ ธปท.ภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงบังคับใช้ จากนั้น ธปท.จะตรวจสอบและมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาใบอนุญาตที่จะให้ถือว่าเป็นใบอนุญาตของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งใช้ได้กับสถานที่ประกอบธุรกิจทุกแห่งของผู้ประกอบธุรกิจรายนั้น ๆ

2.เมื่อได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องส่งคืนใบอนุญาตที่ออกให้แต่ละสาขาที่สิ้นผลให้ ธปท.ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่ที่ได้รับหนังสือแจ้งผล ในกรณีที่ ผู้ประกอบธุรกิจมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถคืนใบอนุญาตดังกล่าวได้ภายในเวลาที่กำหนด หรือไม่อาจคืนใบอนุญาตได้ ธปท.จะพิจารณาดำเนินการตามที่ เห็นสมควร

ทั้งนี้ ใบอนุญาตที่ออกให้แก่บุคคลรับอนุญาต (MC) ที่เป็นบุคคลธรรมดาให้ใช้บังคับต่อไปอีก 3 ปี และเมื่อครบกำหนด ให้ MC ส่งคืนใบอนุญาตแก่ ธปท.ภายใน 30 วัน

นายปิยะ ตันติเวชยานนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ซุปเปอร์ริชเคอเรนซี่ เอ็กซ์เชนจ์ (1965) หรือ "ซุปเปอร์ริชสีส้ม" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทาง ธปท.พยายามผ่อนคลายระเบียบให้ผู้ประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ สามารถทำธุรกิจได้ คล่องตัวขึ้น

เพราะจากเดิมหากต้องการเปิดสาขาจะต้องยื่นขอใบอนุญาตทุกครั้ง ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนาน

"การผ่อนเกณฑ์ให้ 1 ใบอนุญาตสามารถใช้ได้ทุกแห่ง หรือ one to money จะช่วยลดภาระให้ผู้ประกอบการ ได้ ซึ่งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริษัทก็ได้ทยอยปิดสาขาลง จากภาระต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง สวนทางกับปริมาณธุรกรรมซื้อขายที่ค่อนข้างน้อย ทำให้เดิมที่เคยมี 50 สาขา ปัจจุบันเหลือเพียง 17 สาขา อย่างไรก็ดี จากแนวโน้ม การเปิดประเทศ การท่องเที่ยวที่ฟ้นตัว ซึ่งคาดการณ์กันว่าในปี 2566 จะมี นักท่องเที่ยว 20 ล้านคน จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจแลกเปลี่ยน เงินตรา บริษัทจึงมีแผนทบทวนการทยอยเปิดสาขาเพิ่มขึ้น"

นอกจากนี้ บริษัทเพิ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโอนเงิน (money transfer) จาก ธปท.เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบและความปลอดภัย คาดว่าภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า จะสามารถเปิดให้บริการได้ โดยระบบการโอนเงินจะเป็นการร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรธนาคารต่างประเทศในการให้บริการลูกค้า เบื้องต้นจะสามารถโอนเงินได้ใน 30 ประเทศ 5 สกุลหลัก อาทิ ดอลลาร์สหรัฐ ยูโร ดอลลาร์ออสเตรเลีย เป็นต้น

นายปิยะกล่าวว่า บริการนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะมาช่วยเสริมรายได้ให้กับบริษัท นอกเหนือจากธุรกิจหลัก ซึ่งการฟ้นตัวยังไม่เต็มที่ หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิด รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้บัตรเดินทางในการท่องเที่ยวมากขึ้น ส่งผลต่อปริมาณธุรกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราให้ปรับลดลง

ทั้งนี้ รายได้ที่จะมาจากบริการรับโอนเงิน จะมาจากอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการ โดยพันธมิตรธนาคารต่างประเทศจะให้รายได้เป็นค่าคอมมิชชั่นในการทำธุรกรรมต่อรายการ ซึ่งอยู่ระหว่างตกลงค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม

"ตอนนี้ ธปท.พยายามผ่อนคลายระเบียบให้มากขึ้น แต่การปรับเกณฑ์เรื่องใบอนุญาต 1 ใบ ใช้ได้กับทุกสาขา อาจจะไม่ช่วยเท่าไหร่ แต่เรื่องการขยับเพดานวงเงินให้สามารถทำธุรกรรมมากขึ้น เป็นเรื่องที่เราพูดคุยกับ ธปท.อยู่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 8 แสนบาทต่อคนต่อวัน หรือ 2 หมื่นดอลลาร์ อาจจะขยับไป 6-7 ล้านบาทต่อคนต่อวัน หรือ 2 แสนดอลลาร์ เทียบเท่าแบงก์พาณิชย์ แต่ให้มีข้อจำกัดการซื้อ เช่น เพื่อ ท่องเที่ยว ไม่ได้ให้เพื่อการลงทุน เป็นต้น ซึ่งต้องรอดูว่า ธปท.จะผ่อนคลายอย่างไร ซึ่งอันนี้จะช่วยเราได้มากกว่า" นายปิยะกล่าว

Source: ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/finance/news-1137552

 

(Dec 5) ปัญหาหนี้ครัวเรือน สัญญาณเตือนของวิกฤตเศรษฐกิจ : หากกล่าวถึงวิกฤตเศรษฐกิจโลกจะต้องกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ The Great Depression ในปี 1929-1939 และวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก หรือ Global Financial Crisis ในปี 2008-2009

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เกิดขึ้นหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ตกลงอย่างรุนแรงในปี 1929 ส่งผลให้ครัวเรือนลดการบริโภค และส่งผลต่อไปยังการผลิตและการจ้างงาน สถิติระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวลงกว่า 29% ในช่วงปี 1929-1933 ส่งผลให้อัตราการว่างงานแตะระดับสูงสุดที่ 32% ในปี 1933 ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกในปี 2008-2009 เกิดขึ้นจากภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ นำไปสู่ปัญหาหนี้เสียในตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์ทางการเงินที่มีสินเชื่อหนุนหลัง ปัญหาในภาคการเงินขยายวงกว้างไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริง และส่งผลต่อไปยังระบบเศรษฐกิจการเงินโลก

วิกฤตเศรษฐกิจทั้งสองครั้งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุและบริบทที่แตกต่างกัน แต่มี ‘จุดร่วม’ สำคัญอยู่ประการหนึ่ง

Charles E. Persons นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ตีพิมพ์บทความเรื่อง Credit Expansion, 1920 to 1929, and its Lessons ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1930 ไม่กี่เดือนก่อนที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ บทความชี้ว่า ในช่วงปี 1920-1929 ครัวเรือนสหรัฐฯ ก่อหนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เพื่อเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขณะที่อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินต่อรายได้ก็เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเช่นกัน

ในขณะเดียวกันมีสถิติที่น่าสนใจว่า ในช่วงปี 2000-2007 ก่อนที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก หนี้ครัวเรือนสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ขณะที่อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินต่อรายได้หลังหักภาษีก็เพิ่มขึ้นไปแตะระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา สถานการณ์หนี้ครัวเรือนอาจรุนแรงกว่าหากคิดรวมการให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์และสินทรัพย์ที่มีหนี้ครัวเรือนหนุนหลัง

จุดร่วมของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่และวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกคือ การเร่งตัวของหนี้ครัวเรือน

ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก


จากข้อมูลของ Bank of International Settlement สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของโลกปรับเพิ่มขึ้นจาก 54.4% ในปี 2010 มาอยู่ที่ 59.3% ในปี 2021 โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจาก 28.1% ในปี 2010 มาอยู่ที่ 46.3% ในปี 2021 ขณะเดียวกันหนี้ครัวเรือนของประเทศพัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่มีนโยบายลดหนี้ครัวเรือนหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008-2009 ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 75.3% ในปี 2021 นอกจากนี้เรายังเห็นหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในเกาหลีใต้ (อยู่ที่ 105.8% ณ ปี 2021 เพิ่มขึ้น 32.6% จากปี 2010) จีน (อยู่ที่ 61.6% ณ ปี 2021 เพิ่มขึ้น 34.3% จากปี 2010) และไทย (อยู่ที่ 91% ณ ปี 2021 เพิ่มขึ้น 31.6% จากปี 2010)

หนี้ครัวเรือนที่สูงเกินไปอาจเป็นได้ทั้ง ‘ชนวน’ และ ‘เชื้อไฟ’ ที่ขยายผลให้วิกฤตรุนแรงและยาวนานขึ้น


หนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับวิกฤตเศรษฐกิจอย่างไร? หนี้ครัวเรือนที่สูงเกินไปเป็นชนวนของวิกฤตทางเศรษฐกิจการเงิน Minsky (1977) อธิบายว่า การมีหนี้สูงเกินไปทำให้ครัวเรือนมีภาระในการชำระหนี้ต่อรายได้สูง จึงเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ได้ง่าย ในหลายสถานการณ์ครัวเรือนอาจก่อหนี้ใหม่เพื่อหมุนเวียนมาจ่ายหนี้เดิมที่ครบกำหนดชำระ แต่ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น ระบบเศรษฐกิจการเงินจึงเปราะบางมากขึ้นเรื่อยๆ

การผิดนัดชำระหนี้สามารถส่งผลลบต่อคนในระบบเศรษฐกิจและสถาบันการเงินเป็นลูกโซ่ ครัวเรือนอาจต้องขายสินทรัพย์เพื่อนำมาชำระหนี้ ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ลดลง เช่นเดียวกับสถาบันการเงินที่ต้องยึดทรัพย์สินของครัวเรือนที่ผิดนัดชำระหนี้มาขายทอดตลาดในราคาที่ลดลง เมื่อคนอื่นเห็นว่าราคาสินทรัพย์ลดลง จึงเทขายตาม ทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลงเป็นวงจร ส่งผลต่อความมั่งคั่งและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนอื่น จนฉุดให้เกิดวิกฤตในระบบการเงิน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตทางเศรษฐกิจ

ข้อมูลจริงสอดคล้องกับหลักทฤษฎี งานของ Schularick and Taylor (2009) ศึกษาข้อมูลหนี้ภาคเอกชนและวิกฤตเศรษฐกิจจำนวน 200 ครั้งที่เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว 14 ประเทศในช่วงปี 1870-2008 พบว่า การเร่งตัวของหนี้ภาคเอกชนเป็นปรากฏการณ์ที่พยากรณ์ว่าวิกฤตเศรษฐกิจการเงินกำลังจะตามมา

นอกจากจะเป็นสาเหตุของปัญหาแล้ว หนี้ครัวเรือนที่สูงเกินไปยังเป็น ‘เชื้อไฟ’ ที่ขยายผลของวิกฤตทางเศรษฐกิจให้รุนแรงและยาวนานขึ้น เศรษฐศาสตร์มหภาคอธิบายว่า การบริโภคภาคเอกชนเป็นช่องทางส่งต่อและขยายผลของปัจจัยภายนอกหรือแรงกระตุ้นจากการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ ในภาวะที่ครัวเรือนมีหนี้สูง ครัวเรือนจำเป็นต้องตัดลดค่าใช้จ่ายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ครัวเรือนจึงมีกำลังซื้อน้อยลง และส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการในประเทศลดลง ความต้องการซื้อที่ลดลงส่งผลให้ผู้ผลิตมียอดขายและกำไรน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้การจ้างงานหรือค่าจ้างลดลง จึงย้อนกลับมาทำให้ครัวเรือนมีกำลังซื้อน้อยลงไปอีก ดังนั้นวิกฤตทางเศรษฐกิจในภาวะที่ครัวเรือนมีหนี้สูงจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและยาวนาน

ในเชิงประจักษ์ Jorda Schularick and Taylor (2012) ที่ต่อยอดจากงานศึกษาของ Schularick and Taylor (2009) โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันพบว่า ประเทศที่มีหนี้ภาคเอกชนสูงกว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางเศรษฐกิจรุนแรงและยาวนานกว่า

ซ้ำร้ายหากพิจารณาฐานะทางการเงินที่แตกต่างกันของครัวเรือนแต่ละกลุ่มจะพบว่า ครัวเรือนที่เป็นหนี้ส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนที่มีรายได้ไม่พอรายจ่าย จึงต้องใช้รายได้ส่วนใหญ่ไปกับการบริโภคจนหมด แต่นั่นแปลว่าในภาวะที่วิกฤตทางเศรษฐกิจส่งผลให้รายได้ลดลง ครัวเรือนเหล่านี้ก็จำเป็นต้องตัดลดรายจ่ายลงมากเช่นกัน Mian Rao and Sufi (2013) ศึกษาพฤติกรรมของครัวเรือนอเมริกันฯ ในช่วงก่อนเกิดถึงช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินในปี 2008-2009 พบว่า ในช่วงที่เกิดวิกฤต ครัวเรือนที่ขอสินเชื่อบ้านและมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้านอยู่ที่ 90% จะตัดลดค่าใช้จ่ายมากกว่าครัวเรือนที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้านอยู่ที่ 30% ถึง 3 เท่า

นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจที่มีหนี้ครัวเรือนสูงยังขาดภูมิต้านทานต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นสู่ระดับปกติ หลังจากการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้รายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตาม ดังนั้นการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาวะที่หนี้ครัวเรือนสูง จึงขาดความยืดหยุ่นและมีความท้าทายมาก

หนี้ครัวเรือนที่สูงเกินไปอาจส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว


นอกจากจะเป็นชนวนและเชื้อไฟที่ขยายผลของวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว หนี้ครัวเรือนยังมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย Lombardi Mohanty and Shim (2017) ศึกษาผลกระทบของหนี้ครัวเรือนต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้ข้อมูลจาก 54 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ในช่วงปี 1990-2015 พบว่า หากหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เพิ่มขึ้น 1% จะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวชะลอลงประมาณ 0.1% แต่ผลการศึกษาที่น่าสนใจที่สุดคือ ผลข้างเคียงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นหากหนี้ครัวเรือนสูงเกิน 80% ของ GDP

นอกจากนี้หนี้ครัวเรือนที่สูงเกินไปอาจส่งผลต่อการจัดสรรทรัพยากรการผลิตด้วย งานศึกษาของ Borio Kharroubi Upper and Zampolli (2015) ศึกษาการจัดสรรทรัพยากรแรงงานของประเทศพัฒนาแล้ว 21 ประเทศ ในช่วงปี 1969-2013 พบว่า การเร่งตัวของหนี้ภาคเอกชนมักเกิดขึ้นพร้อมกับการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปยังภาคการผลิตที่มีผลิตภาพต่ำกว่า เป็นไปได้ว่าในช่วงที่หนี้ภาคเอกชนเร่งตัว สถาบันการเงินให้สินเชื่อกับธุรกิจที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันมูลค่าสูง แต่มีผลิตภาพต่ำเป็นจำนวนมากเกินไป ธุรกิจเหล่านี้จึงผลิตและจ้างงานได้มาก

นอกจากนี้หนี้ครัวเรือนที่สูงเกินไปอาจสะท้อนว่า ระบบการเงินจัดสรรสภาพคล่องมาให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคมากเกินไป ในขณะที่ให้สินเชื่อธุรกิจน้อยเกินไป สินเชื่อธุรกิจสร้างโอกาสให้คนในระบบเศรษฐกิจได้ลงทุนเพิ่มผลิตภาพและสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว หนี้ครัวเรือนที่สูงเกินไปจึงมี ‘ค่าเสียโอกาส’ ที่ระบบเศรษฐกิจจะได้ใช้ทรัพยากรทางการเงิน เพื่อยกระดับศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

วิกฤตหนี้ครัวเรือนจะลุกลามได้มากที่สุดแค่ไหน


บทความนี้ขอชวนผู้อ่านคิดถึง ‘สถานการณ์เลวร้ายที่สุด’ ที่อาจเกิดขึ้นจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง สถานการณ์เลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้นได้อย่างน้อย 2 สถานการณ์

สถานการณ์ที่ 1 คือ ‘ระบบการเงินล้มเหลว’


ในภาวะที่ครัวเรือนมีหนี้สูงมาก หากรายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หรือภาระดอกเบี้ยสูงขึ้น มีแนวโน้มสูงมากที่ครัวเรือนจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หนี้ครัวเรือนจะกลายเป็นหนี้เสียที่ส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินจำเป็นต้องกันสำรองเพิ่มเติมและเพิ่มความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ ซึ่งจะส่งผลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อน้อยลง ย้อนกลับมากระทบการเข้าถึงสภาพคล่องของครัวเรือนอื่น การผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้าง ซึ่งส่งผลลบต่อสภาพคล่องและเงินกองทุนของสถาบันการเงินอย่างรุนแรง

การผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้างยังอาจส่งผลให้ผู้ฝากเงินสูญเสียความเชื่อมั่นที่มีต่อสถาบันการเงิน จึงถอนเงินฝากจำนวนมากออกไปพร้อมกัน ซึ่งเรียกกันว่า ‘Bank Run’ ดังตัวอย่างของธนาคาร IndyMac Bank โดยในช่วงปี 2005-2007 มีการให้สินเชื่อบ้านประเภทสินเชื่อร่วม (Syndicated Loan) เป็นจำนวนมากกับครัวเรือนในมลรัฐที่ราคาบ้านสูง จนยอดคงค้างสินเชื่อบ้านสูงถึงกว่า 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2006 เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าจากปี 2003 เมื่อราคาฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์แตกลง IndyMac Bank จึงเผชิญผลขาดทุน ซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินอย่างรุนแรง หลังจากสาธารณชนทราบ มีผู้ฝากเงินจำนวนมากตื่นตกใจและแห่ไปถอนเงินฝากจาก IndyMac Bank เป็นจำนวนกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในเวลาไม่ถึง 3 สัปดาห์

ในกรณีเลวร้าย หากสถาบันการเงินเผชิญผลขาดทุนและประสบภาวะ Bank Run ในวงกว้าง วิกฤตหนี้ครัวเรือนอาจทำลายเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบการเงินโดยรวม ซึ่งจะส่งผลให้กลไกการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินภายในระบบเศรษฐกิจล้มเหลว และจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักตาม นอกจากนี้ระบบการเงินขับเคลื่อนได้ด้วย ‘ความไว้วางใจ’ จากคนในระบบเศรษฐกิจ หากระบบการเงินขาดเสถียรภาพ ย่อมทำให้คนสูญเสียความไว้วางใจ ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะสร้างกลับขึ้นมาใหม่

สถานการณ์ที่ 2 คือ ‘การคลังล้มเหลว’


หากหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นจนเกินจะควบคุม เป็นไปได้มากว่าภาครัฐจะต้องเข้ามาช่วยเหลือโดยการอัดฉีดสภาพคล่องหรือให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ครัวเรือน นอกจากนี้ภาครัฐอาจจำเป็นต้องดำเนินนโยบายทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาลง เนื่องจากครัวเรือนติดกับดักหนี้ การดำเนินนโยบายเป็นภาระทางการคลังมูลค่ามหาศาล ในขณะที่ภาครัฐจะเก็บภาษีได้น้อยลงตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อขาดรายได้ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อมาชดเชยการขาดดุลการคลัง อาจกล่าวได้ว่า ในกรณีเลวร้าย หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจะ ‘แปรสภาพ’ ไปเป็นหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงแทน

ภาครัฐมีทางเลือกในการกู้ 2 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1 ภาครัฐสามารถกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศ ซึ่งอาจต้องชำระคืนเงินกู้ในสกุลเงินต่างประเทศ แต่การกู้เงินจากต่างประเทศมากเกินไปอาจนำไปสู่วิกฤต ดังที่เคยเกิดขึ้นกับกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาในช่วงปี 1980

ในช่วงปี 1970 กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมัน ได้รับผลกระทบจากวิกฤตราคาน้ำมันที่ส่งผลให้ประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนัก ภาครัฐจึงกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา เพื่อมาชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ในช่วงปี 1970-1980 เศรษฐกิจโลกเติบโตได้ดี ทำให้ประเทศลาตินอเมริกาสามารถส่งออกสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยได้ตลาดการเงินโลกอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยเหล่านี้เอื้อให้ภาครัฐกู้เงินจากต่างประเทศเป็นจำนวนมหาศาลในระยะเวลาอันรวดเร็ว ข้อมูลของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุว่า หนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาเพิ่มขึ้นจาก 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 1970 ขึ้นไปอยู่ที่ 3.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 1982

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นศตวรรษที่ 1980 อัตราเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วปรับสูงขึ้น ผู้ดำเนินนโยบายการเงินในประเทศเศรษฐกิจหลัก นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงหันมาดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินในตลาดการเงินโลกปรับสูงขึ้น และทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาจึงต้องชำระหนี้สาธารณะ ณ ต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และเผชิญข้อจำกัดในการก่อหนี้ใหม่มาใช้คืนหนี้เดิม ในที่สุดเม็กซิโกเป็นประเทศแรกที่ผิดนัดชำระหนี้ ตามมาด้วยประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาอีก 15 ประเทศ

วิกฤตหนี้สาธารณะส่งผลต่อมายังภาคเศรษฐกิจจริง เมื่อภาครัฐไม่มีสภาพคล่องในการขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุน รวมทั้งยังต้องรัดเข็มขัดทางการคลัง เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาจึงเข้าสู่วิกฤต และติดอยู่ใน ‘The Lost Decade’ เป็นเวลาหลายสิบปี

ทางเลือกที่ 2 ภาครัฐสามารถกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศ Breuer Ilyina and Pham (2021) ชี้ว่า สัดส่วนของหนี้สาธารณะจากแหล่งเงินกู้ภายในประเทศของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ปรับสูงขึ้นจาก 31% ในปี 2000 มาอยู่ที่ 46% ในปี 2020 เป็นความจริงที่ว่า การกู้จากแหล่งเงินกู้ในประเทศไม่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของกระแสเงินทุนและอัตราแลกเปลี่ยน แต่หากหนี้สาธารณะสูงเกินไปจนภาครัฐไม่สามารถชำระหนี้ได้ ความเสียหายก็จะตกแก่เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นคนหรือสถาบันภายในประเทศ เช่น กองทุนประกันสังคมและนักลงทุนสถาบันในประเทศ สุดท้ายการผิดนัดชำระหนี้จะฉุดเศรษฐกิจลงสู่วิกฤต

บทสรุป


หนี้ครัวเรือนที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย นอกจากจะเป็นชนวนของวิกฤตเศรษฐกิจ และสามารถเป็นเชื้อไฟที่ขยายผลของวิกฤตให้รุนแรงและยาวนานขึ้นแล้ว ยังเป็นสัญญาณเตือนของ ‘สถานการณ์เลวร้าย’ ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ นั่นคือสามารถทำให้ระบบการเงินหรือการคลังล้มเหลวได้ หนี้ครัวเรือนจึงเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

ย้อนกลับมายังประเทศไทย หนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ณ ไตรมาส 2 ปี 2022 อยู่ที่ 88.2% แม้ปรับลดลงมาบ้างจากปี 2021 แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงมาก นอกจากนี้การสำรวจ EIC Consumer Survey 2022 พบว่า รายได้ของครัวเรือนไทยยังฟื้นตัวไม่ทันรายจ่าย ซึ่งจะกดดันปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยในระยะข้างหน้า

สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยเลวร้ายเพียงใด และจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจการเงินอย่างไร เรามาหาคำตอบด้วยกันในบทความฉบับถัดไปครับ

โดย สมประวิณ มันประเสริฐ

Source: Standard Wealth

https://thestandard.co/household-debt-crisis/

 

✍️"สุนทรพจน์ของ หัวหน้าเผ่า ซีแอตเติล Chief Seattle"‍♂️
ค.ศ.1857 หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงได้กล่าวสุนทรพจน์
เป็นการตอบข้อเรียกร้องจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
ที่ขอซื้อดินแดนจากเผ่าอินเดียนแดง
สุนทรพจน์นี้ มีความหมายลึกซึ้งและคมคายมาก
จนได้รับการยกย่องว่า
“เป็นการบรรยายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
ที่ประทับใจที่สุดเท่าที่เคยปรากฎ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน”
ขณะปัจจุบัน เอกสารฉบับนี้
ได้รับการเก็บรักษาเอาไว้ในกรุงวอชิงตัน
หัวหน้าเผ่าซีแอตเติลกล่าวไว้ว่า...
หัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งวอชิงตันได้แจ้งมาว่า
เขาต้องการที่จะซื้อดินแดนของพวกเรา
ท่านหัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่ยังได้กล่าวแสดงความเป็นมิตร
และความมีน้ำใจต่อเราอีกด้วย
นับเป็นความกรุณาอย่างยิ่ง
เพราะเรารู้ดีว่า มิตรภาพจากเรานั้น
ไม่ใช่สิ่งจำเป็นอะไรสำหรับเขาเลย
แต่เราพิจารณาข้อเสนอของท่านเพราะเรารู้ว่า
ถ้าเราไม่ขาย พวกคนขาวก็อาจจะขนปืนมา
ยึดดินแดนของพวกเราอยู่ดี
แต่ท้องฟ้าและความอบอุ่นของแผ่นดินนั้น
เขาซื้อขายกันได้อย่างไร
ทุกส่วนของแผ่นดินนี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ต่อชนเผ่าของเรา
ใบสนทุกใบ หาดทรายทุกแห่ง ป่าไม้ ทุ่งโล่ง
และแมลงเล็กๆ ทุกตัว คือความทรงจำ
คือประสบการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของเผ่าพันธุ์เรา
อดีตของชาวอินเดียนแดงนั้น
ไหลซึมวนเวียนอยู่ในยางไม้ทั่วทั้งป่านี้
วิญญานของคนขาวนั้นไม่มีความผูกพันกับถิ่นกำเนิดของเขา
แต่วิญญานของพวกเราไม่มีวันรู้ลืมแผ่นดินอันแสนงดงาม
และเปรียบเสมือนเป็นแม่ของชาวอินเดียนแดง
เราเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดิน
และแผ่นดินก็เป็นส่วนหนึ่งของเราเช่นกัน
กลิ่นหอมของดอกไม้นั้น เปรียบเสมือนพี่สาวน้องสาวของเรา
สัตว์ต่างๆ เช่น กวาง นกอินทรี คือพี่น้องของเรา
ขุนเขาและความชุ่มชื้นของทุ่งหญ้า และไออุ่นจากม้าที่เราเลี้ยงไว้
ก็คือส่วนหนึ่งของครอบครัวเราเช่นกัน
ดังนั้น การที่หัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งวอชิงตัน
ขอซื้อดินแดนของเรา จึงเป็นข้อเรียกร้องที่ใหญ่หลวงนัก
หัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่แจ้งมาว่า
เขาจะจัดที่อยู่ใหม่ให้พวกเราอยู่ตามลำพังอย่างสุขสบาย
และเขาจะทำตัวเสมือนพ่อ และเราก็จะเป็นเหมือนลูกๆของเขา
ดังนี้ เราจึงจะพิจารณาข้อเสนอที่ท่านขอซื้อแผ่นดินของเรา
แต่ไม่ใช่ของง่าย เพราะแผ่นดินนี้คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพวกเรา
กระแสน้ำระยิบระยับ ที่ไหลไปตามลำธารแม่น้ำ และทะเลสาบที่ใสสะอาดนั้น เต็มไปด้วยอดีตและความทรงจำ
ของชาวอินเดียนแดง
เสียงกระซิบแห่งน้ำคือเสียงของบรรพบุรุษของเรา
แม่น้ำคือสายเลือดของเรา
เราอาศัยเป็นทางสัญจร เป็นที่ดับกระหาย และเป็นแหล่งอาหารสำหรับลูกหลานของเรา
ถ้าเราขายดินแดนนี้ให้ท่าน
ท่านจะต้องจดจำและสั่งสอนลูกหลานของท่านด้วยว่า
แม่น้ำคือสายเลือดของเราและท่าน
ท่านจะต้องปฏิบัติกับแม่น้ำเสมือนเป็นญาติพี่น้องของท่าน
ชาวอินเดียนแดง มักจะหลีกทางให้กับคนผิวขาวเสมอมา
เหมือนกับหมอกบนขุนเขาที่ร่นหนีแสงแดดในยามรุ่งอรุณ
แต่เถ้าถ่านของบรรพบุรุษของเรา เป็นสิ่งซึ่งเราสักการะบูชา
และหลุมฝังศพของท่านเหล่านั้นเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์
เช่นเดียวกับเทือกเขาและป่าไม้
เทพเจ้าประทานแผ่นดินส่วนนี้ไว้ให้กับพวกเรา
เรารู้ดีว่าคนผิวขาวไม่เข้าใจวิถีชีวิตของเรา
สำหรับเขาแล้ว แผ่นดินไหนๆ ก็ตามก็เหมือนกันหมด
เพราะพวกเขาคือคนแปลกถิ่น
ที่เข้ามากอบโกยทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาอยากได้
คนผิวขาวไม่ได้ถือว่าแผ่นดินเป็นเลือดเนื้อของเขา แต่เป็นศัตรู
และเมื่อเขาเอาชนะได้แล้วเขาก็จะทิ้งแผ่นดินนั้นไป
แล้วก็ทิ้งเถ้าถ่านเอาไว้เบื้องหลังอย่างไม่ใยดี
เถ้าถ่านบรรพบุรุษและถิ่นกำเนิดของลูกหลาน
ไม่มีอยู่ในความทรงจำของพวกคนผิวขาว
เขาปฏิบัติต่อผู้ให้กำเนิด ญาติพี่น้อง แผ่นดิน และท้องฟ้า
เสมือนสิ่งของที่มีไว้ซื้อขายได้
มันเป็นราวกับฝูงแกะหรือสายลูกประคำ
ความหิวกระหายของคนผิวขาว
จะสูบความอุดมสมบูรณ์จากแผ่นดิน
และเหลือไว้แต่ทะเลทรายอันแห้งผาก
ข้าฯไม่เข้าใจ เพราะวิถีชีวิตของเรานั้นต่างกับของท่าน
สภาพบ้านเมืองท่านเป็นสิ่งที่บาดตาของชาวอินเดียนแดง
แต่ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพวกเราเป็นคนป่าเถื่อนและไม่รู้จักอะไร
ในบ้านของคนผิวขาวไม่มีที่ใดเลยที่เงียบสงบ
ไม่มีที่ที่จะได้ฟังเสียงใบไม้พัดด้วยกระแสลมในฤดูใบไม้ผลิ
หรือเสียงปีกแมลงที่บินไปมา
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพวกข้าฯเป็นคนป่าเถื่อนไม่รู้จักอะไร
เสียงในเมืองทำให้รู้สึกแสบแก้วหู
ชีวิตจะมีความหมายอะไร
เมื่อปราศจากเสียงนกและเสียงกบเขียด
ร้องโต้ตอบกันในยามค่ำคืน
ข้าฯ เป็นอินเดียนแดง
ข้าฯ ไม่สามารถเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้
ชาวอินเดียนแดงรักที่จะอยู่กับเสียงและกลิ่นของสายลม
ฝนและกลิ่นไอของป่าได้
"ท่านต้องสอนให้ลูกหลานของท่านให้รู้ว่า
แผ่นดินที่เขาเหยียบอยู่ คือ
เถ้าถ่านของบรรพบุรุษของเรา
เพื่อเขาจะได้เคารพแผ่นดินนี้
บอกลูกหลานของท่านด้วยว่า
โลกนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยชีวิต
อันเป็นญาติพี่น้อง ของพวกเรา
...สั่งสอนลูกหลานของท่าน
เช่นเดียวกับที่เราสอนลูกหลานของเราเสมอมาว่า
โลกนี้ คือ แม่ ของเรา
ความวิบัติใดๆ ที่เกิดขึ้นกับโลก ก็จะเกิดขึ้นกับเราด้วย
หากมนุษย์ถ่มน้ำลายรดแผ่นดิน
ก็เท่ากับมนุษย์ถ่มน้ำลายรดตัวเอง
เรารู้ดีว่า โลกนี้ไม่ได้เป็นของมนุษย์
แต่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่ง ของโลกนี้
ทุกสิ่งทุกอย่างมีส่วนสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
เช่นเดียวกับสายเลือด ที่สร้างความผูกพันใน ครอบครัว
ทุกสิ่งทุกอย่าง มีส่วนผูกพันต่อกัน
ความวิบัติที่เกิดขึ้นกับโลกนี้ จะเกิดขึ้นกับมนุษย์เช่นกัน
มนุษย์มิได้เป็นผู้สร้างเส้นใย แห่งมวลชีวิต
แต่มนุษย์เป็นเพียงเส้นใยเส้นหนึ่งเท่านั้น
หากเขาทำลายเส้นใยเหล่านี้..
เขาก็ทำลายตัวเอง"
แปลโดย คุณพิสิษฐ์ ณ พัทลุง
ขอบคุณ by...ธรรมะ..ดาครับ
blockdit.com
___________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

การประหารด้วยการจั๊กกะจี้
ในอดีตมีการทรมานข้าศึกด้วยการทำให้หัวเราะจนตายด้วยการ ‘จั๊กกะจี้’ ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าประเทศที่ริเริ่มการประหารนี้คือประเทศอะไร เพียงแต่ในยุคสมัยหนึ่งวิธีการประหารนี้เป็นที่นิยมในประเทศ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ไปจนถึงพรรคนาซีเยอรมัน
จักจี้ให้ตาย!!! หลายคนพึ่งรู้ว่าในอดีตมีการทรมานนักโทษด้วยการจักจี้ด้วย หลายคนสงสัยว่าใครจะไปตายเพราะจักจี้วะ แต่ถ้าลองคิดดีๆ การทรมานแบบนี้ก็อันตรายกับคนที่โดนมากๆ จั๊กจี้ให้ตาย การลงโทษสุดโหดและเลือดเย็น การลงโทษในอดีตที่สร้างความทรมานได้มากมายภายใต้รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ
การจั๊กจี้นำมาซึ่งเสียงหัวเราะ ถ้าเป็นความรู้สึกต่างๆทางร่างกาย,ปฏิกริยาการสะดุ้งหรือหลีกหนีทางร่างกายเมื่อถูกจั๊กจี้,ความรู้สึกทุกข์ทรมานดิ้นรนทางร่างกาย,ความรู้สึกสยิวจั๊กจี้ ฯลฯ บางคนเกิดอาการทางกาย หายใจไม่ทัน หรือจนช็อกนั้นคือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ชีววิทยา โดยย่อมเกิดเช่นเดียวกันทุกคนที่มีระบบประสาทร่างกายสนองตอบต่อการจั๊กจี้ได้ ส่วนการหัวเราะเมื่อถูกจั๊กจี้นั้นไม่ใช่ปฏิกริยาร่างกายที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่เป็นพฤติกรรมตามสัญชาตญาณชั่วขณะซึ่งก็ถือเป็นพฤติกรรมค่อนข้างอัตโนมัติตามมาเมื่อเกิดความรู้สึกทางจิตใจอย่างหนัก (การที่มนุษย์เกิดความรู้สึกทางจิตใจอย่างหนักหรือเกิดอาการทางจิตใดๆขึ้นมานั้น ด้วยเพราะมีเหตุอันเป็นทิฏฐิตัวตนจิตใจใดๆของเขาอยู่ ตลอดจนมีปัจจัยรุมเร้าให้เกิดอาการทางจิตใจขึ้นมาซึ่งมันส่งผลต่อร่างกายอย่างหนัก)
โดยนอกจากจะหัวเราะไปตามสัญชาตญาณแล้วบางคนคนอาจเกิดพฤติกรรมตามสัญชาตญาณลักษณะอื่นๆเมื่อถูกจั๊กจี้ได้อีกเช่นกัน เช่น ร้องอุทานลักษณะต่างๆ พร่ำเพ้อต่างๆนานา ครวญคราง คลั่งอาละวาดชั่วขณะ ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นข้อเท็จจริงในทางจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ซึ่งจะเกิดขึ้นทำนองเดียวกันตามประสาจิตใจมนุษย์ การจั๊กจี้นั้นเป็นปัจจัยรุมเร้าจิตใจของเขาอย่างไร
ความรู้สึกจั๊กจี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ตามความหมายที่มีงานวิจัยอ้างไว้ ได้แก่
Knismesis คือความรู้สึกแปลก ๆ คล้ายอาการคันที่เกิดจากการสัมผัสผิวหนังตามร่างกายอย่างแผ่วเบา เกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย และรู้สึกได้แม้จะเป็นการสัมผัสโดยตนเอง เช่น การลากนิ้ว ขนนก สำลีไปมาบนผิวหนัง หรือการมีแมลงไต่ ซึ่งการจั๊กจี้ลักษณะนี้ไม่ทำให้หัวเราะ แต่อาจสร้างความรำคาญใจ และตอบสนองด้วยการเกาบริเวณที่รู้สึก บางคนจึงเข้าใจไปว่าตนเองเกิดอาการคันมากกว่าจั๊กจี้
Gargalesis คือความรู้สึกที่ทำให้ผู้ถูกจั๊กจี้หัวเราะออกมาเมื่อได้รับแรงกดซ้ำ ๆ ตามส่วนที่อ่อนไหวต่อการจั๊กจี้บนร่างกาย โดยมักเป็นจุดที่เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย เช่น บริเวณคอ ท้อง ด้านข้างลำตัว เท้า และรักแร้ รวมถึงจุดอื่น ๆ ตามร่างกาย เช่น บริเวณใกล้รูหู หน้าอก และอวัยวะเพศ ความรู้สึกจั๊กจี้ชนิดนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อถูกจั๊กจี้โดยบุคคลอื่นและส่งผลให้หัวเราะออกมา ในขณะที่การพยายามจั๊กจี้ตนเองนั้นไม่ทำให้หัวเราะหรือมีปฏิกิริยาตอบสนองใด ๆ ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงการจั๊กจี้ชนิดนี้เป็นหลัก
แต่ถ้าใครโดนการจั๊กจี้จนเกินขีดจำกัด คงพอนึกภาพออกว่าภายใต้เสียงหัวเราะที่เปร่งออกมามันคือความเจ็บปวดทรมานปริ่มจะขาดใจซึ่งในอดีตมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการลงโทษทรมานด้วยการจั๊กจี้อยู่ไม่น้อย ดังนั้นมีนเป็นเรื่องซีเรียสที่หลายคนมองข้ามไป และนั้่นมันทำให้มันเป็นประเด็นที่น่าสนใจศึกษา ภาพที่เราเห็นคุณแม่กำลังหยอกล้อเล่นจั๊กจี้เอวลูกน้อยมันช่างเป็นภาพที่น่ารักและห่างไกลคำว่าทรมานแต่ถ้าลองคิดให้ดี เราจะเห็นถึงมุมที่โคตรอันตรายจาการจั๊กจี้เพราะผู้ใดที่ดดนกระทำอยู่ จะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถสื่อสารหรือตอบโต้ได้ แค่จะส่งเสียงบอกว่า "พอแล้ว ไม่ไหวแล้ว" ยังทำไม่ได้ ดังนั้นในกรณีที่ผู้ถูจั๊กจี้โดนจองจำทั้งมือและเท้าเหมือนการลงโทษสมัยก่อน ความเจ็บปวดทรมานจากการถูกจั๊กจี้ย่อมเพิ่มทวีคูณ ซึ่งมันเป้นความทรมานที่ไม่อาจบรรยายได้
ในอดีต การจั๊กจี้ถือเป็นหนึ่งในวิธีการทรมานที่เหี้ยมโหดที่สุด ที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ในการทรมานเพื่อสอบถามข้อมูลหรือคำสารภาพจากผู้ต้องหา เพราะทำได้ง่ายดายและไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการทรมานมากมายนัก
และเมื่อจั๊กจี้รุนแรงจนเกินไปก็พบว่านักโทษเริ่มสำลัก ขาดอากาศหายใจ และช็อกจน หัวใจวายตาย ก็ไม่มีร่องรอยทางร่างกายใดใดบ่งชี้ว่าถูกกระทำทารุณกรรมอย่างรุนแรงเหมือนวิธีการทรมานวิธีอื่นๆ
Irene Thompson นักวิจัยผู้เขียนหนังสือ "A to Z of Punishment and Torture " กล่าวถึงการทรมานในรูปแบบการจั๊กจี้มีหลักฐานปรากฏใน Chinese tickling Torture เป็นรูปแบบใช้ลงโทษในราชวงศ์ฮั่น (Han Dynasty, 206-220 AD) ซึ่งความน่ากลัวของมันคือเหยื่อสามารถพื้นตัวหลังถูกทรมานได้เร็วและสมบูรณ์ จึงสามารถถูจั๊กจี้ซ้ำได้บ่อยเท่าที่ต้องการต่างจากวิธีทรมานอื่นซึ่งใช้วิธีรุนแรงซึ่งอาจทำให้เหยื่อเสียชีวิตหรือสูญเสียความสามารถในการตอบสนองโดยสิ้นเชิง
เมื่อศึกษาในประวัติศาสตร์ซึ่งมีข้อมูลการทรมานด้วยวิธีนี้ย้อนกลับไปได้ไกลถึงยุค Ancient Rome ได้มีความนิยมการทรมานด้วยการจั๊กจี้และแพร่ออกไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว และในอังกฤษ มีรายงานในBritish Medical Journal ว่าประเทศยุโรปนิยมใช้แกะเลียเท้าซ้ำไปซ้ำมาไม่หยุดจนนักโทษเสียชีวิตโดยมีบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงบทลงโทษที่นำการจั๊กจี้มาใช้ เช่น นิกายโปรเตสแตนต์ที่นำการจั๊กจี้มาลงโทษผู้ละเมิดกฎจนถึงแก่ความตายในศตวรรษที่ 16 หรือในยุคจักรวรรดิโรมันโบราณที่ผู้กระทำผิดจะถูกจับมัดไว้และทาเกลือจนทั่วบริเวณเท้า แล้วให้ห่านเลียเกลือออก หรือในญี่ปุ่นเองก็มีวิธีสังหารนักโทษแบบ Kusuguri Zeme ซึ่งแปลว่าการลงโทษแบบ Merciless Tickling อยู่ด้วย
ในงานวิจัยของทอมสันหรือบันทึกจากประวัติศาสตร์ไม่พบข้อมูลที่ยืนยันได้ว่ามีคนเสียชีวิตจาการประหารด้วยวิธีจำนวนเท่าใดกันแน่
บางคนเริ่มคิดในใจ "เฮ้ยแค่การจั๊กจี้มันจะตายได้ยังไงว่ะ"
แต่มีข้อมูลในประวัติศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้จากนักโทษในค่ายเชลยศึกนาซีในยุคสงครามโลกครั้งที่2 ชื่อ Josef Kohout ได้บันทึกในหนังสือชื่อว่า The Men With The Pink Triangle ว่าเคยเห็นนักโทษในค่าย Flossenburg Concentration Camp เสียชีวิตจากการโดนรุมจั๊กจี้จากกลุ่มผู้คุมนักโทษที่ถูกฝึกมาอย่างหนักเพื่อมาทำหน้าที่นี้โดยตรง ซึ่งเขาอยู่ในเหตุการณ์และเชื่อว่าถ้าโดนจั๊กจี้อย่างรุนแรง สามารถทำให้ช็อก ขาดอ๊อกซิเจน หัวใจวายตายได้ไม่ยาก
ซึ่งเมื่อเรารู้ถึงความน่ากลัวของการจั๊กจี้แล้วเราควรสอนบุตรหลาน ให้รู้ถึงความน่ากลัวของการจั๊กจี้และตระหนักภึงภัยร้ายที่มาพร้อมกับเสียงหัวเราะที่มีประวัติศาสตร์ที่น่ากลัวนี้เช่นกันและในปัจจุบันยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีวิธีใดที่ช่วยแก้อาการบ้าจี้ได้อย่างถาวรหรือไม่ บ้างกล่าวว่าการสัมผัสจุดที่รู้สึกจั๊กจี้บ่อย ๆ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวและทนต่อความรู้สึกจั๊กจี้มากขึ้นอาจส่งผลให้ความรู้สึกไวต่อการสัมผัสลดลง นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์บางคนยังแนะนำว่าการวางมือของตนเองลงบนมือของผู้จั๊กจี้อาจช่วยหลอกให้สมองรับรู้ว่าเป็นการจั๊กจี้ตนเองและลดความรู้สึกจั๊กจี้ลงได้
Cr.
https://pantip.com/topic/35364331
https://whitepaintedwoman.wordpress.com/.../infamous.../
https://www.pobpad.com/จั๊กจี้-เกิดจากอะไรกันแการประหารด้วยการจั๊กจี้
เครดิตพี่ กรยุทธ ตะพาบน้ำ ครับ
________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

จาก “สงครามฝิ่น” จนถึง “จลาจลในฮ่องกง” ! ถ้าไม่รู้อดีต ก็ไม่เข้าใจปัจจุบัน!!
...
มีคำกล่าวไว้ว่า “ถ้าไม่รู้เรื่องราวในอดีต ก็ย่อมไม่เข้าใจปัจจุบัน และไม่อาจจะคาดเดาอนาคตได้”
เพราะอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ย่อมโยงใยถึงกัน มีบางสิ่งบางอย่างในปัจจุบัน ทำให้เราข้องใจสงสัยในความเป็นมา แต่ถ้ารู้อดีตของสิ่งนั้น ก็จะเข้าใจปัจจุบันที่ปรากฏอยู่ได้ดี
อย่างเช่นเหตุการณ์จลาจลในฮ่องกงขณะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องร้ายแรงเกินคาด คนที่ออกมาเคลื่อนไหวในถนนไม่ใช่มีแต่วัยรุ่นหัวรุนแรงเท่านั้น แต่คนในวัยทำงานก็เข้าร่วมด้วยจำนวนมาก มีการท้าทายอำนาจของรัฐบาลจีนที่ปกครองฮ่องกงอย่างเปิดเผย เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากชาติตะวันตก ถึงขั้นถือธงชาติอเมริกาในการเดินขบวน และมีการโห่ฮาลั่นสนามกีฬาขณะบรรเลงเพลงชาติจีนในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก เสมือนไม่ใช่คนจีนหรือเป็นคน “ชังชาติ” ไปแล้ว
แน่นอนว่าฮ่องงเป็นแผ่นดินของจีน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่ตกไปอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษถึง ๑๐๐ กว่าปี เหตุนี้อาจเป็นไปได้ที่ทำให้คนฮ่องกงในวันนี้ที่เกิดใต้ธงอังกฤษ และถูกอบรมมาด้วยระบบการศึกษาตลอดจนคตินิยมแบบตะวันตก จึงไม่ได้รู้สึกว่าตัวเป็นคนจีน แต่ยังเป็นคนในอาณานิคมของอังกฤษ
ย้อนรอยประวัติศาสตร์เรื่องนี้ ต้องเริ่มในราวปี ค.ศ.๑๘๒๐ หรือ พ.ศ.๒๓๖๓ หลังจากอังกฤษยึดครองอินเดียแล้วได้ทำการค้ากับจีน โดยมีความต้องการใบชาจากจีนเป็นจำนวนมาก แต่ขายสินค้าของตนให้จีนได้น้อย ขาดดุลการค้าอย่างหนัก ต่อมาอังกฤษค้นพบสินค้นตัวใหม่ที่ทำกำไรได้อย่างมหาศาล คือนำฝิ่นจากอินเดียมาป้อนเข้าตลาดจีน ทำให้คนจีนติดฝิ่นกันงอมแงมทุกระดับชั้น
ใน ค.ศ.๑๘๓๘ จีนประกาศห้ามนำเข้าฝิ่น ผู้ฝ่าฝิ่นมีโทษถึงประหารชีวิตทั้งคนค้าและคนเสพ แต่ฝิ่นที่ทำกำไรงามก็ยังทะลักเข้าจีนไม่หยุด ใน ค.ศ.๑๘๓๙ จีนจับฝิ่นจำนวนมากได้ที่ท่าเรือกวางโจว อังกฤษขอคืน แต่จีนปฏิเสธ และบังคับให้พ่อค้าอังกฤษลงนามในข้อตกลงว่าจะไม่ค้าฝิ่นอีก พ่อค้าอังกฤษปฏิเสธ
รัฐบาลจีนได้มีหนังสือไปถึงควีนวิกตอเรีย ถามว่ารัฐบาลอังกฤษห้ามค้าฝิ่นโดยเด็ดขาดในอังกฤษ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ โดยอ้างว่าเป็นสิ่งเลวร้ายที่ผิดศีลธรรม แต่ทำไมกลับส่งฝิ่นมาขายให้จีนและตะวันออกไกล อังกฤษกลับตอบไม่ตรงคำถาม บอกว่ารัฐบาลจีนยึดสินค้าของชาวอังกฤษเป็นการกระทำที่ไม่ชอบธรรม และขอสินค้าคืน จีนจึงตอบโต้ด้วยการทำลายฝิ่นของกลางทั้งหมด อังกฤษเลยได้โอกาสยึดเป็นข้ออ้าง ส่งกองเรือเข้าปิดล้อมชายฝั่งมณฑลกวางตุ้ง รวมทั้งเกาลูนและฮ่องกง
ที่ระรานไปทั่วโลกได้ก็เพราะทำปืนที่มีประสิทธิภาพได้ก่อน จีนจึงต้องยอมลงนามในสัญญานานกิงในวันที่๒๙ สิงหาคม ค.ศ.๑๘๔๒ จำใจรับเอาฝิ่นไปมอมเมาประชาชน และต้องชดใช้ค่าฝิ่นที่ถูกทำลาย พร้อมค่าปฏิกรณ์สงคราม ยอมเปิดเมืองท่าชายทะเล ๕ แห่ง มี กวางโจว เซียะเหมิน ผู้โจว หนิงโป เซี่ยงไฮ้ รวมทั้งเกาะฮ่องกงและเกาะเล็กๆที่อยู่โดยรอบให้อังกฤษเช่า และให้คนที่อยู่ในเขตเช่านี้ได้รับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไม่ต้องขึ้นศาลจีน
สัญญานี้ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสินค้าถูกกฎหมาย ถือเป็นยารักษาโรค มีจำนวนประชาชนติดกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นสินค้าราคาถูกจากเครื่องจักรยังหลั่งไหลเข้ามา กระทบต่ออุตสาหกรรมพื้นบ้านอย่างหนัก อีกทั้งดินแดนเช่าเหล่านี้ยังเป็นที่หลบภัยของเหล่ามิจฉาชีพและอาชญากรที่ก่อคดีขึ้นในเขตจีน
แต่กระนั้นอังกฤษก็ยังไม่พอใจ จะขอแก้สัญญานานกิงเพื่อให้ตนได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้นจากการค้าอีก แต่จีนไม่ยอมให้แก้ อังกฤษมาได้โอกาสเมื่อจีนได้ยึดเรือแอร์โรว์ พร้อมด้วยลูกเรือซึ่งเป็นชาวจีน ๑๒ คน ด้วยข้อหาว่าเป็นโจรสลัดและลอบขนสินค้าเข้าเมือง แต่เรือแอร์โรว์แม้จะมีเจ้าของเป็นคนจีนแต่จดทะเบียนกับอังกฤษ อังกฤษจึงขอให้จีนส่งเรือและลูกเรือทั้งหมดคืน อ้างว่าเรือชักธงอังกฤษต้องได้รับการปกป้องตามสัญญานานกิง จีนปฏิเสธ ขณะเดียวกันก็มีบาทหลวงฝรั่งเศสถูกฆ่าตาย อังกฤษกับฝรั่งเศสจึงถือเป็นข้ออ้างยกกองเรือมาปิดล้อมเมืองกวางโจว ครั้งนี้มีอเมริกาและรัสเซียซึ่งเข้ามามีผลประโยชน์ทางการค้าในจีนสมทบมาด้วย เพื่อหวังจะได้เพิ่มผลประโยชน์จากการแก้สัญญา
สงครามครั้งนี้จีนก็ต้องแพ้อีก ยอมทำสัญญาสงบศึกที่เมืองเทียนจินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.๑๘๕๘ แต่แล้วการสู้รบก็เกิดขึ้นอีกทั้งในฮ่องกงและปักกิ่งในปีต่อมา เมื่อจีนปฏิเสธที่จะให้อังกฤษตั้งสถานทูตขึ้นที่ปักกิ่ง กองทหารของชาติตะวันตกได้ร่วมกันเข้าปล้นวัตถุโบราณและของมีค่าแล้วเผาพระราชวังฤดูร้อน ๒ หลัง คือ ชิงอี และหยวนหมิงหยวน ในเดือนตุลาคม ค.ศ.๑๘๖๐ จีนจึงยอมแพ้เพราะกลัวว่าจะถูกทำลายพระราชวังต้องห้ามที่ปักกิ่งด้วย
ผลของสัญญาสงบคึกครั้งนี้ที่ต้องทำกับ ๔ ชาติตะวันตก จีนต้องเปิดเมืองท่าขึ้น ๑๑ แห่งให้ชาติตะวันตกค้าขายได้อย่างเสรี โดยเสียภาษีนำเข้าไม่เกินร้อยละ ๒.๕ และทั้ง ๔ ชาติจัดตั้งสถานทูตขึ้นที่นครปักกิ่งได้รวมทั้งเรือรบของชาติเหล่านี้สามารถเข้าออกแม่น้ำฮวงโหได้อย่างเสรี
ใน ค.ศ.๑๘๙๘ อังกฤษบีบจีนอีก ขอเช่าพื้นที่รอบบริเวณเกาะฮ่องกงคือนิวเทอริทอรี่บนฝั่งเกาลูนเพิ่ม ทำให้อังกฤษครอบครองพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกเกือบ ๑๐ เท่า มีกำหนดเวลาเช่า ๙๙ ปี โดยจะคืนพื้นที่ทั้งหมดให้จีนในวันที่ ๑ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๙๗ และอังกฤษก็ต้องทำตามสัญญา คืนเกาะฮ่องกงและนิวเทอริทอรี่ให้จีนในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐
ฮ่องกงได้กลายเป็นเขตบริหารพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางของจีนซึ่งใช้นโยบาย ๑ ประเทศ ๒ ระบบ ในขณะที่เศรษฐกิจจีนกำลังรุ่งเรืองอย่างสุดขีด ฮ่องกงก็พลอยเติบโตไปด้วย มีตัวเลขว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ชาวฮ่องกงมีรายได้ถึง ๑,๔๖๔,๓๑๘ บาทต่อปี
แต่อย่างไรก็ตาม ฮ่องกงจะอยู่ในระบบที่มีอิสระนี้ไปได้อีก ๒๘ ปีเท่านั้น จะต้องไปรวมอยู่ในระบบเดียวกับเมืองอื่นๆของจีนในปี พ.ศ.๒๕๙๐ ซึ่งหมายถึงระบบการปกครอง เศรษฐกิจ รวมทั้งเสรีภาพของฮ่องกงอย่างในวันนี้จะหมดไป จึงก่อให้เกิดความวิตกแก่คนฮ่องกงที่เกิดและเติบโตในระบบการปกครองที่เป็นอิสระ เมื่อเกิดกรณีสงครามการค้าระหว่าจีนกับอเมริกาขึ้น จึงมีตะวันตกหลายชาติได้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนคนที่กำลังวิตก ซึ่งทำให้จีนต้องเหนื่อยใจพอสมควร
แต่จีนวันนี้ไม่ใช่ “คนขี้โรคแห่งเอเชีย” อย่างในสมัยก่อนอีกแล้ว มีอิทธิฤทธิ์พอที่จะตอบโต้และแก้ปัญหานี้ได้ไม่ยาก จึงเตือนผู้ชุมนุมว่า “ผู้ที่เล่นกับไฟ ยอมทำลายตัวเอง”
ไทยเราก็ต้องเผชิญกับฝิ่นของอังกฤษในยุคเดียวกับจีนเหมือนกัน มีพ่อค้าจีนลักลอบนำฝิ่นมาขึ้นตามชายทะเลไทยทั่วไปหมด ส่วนอังกฤษที่ส่งสายลับเข้ามาเป็นพ่อค้าบังหน้า เปิด “ห้างมอร์แกนและฮันเตอร์” เป็นห้างแรกของชาวยุโรปในกรุงเทพฯ ก็แอบค้าฝิ่นเช่นกัน
ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ อังกฤษได้ส่ง เซอร์เจมส์ บรู๊ค เป็นทูตการค้าเข้ามาขอเจรจาลดภาษีขาเข้าและเปิดตลาดการค้าฝิ่นอย่างถูกกฎหมายในเมืองไทย แต่ได้รับการปฏิเสธจากรัชกาลที่ ๓ ทำให้อังกฤษไม่พอใจ จะเอาเรือรบเข้ามาบังคับ เผอิญเปลี่ยนรัชกาลเสียก่อนมิฉะนั้นไทยอาจจะมีสงครามฝิ่นแบบจีนก็ได้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔ ทรงตระหนักว่าไม่อาจขัดขวางการเรียกร้องของอังกฤษได้ จึงมีพระราชสาส์นตอบรับข้อเรียกร้องทางภาษีของเซอร์เจมส์ บรู๊คทุกข้อ ส่วนเรื่องฝิ่นทรงเห็นว่าไม่อาจขัดขวางได้เช่นกัน เพราะเป็นผลประโยชน์มหาศาลของอังกฤษ จึงทรงมีเงื่อนไขว่าขอให้ขายกับรัฐบาลเท่านั้น รัฐบาลจะเอาไปจำหน่ายต่อเองเพื่อควบคุมได้ เลยไม่ต้องทำสงครามฝิ่นกับอังกฤษ
อ่านประวัติศาสตร์แล้วจะเข้าใจถึงความเลวร้ายของลัทธิล่าอาณานิคม ใช้ความเจริญก้าวหน้าด้านอาวุธเข้าปล้นประเทศที่ด้อยกว่า กวาดทรัพยากรไปบำรุงบำเรอประเทศของตนอย่างไร้มนุษยธรรมและความกระดากอาย แม้จำจะต้องวางมือด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็ยังวางยาเอาไว้ในรูปแบบต่างๆ แม้วันนี้ก็อย่าคิดเชื้อชั่วจะหมดไป ยังได้เห็นการปล้นทรัพยากรประเทศที่ด้อยอาวุธกว่าอยู่เป็นประจำ โดยเจ้าเก่าๆที่ยังมีพฤติกรรมเดิม เปลี่ยนแต่รูปแบบไปตามยุค
ที่มา : เพจเรื่องเก่าเล่าสนุก
https://www.facebook.com/ruangkaolaosanuk/
__________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

เครซี ฮอร์ส อนุสาวรีย์วีรบุรุษอินเดียนแดงที่ใช้เวลาสร้าง 70 ปีแต่ยังไม่เสร็จ
อนุสาวรีย์เครซี ฮอร์ส (Crazy Horse) ขนาดมหึหาบนภูเขา Black Hills ในรัฐเซาท์ดาโคต้า อยู่ระหว่างการก่อสร้างมานานกว่า 70 ปีแล้ว และปัจจุบันยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสร้างเสร็จ
อนุสาวรีย์เครซี ฮอร์สบนภูเขา Black Hills ในเมือง Custer City รัฐเซาท์ดาโคต้า เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 1948 เพื่อสดุดีเครซี ฮอร์ส วีรบุรุษผู้นำชนเผ่าลาโกตา ปัจจุบันอนุสาวรีย์ริมหน้าผาแห่งนี้ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์

หากอนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างเสร็จ ประติมากรรมชิ้นนี้จะสลักออกมาเป็นรูปนักรบชนพื้นเมืองอเมริกันกำลังขี่ม้าและชี้ไปยังดินแดนชนเผ่าของเขา ปัจจุบันมีเพียงศีรษะของเขาเพียงส่วนเดียวที่สร้างเสร็จแล้ว โดยมีความสูง 87 ฟุต ซึ่งสูงกว่าศีรษะของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแต่ละคนที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติเขารัชมอร์ที่สูงเพียงแค่ 60 ฟุต
เครซี ฮอร์สได้นำทัพเข้าต่อสู้ในสงครามครั้งประวัติศาสตร์ในช่วงปี 1800 เขาปกป้องคนในเผ่าจากการรุกรานของรัฐบาลสหรัฐจนกลายเป็นวีรบุรุษที่ผู้คนยกย่อง แต่สุดท้ายเขาก็มีจุดจบที่น่าเศร้า

ชีวิตของเครซี ฮอร์ส
เครซี ฮอร์ส หรือชื่อจริงคือ ทาซุนเก วิตโค เกิดในปี 1840 ที่เมืองราพิดครีกซึ่งห่างจากอนุสาวรีย์ 40 ไมล์ เขาได้รับการเลี้ยงดูจากแพทย์และเป็นสมาชิกของเผ่า Oglala Lakota ตั้งแต่เกิด ในเวลานั้นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชนพื้นเมืองในอเมริกากำลังถูกรุกรานจากคนขาว นอกจากนั้นยังมีความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าอีกด้วย

ในวัยเด็ก เครซี ฮอร์สได้ผ่านพิธีกรรมของเผ่าลาโกตาที่เรียกว่า Hanbleceya หมายถึงการร้องไห้เพื่อการรู้แจ้ง เขาต้องเดินขึ้นไปร้องไห้บนภูเขาเป็นเวลาสี่วันโดยไม่กินอาหารและน้ำเพื่อเชื่อมต่อกับจิตวิญญาณ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เขาขี่ม้าเข้าสู่สนามรบพร้อมลวดลายสายฟ้าฟาดบนใบหน้าและประดับขนนกบนศีรษะของเขา
หนึ่งในการรบที่โดดเด่นที่สุดของเครซี ฮอร์ส คือเขาได้นำทัพเผ่าลาโกตาเข้าต่อสู่กับกองพันทหารม้าของนายพลจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ ในสมรภูมิที่ Little Bighorn ในปี 1876 ซึ่งรู้จักกันในนาม “การยืนหยัดครั้งสุดท้ายของคัสเตอร์” ทำให้คัสเตอร์และทหารสหรัฐ 280 นายพร้อมเจ้าหน้าที่อีก 9 นายไม่อาจรอดชีวิตไปจากที่นี่ได้ ความกล้าหาญในการต่อสู้ของเครซี ฮอร์ส ทำให้กองทัพสหรัฐเพิ่มความรุนแรงในการโจมตีชนพื้นเมืองมากกว่าเดิม
รัฐบาลเริ่มส่งหน่วยสอดแนมไปทั่วที่ราบทางตอนเหนือเพื่อไล่จับชนพื้นเมืองอเมริกันที่ต่อต้าน มีชนพื้นเมืองจำนวนมากที่ถูกบังคับให้ย้ายออกไป ผู้คนใช้ชีวิตด้วยความอดอยากจนไม่อาจขัดขืนได้อีกต่อไป ในที่สุด เครซี ฮอร์สก็ทนไม่ไหว เขาตัดสินใจยอมจำนนและเดินทางไปที่ป้อมโรบินสันในปี 1877 เพื่อเจรจาสงบศึก
ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์รายงายว่า ล่ามของเครซี ฮอร์สตีความคำพูดของเขาผิด ส่งผลให้การเจรจาเพื่อสันติภาพพังทลายและทหารระดับผู้บังคับบัญชาการเลือกที่จะจับกุมเขา

เครซี ฮอร์สขัดขืนการจับกุมและชักมีดออกมาเพื่อต่อสู้ จากการเจรจาเพื่อสันติภาพกลับจบลงด้วยการสูญเสีย ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นประเด็นข้อพิพาทยู่จนถึงทุกวันนี้

ต้นกำเนิดของอนุสรณ์สถานเครซี ฮอร์ส
เครซี ฮอร์สเชื่อว่าการถ่ายรูปคือการพรากวิญญาณออกไปและทำให้ชีวิตเขาสั้นลง แต่เฮนรี สแตนดิง แบร์ หัวหน้าเผ่าลาโกตาเชื่อว่าควรให้เกียรติวีรบุรุษอินเดียนคนนี้ด้วยการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อยกย่องเขา และให้คนขาวได้รู้ว่าชาวอินเดียนก็มีวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน
แต่สุดท้ายประธานาธิบดีของสหรัฐได้รับเกียรติสลักใบหน้าไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติเขารัชมอร์ซึ่งอยู่ห่างออกไป 17 ไมล์ ซึ่งเป็นความอยุติธรรมที่เห็นได้ชัดเจน
ใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของอนุสาวรีย์เครซี ฮอร์ส

หัวหน้าเผ่าลาโกตาได้ขายที่ดินขนาด 900 เอเคอร์สำหรับภูเขารกร้างให้กับกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้เขายังปฏิเสธการระดมทุนจากรัฐบาลเนื่องจากความเกลียดชังที่มีต่อรัฐบาล ในที่สุดการก่อสร้างก็เริ่มขึ้นในปี 1984 โดย คอร์ซแซก ซิโอลคอว์สกี สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายโปแลนด์เป็นผู้ออกแบบและแกะสลักอนุสาวรีย์นี้
ปัจจุบันอนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นโครงการส่วนตัวที่ดูแลโดยมิโนก ลูกสาวของซิโอลคอว์สกี ในนามของมูลนิธิอนุสรณ์สถานเครซีฮอร์ส โดยมีเป้าหมายในการสร้างอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่นี้ให้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่ง ณ ตอนนี้ได้รับทุนทั้งหมดจากการบริจาคของเอกชนและการขายตั๋วเข้าชมให้กับนักท่องเที่ยวหลายพันคนที่มาเยี่ยมชมทุกปี

อนุสาวรีย์เครซี ฮอร์สจะสร้างเสร็จเมื่อใด
ซิโอลคอว์สกีทำงานอย่างหนักเพียงลำพัง เขาปีนบันไดไม้ 741 ขั้นเพื่อไปถึงยอดเขาธันเดอร์เฮดและทำงานโดยปราศจากไฟฟ้า ภาพอนุสาวรีย์ที่เขาคิดไว้คือเครซี ฮอร์สนั่งอยู่บนหลังม้าของเขา และชี้ไปยังดินแดนที่เขาสูญเสียเพื่อนพ้องไปมากมาย เขาเชื่อว่าตัวเองจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 30 ปี แต่ก็ทำไม่สำเร็จ

ในปี 1982 ภรรยาของเขาเข้ามารับช่วงต่อและปรับเปลี่ยนแบบเล็กน้อย เธอเลือกปั้นใบหน้าของเครซี ฮอร์สก่อนที่จะปั้นม้า เพราะคิดว่าจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ และในปี 1998 ใบหน้าก็เสร็จสมบูรณ์ด้วยความช่วยเหลือจากลูก ๆ ทั้งเจ็ดคนของเธอ
เฮนรี สแตนดิง แบร์คงจะดีใจที่ได้เห็นใบหน้าวีรบุรุษของเขาสูงกว่าใบหน้าของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันอนุสาวรีย์ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งหากสร้างเสร็จ มันจะเป็นอนุสาวรีย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากรูปปั้นแห่งเอกภาพ (The Statue of Unity) ที่ประเทศอินเดีย
ที่มา : allthatsinteresting | เรียบเรียงโดย เพชรมายาครับ
___________________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

#กว่าจะเป็นแผ่นดินอินเดีย ไม่ใช่มีแค่คานธี และเนห์รู
อนุสาวรีย์ที่สูงที่สุดในโลก ภาพหวังความเป็นหนึ่งเดียวของอินเดีย
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังยุติลง หลายประเทศในเครือข่ายอาณานิคมของยุโรป มีการเรียกร้องเอกราชเพื่อปกครองตนเอง และหนึ่งในนั้นก็คืออินเดีย

หัวหอกสำคัญของกระบวนการเรียกร้องเอกราชในอินเดียคือ ขบวนการคองเกรส กระนั้นขบวนการคองเกรสก็ไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกภาพ แต่เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในอย่างหนัก ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการแบ่งแยกเพื่อปกครอง (Divide and Rule) ของอังกฤษ กล่าวคือ ก่อนที่อังกฤษจะถอนตัวออกจากอินเดีย ได้ตัดสินใจแบ่งประเทศนี้เป็น 2 ส่วนตามศาสนา คือฮินดู และมุสลิม ซึ่งต่อมาภายหลังได้กลายเป็นอินเดีย และปากีสถาน

แม้เราจะรับรู้กันว่า อินเดีย และปากีสถาน ประกาศเอกราชในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 1947 แต่กระบวนการสร้างความเป็นเอกราชได้เริ่มขึ้นก่อนหน้านั้นล่วงเป็นปี

ในช่วงปี 1946 อังกฤษเริ่มกระบวนการขีดเขียนแผนที่ เพื่อแบ่งทั้งสองประเทศให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ปัญหามันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะตัวแสดงไม่ได้มีเพียงแค่อังกฤษ ตัวแทนของอินเดีย และตัวแทนของปากีสถานเท่านั้น แต่ยังมีรัฐมหาราชา (Princely states) ที่ไม่ได้อยู่ใต้การปกครองทางตรงของอังกฤษอีกกว่า 554 รัฐ ซึ่งรัฐเหล่านี้มีขนาดตั้งแต่ 10 ครัวเรือน จนถึงมหานครขนาดใหญ่
ความยุ่งยากจึงไม่ใช่เพียงเรื่องการแบ่งเขตระหว่างอินเดียและปากีสถานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเจรจาพูดคุยกับรัฐมหาราชาเหล่านี้ด้วย เพราะอังกฤษต้องการให้มีประเทศเอกราชเพียง 2 ประเทศเท่านั้นภายหลังจักรวรรดิถอนตัวออกไป ดังนั้นรัฐมหาราชาทั้งหลาย ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งกับอินเดียหรือปากีสถาน

ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า อังกฤษไม่เข้าไปช่วยเจรจาเกี่ยวกับการตัดสินใจของเจ้าผู้ครองรัฐทั้งหลาย แต่เปิดโอกาสให้ทั้งอินเดีย และปากีสถาน เข้าไปเจรจาเอง นโยบายเช่นนี้นำมาซึ่งปัญหาระหว่างสองประเทศนับตั้งแต่ยังไม่ได้รับเอกราชด้วยซ้ำ เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการพื้นที่อาณาเขตที่มากที่สุด โดยกระบวนการเจรจานี้กินเวลายาวนาน นับตั้งแต่ก่อนได้รับเอกราชในปี 1946 จนถึงหลังได้รับเอกราชไปแล้ว 2 ปี คือในปี 1949

Sardar Vallabhbhai Patel เป็นบุคคลสำคัญของอินเดีย ซึ่งทำหน้าที่เจรจากับเจ้ามหาราชารัฐต่างๆ จนสามารถผนวกกลืนรัฐทั้งหลายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียได้สำเร็จ แม้จะเสียบางส่วนให้กับปากีสถาน แต่ก็ถือว่าอินเดียประสบความสำเร็จในเจรจา
ผลงานสำคัญของ Patel คือ การเจรจาผนวกกลืนรัฐไฮเดอราบัด ซึ่งอยู่ใจกลางประเทศอินเดีย การเจรจากับไฮเดอราบัดนับว่าเป็นงานหิน เพราะในช่วงแรกไฮเดอราบัดยังไม่ได้ตัดสินใจ ว่าจะผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับปากีสถานหรือประกาศเอกราช เนื่องจากเจ้าผู้ครองนครเป็นมุสลิม ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ เขายังเป็นคนสำคัญที่ชักชวนให้มหาราชาแห่งแคชเมียร์ ตัดสินใจผนวกรวมเข้ากับอินเดียเพื่อสกัดการรุกรานจากปากีสถานอีกด้วย รัฐจัมมูร์และแคชเมียร์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของอินเดียจนถึงปัจจุบัน

นอกจากผลงานด้านการเจรจาแล้ว Patel ยังเป็นผู้ออกแบบระบบการบริหารราชการและการปกครองของอินเดียอีกด้วย ผลงานของเขาส่งผลให้การส่งต่องานจากจักรวรรดิอังกฤษมายังอินเดีย ไม่เกิดปัญหาในช่วงเปลี่ยนผ่าน กล่าวได้ว่าแผนที่ประเทศอินเดียจะไม่เป็นรูปร่างเหมือนทุกวันนี้หากไม่มีบุรุษผู้นี้

Sardar Vallabhbhai Patel จึงไม่ใช่ชายนิรนามในประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ แต่เป็นบุคคลสำคัญในการวางรากฐานของประเทศ ไม่ด้อยไปกว่า คานธี และเนห์รู
ในวันที่อินเดียต้องการเป็นมหาอำนาจ
นอกจากขนาดและบุคคลที่ใช้เป็นตัวแบบของอนุสาวรีย์แล้ว ชื่อ ‘อนุสาวรีย์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว’ ยังสื่อนัยยะให้เห็นด้วยว่า รัฐบาลอินเดียคาดหวังให้เกิดความรู้สึกร่วมกันระหว่างประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ

รัฐบาลอินเดีย ซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี แห่งพรรค BJP มีความมุ่งหวังอย่างมากที่จะนำพาอินเดียให้มีความก้าวหน้า สามารถยืนขึ้นและมีปากเสียงเสมอกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ในอดีตอินเดียแทบไม่มีบทบาทอะไรมากนักในเวทีระหว่างประเทศ ซ้ำยังเป็นเหยื่อทางการเมืองระหว่างประเทศ ถูกรังแกในหลากหลายช่องทาง อินเดียเคยถูกคว่ำบาตรจากปัญหาการพัฒนานิวเคลียร์จากสหรัฐอเมริกา ทั้งยังเคยถูกจีนและปากีสถานร่วมกันโจมตี ส่งผลให้ต้องถูกตัดแบ่งแผ่นดิน ตัวอย่างเหล่านี้เป็นผลมาจากจุดยืนและความอ่อนแอของอินเดียในอดีต

ปัจจุบัน แนวนโยบายต่างประเทศของอินเดียเริ่มชัดเจนมากขึ้น จากการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Alliance Movement) ตลอดช่วงยุคสงครามเย็น และแม้จะถูกวิจารณ์ว่าเอนเอียงไปทางสหรัฐอเมริกา เมื่อเริ่มเปิดรับการลงทุนจากภายนอก แต่เมื่อเศรษฐกิจอินเดียขยายตัวมากขึ้น และเริ่มตระหนักในศักยภาพการพัฒนาของตนเอง ทิศทางนโยบายต่างประเทศอินเดียก็เบนเข็มไปสู่ระบอบโลกแบบพหุมหาอำนาจ กล่าวคือ การส่งเสริมการขยายตัวของหลากหลายมหาอำนาจบนโลก ไม่ใช่มีเพียงสหรัฐอเมริกา
แน่นอนว่า อินเดียก็มุ่งหวังเป็นหนึ่งในมหาอำนาจนั้น

แต่แผนการเหล่านี้จะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าปัญหาภายในประเทศยังคงดำเนินอยู่ และหนึ่งในนั้นคือความเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติ

ต้องไม่ลืมว่าอินเดียเกิดขึ้นจากการผนวกรวมของผู้คนที่หลากหลาย มีความต่างทางด้านวัฒนธรรมและภาษา ตลอดจนศาสนา ในด้านหนึ่งความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ความเป็นพหุสังคมของอินเดีย แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันสร้างความยากลำบากในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะเมื่อประเด็นเหล่านี้ถูกใช้ในทางการเมือง ดังที่เกิดขึ้นเสมอมาในสังคมอินเดีย

ดังนั้นรัฐบาลโมดี จึงมุ่งหวังให้อนุสาวรีย์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวนี้ ช่วยร้อยรัดคนอินเดียทั้งหลายให้หันมาร่วมมือกันมากขึ้นในการพัฒนาประเทศ ดังข้อความช่วงหนึ่งที่เขากล่าวในการเปิดอนุสาวรีย์ว่า “อนุสาวรีย์นี้จะเป็นเครื่องยืนยันความสามัคคีของคนอินเดีย ในการเดินหน้าตามความฝันที่จะส่งเสริมให้อินเดียเป็นหนึ่งและอยู่เหนือชาติทั้งหลาย”

ควรกล่าวด้วยว่า อนุสาวรีย์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้เป็นเครื่องหมายทางอุดมการณ์ทางการเมืองเท่านั้น หากแต่ยังสะท้อนศักยภาพทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างของอินเดียอีกด้วย
อันที่จริง อนุสาวรีย์นี้ถูกต่อต้านมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การก่อสร้าง โดยเฉพาะจากชาวบ้านในพื้นที่ เพราะมีการเวนคืนที่ดินจำนวนมหาศาล รวมถึงต้องทำลายผืนป่าต้นน้ำสำคัญเพื่อเคลียร์พื้นที่อีกด้วย โดยทุกวันนี้ยังมีการรวมตัวกันไปชุมนุมหน้าอนุสาวรีย์อยู่เนืองๆ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสนใจกับการจ้างงาน และปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังสร้างปัญหาให้กับประชาชนจำนวนมาก เรียกได้ว่า มีปัญหาตั้งแต่วันสร้างยันวันเปิดงาน

ดูเหมือนว่า ความมุ่งหวังที่จะใช้ ‘อนุสาวรีย์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว’ เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อร้อยรัดคนอินเดียให้เป็นหนึ่งของโมดี จะกลายเป็น ‘ดาบสองคม’ ให้ฝ่ายตรงข้ามหยิบมาใช้เป็นเครื่องโจมตีรัฐบาลเสียเป็นส่วนมาก กระนั้นแม้จะฟาดฟันกันอย่างไรก็ตาม แต่อย่างน้อยก็ไม่มีใครในอินเดียปฏิเสธว่า Sardar Vallabhbhai Patel ไม่ควรได้รับเกียรติในการเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวของอินเดียนี้
เกี่ยวกับอนุสาวรีย์ที่สูงที่สุดในโลก เมื่ออินเดียเปิด ‘อนุสาวรีย์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว’ ของอินเดีย (The Statue of Unity) ซึ่งเป็นรูปปั้นของนาย Sardar Vallabhbhai Patel อดีตรองนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย อนุสาวรีย์ดังกล่าวตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนาร์มาดา รัฐคุชราต มีความสูงถึง 182 เมตร ความสูงข้างต้นทำให้อนุสาวรีย์นี้สามารถมองเห็นได้จากดาวเทียมทางไกล

โครงการก่อสร้างอนุสาวรีย์นี้ เริ่มวางแผนตั้งแต่ปี 2010 และเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการในปี 2014 งบประมาณที่ใช้ทั้งหมดในการก่อสร้างเป็นจำนวนเงินสูงถึง 420 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นวงเงินการก่อสร้างอนุสาวรีย์ที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
cr.https://www.the101.world/the-statue-of-unity-and-india/
___________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

ผู้หญิงกลิ่นตัวแรงทำไงดี

5 วิธีลดกลิ่นตัวในผู้หญิงแบบสะอาด สะดวก และปลอดภัย เสื้อผ้าต้องสะอาด หมั่นซักผ้าบ่อยๆ เสื้อผ้าที่ใส่ต้องให้สะอาด ไม่อับชื้น ไม่ใส่ซ้ำ ไม่หมักหมม เพราะเสื้อผ้าเป็นสิ่งที่เราต้องใส่ติดตัวในทุกๆวัน ถ้าเหงื่อกระทบกับแบคทีเรียในเสื้อผ้าก็จะยิ่งทำให้มีกลิ่นตัวมากขึ้น

ทำยังไงไม่ให้มีกลิ่นตัว Pantip

-สารส้ม แป้งเต่า ยาสีฟันทา มะนาวทา เบกิ้งโซดาขัดๆ แอลกอฮอล์ทา โลออนและสเปรย์แอมเวย์ โดฟ นีเวียและยี่ห้ออื่นๆที่หอมๆ -อาบน้ำก็เน้นตรงรักแร้เป็นพิเศษ ใยบวบขัดวนๆ มะขามเปียกขัดบ้าง หรือบางทีก็ไม่ขัดเลยใช้สบู่อาบปกติ -สบู่ลองทั้งสูตรยับยั้งแบคทีเรีย เบนเน็ต มาดามเฮง อิงอร ฯลฯ ทั้งหมดนี้ให้ผลลัพธ์ไม่ต่างกันเลยค่ะ เอาไม่อยู่

กลิ่นเต่าแรงแก้ยังไง

กลิ่นเต่าเหม็น รับมืออย่างไรไม่ให้เสียบุคลิก.
อาบน้ำเป็นประจำทุกเช้า-เย็น.
ใช้โรลออนหรือสารส้มทารักแร้.
ใช้มะนาวทารักแร้.
จัดการกลิ่นเต่าติดเสื้อด้วยน้ำมะนาว.
งดอาหารบางชนิด.
โกนขนรักแร้เป็นประจำ.
โบท็อกซ์.

ทำยังไงให้รักแร้หอม

8 วิธีกำจัด กลิ่นตัว รักแร้เปียก เพิ่มความมั่นใจใต้วงแขน!.
1. ห้ามขี้เกียจอาบน้ำ ... .
2. ผ้าเช็ดตัวก็มีผล ... .
3. สวมใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบาย ... .
4. เลี่ยงทานอาหารรสจัด/มีกลิ่นแรง ... .
5. ซักเสื้อผ้าให้สะอาด ... .
6. โกนขนอย่างสม่ำเสมอ ... .
7. ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ... .
8. ฉีดโบท็อกซ์ช่วยได้.