Apple watch อายุการใช้งานกี่ปี

เหล่านี้เป็นเพียงคำถามบางส่วนเท่านั้นที่เราได้รับจากคนรอบตัวที่เกิดทั้งความสงสัยและสนใจอยากจะรู้จักเจ้า Apple Watch Series 6 ให้มากขึ้น ก่อนจะตัดสินใจจ่ายค่าตัวหลักหมื่นพาเจ้านาฬิกาอัจฉริยะเรือนนี้ขึ้นมาประดับสวมใส่อยู่บนข้อมือของตัวเอง

 

และนี่คือมุมมองความคิดเห็นที่เรามีต่อ Apple Watch 6 จากการใช้งานจริงนานกว่า 2 เดือนเต็ม ว่าสรุปแล้วเจ้านาฬิกาอัจฉริยะจาก Apple เรือนนี้มีความพิเศษอย่างไร เหมาะกับผู้ใช้งานที่มีไลฟ์สไตล์แบบไหน แล้วอะไรคือสิ่งที่คุณจะได้รับจากมัน?

 

 

ตัวเรือนยังสวยงามเช่นเคย เพิ่มเติมคือ ‘สีใหม่’ มีให้เลือกเยอะขึ้น และความแข็งแรงทนทาน

เริ่มต้นกันที่ดีไซน์ก่อน สำหรับ Apple Watch 6 ที่เราใช้งานนั้นเป็นตัวเรือนแบบสเตนเลส ขนาดหน้าปัด 44 มม. สีดำกราไฟต์ (ในโมเดลสเตนเลสยังมีสีทองและเงินให้เลือกอีก 2 สี) สายแบบ Milanese Loop สีเดียวกับตัวเรือน เข้าคู่กันลงตัวพอดีเป๊ะ สนนราคาอยู่ที่ 25,900 บาท ซึ่งดีไซน์ตัวเรือนโดยรวมจะไม่ได้แตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นที่แล้วอย่าง Watch 5 มากนัก

 

ส่วนในรุ่นอะลูมิเนียมจะมีสีให้เลือกเพิ่มขึ้นหลากหลายจาก Watch 5 อยู่พอสมควรคือ เงิน, ฟ้า, เทาสเปซเกรย์, สีทอง และสีแดง (PRODUCT)RED และรุ่นไทเทเนียมมีสีให้เลือก 2 สีคือ ดำธรรมชาติและดำสเปซแบล็ก

 

แวบแรกที่เปิดกล่อง หยิบเอาตัวเรือนออกมาจากกล่อง ความรู้สึกที่มีต่อ Watch 6 คือ เราพบว่าตัวเรือนสวยงามหรูหราสมราคาการเป็น Apple Watch มากๆ (แม้จะไม่ได้เปลี่ยนไปจาก Watch 5 ก็ตาม) ด้วยความที่วัสดุเป็นแบบสเตนเลส มันจึงเงางามและรีเฟลกซ์แสงที่ตกกระทบมาบริเวณตัวเรือนได้เป็นอย่างดี แต่ในเวลาเดียวกัน จุดสังเกตของการที่ตัวเรือนเป็นแบบสเตนเลสคือหากคุณไม่หมั่นเช็ดถูทำความสะอาดอยู่บ่อยๆ กรอบตัวเรือนซึ่งจะต้องสัมผัสกับนิ้วอยู่บ่อยๆ ก็จะเป็นรอยนิ้วมือคราบมันได้ง่ายเช่นกัน

 

ขณะที่บริเวณกระจกหน้าปัดเรือน ในรุ่นสเตนเลสและไทเทเนียมจะใช้จอแบบ ‘ผลึกแซฟไฟร์’ และรุ่นอะลูมิเนียมจะใช้จอภาพกระจก Ion‑X ซึ่งในมุมของผู้ใช้งาน เรามองว่าวัสดุกระจกแบบแซฟไฟร์แข็งแรงและทนทานมากๆ ไม่ค่อยเป็นรอยง่ายๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเราเคย Drop Test ด้วยความไม่ตั้งใจ (พลาดทำตกตอนกำลังจะสวมในข้อมือ) แต่ตัวหน้าปัดกลับไม่ปรากฏรอยบิ่นหรือรอยขีดข่วนใดๆ เลยแม้แต่น้อย (ขอเตือนว่าคุณไม่ควรไป Drop Test ด้วยตัวเองเด็ดขาด เพราะอาจจะไม่โชคดีเหมือนกับเรา)

 

 

ต่างจากโมเดลแบบอะลูมิเนียมที่ใช้กระจกหน้าปัดแบบ Ion‑X ซึ่งเราเคยมีประสบการณ์ใช้งานในรุ่น Watch 4 แล้วพบว่ามันเป็นรอยง่ายมากๆ เพราะแค่เผลอทำหน้าปัดกระแทก เฉี่ยวขอบโต๊ะ มันก็พร้อมจะเป็นรอยขีดข่วนกวนใจได้แล้ว ดังนั้นถ้าต้องเลือกจริงๆ เราขอชูป้ายไฟเชียร์ให้คุณพิจารณาตัวเครื่องที่ใช้วัสดุแบบสเตนเลสขึ้นไปน่าจะเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและทนทานมากกว่า

 

อีกจุดความเปลี่ยนแปลงคือการที่ Apple เปลี่ยนมาใช้วัสดุสายนาฬิกาแบบรัดแนบสนิทไปกับข้อมือ เช่น สายซิลิโคนแบบ Solo Loop Band ที่ไม่มีเข็มมาให้กลัดแล้ว แต่จะใช้วิธีสวมเข้าไปให้แนบกับข้อมือเลย (ต้องวัดขนาดข้อมือก่อนเลือกซื้อสาย) ซึ่งจุดสังเกตคือเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ ตัวสายอาจจะขยายใหญ่และหลวมได้ หรือสายแบบ Braided Solo Loop ซึ่งใช้วัสดุแบบผ้าถักรีไซเคิลผสมเข้ากับด้ายซิลิโคน

 

 

จอไม่ดับ ‘Always on Display’ สว่างกว่าเก่า watchOS 7 ช่วยให้ตัวเรือนทำงานฉลาดกว่าเดิม

Apple Watch 6 มาพร้อมกับชิปประมวลผล SiP รุ่น S6 พร้อมโปรเซสเซอร์แบบ Dual-core 64 บิต ช่วยให้ประมวลผลการทำงานโดยทั่วไปได้เร็วกว่าชิป S5 ใน Watch 5 สูงสุด 20% 

 

หน้าจอเป็น LTPO OLED Retina (ความสว่าง 1,000 นิต) แบบติดตลอด หรือ ‘Always on Display’ ที่ Apple เปิดตัวครั้งแรกในรุ่นที่แล้ว แต่มาครั้งนี้ Apple ได้ปรับให้จอของ Watch 6 แสดงผลได้สว่างขึ้นจาก Watch 5 ที่ราว 2.5 เท่า มีประโยชน์มากๆ เวลาออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในสภาพแวดล้อมแดดจัดๆ 

 

ข้อดีของการใช้งาน Always on Display จากมุมมองของเราคือการที่ไม่ต้องบิดข้อมือมาให้ตรงกับองศาหน้าเพื่อดูเวลาอยู่บ่อยๆ เพราะแค่เหลือบตา ชำเลืองมองก็สามารถดูเวลาบนหน้าปัดได้แล้ว เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน Apple Watch ได้ดีจนลืม Watch 4 ไปเลย (สามารถปิดโหมดแสดงผลแบบติดตลอดเวลาได้ ถ้าต้องการประหยัดแบตเตอรี่)

 

ขณะที่ตัวแบตเตอรี่ของ Watch 6 ยังเป็นลิเธียมไอออน ที่ใช้งานได้ต่อเนื่องสูงสุด 18 ชั่วโมงเช่นเคย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับ Watch 4 ที่ไม่มีฟีเจอร์ Always on Display จะพบว่าตัวเครื่องสามารถทำงานได้อึดถึกทนขึ้นมากๆ และใช้เวลาชาร์จเร็วขึ้นกว่าใน Watch 5 ที่ 1 ชั่วโมงครึ่ง (เดิม 2 ชั่วโมงครึ่ง) ย่ิงใช้คู่กับ watchOS 7 ก็จะพบกับ ‘ความสะดวกและความฉลาด’ ของ Watch 6 มากๆ เพราะเมื่อตัวเรือนชาร์จแบตฯ เต็มหรือใกล้เต็มแล้ว ข้อมูลทั้งหมดก็จะเด้งเตือนมาที่ iPhone ของคุณเพื่อให้ทราบสถานะการชาร์จได้ง่ายๆ 

 

แต่ข้อเสียคือ เมื่อมันใช้งานได้แค่ 18 ชั่วโมง ความหมายคือคุณก็ยังจะต้องใช้ Watch 6 แล้วชาร์จแบตฯ แบบวันต่อวันอยู่ดี ไม่สามารถปล่อยข้ามวันแล้วใช้ฟีเจอร์ต่างๆ ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนนาฬิกาออกกำลังกายของแบรนด์อื่นๆ ที่ถูกออกแบบมาให้ซัพพอร์ตการใช้งานข้ามวันข้ามคืนแบบลืมเดือนลืมตะวัน

 

ยิ่งถ้าคุณต้องเดินทางไปค้างแรมต่างที่ต่างถิ่นเป็นเวลาหลายๆ วัน ก็จะต้องคอยเตือนสติตัวเองไม่ให้ลืมหยิบเอาสายชาร์จแถบแม่เหล็กพกเข้ากระเป๋าเดินทางทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นแล้ว Watch 6 ก็อาจจะหมดแรง ไม่สามารถไปต่อกับทริปของคุณได้ตลอดรอดฝั่ง (เราเองก็เจอปัญหานี้มาแล้ว!)

 

 

ทริกแก้ขัดที่อาจจะพอช่วยให้คุณใช้งาน Watch 6 แบบฉุกเฉิน บอกเวลาระหว่างวันพอถูไถได้อยู่บ้าง (แต่ไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์อื่นๆ) แม้แบตเตอรี่จะเหลือต่ำกว่า 10% หรือหมดแล้วคือการเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน Power Reserve (โดยปกติแล้วหากแบตฯ เหลือต่ำกว่า 10% ระบบจะเตือนให้เราเข้าสู่โหมดนี้อัตโนมัติ แต่ถ้าต้องการเข้าสู่โหมดดังกล่าวด้วยตัวเอง) ให้คลิกที่เปอร์เซ็นต์แบตเตอรี่ หรือเข้าหน้าการตั้งค่า > แบตเตอรี่ > เข้าสู่ Power Reserve ด้วยตัวเอง

 

ซึ่งเราเคยประสบปัญหาแบตฯ หมดนี้ด้วยตัวเองแล้วสามารถยืดอายุการใช้ Watch ออกไปเพื่อดูเวลาในโหมด Power Reserve ได้สูงสุดที่ประมาณ 3-4 วัน (ข้อมูลจาก Apple แจ้งว่าจะใช้ได้สูงสุดที่ 72 ชั่วโมง)

 

 

วัดระดับออกซิเจนในเลือดได้ สิ้นสุดการรอคอย ‘ฟีเจอร์แทร็กพฤติกรรมนอนหลับ’ 

ไฮไลต์ของ Apple Watch 6 คือการที่ตัวเรือนมาพร้อมกับความสามารถในการวัดค่าระดับออกซิเจนในเลือดภายในเวลาแค่ 15 วินาที ต่างจากรุ่นก่อนๆ ที่วัดได้แค่อัตราการเต้นของหัวใจ โดยทำงานผ่านเซนเซอร์ตัวใหม่ที่ฝังอยู่บริเวณฝาหลังตัวเครื่อง ประกอบด้วย หลอดไฟ LED ทั้ง 4 ดวง และโฟโต้ไดโอดทั้ง 4 ตัว 

 

โดย Apple อธิบายไว้ว่า ตัวเซนเซอร์จะปล่อยแสงอินฟราเรดออกมาเพื่อส่องไปบนเส้นเลือดในข้อมือ จากนั้นเจ้าโฟโต้ไดโอดจะวัดปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมา ก่อนที่อัลกอริทึมจะคำนวณสีของเลือดแล้วแปลงค่าเป็นปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในเลือกของเราอีกที

 

นอกจากนี้ยังมีมาตรวัดความสูง Always-on-altimeter ที่สามารถใช้งานเพื่อตรวจวัดระดับความสูงจากพื้นดินในจุดที่คุณอยู่ ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานที่มีงานอดิเรกโปรดปรานการออกกำลังกายแนวโลดโผน ไม่ว่าจะวิ่งเทรล, เดินป่า, ไฮกิ้งหรือปีนเขา เป็นต้น

 

 

ขณะที่ใน watchOS 7 ยังมีฟีเจอร์ที่ใครหลายๆ คน (รวมถึงผู้เขียน) ถวิลหามานานอย่างฟีเจอร์ติดตามการนอนหลับ ‘Sleep’ ที่ช่วยให้เราสามารถตั้งค่าเวลานอนหลับ เวลาตื่น (พร้อมตั้งปลุก) เป้าหมายของระยะเวลาที่อยากนอน เพียงแต่ข้อเสียที่เราพบคือ ข้อมูลที่ตัว Sleep แสดงผลออกมาจะไม่ละเอียด โดยจะโชว์แค่ข้อมูลระยะเวลาที่เราหลับหรือไม่หลับเท่านั้น

 

ต่างจากแอปฯ ตรวจจับการนอนหลับที่เราใช้อยู่อย่าง AutoSleep (ไม่ใช่แอปฯ ของ Apple) ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลการแทร็กกิ้งที่ละเอียดกว่าได้เยอะมากๆ เช่น ระยะเวลาที่นอนหลับ, ช่วงเวลาที่หลับลึก, ระยะเวลาการนอนที่มีคุณภาพของคุณ และช่วงเวลาที่นอนไม่หลับ เป็นต้น แต่จุดนี้เรามองว่าไม่เป็นปัญหา เพราะเชื่อว่าในอนาคต Apple อาจจะปรับ เพิ่ม หรือพัฒนา Sleep ให้ใช้งานได้หลากหลาย รอบด้านขึ้นได้ไม่ยาก

 

 

Watch 6 เหมาะกับใคร ใช้ทำอะไรได้อีกนอกจากบอกเวลา สรุปแล้วซื้อตอนนี้ยังคุ้มไหม?

มาถึงคำถามสำคัญที่ใครหลายคนรอคอยว่า Apple Watch 6 จะเหมาะกับใคร? แล้วใช้ทำอะไรได้อีกนอกจากบอกเวลา? 

 

สำหรับผู้เขียน นอกเหนือจากการใช้งานเพื่อบอกเวลา เรายังใช้งาน Apple Watch เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันแบบรอบด้าน ง่ายที่สุดคือการแจ้งข้อมูลอีเมล, SMS, สายโทรเข้า-โทรออก หรือแจ้งเตือนทุกสิ่งอย่าง หรือเช็กตารางางานของตัวเองในแต่ละวัน ซึ่งเราสามารถควบคุมผ่านนาฬิกาบนข้อมือได้เลย ไม่ต้องล้วงมือถือเข้าออกจากกระเป๋ากางเกงให้ยุ่งยากเสียเวลา

 

และด้วยความที่เป็นคนขี้ลืมอยู่บ่อยๆ เผลอลืมว่าวาง iPhone ไว้ตรงไหน ปัญหานี้จึงหมดไปทันที ด้วยการใช้ Watch ให้ iPhone ของเราแสดงผลคำสั่งเสียงเพื่อช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งหรือสถานที่ที่เราลืมวาง iPhone ทิ้งไว้ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์มากๆ

 

 

อีกฟีเจอร์ที่มีโอกาสได้ใช้งานบ่อยๆ (เป็นฟีเจอร์ที่มีมานานแล้ว) คือการสั่ง iPhone ถ่ายรูปผ่าน Apple Watch ที่ช่วยให้ปัญหาโลกแตกถ่ายรูปหมู่ ถ่ายรูปคู่แล้วหาคนถ่ายรูปให้ไม่ได้หมดไปโดยปริยาย ช่วยให้การถ่ายรูปเป็นเรื่องที่ทำได้สะดวกสุดๆ แถมยังเลือกปรับตั้งค่าเวลาลั่นชัตเตอร์ได้เองที่ 3 วินาทีและ 10 วินาที (เราสามารถสวิตช์กล้องหน้าและกล้องหลัง ปรับเปลี่ยนโหมด Live Photo, HDR หรือการใช้แฟลชผ่าน Watch ได้ด้วย)

 

ภาพที่ได้จากการใช้ Apple Watch 6 สั่งการ iPhone12 Pro Max ถ่าย

 

นอกจากนี้ด้วยความที่มีไลฟ์สไตล์ชอบออกกำลังกายด้วยการวิ่ง เราจึงมักจะใช้ Watch คู่กับแอปฯ Nike Run Club เพื่อดูข้อมูลแคลอรีที่เผาผลาญ Pace ที่ใช้โดยเฉลี่ยในการวิ่งครั้งนั้นๆ และบอกระยะทางที่เราวิ่งไปทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เราสามารถทำได้ใน Apple Watch นั่นเอง

 

ในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนมองว่า Apple Watch มีความเป็นไฮบริด ลูกผสมระหว่างนาฬิกาอัจฉริยะสายไลฟ์สไตล์และสปอร์ต ที่สามารถใช้งานช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับเราได้ทุกวันด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีมาให้อย่างครบครัน  มากกว่าจะเป็นนาฬิกาสำหรับคนออกกำลังกายหนักๆ บุกป่าฝ่าดงแบบแอดแวนเจอร์แบบสุดทาง 

 

ดังนั้นแล้วหากคุณกำลังมองหาสมาร์ทวอทช์สักเรือนที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยส่วนตัว อำนวยความสะดวกในทุกๆ แง่มุมไลฟ์สไตล์ Apple Watch 6 คือตัวเลือกที่เราแนะนำว่าเหมาะกับคุณมากๆ แต่หากคุณกำลังมองหานาฬิกาที่โดดเด่นเรื่องกิจกรรมแอดเวนเจอร์หนักๆ นิยมชมชอบการเข้าป่า หรือแม้แต่ดำน้ำแบบจริงจัง Apple Watch ก็อาจจะไม่ได้เหมาะกับคุณสักเท่าไร

 

ส่วนถามว่าจาก Apple Watch 5 เปลี่ยนมาเป็น Watch 6 ความเปลี่ยนแปลงมันแตกต่างกันมากขนาดนั้นไหม เรามองว่าอาจจะ ‘ไม่’ เพราะเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะใช้งานฟีเจอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือดอยู่เป็นประจำ (มีเฉพาะ Watch 5) เว้นแต่ว่าคุณเป็นสายดูแลสุขภาพแบบจัดๆ หรืออยากซื้อให้พ่อ แม่ ผู้สูงอายุ เพื่อคอยตรวจวัดข้อมูลในส่วนนี้ เพราะนอกเหนือจากนั้นฟีเจอร์และฮาร์ดแวร์ที่มีมาให้ใน Watch 6 ก็แทบจะเปลี่ยนจาก Watch 5 เพียงเล็กน้อยจนแทบจะแยกความต่างด้วยตาไม่เห็น

