คนพิการมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 4 หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมเนื่องจากมีความบกพร่องของบุคคลประกอบกับมีอุปสรรคด้านต่างๆ จำเป็นพิเศษ ดังนี้

ความพิการทางการเห็น
ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย
ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
ความพิการทางสติปัญญา
ความพิการทางการเรียนรู้
ความพิการทางออทิสติก

อ้างอิง
https://www.facebook.com/photo/?fbid=276412954682393&set=a.247774164212939

—————————-
Instagram : disabilitiesth
Youtube : Disabilities Thailand
TikTok : disabilitiesth
Twitter : @disabilitiesth
#dth #คนพิการ #สภาคนพิการ #disabilitiesth#disabilities #disable

สิ่งที่ทำให้คนพิการดูแปลกแยกไปจากคนทั่วไปคงขึ้นอยู่กับมุมมองล่ะมั้ง ที่จะทำให้คนพิการรู้สึกด้อยค่าหรือรู้สึกไร้ศักยภาพ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ให้คนอื่นยอมรับได้โดยทั่วกัน

 

สิ่งแรกที่คนพิการต้องการ คือ ความเท่าเทียมและสิทธิอันเสมอภาคในสังคม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่เพียงช่องว่างเล็ก ๆ เลย แต่เป็นเหมือนกับช่องโหว่ของสังคมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย เพื่ออุดให้รอยรั่วนี้มีขนาดเล็กลง

 

อย่างไรก็ดี ความพิการนี้มีทั้งแบบที่เราสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ชนิดที่ว่ามองปราดเดียวก็ดูออก กับอีกแบบคือความพิการที่อยู่ภายใน ที่อาจจะต้องใช้เวลาในการมองหาเสียหน่อย

 

ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันก็พยายามถึงที่สุดที่จะทดแทนสิ่งที่ขาดไปนั้น เช่น ขาเทียม เครื่องช่วยฟัง วีลแชร์ไฟฟ้า และอื่น ๆ ทั้งนี้ ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้ระบุไว้ถึงความพิการทั้ง 7 ประเภท แบ่งได้ตามลักษณะ คือ

 

1. ความพิการทางการเห็น คือ คนที่สูญเสียความสามารถทางการมองเห็น ทำให้ต้องใช้สื่อสัมผัสหรือสื่อเสียง ทดแทน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 ตาบอด สูญเสียการมองเห็นมาก และไม่อาจรับรู้เรื่องแสงหรือมีลานสายตาที่แคบกว่า 10 องศา
1.2 สายตาเลือนราง สูญเสียการมองเห็นบางส่วน สามารถมองเห็นได้ในระดับหนึ่ง แต่ต้องเป็นอักษรขยายใหญ่หรือใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก

 

2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย คือผู้ที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยจนถึงหูหนวก และไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่น ๆ ได้ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

2.1 หูหนวก
2.2 หูตึง
2.3 บกพร่องทางการสื่อความหมาย

 

3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

3.1 พิการทางการเคลื่อนไหว จะมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตประจำวัน
3.2 พิการทางด้านร่างกายเป็นผลมาจากความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกที่ชัดเจน

 

4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท โดยอาการเหล่านั้นอาจทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน หรือความบกพร่องในการดำเนินกิจวัตรต่าง ๆ โดยมากจะใช้สาเหตุของโรคเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ได้แก่

4.1 โรคจิตเภท
4.2 โรคซึมเศร้า
4.3 โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar)
4.4 โรคกังวลไปทั่ว
4.5 โรคออทิสซึ่ม
4.6 ความผิดปกติที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด
4.7 โรคสมองเสื่อม

 

5. ความพิการทางสติปัญญา คือคนที่มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ และมีระดับเชาว์ปัญญาที่ต่ำกว่าคนทั่วไป

 

6. ความพิการทางการเรียนรู้ บกพร่องในทักษะการเรียนรู้ เช่น การคำนวณ การคิด การพูด การฟัง

 

7. ความพิการทางออทิสติก มีความผิดปกติของสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 2 ขวบครึ่ง โดยอาจพบความผิดปกติทางการสื่อสาร ทางสังคมและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม

 

คนพิการแต่ละประเภทก็มีความต้องการและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป การอยู่ร่วมกันของคนที่มีความแตกต่างกันถึง 7 แบบ อาจจะสร้างความยุ่งยากเสียเล็กน้อย แต่เชื่อว่ามันไม่ไกลเกินเอื้อม ถ้าเราเรียนรู้กันไป ปรับตัวกันไป ไม่ว่าจะมีคนที่แตกต่างกันสักกี่ร้อยประเภทก็คงไม่ใช่ปัญหา

