Design Thinking แบบ Stanford d.school มี กี่ ขั้น ตอน

ตอนนี้หลายคนคงทั้งกังวลปนเครียด เศร้า เหนื่อย ท้อแท้ สารพัดอารมณ์ แถมในหัวมันทำยังไงก็ไม่หยุดคิด คิดวนเวียนอยู่ ทั้งเรื่องโควิด-19 การทำงาน การเงิน ครอบครัว เป้าหมายชีวิต และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย บางคนก็กระหายโหยหาอิสรภาพในการท่องเที่ยว การเดินทาง คิดถึงอาหารแสนอร่อย การพูดคุยพบปะเพื่อนฝูง จนเกิดความเซ็งและเบื่อถึงขั้นตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมสิ่งที่เคยมีมันกลับขาดหายไป (นานขนาดนี้) แต่ถ้าเรารู้จักกระบวนการของ Design Thinking ก็อาจทำให้เราสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดในสถาวะแบบนี้ลงไปได้บ้าง

Design Thinking Process

        กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) โดย Stanford d.school แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype และ Test และการออกแบบชีวิตด้วยการคิดเชิงออกแบบได้เพิ่มกระบวนการแรกขึ้นมา คือ Accept (อ้างอิงโดย Bill Burnett & Dave Evans: Design your Life)

Show

Design Thinking แบบ Stanford d.school มี กี่ ขั้น ตอน

        อ้างอิงจาก https://dschool.stanford.edu/resources และสื่อการสอนวิชาออกแบบชีวิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย Design Thinking Team @UTCC

เราสุขได้นะ… ในสภาวะนี้

        ขั้นตอนนั้นคือการยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น (Accept) และกลับมาเข้าอกเข้าใจตัวเอง (Empathize) โดยกระบวนการ Design Thinking บอกไว้ว่า เริ่มต้นด้วยการ Empathize หรือการฟัง โดยทำความเข้าใจผู้เล่าอย่างลึกซึ้ง เข้าอกเข้าใจ เสมือนเป็นเราเป็นตัวเขา แต่ตอนนี้เราอยากจะแก้ปัญหาความสับสน ทุกข์ของใจเรา จึงต้องปรับกระบวนการ Empathize ให้เรากลับมาเข้าใจตัวเราเอง ค้นหา ฟังเสียงของตัวเราเองแทน 

        บางคนจะบอกว่า ‘ยากจัง’ เพราะทุกวันนี้เราอาจจะรู้เรื่องคนอื่นมากกว่ารู้เรื่องตัวเองเสียอีก (ฮา) จริงๆ แล้วไม่ยากหรอก ยิ่งช่วงเวลานี้เป็นจังวะที่ดี ให้เราใช้เวลาตอนนี้ที่ได้อยู่กับตัวเอง นี่แหละเหมาะสมที่สุดในการค้นหาสุข แต่จะทำอย่างไรล่ะ

Designing Your Life

        การออกแบบชีวิตด้วยกระบวนการ Design Thinking ได้บอกเทคนิคเริ่มต้นไว้ว่า ให้เริ่มจากการทบทวนตัวเอง คิดย้อนไปว่าอะไรบ้างนะที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเราในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประสบการณ์อะไรที่ทำให้เรามีความสุข อะไรที่เราสนใจ อะไรที่เราได้ทำสำเร็จมาบ้าง เป็นการทบทวนการเดินทางของชีวิตที่ผ่านมา หาแต่ละจุดหรือ dot ของแต่ละช่วงชีวิต ทำออกมาให้เห็นเป็นภาพ พยายามอยู่กับตัวเองทบทวนหลายๆเรื่อง ใช้เวลาในการหา dot ให้มาก เมื่อเรามี dot ที่มากพอ โอกาสที่มันจะเชื่อมโยงกันได้ในอนาคตก็น่าจะเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับที่ สตีฟ จ็อบส์ ได้กล่าวไว้ว่า 

        “You can’t connect the dots looking forward; you can only connect them looking backwards. So you have to trust that the dots will somehow connect in your future” -Steve Jobs (1955-2011)

        ประโยคนี้กำลังบอกว่า สิ่งสำคัญคือหา dot ในอดีตของตัวเองเพื่อ Connecting the Dots ในอนาคต เราจะเชื่อมจุดในอนาคตได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้ dot ในอดีตของเรา เราจึงหาโอกาสให้กับตัวเราได้ และเราได้วาง dot แห่งอนาคต เริ่มคิดว่าอนาคตของฉันจะเป็นอย่างไร และอะไรที่นำฉันไปสู่จุดนั้นได้ มีคนได้กล่าวไว้ว่า หากเรารู้เป้าหมายตัวเอง รู้ว่าพรุ่งนี้เราจะทำอะไรเพื่ออะไร ไฟในตัวจะเกิดในตัวคุณ คุณจะตื่นนอนมาอย่างสดใสและมีพลังในการทำสิ่งที่ไปสู่เป้าหมาย และถึงแม้ว่ามันจะยาก ใช้เวลาแค่ไหน หรืออาจจะเหนื่อยกายบ้าง แต่มันจะไม่เหนือยใจแน่นอน เพราะใจวันนี้มาด้วยพลังแห่งเป้าหมายและความสุขแห่งการเดินทาง 

Ideate การสร้างไอเดีย

       ต่อไปคือการใช้กระบวนการ Ideate มาช่วยคิดหาหนทางหลากหลายแบบ เป็นกระบวนการระดมความคิด การหาทางเลือกมากมายในการแก้ไขปัญหาอย่างไม่มีกรอบ โดยเน้นว่า ‘ไม่มีกรอบ’ และไม่ตัดสินหรือประเมินไอเดียใดๆ ว่าดีหรือไม่ดี เพราะเรากำลังหาไอเดียใหม่ ทางเลือกใหม่ และยิ่งกับตัวเราแล้ว การเดินทางของชีวิตก็คงไม่ได้มีทางเดินทางเดียวเสมอไป เราจึงต้องหาทางเลือกให้กับชีวิต แนะนำให้แชร์เป้าหมายกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนอื่นๆ เพื่อสร้างทางเลือกให้กับตัวเองในการเดินทาง คุณอาจจะได้ไอเดียที่ไม่เคยคิดมาก่อน 

Prototype การสร้างต้นแบบ

        กระบวนการต่อไปเป็นการนำไอเดียที่ระดมความคิดกันมาสร้าง Prototype หรือต้นแบบ นั่นคือการนำไอเดียออกถ่ายทอดเป็นสิ่งที่เราเห็นภาพและจับต้องได้ ซึ่งต้นแบบอาจจะเป็นการได้ลองทำ การนำตัวเองไปลองทำในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย หรือทดลองทำดูเลย และดู feedback หรือผลที่ตามมา อย่าลืมดูตัวเราเองด้วย ทดสอบตัวเราเองว่าอะไรที่เราชอบเราใช่ เราไม่ชอบและเราไม่ใช่ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นกลับมาทบทวนที่แผนการเดินทาง และเมื่อเริ่มค้นหาแล้ว ขอให้ค้นหาโดยใช้กระบวนการ Design Thinking ค้นหาตนเองและความสุขของตัวเองบ่อยๆ ให้แผนที่จากที่เลือนๆ ภาพไม่ชัด ให้ชัดเจนขึ้นและเป็นจริง สุขแห่งการเริ่มต้นในช่วงวิกฤตนี้ ก็จะทำให้ชีวิตคุณสวยงามในอนาคต  

        Life is beautiful… ชีวิตที่ ‘สุข’ ได้ในยามวิกฤต

Design Thinkingแบบ UK Design Council แบ่งเป็นกี่ขั้นตอน

กระบวนการออกแบบ Double Diamond Design Process ของ UK Design Council แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ Discover, Define, Develop และ Deliver ดังรูป Discover Define Develop Deliver. การค้นคว้าหา ข้อมูล การวิเคราะห์ เพื่อสรุปปัญหา การพัฒนา แนวคิด การพัฒนา เพื่อส่งมอบสู่ผู้ใช้

Design Thinking มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ นำเสนอทางแก้ไข ปัญหาแบบใหม่ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์ จำลอง และ ทดสอบ (Empathize Define Ideate Prototype & Test) โดย Design Thinking ถือว่าเป็นกระบวนการ สร้างนวัตกรรมอย่างหนึ่ง

อะไรคือหลักการของ D School Stanford ในการทำ Design Thinking

Design thinking ของ Stanford d.school ได้แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype, และ Test จากทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Empathize และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนในการใช้ความคิด ...

Design Thinking ของ Stanford D.school (Prototype และ Test) คือข้อใด

Design thinking ของ Stanford d.school ได้แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype, และ Test ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Empathize และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลายๆ ด้านมาสร้างไอ ...