ค่าใช้จ่ายในการผลิต มีกี่ประเภท

ต้นทุนการผลิต

ต้นทุนการผลิต (cost of production) หมายถึง ค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในปัจจัยการผลิตที่ใช้ในกระบวนการผลิต เนื่องจากปัจจัยการผลิต
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัจจัยคงที่ กับปัจจัยผันแปร ดังนั้นต้นทุนการผลิตซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในปัจจัยการผลิตจึงแบ่งตามประเภท
ของปัจจัยการผลิต ออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกัน คือ

ต้นทุนคงที่ (fixed cost)
หมายถึงค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในการผลิตที่เกิดจากการใช้
ปัจจัยคงที่ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าต้นทุนคงที่เป็นค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายที่ไม่ขึ้นอยู่กับ
ปริมาณของ ผลผลิต กล่าวคือ ไม่ว่าจะผลิตปริมาณมาก ปริมาณน้อย หรือไม่ผลิตเลย ก็จะ
เสียค่าใช้จ่ายในจำนวนที่ คงที่ ตัวอย่างของต้นทุนคงที่ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
ซื้อที่ดิน ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารสำนักงานโรงงาน ฯลฯ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิต

ต้นทุนผันแปร (variable cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในการผลิตที่เกิดจากการใช
้ปัจจัยผันแปร หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าต้นทุนผันแปรเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายที่ขึ้น
อยู่กับ ปริมาณของผลผลิต กล่าวคือ ถ้าผลิตปริมาณมากก็จะเสียต้นทุนมาก ถ้าผลิตปริมาณ
น้อยก็จะเสียต้นทุน น้อย และจะไม่ต้องจ่ายเลยถ้าไม่มีการผลิต ตัวอย่าง
ของต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าน้ำประปา
ค่าไฟฟ้า ฯลฯ นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งต้นทุนการผลิตเรายังสามารถแบ่งต้นทุนการผลิตออกเป็นต้นทุนทาง
บัญชีกับต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกันดังนี้

ต้นทุนทางบัญชี (business cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผลิตซึ่งคิดเฉพาะรายจ่ายที่เห็นชัดเจน
มีการจ่ายเกิดขึ้นจริงๆ (explicit cost)

ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (economic cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเนื่อง
จากการผลิต ทั้งรายจ่ายที่เห็นชัดเจนว่ามีการจ่ายจริงและรายจ่ายที่มองไม่เห็นชัดเจนหรือ
ไม่ต้อง จ่ายจริง (implicit cost)

รายจ่ายที่เห็นชัดเจนว่ามีการจ่ายจริง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่จ่ายออกไปเป็นตัวเงิน
เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และอื่นๆ

รายจ่ายที่มองไม่เห็นชัดเจนว่ามีการจ่ายจริง เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็น
ตัวเงิน แต่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการจะต้องประเมินขึ้นมาและถือเป็นต้นทุนการผลิตส่วนหนึ่ง ได้แก่ ราคา หรือผลตอบแทนของปัจจัยการผลิตในส่วนที่ผู้ผลิตเป็นเจ้าของเองและได้นำปัจจัยนั้น
มาใช้ร่วมในการผลิต ด้วย เช่น นายมนูญเปิดร้านขายของชำที่บ้านของตนเองหรือใช้บ้านเป็นสถานที่ทำงาน ซึ่งในกรณีนี้ นายมนูญไม่ได้คิดค่าเช่าบ้านของตนเองที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการดังกล่าว ซึ่งถ้านายมนูญนำบ้านไปให้ผู้อื่นเช่าเพื่อดำเนินกิจการเขาจะต้องได้รับค่าเช่า ดังนั้นค่าเช่าบ้านส่วนที่ควรจะได้แต่กลับไม่ได้ดังกล่าว ถือว่าเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสของนายมนูญ (opportunity cost) ซึ่งต้นทุนดังกล่าวจะนำมารวมอยู่ในต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้ ค่าจ้างของนายมนูญที่ควรจะได้รับหากนายมนูญไปรับจ้างทำงานให้ผู้อื่น แต่กลับไม่ได้รับเพราะต้องมาดำเนินกิจการเอง เงินค่าจ้างส่วนนี้ก็ต้องนำมารวมในต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ด้วยเช่นกัน
ต้นทุนที่มองไม่เห็นเหล่านี้จะถูกนับรวมเข้าไปด้วยทำให้ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
สูงกว่าต้นทุน ทางบัญชี ดังนั้นกำไรในทางเศรษฐศาสตร์จึงน้อยกว่ากำไรในทางบัญชีเสมอ

ปัจจุบัน การแข่งขันกันในตลาดอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ทุกองค์กรหันมาหากลยุทธ์ในการผลิตสินค้าและบริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะความต้องการสินค้าในราคาที่ถูก จึงทำให้ผู้ผลิตต้องกลับมามองในเรื่องของ “ต้นทุนการผลิต” ของสินค้าและบริการของตนเองที่ต้องทำให้ต่ำที่สุด โดยยังคงคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานไว้ได้ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการวิเคราะห์ทั้งต้นทุนการผลิตของโรงงาน (Production Costs) และ ต้นทุนการผลิตในการสร้างผลิตภัณฑ์ (Manufacturing Costs)

ทำไม การวิเคราะห์ “ต้นทุนการผลิต” จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

การผลิตสินค้าทุกประเภทย่อมมีค่าใช้จ่าย ทั้งจากการผลิตโดยตรงและทางอ้อม ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีผลต่อการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ “ต้นทุนการผลิต” อยู่เสมอ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นระหว่างการผลิต อีกทั้งยังสามารถสะท้อนค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในการผลิตสินค้าได้ โดยผู้เขียน สรุปถึงความสำคัญในการวิเคราะห์ “ต้นทุนการผลิต” ได้ดังนี้

  • เพื่อกำหนดหาต้นทุนการผลิตที่ใกล้เคียงที่สุด การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตจะทำให้ทราบถึงจุดที่มีต้นทุนการผลิตที่สูง-ต่ำ รวมถึงสาเหตุและที่มาที่ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นได้
  • เพื่อการควบคุมและลดต้นทุนการผลิต เมื่อรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูง เราก็จะสามารถแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้
  • เพื่อตัดสินใจและวางแผนกระบวนการทำงานต่าง ๆ เมื่อทราบปัญหาที่ทำให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สูง ผู้ผลิตก็จะสามารถประมาณการต้นทุนการผลิตและราคาขายที่ต่ำลงมาได้ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันด้านราคา ซึ่งจะทำให้สถานประกอบการสามารถประมาณการผลประกอบการและกำไรของกิจการได้
  • เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผลและควบคุมการบริหารงาน สามารถนำผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตมาประเมินผลงานทั้งประสิทธิภาพส่วนของบุคลากรที่ดำเนินงานและผังการบริหารองค์กร (organization) เพื่อการปรับปรุงและปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ค่าใช้จ่ายในการผลิต มีกี่ประเภท
ผังแสดงภาพรวมของต้นทุนธุรกิจ

 ความแตกต่างระหว่าง “Production Costs” และ “Manufacturing Costs”

– ต้นทุนการผลิตของโรงงาน (Production Costs) คือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินธุรกิจ

– ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างผลิตภัณฑ์ 

– การทำธุรกิจกด้านการผลิตสินค้า ผู้ผลิตจำเป็นต้องนำต้นทุนการผลิตของโรงงานและต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์มาคำนวณเพื่อคิดต้นทุนต่อรายการในการผลิตสินค้า

Production Costs 

ต้นทุนการผลิต หรือเรียกอีกอย่างว่า “ต้นทุนผลิตภัณฑ์”  เกิดขึ้นเมื่อธุรกิจทำการผลิตผลิตภัณฑ์หรือให้บริการ ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตมีต้นทุนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบและแรงงาน ที่จำเป็นในการสร้างผลิตภัณฑ์  อุตสาหกรรมบริการมีต้นทุนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับแรงงานที่จำเป็นในการดำเนินการบริการและต้นทุนของวัสดุที่เกี่ยวข้องในการส่งมอบบริการ  ดังนั้นต้นทุนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดสามารถกำหนดได้โดยการรวมค่าวัสดุทางตรงและต้นทุนแรงงานรวมทั้งต้นทุนค่าโสหุ้ยในการผลิตทั้งหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถนำไปคำนวณการผลิตต่อหน่วยเพื่อช่วยในการกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสม

ต้นทุนการผลิตของโรงงานที่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ตามความต้องการของลูกค้า ประกอบด้วยทุนโดยตรงและต้นทุนโดยอ้อม

  • ต้นทุนด้านวัสดุ (Material Cost)  คือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ, อุปกรณ์, เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
  • ต้นทุนด้านแรงงาน (Labor Cost) คือค่าใช้จ่ายด้านแรงงานในการทำงานและผลิตสินสินค้าเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น ค่าจ้างรายวัน / เงินเดือนของพนักงานฝ่ายผลิต (ค่าใช้จ่ายที่แปรผันกับจำนวนการผลิตโดยตรง) เงินเดือนของพนักงานขาย, เงินเดือนของผู้จัดการ, เงินดือนของวิศวกร (ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะไม่แปรผันกับปริมาณในการผลิตโดยตรง)
  • ค่าใช้จ่ายโรงงานหรือค่าโสหุ้ยในการผลิต (Overhead Cost)  คือค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากจากค่าใช้จ่ายของวัสดุและค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่าโรงงาน ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร สวัสดิการต่างๆ  เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการผลิต มีกี่ประเภท
สรุปการคำนวณต้นทุนการผลิตในส่วนของผลิตภัณฑ์

Manufacturing Costs

ต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตที่แปลงสภาพวัตถุดิบให้เกิดเป็นสินค้านั้น ๆ ต้นทุนการผลิตโดยส่วนใหญ่จะมีอัตราแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิต ยิ่งมีความต้องการในการผลิตมากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการผลิตก็มากขึ้นเท่านั้น

โดยทั่วไปเราแบ่งต้นทุนการผลิตออกเป็นค่าใช้จ่าย 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

  • ต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) คือ ต้นทุนของวัตถุดิบในการผลิตสินค้านั้น ๆ ที่สามารถระบุจำนวนการใช้งานได้อย่างชัดเจนว่าใช้ต้องการใช้วัตถุดิบในการผลิตจำนวนเท่าไหร่ รวมไปถึงวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น ๆ  
  • ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) คือ ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานที่เกิดจากการผลิตสินค้า เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป โดยนับจาก
  • ค่าใช้จ่ายในโรงงาน (Manufacturing Overhead) คือ ค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ วัสดุ หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากแรงงาน เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่าโรงงาน ค่าเช่าอุปกรณ์ในโรงงาน เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการผลิต มีกี่ประเภท

แล้วต้นทุนการผลิตของโรงงานแตกต่างจากต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างไร ?

ต้นทุนการผลิตของโรงงาน (Production Costs)  หมายถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในการดำเนินธุรกิจที่ประกอบไปด้วยต้นทุนทางตรงและทางอ้อมในขณะที่ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ (Manufacturing Costs) แสดงถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์เท่านั้นโดยจะสะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนแค่ทางตรง

แนวทางการลดต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

การลดต้นทุนการผลิตที่ดี ต้องได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้าและการแข่งขันทางการตลาด ทั้งนี้การลดต้นทุนการผลิตยังเป็นการลดต้นทุนการทำงานทางด้านต่าง ๆ ภายในองค์กรทั้งเรื่องของแรงงาน การจัดซื้อ วัตถุดิบ และจำเป็นที่จะต้องสร้างรายได้ หรือยอดขายได้อีกด้วย ซึ่งในแต่ละองค์กรจึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการลดต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมกับสถานประกอบการเพื่อประสิทธิภาพในการผลิต และการบริการที่ดี

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างสำหรับแนวทาง หรือเทคนิคการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตขององค์กร หรือสถานประกอบการ ดังนี้

1. วิธีลดต้นทุนการผลิตด้วยการเลือกสรรวัตถุดิบ

การเปรียบเทียบราคาวัตถุดิบจาก Supplier หลาย ๆ บริษัท  เพื่อเลือกใช้วัตถุดิบหรือวัสดุที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

2. วิธีลดต้นทุนการผลิตด้วยการซื้อและการจัดเก็บ

ต้องมีการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ คำนึงถึง Lead time หรือ ระยะเวลาในการรอคอยวัตถุดิบ วัสดุ อุปกรณ์ หลังจากที่ได้ทำการตกลงสั่งสินค้าจากผู้ขาย เพื่อให้สัมพันธ์กับความต้องการใช้วัตถุดิบในการผลิต ต้องมีการจัดซื้อและจัดเก็บในปริมาณที่พอดี

3. การลดต้นทุนการผลิตด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้งานในการผลิต

การลงทุนกับเทคโนโลยีมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ในระยะยาวเทคโนโลยีสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในระยะยาว ย่นระยะเวลาการผลิตและทำให้การผลิตได้มาตรฐาน โดยการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ 

  • Robotics  การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานในกระบวนการผลิต โดยปัจจุบันหุ่นยนต์ 1 ตัวสามารถทำงานได้หลายหลาย เช่น หุ่นอเนกประสงค์ หุ่นยนต์ประกอบชิ้นส่วน หุ่นยนต์ขนส่ง หุ่นยนต์ตรวจสอบโรงงาน ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ ลดการผิดพลาดในการผลิตได้
  • Internet of Things  การใช้ระบบ IoT ในการสั่งการเครื่องจักรและหุ่นยนต์ สามารถช่วยให้การสั่งการในกรับวนการผลิตง่ายขึ้น โโยสามารถตั้งค่าคำสั่งอัตโนมัติได้จากระยะไกล มีการแจ้งเตือนเรื่องหากเกิดความผิดพลาดในการผลิต ช่วยให้จัดการได้อย่างเป็นระบบ
  • Smart Energy System  จะมีความเกี่ยวเนื่องกับการทำงานร่วมกับระบบ IoT อยู่บ้าง ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบสาธณูปโภคต่าง ๆ เข้าสู่อินเทอร์เน็ต และประมวลผลด้วย AI เพื่อการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งจะช่วยคำนวนพลังงานในการเปิด-ปิดเครื่องจักร และค่าใช้จ่ายในอุตสาหกรรม   

4. วิธีลดต้นทุนการผลิตด้วยการดูแล และการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต

หมั่นตรวจสอบ และดูแลเครื่องจักรให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอเพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิตจากการมีค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองเกิดขึ้นหากเครื่องจักรเสื่อมสภาพ

5. วิธีลดต้นทุนการผลิตด้วยการประยุกต์ใช้ข้อมูล (DATA) ให้มีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อจะได้นำข้อมูลการผลิตในส่วนต่าง ๆ มาวิเคราะห์ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดต้นทุนบุคลากรในการตรวจสอบการทำงานของพนักงานในหน่วยงาน ลดต้นทุนการจัดการลูกค้า และเพิ่มความถูกต้องในการผลิตให้แก่สถานประกอบการ

จะเห็นได้ว่า “การลดต้นทุนทางการผลิต” เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การเพิ่มผลกำไร และสร้างประสิทธิภาพให้กับสถานประกอบการ โดยสามารถทำได้ทั้งการลดต้นทุนการผลิต หรือการเพิ่มรายได้และยอดขายของธุรกิจ 

เมื่อสามารถคำนวณหาต้นทุนการผลิตทั้งหมดได้แล้ว ก็จะสามารถวิเคราะห์ แก้ไข และปรับปรุงเพื่อให้ต้นทุนการผลิตมีมาตรฐาน อีกทั้งการลดต้นทุนการผลิต ยังเป็นการลดค่าใช้จ่าย และลดความเสียหายในระหว่างที่กำลังดำเนินการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ แต่การลดต้นทุนการผลิตที่ถูกต้อง ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณภาพเช่นกัน

บริการวินิจฉัยกระบวนการผลิต

“สุมิพล คอร์ปอเรชั่น” บริษัทชั้นนำผู้จัดจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์มาตรฐาน และเครื่องจักรกลคุณภาพสูงแบรนด์ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก ที่ครอบคลุมงานทุกด้านในการผลิต ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากกว่า 10,000 ราย ในหลากหลายอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมายาวนานกว่า 30 ปี  

พร้อมให้คำปรึกษาด้านเทคนิค เครื่องมือ เครื่องจักรกลคุณภาพสูง และระบบงานออโตเมชั่น IoT พร้อมพัฒนาปรับปรุงเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตเดิมของท่าน ให้ครอบคลุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าได้อย่างครอบคลุมและครบวงจรในยุคอุตสาหกรรม 4.0 

ค่าใช้จ่ายในการผลิต มีกี่ประเภท

รวมไปถึงการวินิจฉัยไลน์การผลิตจากหน้างานจริง เพื่อพัฒนาวางแผนปรับปรุง และแนะนำเครื่องมือที่เหมาะสมกับการผลิต ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่

สนใจเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม

สามารถพูดคุย วิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นกับผู้เชี่ยวชาญของสุมิพลได้โดยตรง

สามารถติดต่อได้ ที่นี่ หรือ Call Center 02-762-3000

ที่มาข้อมูล : https://www.sumipol.com/knowledge/reducing-production-costs/ https://www.investopedia.com/ask/answers/042715/whats-difference-between-production-cost-and-manufacturing-cost.asp
https://www.dip.go.th/en/category/2020-05-23-11-52-18/2020-05-23-14-18-09