แรงดันไฟฟ้า เกิน ได้ เท่า ไหร่

แรงดันไฟฟ้า เป็นหน่วยวัดที่ใช้ในการวัดแรงดันที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปตามตัวนำไฟฟ้า เช่น สายไฟ ซึ่งมีหน่วยนับเป็น โวลต์ (Voltage) และที่เราเห็นบ่อย ๆ จะย่อด้วยสัญลักษณ์ V เช่น  220V เป็นต้น

Show

แต่ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เรามารู้จักตัวแปรอื่นๆ คร่าวๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงดันไฟฟ้าก่อนนะครับ

  • โวทท์ (Voltage) หรือ V คือหน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า
  • แอมแปร์ (Ampare) หรือ A เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า
  • วัตต์ (Watt) หรือ W เป็นช่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้งานจริง
  • ความถี่ (Hertz) หรือ Hz เป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้า

ตัวอย่าง เตารีดชนิดหนึ่ง ใช้ไฟฟ้า 220V กำลังไฟ 2000W หมายความว่า เตาอบชิ้นนี้ต้องใช้ไฟฟ้าที่มีแรงดัน 220V และกินไฟฟ้า 2000W ตลอดเวลาที่ใช้งาน

ประเภทของแรงดันไฟฟ้า

1. ไฟฟ้าแรงสูง

เมื่อพูดถึงไฟฟ้าแรงสูง ทุกคนอาจจะติดว่ามันคงเป็นไฟฟ้าเหมือนกันวิ่งตามสายไฟมาเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีค่าแรงดันไฟฟ้าสูงกว่าไฟฟ้าตามบ้านเป็นอย่างมาก และผ่านการแปลงด้วยหล้อแปลงไฟฟ้าตามจุดต่างๆ จนลดลงเหลือ 220V ที่ใช้งานตามบ้านทั่วไป

การส่งไฟฟ้ามาในระยะทางไกลๆ จากโรงไฟฟ้า เป็นร้อยๆ กิโลเมตร จำเป็นจะต้องส่งไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงออกมา เพราะไฟฟ้าที่มีแรงดันมากๆ จะสามารถเดินทางไปในระยะทางที่ไกลและลดการสูญเสียไฟฟ้าได้ดีกว่า

ไฟฟ้าแรงสูงจะมีอยู่หลายระดับแรงดันไฟฟ้า ตามรายละเอียดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีดังนี้

  • 500 กิโลโวลต์ (500KV)
  • 230 กิโลโวลต์ (230KV)
  • 115 กิโลโวลต์ (115KV)
  • 69 กิโลโวลต์ (69KV)

ซึ่งจุดสังเกตคือยิ่งเสาที่มีขนาดสูงมากก็ยิ่งเป็นเสาไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้ายิ่งมาก และสายไฟฟ้าบนเสา ก็ไม่ควรไปเข้าใกล้อย่างมาก เพราะเป็นอันตราย โดยควรอยู่ห่างจากสายอย่างน้อย 4 เมตร

2. ไฟฟ้า 3 เฟส (ไฟฟ้าโรงงาน)

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส จะมีสายไฟในระบบถึง 4 เส้น ซึ่งสายไลน์กับไลน์ในจะมีแรงดังไฟฟ้า 380-400 V และสายไลน์กับสายนิวทรอลมีแรงดันไฟฟ้า 220-230V มีความถี่ที่ 50Hz และสายนิวทรอลที่ไม่มีไฟอีก 1 เส้น

ซึ่งระบบไฟฟ้า 3 เฟานี้ จะเหมาะสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโรงงาน ที่ใช้กับเครื่องจักรอุตสาหกรรมโรงงาน เพราะเครื่องจักรเหล่านี้ใช้แรงดันไฟฟ้าสูงกว่าปกติ และมีการเปิดการใช้งานแบบต่อเนื่อง พร้อมๆ กัน

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ก็สามารถติดตั้งภายในบ้านได้ แต่จะต้องแบ่งใช้ไฟฟ้า เป็น 3 ชุด ชุดละ 1 เฟส กระจายไปตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน ทำให้สามารถใช้งานภายในบ้านได้ แต่การขอใช้งานไฟฟ้า 3 เฟส จะมีขั้นตอนค่อนข้าง เยอะ และมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ระบบไฟฟ้า 1 เฟส

3. ไฟฟ้า 1 เฟส (ไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป)

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้า 220-230V มีความถี่ที่ 50Hz โดยจะมีสายไฟอยู่ 2 เส้น คือสายเฟสหรือสายไฟ และสายนิวทรอล ซึ่งการใช้งาน เราจะต้องเสียบให้ครบทั้ง 2 ช่อง และสายไฟที่ใช้งาน 2 เส้น ถึงจะใช้งานได้

การติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส สามารถขอติดตั้งได้ง่าย และมีค่าใช้จ่ายไม่แพงนัก จึงเป็นที่นิยมในการติดตั้งภายในบ้านเรือนทั่วไป

สินค้าแนะนำ

แรงดันไฟฟ้า เกิน ได้ เท่า ไหร่

กล่องพลาสติกใส่ปุ่มกดสวิทช์

กล่องสวิทช์ กล่องพลาสติกใสปุ่มกดสวิทช์ (Switch Box – Push Button Box) จำหน่ายกล่องสวิทช์ กล่องพลาสติกใส่ปุ่มกดสวิทช์ ทำจากพลาสติก ABS มีความทนทานสามารถใช้งานได้ง่าย นิยมใช้เป็นกล่องควบคุม กล่องใส่สวิทช์…

แรงดันไฟฟ้า เกิน ได้ เท่า ไหร่

กล่องเทอร์มินอลอลูมิเนียม

กล่องเทอร์มินอล อลูมิเนียม (Aluminum Terminal Box) เราจำหน่าย กล่องเทอร์มินอล อลูมิเนียม (Aluminum Terminal Box) ตัวกล่องทำจากอลูมิเนียมอย่างดี เหมาะสำหรับใช้เป็นจุดพักสายไฟ จุดเชื่อมต่อวงจร ที่มีความทนทาน…

แรงดันไฟฟ้า เกิน ได้ เท่า ไหร่

ตู้พักสายไฟพลาสติกกันน้ำ ชนิดหูสแตนเลส

ตู้พักสายไฟพลาสติก กันน้ำชนิด หูสแตนเลส (Plastic Enclosue Hinge + Latch Type) เราจำหน่าย ตู้สายไฟกันน้ำพลาสติก ชนิดสหูสแตนเลส (Plastic Enclosure with Stainless…

แรงดันไฟฟ้า เกิน ได้ เท่า ไหร่

ตู้โพลีเอสเตอร์ (Polyester Enclosure)

นิยมใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม,โซล่าเซลล์ โซล่าฟาร์ม,ผู้รับเหมาไฟฟ้า,เครื่องจักรอุตสาหกรรม,ผู้ประกอบตู้สวิสต์บอร์ด

ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงจะสามารถส่งกระแสไฟฟ้าไปได้ในระยะทางที่ไกล และมีการสูญเสียทางไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ ดังนั้นการส่งกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องส่งด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูงแทบทั้งสิ้น




แรงดันไฟฟ้า เกิน ได้ เท่า ไหร่

ไฟฟ้าแรงสูงมีอันตรายอย่างไร

เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูง มีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมากเมื่อเทียบกับไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป (220โวลต์) ไฟฟ้าแรงสูงจึงสามารถที่จะกระโดดข้ามอากาศ หรือฉนวนไฟฟ้าเข้าหาวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือแตะสายไฟหากวัตถุนั้น อยู่ภายในระยะอันตรายที่ไฟฟ้าแรงสูง สามารถกระโดดข้ามได้ ระยะอันตรายนี้จะขึ้นอยู่กับ ระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงโดยแรงดันยิ่งสูงระยะที่ไฟฟ้าสามารถกระโดดข้ามได้ก็จะยิ่งไกล ไฟฟ้าแรงสูงจึงมีอันตรายมากซึ่งสถิติผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงนั้นมีผู้เสียชีวิตบาดเจ็บและทุพพลภาพประมาณปีละเกือบ 100 คน


ทราบได้อย่างไรว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง

เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงมีระยะอันตรายที่จะกระโดดข้ามได้ ดังนั้น จึงต้องมีการจับยึดสายไฟฟ้าด้วยวัสดุ ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ในจำนวนที่พอเหมาะ กับไฟฟ้าแรงสูงนั้น ฉนวนไฟฟ้าที่ใช้กัน ส่วนใหญ่จะทำด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นชั้น ๆ มีรูปร่างเหมือนชามคว่ำที่เรียกว่าลูกถ้วย ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงได้จากการยึดสายไฟฟ้าด้วยลูกถ้วยเป็นชั้น ๆ ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วยจะบ่งบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงนั้น วิธีสังเกตว่าเป็นไฟฟ้าแรงสูงอีกอย่างหนึ่ง ก็คือระดับความสูงของสายไฟ สายไฟฟ้าแรงสูงมักจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป สายไฟฟ้าที่อยู่สูงกว่ามักจะมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่าสายไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า

แรงดันไฟฟ้า เกิน ได้ เท่า ไหร่

สายไฟฟ้าแรงสูงจะมีฉนวนหุ้มอยู่หรือไม่

สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือหากมีฉนวนหุ้ม ก็จะหุ้มบางๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือแตะต้อง การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนา มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (Shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีสายมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้

ระบบไฟฟ้าแรงสูง มีระดับแรงดันไฟฟ้าเท่าใด

ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง ปัจจุบันจ่ายด้วยระบบแรงดันไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 12,000 โวลต์ ถึง 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่ และมีการจ่ายด้วยระบบ 230,000 โวลต์อยู่บ้าง การเรียกระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงมักจะเรียกเป็นหน่วยของพันโวลต์ว่า เควี หรือกิโลโวลต์ เช่น 12,000 โวลต์ จะเรียกว่า 12 เควี หรือ12 กิโลโวลต์ เป็นต้น



การไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงไว้อย่างไร

สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าไปตามถนนหรือทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้ม หรือหากมีฉนวนหุ้ม ก็จะหุ้มบางๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือแตะต้อง การหุ้มฉนวนที่ปลอดภัยนั้นจะต้องมีฉนวนที่หนา มีการพันทับด้วยสายชีลด์ (Shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีสายมีน้ำหนักมากจึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้


    • 1

      ระยะห่างระหว่างสายกับ อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณา
    • มาตรฐานระยะห่างในแนวนอนที่ปลอดภัยระหว่าง อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง หรือป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าแรงสูงมีการกำหนดไว้ดังนี้

       

      ขนาดแรงดันไฟฟ้า (โวลต์)ระยะห่างจากสายไฟฟ้าในแนวนอนไม่น้อยกว่า (เมตร)อาคาร/ระเบียงป้ายโฆษณา12,000 - 24,0001.801.5069,0002.131.80115,0002.302.30

       

      หมายเหตุ
      ระยะดังกล่าวไม่ครอบคลุมการทำงานนอกตัวอาคาร หรือบนระเบียงเปิดที่อาจมีการยื่นวัตถุออกนอกตัวอาคาร ซึ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยสำหรับการทำงาน หรือจะต้องมีการหุ้มหรือคลุมสายเพื่อความปลอดภัย

    • 2

      ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องมือกล
      มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยของการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับบุคคลหรือผู้ที่ปฏิบัติงานรวมถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด เช่น ปั่นจั่นรถเครน หรือวัตถุที่ถืออยู่ในมือ จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่าระยะดังต่อไปนี้
    •  

      ขนาดแรงดันไฟฟ้า (โวลต์)ระยะห่างที่ปลอดภัย (เมตร)12,000 - 69,0003.05115,0003.20230,0003.90

       

      หมายเหตุ
      1. สายไฟฟ้าบางชนิดที่มีการหุ้มฉนวนเป็นพิเศษอาจมีระยะห่างต่ำกว่ามาตรฐานได้ ขอให้ปรึกษาการไฟฟ้านครหลวง
      2. หากบริเวณที่ต้องการปฏิบัติงานมีระยะห่างที่ต่ำกว่ามาตรฐานจะต้องแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการหุ้มหรือ คลุมสายก่อนลงมือทำงาน


สายไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีระดับแรงดันเท่าใด



วิธีสังเกตง่าย ๆ ก็คือการนับจำนวนชั้นของลูกถ้วย หรือที่ใช้ยึดจับสายไฟฟ้าอยู่ดังนี้

จำนวนชั้นของลูกถ้วยคว่ำ (ชั้น)แรงดันไฟฟ้า (โวลต์)2 - 312,000 - 24,000469,0007115,00014230,000

อีกวิธีหนึ่ง ก็คือ ให้สังเกตจากความสูงของสายไฟฟ้า เทียบกับอาคาร

ระดับความสูงของสายไฟแรงดันไฟฟ้า (โวลต์)อาคารชั้นที่ 2 - 312,000 - 24,000อาคารชั้นที่ 4 - 569,000 - 115,000อาคารชั้นที่ 6 ขึ้นไป230,000

ในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงนั้น ลักษณะงานที่มักเกิดอุบัติภัยจากไฟฟ้าแรงสูง ได้แก่

    •  

      งานก่อสร้าง เช่น งานก่อสร้างอาคาร สะพานลอย ทางด่วน งานซ่อมและปรับปรุงสาธารณูปโภคต่าง ๆ

    •  

      งานตอกเสาเข็ม ปั้นจั่น รถเครน เป็นต้น

    •  

      งานติดตั้ง เช่น งานติดตั้งป้ายโฆษณา เสาอากาศทีวี เหล็กดัด กระจก อะลูมิเนียม ไฟประดับ เป็นต้น



ข้อควรระวังในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง


    • 1

      ห้ามทำนั่งร้านค้ำหรือคร่อมใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่มีฉนวนปิดคลุมขณะที่ทำการก่อสร้าง หรือติดตั้งป้ายโฆษณา

    • 2

      ห้ามทำงานใกล้สายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงในขณะที่มีฝนตก ฟ้าคะนอง

    • 3

      ห้ามฉีดพ่น เท หรือราดน้ำใด ๆ ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ดังนี้

      •  

        การรดน้ำต้นไม้

      •  

        การฉีดน้ำด้วยสายยาง
      •  
      •  

        การต่อท่อน้ำทิ้งที่ไหลออกจากระเบียงหรือกันสาด ทำให้ลำน้ำเข้าใกล้หรือกระทบเสาไฟ

      •  

        ละอองน้ำจากเครื่องหล่อเย็น (Cooling Tower) ที่ใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศ หรือระบายความร้อนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ละอองน้ำ มักจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ทำให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วที่ฉนวนไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณ กว้าง ในบางกรณีอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดได้ด้วย

    • 4

      ห้ามสอยสิ่งใด ๆ ทุกชนิดที่ติดอยู่ที่สายไฟฟ้าแรงสูง เช่น ว่าว สายป่าน ลูกโปร่งสวรรค์ เป็นต้น

    • 5

      ห้ามจุดไฟเผาขยะ หรือหญ้ารวมทั้งการทำอาหารทุกชนิด เช่น การปิ้ง ย่าง ผัด หรือทอดที่ทำให้ความร้อนและควันไฟรม หรือพ่นใส่ สายไฟฟ้า หรือฉนวนไฟฟ้าแรงสูง เพราะจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ทำให้มีไฟฟ้ารั่วและเกิดลัดวงจร จนไฟฟ้าดับเป็นบริเวณ กว้าง และในบางกรณีอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดด้วย

    • 6

      ห้ามจับดึง หรือแกว่งลวดสลิงเหล็กที่ใช้ยึดโยงเสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณโคนเสาไฟฟ้าเพราะอาจจะแกว่งไปกระทบสายไฟฟ้าแรง สูงทำให้มีไฟรั่วลงมา หรือทำให้สายไฟแรงสูงขาดได้

    • 7

      ห้ามไต่หรือขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าทุกชนิด ทุกกรณี

    • 8

      ห้ามยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือนำวัสดุอื่นใดเข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงมากกว่าระยะที่กำหนด

    • 4

      ไม่ควรติดตั้ง เสาอากาศโทรทัศน์ ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะนอกจากจะทำให้รับสัญญาณได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากมีสัญญาณ รบกวนแล้ว ยังเกิดอุบัติเหตุ ถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดในระหว่างทำการติดตั้งอีกด้วย และในวันข้างหน้าหากเสาอากาศล้มลง มาแตะสาย ไฟฟ้าแรงสูงด้วยลมพายุหรือด้วยเหตุอื่นใด นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านจะชำรุดแล้วบุคคลภายในบ้านอาจได้รับอันตราย และ ยังทำให้มีไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างอีกด้วย

    • 10

      ผู้เป็นเจ้าของป้ายชื่อสถานที่ประกอบการ ที่ติดตั้งตามอาคารและผู้ดำเนินการติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่บนดาดฟ้าอาคาร หรือ ริมถนนใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ต้องหมั่นดูแล ตรวจสอบความแข็งแรงของฐานและโครงเหล็กที่ใช้ติดตั้งป้ายโฆษณา

    • 11

      การก่อสร้างอาคาร บ้านพักอาศัย และปลูกต้นไมต้องห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงตามระยะที่กำหนด เพื่อป้องกันมิให้สัมผัสกับสาย หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

    • 12

      ควรระมัดระวัง เครื่องมือกลทุกชนิดที่ใช้งานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ งานปรับปรุงหรือก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เข้าใกล้สาย ไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าระยะที่กำหนด

    • 13

      ควรระมัดระวังผ้าคลุมกันฝุ่นระหว่างทำการก่อสร้าง มิให้ปลิวมาสัมผัสสายไฟฟ้า

    • 14

      กิ่งไม้ ที่แตะสายไฟฟ้าจะทำให้มีไฟรั่วลงมาตามกิ่งไม้ ทำให้อาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้ารั่วได้ จึงต้องระมัดระวังคอยดูแลตัดแต่ง กิ่งไม้ไม่ให้เข้าใกล้สายไฟฟ้าเกินระยะที่กำหนด

    • 15

      เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ผู้ที่จะใช้เครื่องมือดับเพลิง ควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือดับเพลิงว่าเป็นชนิดที่ใช้ดับเพลิง ซึ่งเกิดกับ สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหรือไม่ และระยะห่างเท่าใด

    • 16

      ควรติดตั้งป้ายหรือสัญญาณเตือนภัยแสดงเขตอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงเสมอ

    • 17

      ก่อนที่จะขุดเจาะ หรือตอกปักวัตถุใด ๆ เช่น แท่งโลหะลงในดิน จะต้องแน่ใจเสียก่อนว่า ไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูงอยู่ใต้พื้นดินนั้น มิฉะนั้นท่านอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงได้

    • 18

      ห้ามยิงนกหรือสัตว์ที่เกาะบนสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะสายจะขาดตกลงมา ทำให้ผู้คนและตัวท่านเองได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง

    • 19

      หากต้องการให้การไฟฟ้านครหลวง หุ้มสายไฟฟ้าแรงสูง ในกรณีที่จำเป็นต้องทำงานใกล้สายไฟฟ้า ท่านสามารถติดต่อได้ที่การ ไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ
    •  


แรงดันไฟฟ้า เกิน ได้ เท่า ไหร่

ข้อควรระวังอันตรายจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด



    • 1

      หลีกเลี่ยงการยืนอยู่ที่โคนเสาไฟฟ้าหรือใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงในขณะที่มีฝนตก ฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและสาย ไฟฟ้าแรงสูงขาด

    • 2

      การเล่นว่าวใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง เมื่อว่าวติดสายไฟการดึงสายป่านจะทำให้สายไฟแกว่งเข้าหากัน และเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้สาย ไฟฟ้าแรงสูงขาดตกลงมาได้

    • 3

      กิ่งไม้ที่แตะ และเสียดสีกับสายไฟฟ้าแรงสูงนอกจากจะมีไฟฟ้าวิ่งลงมากับต้นไม้แล้ว ยังอาจทำให้มีไฟฟ้าดับหรือสายไฟฟ้าแรงสูง ขาดตกลงมาได้

    • 4

      เมื่อพบว่ามีสายไฟฟ้าแรงสูงขาด ให้ดำเนินการดังนี้

      •  

        หลีกเลี่ยงอย่าเข้าใกล้หรือกันคนไม่ให้เข้าใกล้สายไฟฟ้า

      •  

        อย่าพยายามจับหรือใช้วัสดุเขี่ยสายไฟเป็นอันขาด ท่านอาจได้รับอันตราย

      •  

        โทรศัพท์แจ้งการไฟฟ้านครหลวงหรือหน่วยงานสาธารณภัยที่สะดวกที่สุด

    • 5

      ถ้าสายไฟฟ้าแรงสูงขาด และพาดอยู่กับรถยนต์ที่ขับหรือจอดอยู่มีข้อแนะนำดังนี้

      •  

        อย่าพยายามลงจากรถจนกว่าจะแน่ใจว่า ไม่มีสายไฟฟ้าแรงสูงพาดอยู่กับรถหรือมีสายไฟฟ้าพาดอยู่บนพื้นดินที่เปียกอยู่

      •  

        ขับรถให้พ้นจากสายไฟฟ้าแรงสูงที่พาดอยู่นั้น ถ้าสามารถทำได้

    • 6

      หากสายไฟฟ้าแรงสูงขาดตกน้ำให้หลีกเลี่ยงให้พ้นจากบริเวณที่มีน้ำให้มากที่สุด แล้วแจ้งการไฟฟ้านครหลวงพร้อมกับกันคนไม่ให้เข้า ใกล้น้ำ

    • 7

      หากพบว่ามีเสียงดังคล้ายเลียงผึ้งบินบริเวณอุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าแรงสูงบนเสาไฟฟ้า ให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวง ที่ใกล้ที่สุด เพื่อ ดำเนินการแก้ไข

      แรงดันไฟฟ้าเกินมีกี่แบบ

      แรงดันเกินชั่วครู่ (Transient Overvoltage) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะของการเกิด แรงดันเกินในระบบไฟฟ้าก าลัง ซึ่งประกอบด้วยแรงดันเกินภายนอก (External Overvoltage) และ แรงดันเกินภายใน (Internal Overvoltage)

      ไฟฟ้าปกติ กี่โวลต์

      ไฟบ้านในประเทศไทยจะจ่ายเป็นกระแสสลับที่ความถี่ 50 เฮิรตซ์ เป็นคลื่นโค้งsine wave โดยมีแรงดันประมาณ 220 ถึง 240VAC โวลต์RMS, และมีแรงดันโวลต์พีค 311Vp ถึง 339Vp เป็นแรงดันที่สุดยอดโค้งของคลื่น ส่วนในต่างประเทศจะใช้ความถี่และแรงดันที่แตกต่างกันออกไป เช่น สหรัฐอเมริกาใช้กระแสสลับ 60 เฮิรตซ์ แรงดัน 110 โวลต์ เป็นต้น สาเหตุ ...

      แรงดันไฟฟ้าสูงเกินไป คืออะไร

      เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงเป็นไฟที่สามารถผ่านอากาศเข้าหาวัตถุได้โดยที่วัตถุนั้นไม่ต้องมาโดนสายไฟ หากอยู่ภายในระยะแรงดันไฟฟ้าก็สามารถเป็นอันตรายได้แล้ว ยิ่งมีระยะแรงดันไฟฟ้าสูง ยิ่งหมายถึงกระแสไฟฟ้ายิ่งสามารถผ่านข้ามเข้าหาวัตถุได้ไกล จึงเป็นกระแสไฟที่มีอันตรายโดยสามารถทำให้เสียชีวิตได้ในทันที ทั้งนี้ก็ได้พบว่าในแต่ละปีมีผู้ ...

      แรงดันไฟฟ้าตามบ้านมีค่ากี่ โวลต์

      3. ไฟฟ้า 1 เฟส (ไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป) ระบบไฟฟ้า 1 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้า 220-230V มีความถี่ที่ 50Hz โดยจะมีสายไฟอยู่ 2 เส้น คือสายเฟสหรือสายไฟ และสายนิวทรอ ซึ่งการใช้งาน เราจะต้องเสียบให้ครบทั้ง 2 ช่อง และสายไฟที่ใช้งาน 2 เส้น ถึงจะใช้งานได้