พฤติกรรมของลูกค้ามี กี่ ประเภท

พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจต้องหาทางในการศึกษาหาข้อมูลของผู้บริโภค เพื่อปรับให้การดำเนินงานทางธุรกิจทั้งด้านการตลาด, การขาย และการให้บริการนั้น ตอบสนองความต้องการ และความคาดหวังของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ซึ่งการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกธุรกิจ เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้น จะช่วยให้คุณนำไปใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ตลอดทั้งเส้นทางการเดินทางของผู้บริโภค


พฤติกรรมผู้บริโภคคืออะไร?

พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) คือ การศึกษาว่า ผู้คนทำการสั่งซื้ออย่างไร และทำไมถึงซื้อ รวมถึงสิ่งใดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของพวกเขา
บางบริษัทก็จะมีการใช้ระบบ หรือซอฟต์แวร์ในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการศึกษา พฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถรวบรวม และจัดระเบียบ ข้อมูล, สร้าง Dashboard เพื่อแสดงการวิเคราะห์แบบ Real-time, ตรวจสอบ KPI ของธุรกิจ และสร้าง Data Report ได้แบบอัตโนมัติ


ความสำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภคจะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target market) ได้ลึกมากขึ้น ยิ่งคุณรู้จักลูกค้าของคุณมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้คุณสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ที่ใช้เวลาและเงินของคุณได้อย่างดีที่สุดได้ง่ายยิ่งขึ้น

  • แคมเปญการตลาด : ความประทับใจแรกพบเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การทำการตลาดจะง่ายมากขึ้น หากคุณรู้แน่ชัดว่า กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของคุณกำลังมองหาอะไร? โดยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคจะชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่คุณต้องทำ เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มคนที่ใช่ ซึ่งก็คือ ผู้ที่ต้องการสินค้า หรือบริการของคุณนั่นเอง รวมไปถึง การทำความเข้าใจว่าลูกค้าของคุณเป็นใคร, พวกเขาซื้อสินค้าจากที่ไหน, พวกเขาทำการซื้ออย่างไร และซื้อเพราะอะไร?
  • การรักษาลูกค้า : คุณต้องไม่โฟกัสแค่เรื่องการสร้างลูกค้าใหม่เท่านั้น แต่ยังต้องดูแลลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้วด้วย ดังนั้น เมื่อคุณได้ลูกค้ามาแล้ว คุณต้อง พยายามรักษาพวกเขาไว้ โดยลูกค้าที่ซื้อซ้ำมักจะทำให้สินค้าของคุณ กลายเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของพวกเขาและก็จะกลายเป็นผู้สนับสนุนแบรนด์ ที่จะแนะนำ หรือบอกต่อกับครอบครัวและเพื่อน ๆ 