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าผู้พิการกันมาบ้างแล้ว บางคนอาจมีคนรู้จัก หรือคนในครอบครัวเป็นผู้พิการ หรือบางคนก็เป็นผู้พิการเอง แต่อีกหลายคนคงยังไม่ทราบความหมายและลักษณะของผู้พิการว่าเป็นอย่างไร

ความหมายของความพิการ

คนพิการหมายถึงคนที่มีความผิดปกติ หรือบกพร่องทางร่างกายทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ(1)

International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF)(2)ได้ให้ความหมายของความพิการ คือสิ่งที่ส่งผลให้บุคคลมีความบกพร่อง (Impairments) ข้อจำกัดในการทำกิจกรรม (Activity limitations) และข้อจำกัดในการมีส่วนร่วม (Participation restrictions) ดังนี้

  • ความบกพร่อง (Impairment) หมายถึง การสูญเสียหรือความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกายหรือการใช้งานของร่างกาย (รวมถึงการทำงานด้านจิตใจ) ที่สังเกตหรือเห็นได้ชัดดังนั้นความบกพร่องจะพิจารณาที่ “อวัยวะ” หรือ”ระบบการทำงาน” ของส่วนต่างๆของมนุษย์เช่นตาบอดหูหนวกเป็นใบ้อัมพาตออทิสติก เป็นต้น
  • ข้อจำกัดในการทำกิจกรรม (Activity limitation) หมายถึง ความยากลำบากในการกระทำกิจกรรมของแต่ละบุคคล เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติในวัยเดียวกันควรจะทำได้ อาจมีความยากลำบากได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงระดับมากดังนั้นข้อจำกัดในการทำกิจกรรมจะพิจารณาที่ “ความสามารถ” ของบุคคลโดยรวมว่าสามารถทำกิจกรรมหนึ่งๆจนเสร็จสิ้นได้หรือไม่ ถ้าได้จะต้องทำด้วยความลำบากหรือไม่โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นมีความบกพร่องอะไรบ้าง
  • ข้อจำกัดในการมีส่วนร่วม (Participation restriction) หมายถึง ปัญหาที่บุคคลประสบเมื่ออยู่ในสถานการณ์หนึ่งของชีวิตโดยเปรียบเทียบสิ่งที่บุคคลนั้นทำได้กับสิ่งที่คาดหวังว่าบุคคลที่ไม่มีความพิการสามารถทำได้ในสังคม หรือวัฒนธรรมเดียวกันเช่นการประกอบอาชีพการเดินทาง การดูแลบุตรการทำงานบ้านและการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เป็นต้น

ประเภทของคนพิการ

จากการให้ความหมายของความพิการข้างต้น ทำให้สามารถแบ่งประเภทของผู้พิการได้เป็น 5ประเภท โดยกระทรวงสาธารณะสุข (3) ได้แก่

  1. คนพิการทางการมองเห็น ได้แก่
    (ก) คนที่มีสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้วมองเห็นน้อยกว่า6/18 หรือ20/70ลงไปจนมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่างหรือ
    (ข) คนที่มีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา
  2. คนพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย ได้แก่
    (ก) คนที่ได้ยินเสียงที่ความถี่ 500 เฮิรตซ์ 1000 เฮิรตซ์หรือ 2000 เฮิรตซ์ในหูข้างที่ดีกว่าที่มีความดังเฉลี่ยดังต่อไปนี้
    (1) สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 7 ปี เกิน 40 เดซิเบลขึ้นไปจนไม่ได้ยินเสียง
    (2) สำหรับคนทั่วไปเกิน 55 เดซิเบลขึ้นไปจนไม่ได้ยินเสียงหรือ
    (ข) คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องในการเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูดจนไม่สามารถสื่อความหมายกับคนอื่นได้
  3. คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว ได้แก่
    (ก) คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจนและไม่สามารถประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำวันได้หรือ
    (ข) คนที่มีการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวมือแขนขาหรือลำตัวอันเนื่องมาจากแขนหรือขาขาดอัมพาตหรืออ่อนแรงโรคข้อหรืออาการปวดเรื้อรังรวมทั้งโรคเรื้อรังของระบบการทำงานของร่างกายอื่นๆที่ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำวันหรือดำรงชีวติในสังคมเยี่ยงคนปกติได้
  4. คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ได้แก่ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้อารมณ์ความคิดจนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเองหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น
  5. คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ ได้แก่ คนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องทาง สติปัญญาหรือสมองจนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาปกติได้

การจำแนกประเภทคนพิการตามกฎกระทรวงของกระทรวงสาธารณสุขไม่ค่อยจะสอดคล้องกับการจัดการศึกษาพิเศษให้คนพิการตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลกระทรวงศึกษาธิการ(4) จึงได้จำแนกคนพิการตามความต้องการจำเป็นทางการจัดการศึกษาเป็น 9 ประเภท ดังนี้

1. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับ
เล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิทอาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.1 คนตาบอด หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษรเบรลล์หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียงหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ 6 ส่วน 60หรือ 20ส่วน 200 (20/200) ลงมาจนถึงบอดสนิท (หมายถึง คนตาบอดสามารถมองเห็นวัตถุได้ในระยะห่างน้อยกว่า 6 เมตรหรือ 20 ฟุต ในขณะที่คนปกติสามารถมองเห็นวัตถุเดียวกันได้ในระยะ 60 เมตรหรือ 200 ฟุต) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 20 องศา (หมายถึง สามารถมองเห็นได้กว้างน้อยกว่า 20 องศา)
1.2 คนเห็นเลือนลาง หมายถึง คนที่สูญเสียการเห็นแต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ที่ขยายใหญ่ได้หรือต้องใช้แว่นขยายอ่านหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดี เมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับระหว่าง6 ส่วน 18 (6/18) หรือ20 ส่วน 70 (20/70) ถึง 6 ส่วน 60 (6/60) หรือ 20 ส่วน 200 (20/200) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา

2.บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึงระดับน้อยอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 คนหูหนวก หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถรับข้อมูลผ่านทางการได้ยินไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟังก็ตามโดยทั่วไป หากตรวจการได้ยินจะสูญเสียการได้ยินประมาณ 90 เดซิเบลขึ้นไป (เดซิเบลเป็นหน่วยวัดความดังของเสียง หมายถึง เมื่อเปรียบเทียบระดับเริ่มได้ยินเสียงของเด็กปกติเมื่อเสียงดังไม่เกิน25เดซิเบลคนหูหนวกจะเริ่มได้ยินเสียงดังมากกว่า 90 เดซิเบล)
2.2 คนหูตึง หมายถึง คนที่มีการได้ยินเหลืออยู่พอเพียงที่จะรับข้อมูลผ่านทางการได้ยินโดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟังและหากตรวจการได้ยินจะพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาจนถึง26 เดซิเบล คือ เมื่อเปรียบเทียบระดับเริ่มได้ยินเสียงของเด็กปกติเมื่อเสียงดังไม่เกิน 25 เดซิเบล เด็กหูตึงจะเริ่มได้ยินเสียงที่ดังมากกว่า 26 เดซิเบลขึ้นไปจนถึง 90 เดซิเบล

3. บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง คนที่มีพัฒนาการช้ากว่าคนปกติทั่วไปเมื่อวัดสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้วมีสติปัญญาต่ำกว่าบุคคลปกติและความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอย่างน้อย 2 ทักษะหรือมากกว่า เช่น ทักษะการสื่อความหมายทักษะทางสังคมทักษะการใช้สาธารณสมบัติการดูแลตนเองการดำรงชีวิตในบ้านการควบคุมตนเองสุขอนามัยและความปลอดภัยการเรียนวิชาการเพื่อชีวิตประจำวันการใช้เวลาว่างและการทำงานซึ่งลักษณะความบกพร่องทางสติปัญญาจะแสดงอาการก่อนอายุ 18 ปี

4. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ หมายถึง คนที่มีอวัยวะไม่สมส่วนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไปกระดูกและกล้ามเนื้อพิการเจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการระบบประสาทมีความลำบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติทั้งนี้ไม่รวมคนที่มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัสได้แก่ตาบอดหูหนวกอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
4.1 โรคของระบบประสาท เช่น ซีรีบรัลพัลซี (Cerebral Palsy) หรือโรคอัมพาตเนื่องจากสมองพิการโรคลมชักมัลติเพิลสเคลอโรซีส (MulitipleSclerosis)
4.2 โรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น ข้ออักเสบเท้าปุกโรคกระดูกอ่อนโรคอัมพาตกล้ามเนื้อลีบหรือมัสคิวลาร์ดิสโทรฟี (Muscular Dystrophy) กระดูกสันหลังคด
4.3 การไม่สมประกอบมาแต่กำเนิด เช่น โรคศีรษะโตสไปนาเบฟฟิดา (SpinaBifida) แขนขาด้วนแต่กำเนิดเตี้ยแคระ
4.4 สภาพความพิการและความบกพร่องทางสุขภาพอื่นๆ ได้แก่ สภาพความพิการอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุและโรคติดต่อ เช่น ไฟไหม้แขนขาขาด โรคโปลิโอ โรคเยื่อบุสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสและอันตรายจากการคลอดความบกพร่องทางสุขภาพ เช่น หอบหืด โรคหัวใจ วัณโรคปอด ปอดอักเสบ

5. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึง คนที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษาอาจเป็นภาษาพูดและ/หรือภาษาเขียน ซึ่งจะมีผลทำให้มีปัญหาในการฟัง การพูด การคิด การอ่าน การเขียน การสะกดหรือการคิดคำนวณรวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้สมองได้รับบาดเจ็บการปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไปซึ่งทำให้มีปัญหาในการอ่านและปัญหาในการเข้าใจภาษา ทั้งนี้ไม่รวมคนที่มีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากสภาพบกพร่องทางการเห็นการได้ยินการเคลื่อนไหวปัญญาอ่อนปัญหาทางอารมณ์หรือความด้อยโอกาสเนื่องจากสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมหรือเศรษฐกิจ

6. บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง คนที่มีความบกพร่องในเรื่องของการออกเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติหรือคนที่มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจและหรือการใช้ภาษาพูดการเขียนและหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบของภาษาเนื้อหาของภาษาและหน้าที่ของภาษา
7. บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ หมายถึง คนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมากและปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมหรือวัฒนธรรม

8. บุคคลออทิสติก หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคมภาษาและการสื่อความหมายพฤติกรรมอารมณ์และจินตนาการ ซึ่งมีสาเหตุเนื่องมาจากการทำงานในหน้าที่บางส่วนของสมองที่ผิดปกติไปและความผิดปกตินี้พบได้ก่อนวัย 30 เดือนและมีลักษณะที่สำคัญคือมีความบกพร่องทางปฏิสัมพันธ์ทางสังคมการสื่อสารพฤติกรรมและอารมณ์การรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้งห้าการใช้อวัยวะต่างๆ อย่างประสานสัมพันธ์การจินตนาการและมีความสนใจที่สั้น เป็นต้น

9. บุคคลพิการซ้อน หมายถึง คนที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกันเช่นคนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เป็นต้น

ซึ่งจากความหมายและการแบ่งประเภทของผู้พิการข้างต้น หากผู้พิการได้รับการลงทะเบียนตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 มาตรา 14 แล้วก็จะได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ แตกต่างกันไปตามประเภทของความพิการทำให้ผู้พิการเข้าถึงการคุ้มครองดูแลได้อย่างเหมาะสม และได้รับการดูได้ทั่วถึงมากขึ้น

ความพิการมีกี่ชนิด

ประเภทความพิการมี 7 ประเภท 1. พิการทางการเห็น 2. พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 3. พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 4. พิการจิตใจหรือพฤติกรรม 5. พิการทางสติปัญญา 6. พิการทางการเรียนรู้ 7. พิการทางการออทิสติก

ผู้พิการประเภท 4 คืออะไร

ผู้ที่มีความพิการประเภท 4 ก็คือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชที่มีผลกับการรับรู้ อารมณ์ ความคิด ซึ่งส่งผลกระทบกับการทำหน้าที่ชีวิตประจำวัน โดยอาการต้องไม่ใช่ในระยะเฉียบพลัน ส่วนใหญ่มักมีอาการและรักษามาต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน ตัวอย่างโรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิตเภท โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า ...

บัตรคนพิการประเภท 2 คืออะไร

2. บกพร่องทางร่างกายร่วมกับบกพร่องอื่นๆ เช่น สติปัญญา การเห็น การได้ยิน การเรียนรู้ ออทิสติก สมาธิสั้น เป็นต้น

พิการประเภท 6 คืออะไร

หมายถึง เด็กทั่วไปที่มีระดับสติปัญญาปกติหรือสูงกว่า แต่มีความบกพร่องเฉพาะด้าน เช่น การเขียน การอ่าน การคำนวณ หรือบกพร่องในหลายด้านพร้อมกัน จะพบได้ในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง