สมรรถภาพทางกายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง แต่ละประเภทมีองค์ประกอบอย่างไร

ความหมายของสมรรถภาพ (physical fitness)

        คำว่า สมรรถภาพทางกาย   (physical fitness)   มีผู้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละยุคสมัยมีความต้องการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายเพื่อวัตถุประสงค์อะไร  พอสรุปได้ดังนี้

         ในปี ค.ศ. 1967 Clarke (อ้างถึงใน สุวิมล, 2526ก : 101) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายว่า หมายถึง “ความสามารถของบุคคลในการทำงานต่างๆ ได้เป็นเวลานาน โดยไม่เหน็ดเหนื่อยก่อนกำหนด โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่เป็นพื้นฐานของสมรรถภาพทางกายคือความแข็งแรง ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ”
ค.ศ. 1969 Hart และ Shay (อ้างถึงใน สุพจน์, 2532 : 11) ได้กล่าวถึงความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
. . .เป็นภาวะของร่างกายที่สามารถทำหน้าที่ต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง จะทราบได้จากการทดสอบซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ความแข็งแรง ความอดทน กำลัง ความเร็ว ความคล่องตัว ความอ่อนตัวและความสมดุล ถ้าบุคคลใดมีองค์ประกอบเหล่านี้อยู่ในระดับสูง ก็จะสามารถประกอบภารกิจประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ. . . 
จอห์นสัน  และสโตรเบอร์ก  ( Johnson  and  Stolberg , 1971 : 9-10 )  กล่าวว่า  สมรรถภาพทางกายนั้นเป็นความสามารถในการประกอบกิจกรรมหนักๆ ได้เป็นอย่างดี  และรวมถึงคุณลักษณะต่างๆ ของการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่
1. สมรรถภาพของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ  (Cardio –Respiratory Fitness)
2. ความอดทน (Endurance)
3. ความแข็งแรง (Strength)
4. ความอ่อนตัว (Flexibililty)
5. สัดส่วนของร่างกายที่พอเหมาะ (Body Composition)           
Nieman (1986 : 34) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่าเป็นความสามารถในการเคลื่อนไหวที่มีการใช้พลังงาน มีความสำคัญไม่ใช่เฉพาะแต่การทำงานในชีวิตประจำวันเท่านั้น ยังรวมไปถึงการประกอบกิจกรรมในเวลาว่าง โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าและปราศจากอันตรายอีกทั้งเป็นการช่วยป้องกันโรคภัยต่างๆ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
Ryan และ Fred (1989 : 494) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายไว้ว่า สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ประสิทธิผลที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับการพัฒนาเป็นขั้นตอน โดยอาศัยการปฏิบัติทางด้านสุขภาพและการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การพักผ่อน และการออกกำลังกาย สิ่งดังกล่าวนี้จะเป็นพื้นฐานในการป้องกัน การรักษา ตลอดทั้งการเสริมสร้างสมรรถภาพ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานและมีการบำรุงรักษาให้คงอยู่ตลอดไป
American College of  Sports medicine (1992 : 9) ได้กล่าวถึง สมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า สมรรถภาพทางกายเป็นความสามารถในการพยายามทำงานที่หนัก โดยปราศจากความเหน็ดเหนื่อยเกินไป บุคคลใดมีสมรรถภาพทางกายดี  มีพลังก็ไม่สามารถทำงานได้สมบูรณ์ แต่จะต้องรวมไปถึงความสามารถในการเข้าร่วมกิจกรรมนอกบ้านหรือที่ทำงานด้วย

นักการศึกษาและนักพลศึกษาของไทยหลายท่าน  กล่าวไว้ ดังนี้

เจริญทัศน์ จินตนเสรี (2521 : 5) กล่าวเอาไว้ว่า
. . .สมรรถภาพทางกายหมายถึงความสามารถของร่างกายในการปฏิบัติหน้าที่ประจำวัน ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีความเหน็ดเหนื่อย อ่อนแอจนเกินไปสามารถสงวนและถนอมกำลังไว้ใช้ในยามฉุกเฉินและเวลาว่าง เพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงในชีวิตของตนเองด้วย. . . 
สุวิมล ตั้งสัจพจน์ (2526ก : 101) ได้กล่าวถึงสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า “สมรรถภาพ    ทางกาย หมายถึง ความสามารถในการทำงานต่างๆ ได้เป็นเวลานาน โดยไม่เหน็ดเหนื่อยก่อนกำหนด และร่างกายสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ในระยะเวลาอันสั้น” 
วรศักดิ์ เพียรชอบ (2527 : 98) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
. . .เป็นความสามารถของร่างกายในการที่จะในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวัน    ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีความเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป และสามารถสงวนและถนอมกำลังไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และใช้เวลาว่างเพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงในชีวิตของตนเองด้วย. . . 
วิริยา บุญชัย (2529 : 4) ได้กล่าวถึงสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
. . .เป็นความสามารถของบุคคลในการที่จะปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่รู้สึกเหนื่อยและสมรรถภาพทางกายนั้น มีองค์ประกอบ คือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ กำลังของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ สมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือด และการประสานงานของกล้ามเนื้อ. . . 
จรวยพร ธรณินทร์ (2534 : 6) ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
. . .สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถในการทำงานและเคลื่อนไหวของร่างกายได้ยาวนาน ไม่เหนื่อยง่าย ซึ่งสมรรถภาพทางกายประกอบด้วยความแข็งแรง ความอดทน ความอ่อนตัว ความคล่องตัว พละกำลัง และความสมดุลของกล้ามเนื้อ. . . 
อุทัย  สงวนพงศ์  ( 2547 : 35) ได้กล่าวถึง ความหมายของสมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่จะประกอบกิจกรรมหรือทำงานได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ติดต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า สมรรถภาพทางกาย หมายถึงความสามารถของร่างกายในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่หนักเป็นระยะเวลาติดต่อกันที่ยาวนานโดยไม่เหน็ดเหนื่อยก่อนกำหนด รวมทั้งร่างกายสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากองค์ประกอบของสมรรถภาพคือ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ กำลังของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ สมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือด ความแคล่วคล่องว่องไว ความเร็ว และการประสานงานของประสาทและกล้ามเนื้อ

สมรรถภาพทางกายคืออะไร มีกี่องค์ประกอบ อะไรบ้าง

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย.
สมรรถภาพทางกายของตนจะดีหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาที่องค์ประกอบต่าง ๆ ของสมรรถภาพทางกาย ซึ่งกองส่งเสริมพลศึกษาและสุขภาพกรมพลศึกษา ได้กล่าว สมรรถภาทางกายโดยทั่วไป ประกอบด้วยสมรรถภาพ ด้านย่อย ๆ 9 ด้าน.
1. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ.
2. ความทนทานของกล้ามเนื้อ.
4. พลังของกล้ามเนื้อ.
5. ความอ่อนตัว.

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 6 ด้าน มีอะไรบ้าง

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานระหว่างประเทศ (ICSPFI) การชั่งน้ำหนัก 1) วิ่ง ใช้วัดความเร็ว.
วิ่ง 50 เมตร (วินาที) ... .
ยืนกระโดดไกล (ซม.) ... .
แรงบีบมือที่ถนัด (กก.) ... .
ลุก-นั่ง 30 วินาที (ครั้ง) ... .
ดึงข้อราวเดี่ยว (ครั้ง) ... .
วิ่งเก็บของ (วินาที).

การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

โดยทั่วไปสมรรถภาพทางกายแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ 1. สมรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical fitness) 2. สมรรถภาพทางกายพิเศษ (Special Physical fitness)

สมรรถภาพทางกายมีองค์ประกอบ 2 กลุ่ม ได้แก่อะไรบ้าง

1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance) 2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) 3.ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)