  • ความแตกต่างของลูกค้า : ลูกค้าแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน แม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดเพียงกลุ่มเดียว แต่ว่า แต่ละคนต่างก็มีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรเจาะลึก ฐานผู้บริโภคของคุณ เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงและกำหนดเป้าหมาย จากกลุ่ม ประชากรได้มากขึ้น 
  • การวิเคราะห์คู่แข่ง : การวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าของคุณเองไม่ได้  ครอบคลุมภาพรวมทั้งหมดได้ การรู้ว่าทำไมคนถึงซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณนั้น มีประโยชน์ เช่นเดียวกับการทำความเข้าใจว่าทำไมคนอื่นถึงไม่ซื้อ โดยการพิจารณาประสิทธิภาพของคู่แข่งเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงเหตุผลที่ผู้บริโภค บางคนเลือกคู่แข่งมากกว่าคุณ ซึ่งการพิจารณาถึงสิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ จะทำให้คุณได้เปรียบในการแข่งขัน
  • แนวโน้มของตลาด : การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงเวลาหนึ่งสามารถช่วยให้คุณระบุจุดสูงสุด และจุดต่ำสุดในธุรกิจได้ โดยบริษัทของคุณจะตัดสินใจได้ดีขึ้นเกี่ยวกับอุปทาน หรือความต้องการขาย (Supply) เมื่อคุณจับตาดูเทรนด์ของตลาด เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่า อุปสงค์หรือความต้องการซื้อ (Demand) จะไปในทิศทางไหน
  • การจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Product Portfolio Management : PPM) : การทำความเข้าใจลูกค้าของคุณจะทำให้คุณเข้าใจถึงข้อมูลเชิงลึกของประสิทธิภาพ ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยให้คุณเก็บข้อมูลนี้ไว้ให้ดี ในขณะที่ดำเนินการจัดการ กลุ่มผลิตภัณฑ์ซึ่งจะทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนอุปทาน เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ ได้หากลูกค้าของคุณมีความรู้สึกชื่นชอบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่งของคุณเป็นอย่างมาก การจัดสรรทรัพยากรให้กับผลิตภัณฑ์นั้นมากขึ้นก็อาจคุ้มค่า และ ลดเวลา กับเงินที่ใช้ไปกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้และหากตลาดไม่มีการตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ตัวใด ตัวหนึ่งอีกต่อไป ก็อาจถึงเวลาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

ประเภทของพฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภคมีอยู่ 4 ประเภท โดยแต่ละบุคคลอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งแบบหรือมากกว่านั้น ซึ่งคุณต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาว่า ผู้บริโภคของคุณมีพฤติกรรมแบบใดมากที่สุด

พฤติกรรมการซื้อที่ซับซ้อน (Complex buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่ซับซ้อนเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคทำการซื้อเฉพาะ (Unique Purchase) ซึ่งอาจเป็นกระบวนการซื้อสินค้าที่มีราคาแพง หรือสิ่งที่ผู้ซื้อไม่ค่อยคุ้นเคย ในกรณีนี้ ผู้บริโภคจะใช้เวลามากในการค้นคว้าหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อทำให้การตัดสินใจนั้นถูกต้อง

ขั้นตอนการวิจัยผู้บริโภคของพฤติกรรมการซื้อนี้ อาจรวมถึง การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาด หรือปรึกษากับเพื่อน, ครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญโดยผู้บริโภคใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาไอเดีย เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจากผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องในการเริ่มมีความคิดเห็น และในที่สุดความคิดเห็นนี้จะกลายเป็นความชอบ สำหรับผลิตภัณฑ์ บางอย่างที่พวกเขาคิดว่าจะ ตอบสนองความคาดหวังของตนได้และทำการซื้อในที่สุด

พฤติกรรมการซื้อที่ ลดความซับซ้อน (Dissonance-reducing buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อที่ลดความซับซ้อน คือ เมื่อผู้บริโภคพร้อมที่จะใช้เวลามากในการตัดสินใจซื้อ โดยการตัดสินใจนี้ อาจจะเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพวกเขา เนื่องจากพวกเขาต้องมองหาข้อดี และความแตกต่างระหว่างแบรนด์ต่าง ๆ อย่างยากลำบาก ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติเมื่อมีการซื้อใน จำนวนมาก  

ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับรถยนต์มากนัก อาจใช้เวลานานในการตัดสินใจ เลือกซื้อ โดยพวกเขาอาจจะมีเกณฑ์บางอย่าง เช่น ที่นั่งแบบ 4 ประตู, ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  (Eco-friendly), ที่นั่งที่ให้ความสบาย และด้วยรถยนต์จำนวนมาก ที่มีคุณสมบัติตามที่พวกเขาต้องการ จึงทำให้การตัดสินใจครั้งนี้ อาจเกิดความเครียดขึ้นมาได้ โดยความกังวลหลัก ๆ สำหรับผู้บริโภคที่ต้องเจอกับพฤติกรรมการซื้อนี้ คือ ความกลัวในการ เลือก และรู้สึกเสียใจในภายหลัง

พฤติกรรมการซื้อที่เป็นนิสัย (Habitual buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อที่เป็นนิสัย คือ เป็นพฤติกรรมการซื้อที่เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าที่มีความ เสี่ยงน้อยและไม่มีความแตกต่างระหว่าง แบรนด์ต่าง ๆ มากนัก ในกรณีนี้ผู้ซื้อมักจะคุ้นเคยกับ ผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว หรือใช้อยู่เป็นประจำ

พฤติกรรมนี้เป็นเรื่องปกติสำหรับการซื้อด้วยอารมณ์ หรือการซื้อที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า (Impulse buying) เนื่องจากลูกค้าเข้าใจตลาดอยู่แล้ว โดยพวกเขาจะพึ่งแบรนด์ที่มีความ คุ้นเคยเมื่อทำการซื้อของเหล่านี้ แต่ความภักดีต่อแบรนด์ไม่ได้สำคัญสำหรับพวกเขา เพราะพวกเขารู้จักแบรนด์มากมายที่สามารถตอบสนองความต้องการได้

พฤติกรรมการซื้อแบบแสวงหาความหลากหลาย (Variety-seeking buying behavior)
พฤติกรรมการซื้อแบบแสวงหาความหลากหลาย เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคต้องการเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ โดยพวกเขามักจะใช้ผลิตภัณฑ์เดิมมาระยะหนึ่งแล้ว และต้องการลองสิ่งใหม่ ๆ

โดยการเลือกสิ่งที่ต่างออกไป ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะไม่พึงพอใจกับประสบการณ์ ที่ได้ รับจากผลิตภัณฑ์เดิมก่อนหน้านี้เสมอไป ซึ่งพฤติกรรมการซื้อแบบนี้ มักจะเห็นได้ในกลุ่มของ ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงน้อย

ปัจจัยของพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลต่อวิธีการ หรือเหตุผลในการเลือกซื้อ ตามความต้องการแบบเฉพาะ บุคคลของพวกเขา ซึ่งจะพบได้ในกระบวนการซื้อนั้น ๆ 

ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม
ปัจจัยทางวัฒนธรรมช่วยผู้คนในการสร้าง และเปลี่ยนความคิดเห็น กับความชอบ โดยมุมมองทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากค่านิยม และอุดมการณ์ของชุมชนลูกค้าของคุณ ซึ่งปัจจัยทางวัฒนธรรมเหล่านี้ รวมถึงวัฒนธรรมย่อย อย่างเช่น ศาสนา, ชาติพันธุ์, สัญชาติ หรือสมาคมภูมิศาสตร์

ชนชั้นทางสังคมมีบทบาทสำคัญในปัจจัยทางวัฒนธรรมเหล่านี้ เพราะหากชุมชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่สามารถซื้อสินค้าของคุณได้ หรือสินค้านั้น ไม่มีประโยชน์กับพวกเขาแล้ว คุณจะทำให้พวกเขา เสียเวลาไปเปล่า ๆ และหากไม่มีชุมชนกลุ่มไหนที่มองเห็นประโยชน์ในสินค้าของคุณ ก็อาจจะคุ้มค่า ในการกลับไปวางแผน หรือเริ่มต้นใหม่

ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยส่วนบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีโอกาสมาเป็นลูกค้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ไม่ว่าจะเป็น อายุ, เพศ, อาชีพ, ระดับการศึกษา, รายได้ หรือไลฟ์สไตล์

อายุและเพศ จะช่วยให้คุณจำกัดขอบเขตในการคิดของพวกเขาได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายประกัน การวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค อาจแสดงให้เห็นว่า คนที่คุณควรขายให้นั้น เป็นวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ หรือถ้าหากคุณกำลังขายวิดีโอเกม การวิเคราะห์อาจแสดงให้เห็นถึง สิ่งที่กลุ่มวัยรุ่นชายและวัยหนุ่มสาวให้ความสนใจมาก

การรวบรวมข้อมูลในเรื่องของรายได้ เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาสินค้า หากคุณกำลังพยายามขายสินค้า หรือบริการที่แพงเกินไปสำหรับกลุ่มเป้าหมายของคุณ แสดงว่าคุณกำลังทำผิดพลาดครั้งใหญ่ ในทางกลับกัน คุณสามารถระบุได้ว่า การขึ้นราคาเป็นประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่ายหรือไม่ โดยการวิเคราะห์รายได้ของผู้บริโภคของคุณ จะแสดงให้เห็นว่า พวกเขายินดีจ่ายเท่าไหร่ โดยพิจารณาจากจำนวนเงินที่พวกเขาใช้จ่ายอยู่

อาชีพ และไลฟ์สไตล์เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่สำคัญที่ส่งผลต่อข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายปากกามาร์คเกอร์ การทำการตลาดกับกลุ่มคุณครู ก็จะมีความ สำคัญเป็นพิเศษ หรือหากคุณกำลังขายเครื่องออกกำลังกาย คุณต้องการโฟกัสไปยังคนที่ ต้องการจะออกกำลังกาย

ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค และวิธีการที่พวกเขาพยายามในการตัดสินใจซื้อ โดยปัจจัยเหล่านี้ จะรวมถึงความเชื่อ, แรงจูงใจ และการรับรู้

โดยความเชื่อมีบทบาทอย่างมากต่อการที่สินค้าของคุณจะได้รับการตอบรับที่ดีหรือไม่ หากคน หนึ่งมีความหลงใหลในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิของสัตว์มาก ๆ และสินค้าของคุณทำด้วยขนสัตว์จริง แบรนด์ของคุณก็จะไม่ตรงกับความเชื่อของคนนั้น และเขาก็จะไม่มาเป็นลูกค้าของคุณ

แรงจูงใจจะมีบทบาทน้อยกับสิ่งที่คนต้องการ (Want) แต่จะมีบทบาทมากกว่ากับสิ่งที่คนจำเป็นต้องมี (Need) 

บริษัทที่ขายกล้องวงจรปิด ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ในเรื่องความปลอดภัย เพื่อกระตุ้นการรักษาความปลอดภัยและเพิ่มการป้องกันตัวเอง

ซึ่งการรับรู้นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคสร้างความคิดเห็นแบบเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสินค้าของคุณ โดยความคิดเห็นนี้ มักจะเกิดขึ้นจากการรับรู้เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ และความพยายามทางการตลาดของคุณ, การรีวิวของลูกค้า และชื่อเสียงโดยทั่วไป

ปัจจัยทางด้านสังคม
ปัจจัยทางสังคมประกอบไปด้วยผู้คนในชีวิตของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อพวกเขา และการตัดสินใจของพวกเขา โดยกลุ่มหลักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจด้านจิตวิทยาสังคมเหล่านี้ คือ ครอบครัว และเพื่อน เมื่อเพื่อนที่เชื่อถือได้แนะนำสินค้า ผู้บริโภคก็จะได้รับความปลอดภัย เพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่ง ด้วยการที่รู้ว่าเพื่อนของพวกเขาใช้สินค้านั้นแล้วดี

88% ของผู้ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า พวกเขาเชื่อคำแนะนำจากคนที่พวกเขารู้จักมากกว่าแหล่งข้อมูลอื่นๆ


ปัจจัยทางด้านสถานการณ์

ปัจจัยทางด้านสถานการณ์เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยชั่วคราว แต่ก็ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค สำหรับร้านค้าที่มีหน้าร้าน ก็จะรวมถึงการจัดแสง, การจัดวางต่าง ๆ, ดนตรี, สถานที่ และบรรยากาศทั่วไปของร้าน

