การทําธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง

ยุคที่การจัดการการเงินเป็นเรื่องง่ายเพียงปลายนิ้ว ด้วยเทคโนโลยีการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการงานผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Banking) อินเทอร์เน็ต (Internet Banking) ซึ่งนับวันยิ่งเข้ามาทดแทนการใช้เงินสดแบบเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยข้อดีด้านความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดต่างๆ จากการบริหารจัดการเงินสด และเพื่อความปลอดภัยของการทำธุรกรรมออนไลน์ เราในฐานะผู้ใช้และเจ้าของเงินควรรู้เท่าทันมิจฉาชีพ และระมัดระวังอย่างรอบด้าน

1. อุปกรณ์ที่ใช้ต้องเชื่อถือได้

อุปกรณ์ที่ใช้ทำธุรกรรมนั้นต้องปลอดภัยเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ที่สำคัญคือควรใช้อุปกรณ์เหล่านี้ที่เป็นของตนเอง ไม่ควรหยิบยืมใครใช้ หรือใช้อุปกรณ์สาธารณะในการทำธุรกรรม เพื่อลดความเสี่ยงของเงินในบัญชี และช่วยให้สามารถจับสัญญาณความผิดปกติได้เมื่อเกิดเหตุการณ์น่าสงสัย

2. อัปเดทอุปกรณ์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด

การมีอุปกรณ์ที่ใช้ซอฟท์แวร์ตัวล่าสุด ไม่เพียงแต่เป็นการอัปเดตการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังเป็นการปิดทุกช่องโหว่ที่มิจฉาชีพใช้เป็นทางเข้ามาในอุปกรณ์ได้ ดังนั้นเพื่อประหยัดเวลา และความปลอดภัยสูงสุด อาจเลือกใช้ระบบอัปเดทอัตโนมัติก็ได้

3. รู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังใช้อินเทอร์เน็ตที่ไหน

อินเทอร์เน็ตทุกที่ใช่ว่าจะปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมออนไลน์ โดยเฉพาะพวก Free-Wifi ในร้านกาแฟ หรืออินเทอร์เน็ตฟรีตามแหล่งท่องเที่ยว บางครั้งอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับการจ่ายบิล หรือโอนเงิน แต่หากจำเป็นต้องทำธุรกรรมออนไลน์จริงๆ ให้ใช้ Virtual Private Network หรือ (VPN) เพื่อเข้ารหัสการใช้งาน ทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้

4. ใช้โปรแกรมรักษาความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ

ก่อนเชื่อมต่อเข้าสู่บัญชีธนาคาร ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันหลายชั้น และอัปเดทอย่างสม่ำเสมอ เพราะโปรแกรมเหล่านี้จะสามารถรับมือกับไวรัส และมัลแวร์ได้หลายชนิด หรือแม้กระทั่งกลลวงจากอีเมล์ หรือเว็บไซต์ปลอมที่หลอกให้เจ้าของกรอกข้อมูลสำคัญลงไปได้อีกด้วย

5. รหัสผ่านต้องซับซ้อน ไม่ใช้ซ้ำ

กฎเหล็กของการตั้งรหัสผ่านคือ อย่าใช้รหัสผ่านซ้ำกัน แม้การจำรหัสหลายๆ ตัว จะเป็นเรื่องยาก แต่หากนึกถึงเงินในบัญชีที่เสียให้ภัยมิจฉาชีพแล้วเชื่อว่าต่อให้มีอีกกี่สิบรหัส เราก็จะจดจำได้ รวมทั้งการตั้งรหัสผ่านนั้นต้องยาก ซับซ้อน และถามตัวเองทุกครั้งว่ารหัสผ่านที่ตั้งไว้นั้นดีพอแล้วหรือยัง เพราะรหัสผ่านที่ดี ย่อมสร้างความปลอดภัยที่มากกว่า และเป็นปราการป้องกันภัยที่ดียิ่งขึ้น

6. ยืนยันตนสองขั้นตอนเพิ่มความปลอดภัย

ถ้าหากธนาคารเสนอการใช้การยืนยันตนสองขั้นตอน หรือ (2FA) ขอแนะนำให้ใช้ เพราะวิธีนี้จะเป็นการเช็กความปลอดภัยซ้ำ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และยืนยันการทำธุรกรรมไปด้วยพร้อมๆ กัน อีกทั้งยังป้องกันการทำธุรกรรมโดยคนที่มีข้อมูลรหัสผ่านของเราได้อีกด้วย เพราะรหัสผ่านที่ใช้ยืนยันจะแจ้งเข้ามาทางสมาร์ทโฟนของเจ้าของบัญชี

7. อย่าตกหลุมพราง

มิจฉาชีพจะใช้ทุกวิถีทางเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญ อย่างการปลอมตัวเป็นธนาคาร หรือแจ้งเตือนให้เปลี่ยนรหัสผ่านด้วยลิงก์ปลอมที่เขียนมาในอีเมล์ เหล่านี้หากมีเข้ามาและก่อนที่จะดำเนินการต่างๆ ตามนั้นควรต้องตรวจสอบให้ดีว่าเป็นของจริงหรือไม่ ถ้าหากไม่แน่ใจให้ติดต่อสอบถามสถาบันการเงินที่ถือบัญชีอยู่

8. ใช้ปุ่ม Logout

เมื่อใช้โปรแกรมธุรกรรมเสร็จ อย่าลืม Logout เพื่อป้องกันภัยกรณีที่โดนแฮกข้อมูลเข้ามาในช่วงนั้น มิจฉาชีพหรือคนอื่นที่ไม่หวังดีจะสามารถทำธุรกรรมต่อได้ทันที

9. ใช้ระบบ SMS กับ Online Banking

สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยเช็กยอดเงิน หรือทำธุรกรรมออนไลน์ไม่บ่อยนัก การใช้ระบบแจ้งเตือนเป็นข้อความ SMS เมื่อมีความเคลื่อนไหวในบัญชี จะช่วยให้รู้ความเป็นไปของบัญชีได้ดียิ่งขึ้น

การทำธุรกรรมออนไลน์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้บริการควรหมั่นศึกษารูปแบบธุรกรรมและวิธีการรักษาความปลอดภัยที่ผู้ให้บริการเสนอก่อนตัดสินใจใช้บริการ ศึกษากลโกงด้วยวิธีการต่างๆ และติดตามข่าวสารเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้เท่าทันและป้องกันภัยทางการเงินในรูปแบบต่างๆ

​​​​อินเทอร์เน็ตหรือโมบาย ก็ทำธุรกรรมการเงินได้อย่างปลอดภัย

“รู้วิธีป้องกันและระมัดระวังทุกครั้งที่ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง

หรือโมบายแบงก์กิ้ง เพื่อช่วยให้เราทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย”

          เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งหรือโมบายแบงก์กิ้งช่วยให้ชีวิตเราง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น และคงไม่สามารถปฏิเสธได้อีกเช่นกันว่า การทำธุรกรรมแบบนี้มีโอกาสเกิดความเสี่ยงตามมาด้วย เพื่อช่วยลดความกังวลใจที่เกิดขึ้น K-Expert มีแนวทางในการทำธุรกรรมการเงินอย่างปลอดภัยมาฝากกันครับ

การใช้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (ทำธุรกรรมผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต)

ความเสี่ยงที่เรามักพบในกรณีของอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งก็คือ Phishing ซึ่งเป็นการปลอมแปลงเว็บไซต์ให้เหมือนกับเว็บไซต์จริงของสถาบันการเงิน เพื่อล่อลวงให้เรากรอกข้อมูลสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิตนั่นเองครับ โดยมิจฉาชีพมักจะใช้วิธีส่งข้อมูลมาทางอีเมลหรือ SMS และแอบอ้างว่ามาจากสถาบันการเงิน หน่วยงานราชการ หรือเป็นแคมเปญชิงโชค ชิงรางวัลต่างๆ เพื่อให้เราหลงเชื่อ รวมถึงการโทรศัพท์เข้ามาล่อลวงให้เราเปิดเผยข้อมูล โดยอ้างว่าเราติดหนี้เขาอยู่ จะโอนเงินรางวัลมาให้เรา หรือบอกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อให้เรารีบบอกข้อมูลส่วนตัวกับเขาไป

วิธีป้องกันคือ

• ไม่คลิกลิงก์จากอีเมลหรือ SMS เพื่อเข้าสู่ระบบที่ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว แต่ควรเข้าเว็บไซต์ด้วยการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์เอง

