วิธีปฏิบัติตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะ10ข้อ

ซึ่งการมีจิตสาธารณะนี้หากเราเริ่มปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก ก็จะทำให้เด็กสามารถเติบโตขึ้นมาเป็นคนดีของสังคมได้ดี โดยพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถฝึกให้เด็กเริ่มเรียนรู้จากการมีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง เรียกว่าเริ่มกันตั้งแต่สิ่งเล็กน้อยใกล้ๆ ตัว ทำให้เด็กค่อยๆ รู้จักการเรียนรู้จากสิ่งที่เรียกว่ากฎของธรรมชาติการอยู่ร่วมกันที่ผ่านการสอนและฝึกฝนมาจากตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กด้วย ก็จะทำให้เด็กเหล่านี้โตขึ้นมากลายเป็นผู้มีจิตสาธารณะของสังคมนั่นเอง

คุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะ

คุณลักษณะทั่วไปของบุคคลที่มีจิตสาธารณะ

ยุทธนา วรุณปิติกุล (2542: 181 – 183) กล่าวถึง บุคคลที่มีจิตสำนึกสาธารณะว่า ต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้

1. การทุ่มเทและอุทิศตน มีความรับผิดชอบต่อสังคม บุคคลไม่เพียงแต่ปฏิบัติตามสิทธิเท่านั้น แต่ต้องปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือให้บริการแก่บุคคลอื่น เพื่อพัฒนาสังคมด้วย อาทิ ถ้าต้องการให้ผู้แทนราษฎรมีความรับผิดชอบต่อความต้องการและประโยชน์ของประชาชนประชาชนก็ต้องให้ความใส่ใจและติดตาม ไม่เพียงทำการหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น ต้องเสียสละเวลาให้ในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเมืองระดับท้องถิ่นและในสถาบันต่างๆ

2. เคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล จากกระแสปัจเจกชนนิยม ส่งผลให้คนในสังคมมีลักษณะปิดกั้นตนเอง ไม่ไว้วางใจผู้อื่น เลือกคบเฉพาะกลุ่มที่มีความเหมือนกันไม่สนใจการเมืองทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจของสังคม เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเกิดข้อขัดแย้งการยุติข้อขัดแย้งโดยการฟังเสียงข้างมาก ไม่นำไปสู่ประโยชน์ของส่วนรวม ดังนั้น ผู้มีจิตสำนึกสาธารณะต้องเป็นพลเมืองในฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ทางการเมืองสมัยใหม่ มีความอดทนตระหนักว่า การมีส่วนร่วมไม่ทำให้ได้อย่างที่ต้องการเสมอไป ต้องเคารพและยอมรับความแตกต่างที่หลากหลาย และหาวิธีอยู่ร่วมกับความ

ขัดแย้ง โดยการแสวงหาทางออกร่วมกัน การจำแนกประเด็นปัญหา การใช้เหตุผลในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การตัดสินใจ ต้องมีการพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันให้มากที่สุด เพื่อหาข้อยุติสร้างการเข้าร่วมรับรู้ ตัดสินใจและผนึกกำลัง เพื่อให้เกิดการยอมรับจากทุกฝ่าย

3. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม คนในสังคมต้องคิดถึงการเมืองในฐานะกิจการเพื่อส่วนรวมและเพื่อคุณธรรมมากขึ้น

4. การลงมือกระทำ การวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สถานการณ์ดีขึ้นต้องลงมือกระทำ โดยเริ่มจากครอบครัวในการวางพื้นฐานให้การอบรมด้านจริยธรรมของพลเมือง สถาบันการศึกษาไม่เพียงเป็นสถานที่ฝึกทักษะ และให้ความรู้ต้องรับช่วงต่อในการสร้างค่านิยมที่เหมาะสมต่อจากครอบครัวรวมทั้ง เครือข่ายสังคมที่เกิดขึ้น ระหว่างเพื่อนบ้าน ที่ทำงาน สโมสร สมาคมต่างๆ เชื่อมโยงบุคคลที่สนใจเรื่องของตนเข้าเป็นกลุ่มที่ใส่ใจผู้อื่น ช่วยดำรงรักษาประชาคม สังคมและกฎจริยธรรม รวมทั้งสถาบันที่มีอิทธิพลสูงต่อสังคม คือ สถาบันศาสนา และสื่อมวลชนนับว่า มีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างให้สังคมเข้มแข็ง

เขียนโดย Unknown

วิธีปฏิบัติตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะ10ข้อ

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

สังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตเพิ่มมากขึ้น ผู้คนก็ยึดติดวัตถุนิยมอย่างมากเสียจนบางครั้งเราลืมให้ความสำคัญในด้านจิตใจ ด้วยสาเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมามากมาย ซึ่งเราก็ได้พบเห็น อยู่บ่อยๆ เช่น การทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง ปัญหาเรื่องยาเสพติด ฯ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดจิตสำนึกที่ดีทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ดังนั้นการปลูกฝังให้คนมีจิตสำนึกที่ดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การปลูกฝังจิตสำนึกในที่นี้คือ การปลูกฝังจิตใจให้มีความรับผิดชอบ รู้จักเสียสละ ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม หรือเรียกง่ายๆ ว่า การสร้างจิตสาธารณะ

ความหมายของ จิตสาธารณะนั้น ได้มีหลายท่านให้ความหมายไว้มากมาย สรุปใจความสำคัญได้ว่า จิตสาธารณะ หมายถึง จิตสำนึกที่ดีในการรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบ เสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ยึดมั่นทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

ลักษณะของผู้ที่มีจิตสาธารณะ จะต้องเป็น ผู้ที่ให้และคอยช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนด้วยความเต็มใจ ไม่หวังผลตอบแทน ไม่เห็นแก่ตัว เข้าใจผู้อื่น ไม่เป็นคนใจแคบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

วิธีปฏิบัติตนเป็นผู้มีจิตสาธารณะ10ข้อ

แนวทางการสร้างจิตสาธารณะ เป็นการสร้างความรับผิดชอบในตัวเอง หากเราขาดหรือบกพร่อง ก็จะส่งผลกระทบเกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย การสร้างจิตสาธารณะสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเราก่อน  ดังนี้

  1. สร้างวินัยในตัวเอง เราต้องรู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น มีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในสังคมด้วยความเต็มใจ มองผู้อื่นในแง่ดี
  2. ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เราต้องคิดเสมอว่า เราคือส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นต้องรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้
  3. คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ทั้งในด้านที่ดีและไม่ดี ให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความเต็มใจ
  4. ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมะ ทุกศาสนาต่างสอนให้เป็นคนดี ถ้าเราสามารถปฏิบัติตามหลักธรรม คำสั่งสอนได้ นอกจากตัวเราจะมีความสุขแล้ว ยังทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นอีกด้วย

นอกจากการสร้างจิตสาธารณะแล้วเรายังจำเป็นต้องมีการพัฒนาจิตสาธารณะด้วย ซึ่งต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเราควรปลูกฝังให้เขาได้มีความรู้ ความเข้าใจ และนึกถึงความสำคัญของการมีจิตสาธารณะ  คอยชี้แนะในสิ่งที่ถูกที่ควร นอกจากการปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะแล้ว ควรปลูกฝังให้เด็กมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในหน้าที่ รู้จักการเสียสละ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ครูหรือผู้ใหญ่ต้องเป็นอย่างที่ดีให้กับเด็กด้วย เพื่อที่เด็กจะได้ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม betflik123