ปัจจัยทางด้านสถานการณ์ สำหรับร้านค้าอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ได้แก่ ความง่ายในการเลือกซื้อ, สีและโครงสร้างหน้าเว็บเพจ หรือเวลาในการดาวน์โหลดข้อมูล หากหน้าเว็บใช้เวลาในการโหลดนานเกินไป หรือผู้เข้าชมยังไม่แน่ใจว่าจะซื้อสินค้ากับคุณหรือไม่ ก็อาจจะทำให้คุณสูญเสียลูกค้าไปได้


รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภค

คุณควรจับตาดูรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย ในการเริ่มเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรม ผู้บริโภค โดยการสังเกตรูปแบบเหล่านี้ทำให้คุณสามารถตรวจสอบสิ่งที่ทำได้มากกว่าเดิม เพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย

  • สถานที่ซื้อ : การรวบรวมข้อมูลว่า กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของคุณชอบซื้อของ ที่ไหนเป็นสิ่งสำคัญ พวกเขาชอบซื้อของออนไลน์หรือไม่? พวกเขาใช้เวลานานแค่ไหน ในการซื้อสินค้าของคุณ? พวกเขาอาศัยอยู่ในประเทศ หรือ จังหวัดไหน? และไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนคุณก็ควรจะไปแสดงตัวอยู่เสมอ
  • สินค้าที่ซื้อ : สิ่งที่สำคัญ คือ คุณต้องรู้ว่าผู้บริโภคจะเลือกซื้ออะไร แล้วอะไรเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้พวกเขาตัดสินใจซื้อ? หรือหากพวกเขาเลือกคู่แข่ง อะไรที่ทำให้พวกเขาเชื่อว่า คู่แข่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า?
  • เวลาที่ซื้อ : บางคนชอบซื้อของในตอนเช้า และบางคนชอบซื้อของตอนกลางคืน ซึ่งจริง ๆ แล้ว ก็ไม่ได้มีเวลากำหนดตายตัว แต่เมื่อพูดถึงลูกค้าของคุณ สิ่งสำคัญที่ควรทราบ ก็คือ เมื่อไหร่ที่พวกเขาต้องการที่จะซื้อสินค้าของคุณ?
  • ความถี่ในการซื้อ : การรู้ว่าเหตุใดพวกเขาจึงตัดสินใจซื้อเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ ต้องรู้ว่าพวกเขาตัดสินใจที่จะซื้อซ้ำหรือไม่? และเพราะอะไรถึงซื้อซ้ำ? หากผู้บริโภคตัดสินใจที่จะไม่ซื้อซ้ำ ก็ควรมีการทำแบบสำรวจ เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์
  • วิธีการซื้อ : ด้วยวิธีการซื้อที่แตกต่างกันในปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญมากขึ้น คือ คุณจำเป็นต้องรู้ว่า ลูกค้าของตนเองต้องการซื้อสินค้าที่ไหน? ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าควรจะขายผ่านอีคอมเมิร์ซหรือหน้าร้านดีกว่ากัน

ขั้นตอนของพฤติกรรมผู้บริโภค

การทำความเข้าใจ 5 ขั้นตอนหลักที่ผู้บริโภคอยู่ในกระบวนการซื้อ จะสามารถช่วยให้คุณตั้งเป้าหมายไปที่ผู้บริโภคได้ในทุกขั้นตอน โดยมีดังนี้