• เมื่อเข้าเว็บไซต์เพื่อทำธุรกรรมการเงินให้สังเกตตรงแถบที่ระบุชื่อเว็บไซต์ ซึ่งจะต้องขึ้นต้นด้วย //  จึงจะถือว่าเป็นเว็บเพจที่มีความปลอดภัย เพราะมีการเข้ารหัสเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกลักลอบดูข้อมูลที่มีการรับส่งระหว่างผู้ใช้งานกับสถาบันการเงิน  นอกจากนี้ ให้คลิกที่สัญลักษณ์แม่กุญแจบนแถบ URL เพื่อตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์ของธนาคารจริงหรือไม่

• ระลึกไว้เสมอว่า สถาบันการเงินทุกแห่งไม่มีนโยบายส่งอีเมลหรือ SMS ไปให้คลิกลิงก์เข้ามาที่เว็บไซต์เพื่อทำธุรกรรมและไม่มีนโยบายโทรศัพท์มาสอบถามข้อมูลส่วนตัว หากใครเจอเหตุการณ์แบบนี้ให้ปฏิเสธการให้ข้อมูลไปเลยครับ และรีบติดต่อกลับไปยัง Contact Center ของสถาบันการเงินนั้นๆ

• เก็บรักษาข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด เลขที่บัญชี เลขบัตรเอทีเอ็ม/บัตรเดบิต/บัตรเครดิต เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพใช้ข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ในการสวมรอยได้

          ความเสี่ยงของการทำธุรกรรมการเงินที่พบยังอยู่ในรูปแบบการถูกดักจับข้อมูลโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งมักเกิดตอนที่เราทำธุรกรรมการเงินด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไร้สายแบบสาธารณะ (Public Wi-Fi) หรือทำธุรกรรมการเงินผ่านคอมพิวเตอร์สาธารณะซึ่งอาจมีซอฟต์แวร์อันตราย (Malware) แฝงตัวอยู่ ทั้งนี้ Malware ที่ว่าอาจอยู่ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของเรา โดยแฝงมากับการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ เพลงหรือหนังแบบละเมิดลิขสิทธิ์จากเว็บไซต์ต่างๆ หรือไฟล์รูปภาพในอีเมลก็เป็นได้ครับ

 วิธีป้องกันคือ

• หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมการเงินด้วยการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายที่ให้บริการฟรีตามร้านค้าหรือที่สาธารณะ (Public Wi-Fi) 

• หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ

• หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์หรือไฟล์จากแหล่งผิดกฎหมาย

• ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่ถูกกฎหมาย และอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากตัวเราเอง เช่น การตั้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านสำหรับทำธุรกรรมการเงินแบบเดียวกับที่ใช้ในอีเมลหรือเว็บไซต์ขายสินค้าหรือบริการต่างๆ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวตามเว็บบอร์ดหรือเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าหรือบริการทั่วไป ซึ่งกรณีนี้เราสามารถป้องกันได้โดยการเปลี่ยนรหัสผู้ใช้งานในการทำธุรกรรมการเงิน และหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวตามเว็บบอร์ด หรือเว็บไซต์สมัครสมาชิกต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือน้อย

การใช้โมบายแบงก์กิ้ง (ทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือ)

สำหรับการทำธุรกรรมการเงินบนมือถือผ่านแอปพลิเคชันของสถาบันการเงินนั้นมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากในการยืนยันตัวตนจะใช้ตัวเครื่องมือถือควบคู่ไปกับรหัส OTP (One-Time Password) ดังนั้น ความเสี่ยงหลักๆ ที่เกิดขึ้นจะมาจากการที่เราทำโทรศัพท์มือถือหาย ทำให้มิจฉาชีพสามารถเข้าไปดูข้อมูลต่างๆ ได้นั่นเองครับ

 

 วิธีป้องกันคือ

• ป้องกันระดับตัวเครื่อง ด้วยการตั้งรหัสผ่านในการเข้าใช้งานโทรศัพท์มือถือ และตั้งค่าให้ล็อคหน้าจออัตโนมัติ

• ป้องกันระดับแอปพลิเคชัน ด้วยการตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก คือไม่ใช้ตัวเลขซ้ำกัน ตัวเลขเรียงกัน เลขวันเดือนปีเกิด หรือเลขเบอร์มือถือ เป็นต้น

• ระมัดระวังการทำธุรกรรมในที่สาธารณะ ซึ่งอาจมีคนอื่นแอบดูการกดรหัส

• เมื่อทำธุรกรรมการเงินเสร็จแล้ว ควร logout ออกจากระบบทันที

• ไม่ควรใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยเครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) เพราะมีความเสี่ยงในการถูกดักจับและขโมยข้อมูล

• หากโทรศัพท์หายควรแจ้งธนาคารเพื่อยกเลิกการใช้บริการระบบโมบายแบงก์กิ้ง


         

เมื่อรู้ถึงความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งและโมบายแบงก์กิ้งในการทำธุรกรรมการเงิน และรู้วิธีป้องกันแล้ว หากได้นำไปใช้จริงน่าจะช่วยให้ผู้ใช้งานมีความมั่นใจในความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เราเองในฐานะผู้ใช้งานก็ไม่ควรประมาท เมื่อทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ใดๆ ก็ตาม ควรใส่ใจระมัดระวัง และตรวจเช็กความถูกต้องของการทำธุรกรรมทุกครั้งก่อนยืนยันการทำรายการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปกป้องทรัพย์สินของเรานั่นเองครับ

การทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตมีกี่รูปแบบ ได้แก่อะไรบ้าง *

รูปแบบการท าธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตหลักๆก็คือรูปแบบของธนาคารอินเทอร์เน็ต(Internet Banking)การช าระเงินออนไลน์(Payment Gateway or Bill payment)และธนาคารมือถือ (Mobile Banking) โดยมีรูปแบบการให้บริการที่ต่างกัน

การทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัยประกอบด้วยอะไรบ้าง

“สมาคมธนาคารไทย” แนะ “10 แนวทาง” ทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัย.
ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์กับร้านค้าออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ.
พยายามหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมการเงิน หรือไม่ผูกข้อมูลบัตรเครดิตกับร้านค้าออนไลน์ หรือ แพลตฟอร์มที่ไม่มีระบบการยืนยันตัวตนด้วย OTP หรือที่ไม่ใช้เทคโนโลยี 3D Secure..

ข้อดีของการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต มีอะไรบ้าง

ข้อดีของการทำธุรกรรมการเงิน มีอะไรบ้าง.
1.สามารถเข้าถึงได้ง่าย – แน่นอนว่าการเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินออนไลน์เพียงแค่คุณมีโทรศัพท์มือถือกับอินเทอร์เน็ตคุณก็สามารถที่จะทำธุรกรรมออนไลน์ได้แล้ว.
2.ทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว - แน่นอนว่าเราไม่ต้องเดินทางไปยังธนาคาร สามารถทำธุรกรรมที่ไหนก็ได้เพียงมีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

flow chart แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงาน lmyour แปลภาษา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน กาพย์เห่เรือ การเขียน flowchart โปรแกรม ตัวรับสัญญาณ wifi โน๊ตบุ๊คหาย ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน ผู้แต่งกาพย์เห่ชมไม้ ภูมิปัญญาหมายถึง มีสัญญาณ wifi แต่เชื่อมต่อไม่ได้ เชื่อมต่อแล้ว ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ /roblox promo code redeem 3 พระจอม มีที่ไหนบ้าง AKI PLUS รีวิว APC UPS APC UPS คือ Adobe Audition Adobe Bridge Anapril 5 mg Aqua City Odaiba Arcade Stick BMW F10 jerk Bahasa Thailand Benz C63 ราคา Bootstrap 4 Bootstrap 4 คือ Bootstrap 5 Brackets Brother Scanner Brother iPrint&Scan Brother utilities Burnt HD C63s AMG CSS เว้น ช่องว่าง CUPPA COFFEE สุราษฎร์ธานี Cathy Doll หาซื้อได้ที่ไหน Clock Humidity HTC-1 ColdFusion Constitutional isomer Cuppa Cottage เจ้าของ Cuppa Cottage เมนู Cuppa Cottage เวียงสระ DMC DRx จ่ายปันผลยังไง Detroit Metal City Div class คือ Drastic Vita