นักเรียน ควร ปฏิบัติ อย่างไร เกี่ยวกับ ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ของตนเอง

นักเรียน ควร ปฏิบัติ อย่างไร เกี่ยวกับ ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ของตนเอง

นักเรียน ควร ปฏิบัติ อย่างไร เกี่ยวกับ ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ของตนเอง

 แหล่งที่มาของรูปภาพ  http://123.242.164.130/005/Image/14/IMG_0002.jpg

วัฒนธรรม และวัฒนธรรมท้องถิ่น

ความสำคัญของขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อ
1.ขนบธรรมเนียมประเพณีมีส่วนในการสนับสนุนให้ชาติบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองในทรรศนะที่ดีและถูกต้อง
2.ชาติไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ การมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็น
ของตนเองเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นตัวเชื่อมความรู้สึกของชุมชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องที่แสดงอดีตและปัจจุบันของสังคมไทย
3.ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ แสดงถึงความเป็นมาอันเกิดจากความเจริญของสังคมมาช้านาน จึงควรภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของตนเอง
4.ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา
5.ความเชื่อ เป็นสิ่งที่ยอมรับนับถือมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นแนวทางการปฏิบัติตนของคน
ในท้องถิ่น ความเชื่อจะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
6.เป็นสิ่งควบคุมการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม ทำให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้
เราประพฤติปฏิบัติตามกฎข้อตกลงหรือระเบียบที่สังคมนั้นๆ ได้วางไว้
7.เป็นเครื่องมือผสมผสานความเชื่อต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น ประเพณีแต่งงานเป็นประเพณี
ที่รวมพิธีกรรมอันเนื่องมาจากความเชื่อหลายประการจึงผสมผสานกันได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนกับวิถีชีวิต

ประเภทของศิลปวัฒนธรรม
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รวบรวมจัดศิลปวัฒนธรรมเป็นหมวดหมู่
เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจ ดังนี้
1.  หมวดขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อ
2.  หมวดภาษาและวรรณกรรม
3.  หมวดศิลปกรรมและโบราณคดี
4.  หมวดการละเล่น ดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจ
5.  หมวดชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการ

ขนบธรรมเนียมประเพณี
       ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่คนกลุ่มหนึ่งกำหนดถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียว ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาช้านานจนเป็นลักษณะเฉพาะของคนกลุ่มนั้นและยอมรับในสังคมมาจนถึงปัจจุบัน จำแนกออกได้ดังนี้
1. จารีตประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรมซึ่งมีค่าแก่ส่วนรวม เช่น ลูกต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าไม่เลี้ยงดูถือว่าเนรคุณหรืออกตัญญูต่อพ่อแม่
2. ขนบประเพณี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบประเพณี ขนบ แปลว่าระเบียบแบบแผน
เป็นประเพณีที่วางระเบียบพิธีการไว้ชัดแจ้ง หรือรู้กันเองและไม่ได้วางระเบียบแบบแผนไว้ว่าควรประพฤติ ปฏิบัติอย่างไร ได้แก่ บวชนาคแต่งงาน การตาย รวมทั้งเทศกาลต่างๆ เช่น ตรุษ สารท ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การไหว้ครู เป็นต้น
3. ธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญไม่มีผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี หรือไม่มีระเบียบแบบแผนอย่างขนบประเพณี ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ผิดอย่างไร แต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนขาดการศึกษาหรือไม่มีมารยาท เรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณี สรุปได้ว่า ขนบธรรมเนียม เป็นการปฏิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน ขนบธรรมเนียมนี้เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามกาลเวลาหรือความนิยม ส่วนประเพณี เป็นสิ่งที่สังคมยึดถือเป็นเรื่องของส่วนรวมที่ได้กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนและปฏิบัติสืบทอดต่ออันมาไม่ขาดสาย เปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าขนบธรรมเนียม

            ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของทุกชีวิตอย่างมากด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ศิลปวัฒนธรรมทั้งด้านดี และด้านที่ยังไม่ได้พัฒนาให้เหมาะสมจากทั่วทุกมุมโลกต่างหลั่งไหลเข้าสู่วงจรวิถีชีวิตของคนไทยอย่างขาดระบบและขาดขั้นตอนการรับที่มีแบบแผนเพียงพอ ยังผลให้เยาวชนของเราเกือบทั่วประเทศพากันนิยมชมชอบกับความแปลกใหม่
ของวัฒนธรรมต่างชาติและบางคนถึงกับดูหมิ่นหรือเกิดความอับอายในศิลปวัฒนธรรมของตนเองซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงใย เพราะการสูญเสียความเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของคนในชาติไปอย่างสิ้นเชิงนั้น นำไปสู่การล่มสลายของชาติ วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตที่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงในอดีตนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า มีการปรับปรน จนผสมกลมกลืนเป็นวัฒนธรรมเดียว แทบจะหารอยต่อระหว่างวัฒนธรรมเก่ากับวัฒนธรรมใหม่ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงแต่เดิมนั้นไม่ได้มีความขัดแย้งกันดังที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เห็นคุณค่าของเก่าและของใหม่ มีการสืบทอดคุณค่าดั้งเดิม ด้วยรูปแบบใหม่หลากหลายวิธี ซึ่งต้องไม่ทำลายคุณค่าเดิมแต่กลับทำให้เพิ่มคุณค่าขึ้น หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้ทำให้วัฒนธรรมเดิมนั้นลดคุณค่าลงไปในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาอิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติได้แผ่ขยายไปทั่วโลกแม้จะเป็นแผ่ขยายของเทคนิควิทยาการสมัยใหม่ และเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี อันจะนำไปสู่อนาคตที่เป็นสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารก็ตาม มีส่วนทำให้วัฒนธรรมไทย ค่านิยมของคนไทยต้องปรับเปลี่ยนสภาพตามไป ทำให้ขาดความเข้าใจและความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของไทยไปด้วยการหลงชื่นชมในวัฒนธรรมต่างชาติเช่นนี้เป็นต้นเหตุให้เกิดการเสื่อมสลายของศิลปวัฒนธรรมไทยไปในที่สุด

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
จากการศึกษาของนักวิชาการหลายแขนงพบว่า การเสื่อมสลายของศิลปวัฒนธรรม มีสาเหตุหลายประการคือ
 1.  ขาดความเข้าใจ และความภาคภูมิใจ ในศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นชนบทไทยทั่วประเทศ
 2.  ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและทางสังคม ในหลายช่วงทศวรรษ ต่อเนื่องกัน ทำให้สูญเสียดุลยภาพระหว่างคน สังคม สิ่งแวดล้อม
 3.  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจและสังคม
 4.  การขาดพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของพลเมืองส่วนใหญ่ ทำให้ไม่เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ ส่งเสริมฟื้นฟู และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาวบ้าน อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
 5.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติที่ฝืดเคือง มีผลโดยตรงต่อการจรรโลงศิลปวัฒนธรรมไทยให้มั่นคง ทำให้มีการขุดค้น ทำลาย หรือโจรกรรมโบราณวัตถุ
 6.  ขาดการพัฒนาทางด้านจิตใจ ยึดติดวัตถุนิ
 7.  รูปแบบของการประพฤติปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ยังไม่เป็นแบบอย่างที่ดี
 8.  ขาดความร่วมมือของคนในชาติ ในการรณรงค์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง
 9.  เกิดจากความล่าช้าของระบบราชการที่ไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมเศรษฐกิจ
 10.  คุณธรรม จริยธรรม บนพื้นฐานวัฒนธรรมพุทธเกษตร ที่เป็นลักษณะเฉพาะของคนไทยสั่นคลอน เนื่องจากอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ
 11.  เกิดจากวิกฤตการณ์ของระบบการศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะและความรู้ที่เป็นสากล แต่ขาดพื้นฐานดั้งเดิมมารองรับอย่างมั่นคง ไม่ให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างเหมาะสมกลมกลืน

ความหมายของวัฒนธรรมท้องถิ่น
 วัฒนธรรมท้องถิ่น  หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ดีงาม มีคุณค่าซึ่งคนในสังคมประพฤติปฏิบัติหรือแสดงออกมาช้านาน ใน 5 ด้าน คือขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อ ภาษาและวรรณกรรมศิลปกรรมและโบราณคดี การละเล่น ดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจ ชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการ (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ)

ความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น
วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นวิถีชีวิตของคนในแต่ละชุมชน ซึ่งเป็นมรดกสืบทอดต่อกันมา และทุกคน
ในท้องถิ่นย่อมมีความภูมิใจในการเป็นเจ้าของร่วมกัน ทำให้เกิดความรัก หวงแหน และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นตัวบ่งชี้ความสำคัญถึงวิถีชีวิตของคนในสังคมในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสืบต่อกันมา

ประโยชน์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น
 1. วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นเครื่องมือก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี เสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันตลอดจนการรวมกลุ่มรวมพลังสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ เช่นการทอดกฐิน การทอดผ้าป่า และการบุญทางศาสนา
 2. สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของกลุ่มชนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพและสิ่งแวดล้อมนั้นๆ โดยที่มีศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นตัวกำหนด
 3. ให้ความบันเทิงแก่กลุ่มชนในสังคม เช่น การฟังเพลง การร้องเพลง การแสดงมหรสพต่างๆตลอดจนพิธีกรรมที่เนื่องจากประเพณีเทศกาลต่างๆ
 4. เป็นเครื่องมือให้การศึกษา ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญยิ่งของชีวิต ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
ได้ทำหน้าที่ศึกษาและอบรมคนในสังคมโดยการสอนให้รู้จักผิดชอบ ตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม
และจริยธรรมต่างๆ และสอนให้ทุกคนประพฤติดีละเว้นประพฤติชั่ว เพื่อเป็นบรรทัดฐานทางสังคม
 5. เป็นเครื่องฝึกพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมให้แก่เยาวชนทั่วไป ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้มีส่วนช่วยที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของกีฬาและการเล่นของเด็กที่มุ่งเน้นให้เด็กออกกำลังกาย และบางอย่างยิ่งเน้นให้เด็กรู้จักสังเกตและมีไหวพริบ การเล่นบางอย่างฝึกพัฒนาการทางสังคม
 6. เป็นเครื่องมือการควบคุมทางสังคม การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอด และการที่มนุษย์จะอยู่ในสังคมได้จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์เพื่อเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันของสังคม


ลักษณะของวัฒนธรรมท้องถิ่น
         วัฒนธรรมท้องถิ่น มีลักษณะที่ขึ้นอยู่กับสภาพและสิ่งแวดล้อมทางสังคม แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
 1.  วัฒนธรรมท้องถิ่นในเมืองจากการที่สังคมในเมืองมีอัตราการเพิ่มประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประสบปัญหาทางด้านการดำเนินชีวิตและด้านการประกอบอาชีพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมในเมือง
 2.  วัฒนธรรมท้องถิ่นในชนบทปัจจุบันการดำรงชีวิตของคนในชนบทมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทันสมัย
มากขึ้น แต่ชีวิตส่วนใหญ่ของกลุ่มชนบทยังคงผูกพันอยู่กับอาชีพการเกษตร

วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของบุคคลนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้
 1.  ด้านสังคม ได้แก่สังคมเมือง และสังคมชนบท ปัจจุบันรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ วัฒนธรรมของท้องถิ่นจะช่วยคนในสังคมกระทำในสิ่งที่ดีงาม ละเว้นในสิ่งที่ไม่ควรกระทำ การปฏิบัติตมศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่นจะส่งผลให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
 2.  ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญของคนในประเทศและประเทศ ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม วัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบทจะมีผลต่อเศรษฐกิจประชาชนในเมืองและชนบทจะอยู่ในอิทธิพลของเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
 3.  ด้านการเมือง การเมืองมีผลต่อศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ดังนี้ปฏิบัติตัวตามกหมายของบ้านเมือง กฎของหมู่คณะ รวมทั้งระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ได้กำหนดขึ้นในสังคมนั้นๆ เคารพ
ต่อสิทธิ หน้าที่ของบุคคลอื่นและของตน รับผิดชอบต่อหน้าที่ตนต้องกระทำหรือได้รับมอบหมาย
อย่างเคร่งครัด และร่วมมือและประสานงานกับผู้อื่นและหมู่คณะ
 4.   ด้านการศึกษา การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวัฒนธรรมของท้องถิ่น และวัฒนธรรมของท้องถิ่นก็เป็นผู้กำหนดทิศทางของการศึกษาด้วยเช่นกัน ดังนี้ กำหนดวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นนั้น  กำหนดเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การสั่งสมปรับปรุงและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ให้กว้างขวางออกไป และทำให้เกิดการพัฒนาในทุกๆ ด้าน การศึกษาจึงถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการกำหนดการสืบทอด การอนุรักษ์ การพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน

คุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่น มีดังนี้
1.  คุณค่าทางการถ่ายทอดภูมิปัญญา เป็นการแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในท้องถิ่น ซึ่งแสดงออกทางด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ คติชีวิต เป็นต้น แสดงให้เห็นถึง อารยธรรม
ที่เจริญรุ่งเรือง
2.  คุณค่าทางสันทนาการ เรื่อง เช่น นิทาน คำกลอนต่าง ๆ นำมาขับขาน เป็นท่วงทำนองที่ไพเราะ
3.  คุณค่าในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
4.  คุณค่าในการอบรมสั่งสอน มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่มีเนื้อหาในการสั่งสอนให้คติเตือนใจ ให้แนวทางในการดำรงชีวิตให้มีความสุข อันเป็นคำสอนที่อิงหลักพุทธศาสนาแทรกอยู่ในวรรณกรรมอย่างแยบยล มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม ผู้ฟังจึงได้รับทั้งความบันเทิงและความคิดที่ดีงามไปในขณะเดียวกัน
5.  คุณค่าในทางประวัติศาสตร์
6.  คุณค่าด้านศาสนา วรรณกรรมเป็นสื่อถ่ายทอดคำสอนและปรัชญาทางศาสนา ให้เผยแพร่สู่ประชาชนได้กว้างขวางทำให้ประชาชนมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ ได้ข้อคิดในการดำรงชีวิต เช่น มหาชาติ และนิทานชาดก
7.  คุณค่าด้านเศรษฐศาสตร์
8.  คุณค่าด้านการศึกษา
          ปัจจุบันประชาชนได้รับการศึกษามากขึ้น ทำให้มีความเชื่อในหลักของเหตุผลมากยิ่งขึ้น ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี การคมนาคม การสื่อสารสามารถทำได้สะดวก และรวดเร็ว ทำให้การรับวัฒนธรรมของชาวต่างชาติมายังท้องถิ่นของตนได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น เกิดการละเลยศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามและความเชื่อของท้องถิ่น

          ดังนั้นเยาวชนทุกคนควรให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อของท้องถิ่นรักษาเอกลักษณ์
ของท้องถิ่น ดังนี้
1.  สนับสนุนเงินหรืออื่นๆ กับผู้มีความรู้ ความสามารถ 
2.  ยกย่องเชิดชูผู้สืบทอด
3.  จัดเก็บข้อมูล      
4.  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
5.  นำเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
6.  ส่งเสริมและสนับสนุนในด้านที่เป็นความดี ความเป็นเอกลักษณ์และเป็นแบบอย่างที่ดี
วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นเกิดขึ้นจากครอบครัวเป็นจุดแรกขณะเดียวกันก็จะได้รับอิทธิพลจากศิลปวัฒนธรรมภายนอกควบคู่กันไปด้วย

เอกสารอ้างอิง  กนกพรสุขสาย  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม : 
                    โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช  600 ถนนสรรพสิทธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

นักเรียน ควร ปฏิบัติ อย่างไร เกี่ยวกับ ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ของตนเอง

แหล่งอ้างอิง