  1. ปัญหา (Problem) : การซื้อทุกครั้งเริ่มต้นด้วยความต้องการบางอย่าง โดยในขั้นตอนนี้ ผู้บริโภคได้ตัดสินใจว่า พวกเขาจะซื้อสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
  2. ข้อมูล (Information) : ขั้นต่อไปจะเป็นส่วนการวิจัยตลาดของพฤติกรรมผู้บริโภค ในจุดนี้ ผู้บริโภคจะเริ่มมองหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ โดยพวกเขามักจะมีระดับราคา (Price Point) อยู่ในใจ หรือที่ตั้งร้านค้าที่ต้องการซื้อของ รวมถึงการรวบรวมข้อมูล ทั้งการอ่านรีวิวออนไลน์ หรือการขอคำแนะนำจากเพื่อน และครอบครัว
  3. วิธีการแก้ไข (Solution) : เมื่อขั้นตอนการศึกษาหาข้อมูลเสร็จสิ้น ผู้บริโภคจะค้นหาสินค้าที่แก้ไขปัญหาได้ ซึ่งรวมถึงการเปรียบเทียบสินค้าต่าง ๆ และการดูรีวิวจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างความแตกต่างของตัวเลือกให้มากยิ่งขึ้น
  4. การซื้อ (Purchase) : ผู้บริโภคทำการตัดสินใจ และซื้อสินค้า โดยพวกเขาหวังว่า สินค้าที่ได้รับนั้นจะตรงกับคำบอกกล่าวที่แบรนด์ได้แจ้งไว้
  5. การทบทวน หรือการพิจารณา (Review) : เมื่อกระบวนการเสร็จสิ้น ผู้บริโภคอาจใช้ประสบการณ์ของตน ไม่ว่าจะเป็น ในด้านบวก หรือด้านลบ เพื่อโน้มน้าวคนอื่น ๆ โดยกระบวนการซื้อนั้นจะสิ้นสุดลงสำหรับผู้บริโภครายนี้ แต่สำหรับผู้บริโภครายอื่น ก็คือการเริ่มต้นขึ้น

ประโยชน์ของการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค

การรวบรวม และการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก และการมีข้อมูลจำนวนมากย่อมมีประโยชน์กว่าการที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ เพราะเราจำเป็นที่ต้องจะใช้ข้อมูลในการดำเนินการดังนี้

  • พัฒนาความพึงพอใจของลูกค้าให้ดีขึ้น : ยิ่งคุณรู้จักลูกค้าของคุณมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งสามารถปรับประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ตรงกับความต้องการของพวกเขาได้มากขึ้นเท่านั้น เมื่อลูกค้ารู้สึกว่ามีคนเข้าใจพวกเขา พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้า และกลายเป็นลูกค้าประจำ
  • พัฒนาความพยายามทางการตลาดให้ดีขึ้น : แน่นอนว่าคุณกำลังทำการตลาดอยู่แล้ว แต่การทำการตลาดโดยคำนึงถึงพฤติกรรมผู้บริโภค จะทำให้การทำ Personalization ได้ผลดีขึ้นไปอีกระดับ โดยผู้คนต้องการประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลในการช็อปปิง และการวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคสามารถช่วยให้คุณทำกลยุทธ์ทางการตลาด และแคมเปญของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

75% ของผู้บริโภค มีแนวโน้มที่จะซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มอบประสบการณ์แบบ Personalization มากขึ้น

  • ใช้ทรัพยากรได้ดียิ่งขึ้น การทำการตลาดไม่ใช่สิ่งเดียวที่ช่วยให้คุณประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการทบทวนพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ 
    • หากลูกค้าของคุณส่วนมาก เป็นลูกค้าออนไลน์ องค์ประกอบของอีคอมเมิร์ซ ก็จะเปิดโลกทัศน์ หรือประสบการณ์ของคุณ
    • หากระดับรายได้ของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดไม่ตรงกับราคาของคุณ ให้พิจารณาสัดส่วนกำไรนั้นอีกครั้ง
    • หากฐานผู้บริโภคของคุณชอบชอปปิงในตอนเช้า การปรับเวลาทำการของคุณ ก็อาจช่วยลดช่องว่างลงได้เช่นกัน
  • ทำให้อุปสงค์และอุปทานมีความสมดุล การรวบรวมข้อมูลของฐานลูกค้าของคุณยังหมายถึง การรวบรวมข้อมูลของธุรกิจอุตสาหกรรมอีกด้วย หากคุณยึดถือข้อมูลในอดีตนั้น คุณอาจจะเริ่มสังเกตเห็นเทรนด์ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณขายชุดว่ายน้ำ คุณก็จะได้ลูกค้าเข้ามาเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูร้อน หรือหากคุณขายเสื้อสเวตเตอร์ และเสื้อแจ็กเก็ต คุณจะเห็นยอดขายนั้น หลั่งไหลเข้ามาในช่วงเดือนที่อากาศหนาวเย็น โดยการใช้ข้อมูลเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า คุณมีอุปทานที่ตรงตามความต้องการอยู่เสมอ
  • การโน้มน้าวใจได้ผลมากยิ่งขึ้น
    ท้ายที่สุด คุณต้องการให้ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าเลือกคุณมากกว่าคู่แข่ง โดยการวิเคราะห์ พฤติกรรมผู้บริโภค และใช้สิ่งที่คุณค้นพบให้เป็นประโยชน์ เพื่อปรับประสบการณ์ ของผู้ใช้ให้ดีที่สุด และสามารถโน้มน้าวให้ผู้คนหยุดค้นหาและซื้อสินค้าของคุณได้

ความท้าทายของพฤติกรรมผู้บริโภค
ในการเริ่มรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค มีสิ่งที่คุณต้องคำนึงถึง เพื่อบริหารจัด การกับความคาดหวังและเตรียมแผนสำรองเอาไว้

  • ไม่รับประกันความแน่นอนข้อมูลเป็นสิ่งที่มีค่า และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อต้อง วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้อาจไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ข้อมูลอาจจะ แม่นยำในช่วงเวลาที่เก็บข้อมูลเท่านั้น โดยการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคต้องเป็น กระบวนการที่คงที่เพื่อให้การตีความข้อมูลของคุณชัดเจนมากที่สุด
  • ข้อจำกัดของมุมมอง คุณไม่สามารถทำการสัมภาษณ์ลูกค้าทั้งหมดของคุณได้ ซึ่งทำให้มุมมองเกี่ยวกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของคุณที่ได้มานั้นค่อนข้างจำกัด
  • ความไม่เท่าเทียมกันของผู้บริโภค ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แม้จะมีผู้บริโภค 100 คน อยู่ในที่แห่งเดียวกัน แต่ทุก ๆ คนก็จะมีเหตุผลที่แตกต่างกันไปว่า ทำไมพวกเขาถึง ซื้อสินค้าของคุณ

วิธีรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค

  • แบบสำรวจ / แบบสอบถาม : เวลาที่ดีที่สุดในการรวบรวมข้อมูล คือ หลังจากทำการซื้อ ให้ลองส่งแบบสำรวจเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับประสบการณ์การซื้อของลูกค้า และหลังจากนั้นไม่นาน ให้ส่งแบบสำรวจเพื่อฟังประสบการณ์ของผู้ใช้ เพื่อดูว่าพวกเขาจะซื้อซ้ำหรือไม่? โดยให้เสนอดีลการซื้อน่าสนใจไปการกระตุ้น เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ อย่างการใช้โค้ดโปรโมชัน หรือคูปองลดราคา ร่วมด้วย
  • การทำ Focus Group : หากคุณโชคดีพอที่จะได้กลุ่มผู้บริโภคดี ๆ มารวมกัน คุณสามารถถามคำถามที่ปรับให้เหมาะสม เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือจริง ๆ
  • ความคิดเห็นของลูกค้า : ก่อนที่คุณจะรู้สึกแย่ที่ต้องสูญเสียลูกค้าไป ให้ถือว่ายังมีข้อดีอยู่บ้าง เนื่องจากการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์นั้นหาได้ยาก และการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้า สามารถช่วยคุณพัฒนาหรือ เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ควรทำได้ หากคุณนำคำติชมมาปรับปรุง อาจจะทำให้คุณชนะใจ คนเหล่านั้นให้กลับมาซื้อซ้ำก็เป็นได้
  • การติดตามผ่านทางออนไลน์ : หลายธุรกิจต่างมีการติดตามลูกค้าผ่านเครื่องมือต่าง ๆ  อย่าง การเก็บข้อมูลบทเว็บไซต์ (คุกกี้) เพื่อศึกษาว่า ลูกค้าของตนอยู่ที่ไหน? และกำลังทำอะไรบนอินเทอร์เน็ต? ซึ่งการติดตามพฤติกรรมออนไลน์ ไม่เพียงแต่รวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของบริษัทเท่านั้น แต่ยังช่วยในการโฆษณาหรือส่งข้อมูลไปหาพวกเขา ได้อีกด้วย
  • การตรวจสอบ Social Media : ในปัจจุบัน มีการแชร์ข้อมูลมากมายจากผู้บริโภค โดย Social Media เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีในการดูว่า กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของคุณ กำลังพูดถึงอะไร? และมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอุตสาหกรรม ซึ่งทุกวันนี้ Social Media ก็ยังเป็นที่นิยม ในการค้นหาคำติชมที่ไม่ได้ผ่านการกรอง โดยบริษัทจำนวนมากได้ใช้ ซอฟต์แวร์ที่มอนิเตอร์ Social Media เพื่อรวบรวมและแสดงข้อมูล ที่ได้ให้เป็นไป โดยอัตโนมัติ
  • สิ่งจูงใจในเชิงบวก : การทำให้การรวบรวมข้อมูลนั้นง่ายขึ้น ให้คุณพิจารณาการ ให้รางวัลให้กับลูกค้า โดยอาจจะให้คะแนน, คูปอง หรือ โค้ดโปรโมชันเป็นการตอบแทน หรือเพิ่มมูลค่าการซื้อให้สูงขึ้น

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลของพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของโลกออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์มากมาย ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลเหล่านั้น มาปรับใช้กับแผนการดำเนินงานธุรกิจได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Source : Learn.g2.com 

ติดตามสาระความรู้เกี่ยวกับ
Digital Marketing และเทคโนโลยีได้ที่ Ourgreenfish Connect

ประเภทของ Buyers มีอะไรบ้าง

รู้จัก 4 กลุ่มผู้ซื้อสินค้า ตามการรับรู้คุณค่า.
1. กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นเรื่องราคา (Price Buyers) ... .
2. กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นเรื่องความสัมพันธ์ (Relationship Buyers) ... .
3. กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นเรื่องคุณค่า (Value Buyers) ... .
4. กลุ่มผู้ซื้อที่เน้นเรื่องความสะดวก (Convenience Buyers).

ลูกค้ามี 4 แบบอะไรบ้าง

ประเภทของลูกค้า 4 แบบ ที่ควรรู้.
1. ลูกค้าที่มีความต้องการที่ชัดเจน ... .
2. ลูกค้าที่ต้องการความสัมพันธ์ก่อนตัดสินใจซื้อ ... .
3. ลูกค้าที่ชอบพูดมากกว่าคุณและกล้าแสดงออก ... .
4. ลูกค้าสไตล์เงียบๆ และช่างคิดวิเคราะห์.

พฤติกรรมของผู้บริโภคมีอะไรบ้าง

เปลี่ยนแปลงไป...
พฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างอย่างไรกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต.
1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่สูงขึ้น.
2. พฤติกรรมการชำระสินค้าด้วยเงินดิจิทัล.
4. พฤติกรรมในการเกาะกระแสสังคม.
5. พฤติกรรมลดความภักดีต่อแบรนด์.

ลักษณะของตลาดลูกค้า แบ่งได้ 5 ประเภท อะไรบ้าง

ส่อง 5 ประเภทลูกค้าที่ไม่ว่าธุรกิจไหนก็ต้องเจอ.
1. ลูกค้าที่มีความต้องการชัดเจน.
2. ลูกค้าที่ช่างคิดช่างเลือก.
3. ลูกค้าที่มีความคิดเป็นของตนเอง.
4. ลูกค้าที่ซื้อเพราะโปรโมชั่น.
5. ลูกค้าที่เป็นขาประจำ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita