เลือกตั้งผู้ว่า ก ทม อายุ เท่า ไหร่

“ทำงาน ทำงาน ทำงาน” คือ สโลแกนของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” อดีตรัฐมนตรีที่ชาวโซเชียลมีเดียตั้งฉายาให้ว่า เป็นคนที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี แม้สโลแกนและภาพลักษณ์ของเขา อาจจะดูเข้าถึงง่าย ติดดิน หรือ ดูธรรมดา ๆ ไม่หวือหวา แต่ก่อนที่เขาจะกลายเป็น ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17 เส้นทางชีวิตของเขานับว่าโดดเด่น เป็นที่จับตามองของใครหลาย ๆ คนมากทีเดียว

รู้จัก "ฉันชาย สิทธิพันธุ์" พี่ชายฝาแฝดชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ โปรไฟล์ไม่ธรรมดาทั้งบ้าน

"ชัชชาติ-อัศวิน-วิโรจน์-สุชัชวีร์"  เข้าคูหาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

"ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้สมัครอิสระ ชูนโยบาย PDGE แก้ปัญหากทม.

เลือกตั้งผู้ว่า ก ทม อายุ เท่า ไหร่

กว่าที่ ชัชชาติ จะมีกลุ่มแฟนคลับอันล้นหลาม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ครั้งหนึ่งเขาเคยติดโพล รัฐมนตรีที่โลกลืม มาก่อน ทั้งที่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่โชคชะตาพลิกพลัน เพราะรูปถ่ายถือถุงแกง ใส่ชุดวิ่ง เดินเท้าเปล่า ระหว่างรอใส่บาตรที่วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้โด่งดังบนโลกโซเชียล

จังหวะนี้ ชัชชาติ ได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์สื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ไม่เพียงเท่านั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 2 ปี นับตั้งแต่แยกออกมาเป็นอิสระในปี 2562 จนถึงปี 2565 เปิดตัวลงสมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ยังพยายามสำรวจกรุงเทพมหานครมาแล้วทุกมิติ เกิดเป็นนโยบาย 200 + ที่ทำให้กรุงเทพมหานครน่าอยู่สำหรับทุกคน และครองใจคนทั่วกรุงเทพมหานคร

 

ชัชชาติ คือ ใคร?

สำหรับประวัติ ชัชชาติ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2509  ปัจจุบันอายุ 56 ปี เป็นบุตรของ พล.ต.อ. เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับ จิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม : กุลละวณิชย์)

มีพี่น้องอีก 2 คนคือ ดร.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อีกคนคือ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ พี่ชายฝาแฝด ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เลือกตั้งผู้ว่า ก ทม อายุ เท่า ไหร่

การศึกษา

  • ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  • ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2530

 

ชีวิตสมรส

ชัชชาติ สมรสกับ ปิยดา อัศวฤทธิภูมิ พนักงานการบินไทย มีบุตรชายหนึ่งคน คือ แสนปิติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญสำหรับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้ว่าฯ กทม. เพราะเขาอยากให้ลูกชายเพียงคนเดียวของเขา มีคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองกรุงเทพมหานครนี้

 

การทำงาน

ชัชชาติ ก้าวเข้ามาช่วงงานให้คำปรึกษากับกระทรวงคมนาคม ในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร ในฐานะนักวิชาการ โดยไม่มีตำแหน่งทางการเมือง จนกระทั่งปี 2555 ได้รับทาบทามจาก นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนมกราคม 2555 และในช่วงเดินตุลาคม ปีเดียวกันก็มีการปรับคณะรัฐมนตรี ทำให้ ชัชชาติ ได้รับตำแหน่งสูงขึ้นเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม

วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ชัชชาติ เป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมกับบรรดาแกนนำและตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาทางออกประเทศ ที่จัดขึ้นโดยกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.)

วันที่ 27 กันยายน 2560 รัฐบาลทหารได้ตั้งเขาเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ชัชชาติชี้แจงว่าไม่ทราบเรื่องมาก่อน และยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกรรมการในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เลือกตั้งผู้ว่า ก ทม อายุ เท่า ไหร่

การลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.

เมื่อปี 2562 ชัชชาติ ประกาศว่า เขาตั้งใจจะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามอิสระ โดยเน้นนโยบายด้านคน ระบบเส้นเลือดฝอย สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ชัชชาติได้เปิดตัวลงสมัครอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อการรณรงค์หาเสียงว่า "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" โดยมีนโยบายสำคัญ อาทิ การสร้างเครือข่ายแผนที่จุดเสี่ยงอาชญากรรม พัฒนาระบบขนส่งมวลชน สร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองแห่งศิลปะและการเรียนรู้ เป็นต้น ทั้งนี้ พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ก็เป็นหนึ่งในทีมงานของชัชชาติด้วย

ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันเปิดรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติขี่จักรยานจากบ้านพักมาถึงศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ตั้งแต่เวลา 06.00 น. และจับสลากได้หมายเลข 8

คนกรุงเทพฯ ได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ ของตัวเองครั้งสุดท้ายเมื่อไร จำได้ไหม? 9 ปีแล้วที่คนกรุงเทพฯ ไม่ได้เลือกตั้ง เหตุสืบเนื่องจากอะไรจำได้หรือไม่?

ย้อนไปในปี 2559 ราว 2 ปี หลังการรัฐประหารของ คสช. มีคำสั่งหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญชั่วคราวออกมาในเดือนสิงหาคม ระงับการทำหน้าที่ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่ากทม.ในขณะนั้น จากนั้นในเดือนตุลาคมได้มีคำสั่งหัวหน้า คสช.อีกฉบับตั้งรองผู้ว่าฯ อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ แทน

หากดูสถิติจะพบว่า ตั้งแต่ปี 2557-2562 มีการใช้คำสั่งหัวหน้าคสช. 212 ฉบับ ในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 34 ฉบับที่เป็นคำสั่งปลด-โยกย้าย-แต่งตั้งใหม่-ระงับการปฏิบัติหน้าที่-ขยายเวลาปฏิบัติหน้าที่ รวมแล้วเกือบ 500 ตำแหน่ง แบ่งเป็นกรรมองค์กรอิสระ 3 ตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด 11 ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน 24 ตำแหน่ง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลายระดับ 300 กว่าตำแหน่ง ฯลฯ

นับเป็นการโยกย้ายข้าราชการจำนวนมหาศาล ตามอำเภอใจ ของ คสช.เนื่องจากไม่มีใครทราบเหตุผลหลักเกณฑ์ หากดูเฉพาะ ‘กรณีตรวจสอบการทุจริต’ จะพบว่า มีคำสั่งอยู่ 6 ฉบับ ครอบคลุมคนกว่า 200 ตำแหน่ง รวมถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ด้วย และจนบัดนี้ก็ไม่มีใครทราบผลการตรวจสอบ

สายธารอำนาจของ คสช.ไหลจากคำสั่งคณะผู้ยึดอำนาจมาสู่กฎหมายปกติด้วย คือ แทนที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ จะเป็นไปตามวาระ 4 ปี พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 ที่ออกโดยสภานิติบัญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้บัญญัติให้อำนาจการกำหนดวันเลือกตั้ง อปท.ทั้งหลายรวมถึงกรุงเทพมหานคร อยู่ในมือของ คสช. และกรณีที่ไม่มี คสช.แล้ว ให้อำนาจตัดสินใจนั้นอยู่ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้น ผู้กุมชะตากรรมว่าคนกรุงเทพ 5 ล้านกว่าคนจะมีสิทธิมีเสียงเมื่อไหร่ก็คือ ครม.รัฐบาลประยุทธ์

ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกเป็นนายกฯ จากรัฐสภาซึ่งมีส.ส.จากการเลือกตั้ง และส.ว.จากการแต่งตั้ง เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ผ่านมาเกือบ 3 ปี จึงเริ่มทนแรงเสียดทานไม่ไหว กำหนดให้มีการเลือกตั้ง อบจ.เมื่อปลายปี 2563 และเลือกตั้ง อบต.เมื่อปลายปี 2564 และล่าสุด กำหนดแล้วว่า จะมีการเลือกตั้ง กทม.-พัทยา ในวันที่ 22 พ.ค.2565

ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่น่าจับตา เปิดตัวแล้วอย่างน้อย 6 คน คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ, วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคก้าวไกล, สุรัชชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์, สกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าฯ กทม., รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ, ประยูร ครองยศ จากพรรคไทยศิวิไลซ์

มีการวิเคราะห์กันมากมายว่า ‘คนกรุงเทพฯ’ ซึ่งเป็นพลังคนชั้นกลางที่มักเสียงดังกว่าใคร จะเทคะแนนไปให้ผู้สมัครคนไหนโดยมีหลากหลายเหตุปัจจัย ทั้งตัวผู้สมัคร นโยบาย รวมถึงพรรคที่สังกัดหรือลงแบบอิสระ 

แต่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและอาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการวิเคราะห์ หนีไม่พ้น ‘วัย’ วัยที่แตกต่างก็นำมาซึ่งวิธีคิดทางการเมืองที่แตกต่าง ความไวต่อการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งต่างๆ ที่แตกต่าง ความจงรักภักดีต่อพรรคที่แตกต่าง ฯลฯ 

‘วอยซ์’ ชวนสำรวจประชากรกรุงเทพฯ โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของกระทรวงมหาดไทย อัพเดทล่าสุดในเดือนธันวามคม 2564 ซึ่งจำแนกไว้อย่างละเอียดว่าประชากรที่มีทะเบียนราษฎรใน กทม. แต่ละขวบปีมีอยู่จำนวนเท่าใด โดยเลือกนำเสนอตั้งแต่ 18 ปี ซึ่งจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกไปจนถึง 85 ปี โดยพบว่ามีอยู่ 4,410,206 คน หากแบ่งตามเจนซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันจะพบว่า

Gen Z  (อายุ 18-24 ปี) มีจำนวน 464,463 คน 

Gen Y หรือ Millenials (อายุ 25-40 ปี) มีจำนวน 1,249,543 คน 

Gen x (อายุ 41-56) ปี มีจำนวน 1,81,562 คน 

Baby Boomer (อายุ 57-75 ปี) มีจำนวน 1,114,963 คน 

Silent Generation (อายุ 76-85 ปี) มีจำนวน 199,675 คน 

แม้ กกต.ยังไม่ได้ประกาศตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งรอบนี้อย่างเป็นทางการ แต่จำนวนก็น่าจะอยู่ราวๆ นี้ ทั้งนี้ ในปี 2556 ซึ่งมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์คว้าชัยชนะ ก็จะพบว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีอยู่ 4,244,465 คน และคน กทม.มาเลือกตั้งกัน 63.98%

อายุ 18 ไม่ไปเลือกตั้งได้ ไหม

ไทย กำหนดไว้ที่ 18 ปี โดยเป็นผู้มีสัญชาติตั้งแต่เกิดหรือแปลงสัญชาติมาไม่น้อยกว่า 5 ปี

เลือกตั้งอายุกี่ปี

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือแปลงสัญชาติเป็นไทยมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง

ผู้ มา ใช้ สิทธิ เลือกตั้ง ผู้ ว่า ก ทม กี่ คน

2. ผู้มาใช้สิทธิ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาแสดงตนขอรับบัตรเลือกตั้ง จำนวน 2,673,696 คน ร้อยละของผู้มาใช้สิทธิ 60.73. เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ เขตทวีวัฒนา ร้อยละ 67.65. เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด คือ เขตดุสิต 45.82.

เลือกตั้งผู้ว่ากทมปี 65 วันไหน

วันที่ 16 พ.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. เป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร