หม้อหุงข้าว 1.8 ลิตรใช้ไฟกี่วัตต์

ฉบับที่ 258 หุ่นดูดฝุ่น

        หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นดูเหมือนจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จากที่เคยมีราคาค่อนข้างแพงและตัวเลือกจำกัด ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายเจ้าส่งผลิตภัณฑ์นี้ออกมาให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกมากขึ้น ทั้งรูปลักษณ์ ฟังก์ชัน และราคา แต่คำถามที่ยังคาใจหลายคนคือ อุปกรณ์นี้น่าลงทุนหรือไม่ ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาคุณไปหาคำตอบกันอีกครั้ง*         สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ร่วมกันส่งตัวอย่างหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้ารับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ CTTN/IREN Centre Technique de la Teinture et du Nettoyage ที่ประเทศฝรั่งเศส* ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 จนถึงพฤษภาคม 2565 โดยการทดสอบแบ่งออกเป็น 5 ด้าน แต่ละด้านมีสัดส่วนคะแนนแตกต่างกันดังนี้        1. ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ร้อยละ 40) โดยวัดจากความสามารถในการกำจัดฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย ทั้งบนพื้นพรมและพื้นกระเบื้อง        2. ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22)         3. การเคลื่อนไหวในห้องนั่งเล่นที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น โซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ (ร้อยละ 20)        4. เสียงรบกวนจากเครื่องขณะใช้งาน (ร้อยละ 12)        5. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 6)         ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอเลือกรุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุดในกลุ่มออกมา 20 ตัวเพื่อนำเสนอ (สนนราคาโดยประมานตั้งแต่ 7,000 ถึง 43,000 บาท*)         เราเรียนรู้จากผลการทดสอบครั้งนี้ว่าประสิทธิภาพโดยรวมของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่วางตลาดในช่วงสองปีที่ผ่านมาไม่ได้ดีขึ้นจากเดิมนัก และรุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุดในการทดสอบครั้งนี้ ก็ได้ไปเพียง 57 คะแนน (เทียบกับครั้งก่อน ตัวท็อปได้ไป 63 คะแนน) ที่น่าสังเกตคือราคาที่แพงกว่าอาจไม่ได้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่าเสมอไป         อย่างไรก็ตามหากคุณยังต้องการ “พื้นสะอาด” โดยไม่ต้องเหนื่อยแรงมากนัก ลองพลิกดูคะแนนในด้านต่างๆ ของแต่ละรุ่นได้ในหน้าถัดไป            *ติดตามบทความเรื่องทดสอบหุ่นยนต์ดูดฝุ่นครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 197        *อัตราค่าทดสอบเฉลี่ยอยู่ที่รุ่นละ 1.318 ยูโร (ประมาณ 47,500 บาท)

          10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะที่สุด พร้อมวิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดใครไม่อยากจ่ายค่าไฟแพงช่วงสิ้นเดือน รีบเข้ามาเช็กและปฏิบัติตามกันด่วน !!


          ถึงแม้อากาศจะร้อนตับแล่บ และคนส่วนใหญ่จะทำงานที่บ้าน แต่หลายคนก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมค่าไฟในช่วงนี้ถึงแพงขึ้นมากขนาดนี้ ฉะนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยถือโอกาสรวบรวมข้อมูล 10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้ากินไฟเยอะที่สุด โดยคิดค่าไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณ 3.9 บาทต่อหน่วย ส่วนตอนนี้ไปดูกันว่าหากเราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด 1 ชั่วโมง จะกินไฟกี่วัตต์ แล้วเสียสตางค์ไปกี่บาท พร้อมวิธีใช้ไฟฟ้าประหยัด ว่าจะลดค่าไฟแต่ละเดือนได้ยังไงบ้าง

1. เครื่องทำน้ำอุ่น

          เครื่องทำน้ำอุ่น กินไฟประมาณ 2,500-12,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟเฉลี่ยชั่วโมงละ 10-47 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกซื้อเครื่องที่มีขนาดเหมาะสม พร้อมต่อสายดินให้เรียบร้อยและทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ปรับอุณหภูมิให้พอดี อย่าให้ร้อนมากเกินไป ปิดก๊อก ปิดวาล์ว และปิดสวิซต์ทุกครั้งหลังใช้เสร็จ เมื่อพบรอยรั่วให้รีบแก้ไข รวมถึงลดการใช้น้ำอุ่นแบบไม่จำเป็นในฤดูร้อนด้วย

2. เครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศ


          เครื่องปรับอากาศ กินไฟประมาณ 1,200-3,300 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 5-13 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกซื้อเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและมีขนาดเหมาะสมกับห้อง พร้อมปฏิบัติตามคู่มืออย่างเคร่งครัด ติดตั้งในระดับที่สูงพอดี มีที่ระบายความร้อน และไม่ไว้ใกล้วัตถุไวไฟ

          ส่วนระหว่างการใช้งานควรปิดประตู-หน้าต่างให้มิดชิดเพื่อป้องกันความเย็นรั่วไหล ควรติดม่านกันแดดเพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายใน ควรตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส แล้วเปิดพัดลมช่วย ควรทำความสะอาดแผ่นกรองและบำรุงรักษาเครื่องเป็นประจำ ควรปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน อย่าเปิดทิ้งไว้เวลาไม่อยู่บ้าน และถ้าหากอากาศไม่ร้อนมาก ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้จะดีที่สุด

          - 10 ประหยัดแอร์หน้าร้อน แต่บ้านยังเย็นสบายไม่เปลี่ยน

3. เครื่องซักผ้า

          เครื่องซักผ้า โดยเฉพาะเครื่องซักผ้าพร้อมอบแห้ง กินไฟประมาณ 3,000 วัตต์ คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 12 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง ใส่ปริมาณเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับตัวเครื่อง ไม่มากหรือน้อยเกินไป หากมีแค่ 1-2 ชิ้น ควรเปลี่ยนจากซักเครื่องเป็นซักมือแทน หากไม่ใช่ผ้าพิเศษหรือมีคราบมาก ควรใช้น้ำเย็นในการซัก หากมีแสงแดดจัด ควรนำออกตากแดดและหลีกเลี่ยงการอบแห้ง หมั่นตรวจสอบปลั๊กไฟ โครงเหล็ก และตัวเครื่องให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ และควรถอดปลั๊กหลังจากเลิกใช้งานทุกครั้ง

4. เตารีดไฟฟ้า

เตารีดไฟฟ้า


         เตารีดไฟฟ้า กินไฟประมาณ 750-2,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-8 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ต้องตรวจสอบสภาพก่อนใช้งานทุกครั้ง ทั้งปลั๊กเสียบและสายไฟต้องไม่ชำรุด ควรพรมน้ำก่อนรีดเล็กน้อย แต่ระวังอยากให้แฉะเกินไป ปรับความร้อนให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า เริ่มรีดจากตัวที่บางก่อนตัวที่หนา รีดครั้งละเยอะ ๆ ถอดปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จสัก 2-3 นาที เพราะความร้อนจะยังคงอยู่พอให้รีดต่อได้อีกสักพัก เมื่อเลิกใช้งานแล้วให้ถอดปลั๊กทุกครั้ง

5. หม้อหุงข้าว

         หม้อหุงข้าว กินไฟประมาณ 450-1,500 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-6 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกใช้หม้อที่มีขนาดพอดีกับคนในครอบครัว และหุงข้าวให้พอดีกับการกินในแต่ละมื้อ ใส่น้ำให้เหมาะสม ปิดฝาให้แน่นสนิท ถอดปลั๊กออกหลังใช้เสร็จทุกครั้ง พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบแท่นความร้อนในหม้อ ล้างหม้อให้สะอาดไม่ให้มีข้าวเกาะจนทำให้ข้าวสุกช้า ก้นหม้อไม่ควรมีรอยบุบ และตรวจสอบปลั๊กเสียบหรือสายไฟ ไม่ให้ชำรุดและรั่วไหลด้วย


         เตาหุงต้มไฟฟ้า กินไฟประมาณ 200-1,500 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 0.80-6 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ตรวจเช็กตัวเครื่อง สายไฟ และปลั๊กเสียบ ไม่ให้เสื่อมสภาพหรือรั่วไหลก่อนใช้งานทุกครั้ง เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเริ่มทำอาหารเสมอ ใส่น้ำให้พอดี ไม่เปิด-ปิดฝาบ่อย หรี่ไฟและปิดฝาเมื่อทำการเคี่ยว และถอดปลั๊กทันทีที่ทำอาหารเสร็จ


7. เครื่องดูดฝุ่น

เครื่องดูดฝุ่น


          เครื่องดูดฝุ่น กินไฟประมาณ 750-1,200 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 3-5 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ ควรเทฝุ่นทิ้งทุกครั้งหลังเลิกใช้ เพื่อช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพและเปลืองไฟน้อยลง หมั่นตรวจสอบเต้าเสียบไม่ให้ชำรุดหรือมีรอยไหม้เสมอ และต้องหลีกเลี่ยงการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เครื่องร้อนและเกิดปัญหาตามมาได้นั่นเอง

8. เครื่องปิ้งขนมปัง

          โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ อ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าสายไฟไม่รั่วหรือชำรุด ขั้วต่อและเต้ารับแน่นสนิท และถอดปลั๊กทุกครั้งหลักเลิกใช้งาน

9. เครื่องเป่าผม

          เครื่องเป่าผม กินไฟประมาณ 400-1,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-4 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เช็ดผมก่อนเป่าและขยี้ผมระหว่างเป่า เพื่อช่วยให้ผมแห้งไวขึ้น จนทำให้กินไฟน้อยลง นอกจากนี้ต้องหมั่นตรวจเช็กเต้าเสียบ สายไฟ หรือส่วนที่เป็นโลหะให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอด้วย

10. เตาไมโครเวฟ

          เตาไมโครเวฟ กินไฟประมาณ 100-1,000 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 0.40-4 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ อ่านคำแนะนำและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าสายไฟไม่รั่วหรือชำรุด ขั้วต่อและเต้ารับแน่นสนิท นอกจากนี้ควรกำหนดเวลาและความร้อนให้เหมาะสม เลือกใช้ภาชนะก้นแบนหรือภาชนะที่แถมมากับเครื่อง เพื่อให้รับความร้อนได้ดี หลีกเลี่ยงการเปิด-ปิดฝาบ่อย ๆ เพื่อให้อาหารอุ่นเร็วขึ้น เปลืองไฟน้อยลง ถอดปลั๊กหลังใช้เสร็จทุกครั้งด้วย ทำสำคัญควรดูแลและหมั่นทำความสะอาดด้วย

          นอกเหนือจาก 10 อันดับข้างต้นแล้ว เครื่องชงกาแฟ โทรทัศน์ ตู้เย็น พัดลมเพดาน และพัดลมตั้งพื้น ก็ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่กินไฟมากที่สุดรองลงมาเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าหากใครไม่อยากจ่ายค่าไฟแพง ก็ลองเช็กตัวเองดูว่า มีของพวกนี้ครบหรือเปล่า ใช้งานบ่อยแค่ไหน หาทางเซฟบ้างไหม ซึ่งถ้าหากคำตอบออกมาเป็นลบละก็ ต้องหันมาเลี่ยง ๆ เบา ๆ และรีบประหยัดพลังงานกันด่วน ไม่งั้นสิ้นเดือนนี้คงได้ช็อกอีกรอบแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/เครื่องใช้ไฟฟ้าใดกินไฟมากที่สุด และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค/วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด

หม้อ หุง ข้าว 1 ลิตร กิน ไฟ กี่ วัตต์

อัตราการใช้ไฟฟ้าของหม้อหุงข้าวใช้ไฟฟ้ากี่วัตต์!?.

หม้อหุงข้าวใช้ไฟกี่วัตต์

หม้อหุงข้าว กินไฟประมาณ 450-1,500 วัตต์ ถ้านำมาคำนวณกับค่าไฟเฉลี่ย คิดเป็นค่าไฟชั่วโมงละ 2-6 บาท โดยมีเคล็ดลับในการใช้อย่างประหยัด คือ เลือกใช้หม้อที่มีขนาดพอดีกับคนในครอบครัว และหุงข้าวให้พอดีกับการกินในแต่ละมื้อ ใส่น้ำให้เหมาะสม ปิดฝาให้แน่นสนิท ถอดปลั๊กออกหลังใช้เสร็จทุกครั้ง พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบแท่นความร้อนในหม้อ ...

หม้อหุงข้าว 5ลิตร ใช้ไฟกี่วัตต์

มีระบบอุ่นอัตโนมัติ เพียงเสียบปลั๊ก ให้ข้าวร้อนนุ่มตลอดเวลา ขนาด กว้าง 457 มม. สูง 318 มม. ลึก 407 มม. กำลังไฟฟ้าเข้าขณะหุง 1,550 วัตต์

หม้อหุงข้าว7ลิตรใช้ไฟกี่วัตต์

มีระบบอุ่นอัตโนมัติ เพียงเสียบปลั๊ก ให้ข้าวร้อนนุ่มตลอดเวลา ขนาด กว้าง 511 มม. สูง 356 มม. ลึก 451 มม. กำลังไฟฟ้าเข้าขณะหุง 2,000 วัตต์