 

เว้นแต่ว่าคุณใช้งาน Watch รุ่นก่อน Watch 5 การเปลี่ยนมาใช้ Watch 6 ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจพอสมควร

 

ส่วน Watch SE ซึ่งถือเป็น ‘Apple Watch รุ่นประหยัด’ ที่เปิดตัวออกมาในช่วงเวลาเดียวกัน อาจจะเหมาะกับคนที่ ‘อยากลอง’ ใช้งาน Apple Watch เป็นครั้งแรก แต่ยังไม่รู้ว่าจะตัวเองจะใช้งานมันได้คุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน โดย Watch SE เปรียบเสมือน Apple Watch 3 ที่ถูกปรับปรุงให้ทำงานได้เร็วขึ้นกว่าเดิมด้วยชิป S5 แบบ Dual-core Digital Crown (แบบเดียวกับใน Watch 5 แต่เร็วกว่า Watch 3 ถึงสองเท่า) จอเป็นเรตินา แสดงผลได้คมชัด ขนาดเท่า Watch 6 แต่ไม่มีฟีเจอร์ Always on Display, มีฟีเจอร์มาตรวัดความสูง Always-on-altimeter เหมือนกัน

 

จุดตัดความต่างด้านอื่นๆ คือ วัสดุตัวเรือนมีให้เลือกแค่อะลูมิเนียมเท่านั้น ไม่มีฟีเจอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือด แต่แลกมาด้วยราคาจำหน่ายเริ่มต้นที่ 9,400 บาท ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าเลยทีเดียว

Apple watch SE อยู่ได้กี่ชั่วโมง

ข้อมูลเกี่ยวกับแบตเตอรี่ของ Apple Watch SE ตลอดวันด้วย ซึ่งเป้าหมายของเราก็คือการทำให้แบตเตอรี่ใช้งานได้นาน 18 ชั่วโมงหลังจากชาร์จทิ้งไว้ในตอนกลางคืน โดยพิจารณา ถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การดูเวลา การรับการแจ้งเตือน การใช้งานแอป และการออกกำลังกาย 60 นาที ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากทุกคน

Apple watch SE ต่างกับ 7 ยังไง

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดที่สุดระหว่าง Apple Watch Series 7 และ Apple Watch SE เลยก็คือเรื่องของขนาด โดย Apple Watch Series 7 มาพร้อมกับขนาดตัวเรือน 41mm. และ 45mm. ที่ใหญ่กว่า Apple Watch SE รุ่นละ 1mm. ซึ่งเอาจริงๆเมื่อมาอยู่ในข้อมือแล้วคาดว่าน่าจะให้ความรู้สึกที่ไม่ต่างกันมากนัก

Apple watch SE มีกี่รุ่น

Apple Watch SE มีให้เลือก 2 ขนาด (ขนาดใหญ่กว่า Series 3 ถึง 30%) แบบเดียวกับ Series 6 ได้แก่ 40 มม. มีความละเอียดหน้าจอ 324 x 394 พิกเซล ให้พื้นที่แสดงผล 759 ตร.มม. และ ขนาด ขนาด 44 มม. มีความละเอียด 368 x 448 พิกเซล ให้พื้นที่แสดงผล 977 ตร.มม.

แอปเปิ้ลวอช 7 แบตอยู่ได้กี่วัน

ในที่สุดแอปเปิลก็เปิดเผยทั้งราคาและวันจำหน่ายของ Apple Watch ออกมาแล้ว แต่สิ่งที่หลายคนยังสงสัยอยู่นั่นคือเรื่องของแบตเตอรี่ ซึ่งข้อมูลที่แอปเปิลเปิดเผยออกมาคือใช้งานปกติอยู่ได้ 18 ชั่วโมง แต่ถ้าโหมดประหยัดแบตอยู่ได้ถึง 3 วัน โดยข้อมูลแบตของ Apple Watch มีดังนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita