การพัฒนาระบบสารสนเทศ มีกี่ขั้นตอน

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเป็นการสร้างระบบงานใหม่หรือปรับปรุงระบบงานเดิมให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน จำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยในขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เพื่อที่จะรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับปรุงและประยุกต์ใช้กับระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้ว การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยทั่วไปการพัฒนาระบบขึ้นกับสิ่งต่อไปนี้ กระบวนการทางธุรกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ แนวทางของระบบสารสนเทศที่จะพัฒนา บุคลากร ที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนา วิธีการและเทคนิค ในการพัฒนา ซึ่งมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน เทคโนโลยี ที่ต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบเนื่องจากมีให้เลือกใช้มากมาย ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมต่อการใช้งาน ค่าใช้จ่ายและส่วนต่างๆ งบประมาณ ที่ต้องจัดเตรียมไว้รองรับล่วงหน้า ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการใช้ระบบการใช้ข้อมูลร่วมกันและการติดต่อสื่อสาร การบริหารโครงการ เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา เพื่อป้องกันไม่ให้การพัฒนาล่าช้าและเกินงบประมาณ

ทีมงานพัฒนาระบบ คณะกรรมการ ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล กำหนดทิศทาง จัดลำดับความสำคัญของระบบงาน ตัดสินใจและวางแผนส่วนงานต่างๆ ผู้บริหารโครงการ ทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินโครงการ กำหนดงานและความสัมพันธ์ของงาน มอบหมาย ให้คำปรึกษา แนะนำและอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก ผู้บริหารงานด้านสารสนเทศ เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจของระบบงานในองค์การ รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับโครงการ นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ผู้ชำนาญด้านเทคนิค ผู้บริหารฐานข้อมูล มีความรู้ในระบบจัดการฐานข้อมูล ออกแบบข้อมูลทั้งในระบบตรรกะและระดับกายภาพ ดูแลและเข้าถึงการใช้งานฐานข้อมูล บำรุงรักษา ทั้งด้านความปลอดภัย โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่เขียนและทดสอบคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไปอาจเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าระบบ หรือผู้ใช้ระบบโดยตรง

หลักการในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบว่าตอบสนองต่อความต้องการและมีความเข้าใจตรงกันหรือไม่  เข้าถึงปัญหาได้ตรงจุด เพื่อแก้ปัญหาได้จับประเด็นของปัญหา และสาเหตุของปัญหา กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบด้วยความชัดเจนเพื่อลดความยุ่งยากในการพัฒนาระบบได้ กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ เพื่อให้งานมีมาตรฐานเดียวกันสะดวกในการเขียนโปรแกรม เพราะจะมีปัญหาในเรื่องของรูปแบบข้อมูลบำรุงรักษาได้คล่องตัวและสะดวก ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง จึงควรมีความรอบคอบ และเลือกวิธีการที่ดีที่สุดในแต่ละวิธี เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา แตกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย เพื่อช่วยให้ทีมงานพัฒนาระบบแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ตรวจสอบข้อผิดพลาดได้อย่างสะดวก ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนอนาคตเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

                ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยรวมๆแล้วการกำหนดจะมีอยู่ 6 ระยะได้แก่ การกำหนดเลือกโครงการ การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับทีมงานอย่างชัดเจน สร้างทางเลือกและเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบมาใช้งาน ประเมินความคุ้มค่าและผลที่ได้รับ การวิเคราะห์ระบบ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้แล้ว นำมาวิเคราะห์กระบวนการต่างๆ ในระบบเพื่อศึกษาว่ากระบวนการใดบ้างที่มีปัญหา ควรปรับปรุงแก้ปัญหาอย่างไร การออกแบบระบบ เพื่อให้เข้ากับความต้องการของระบบใหม่ตามที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ โดยนักวิเคราะห์ระบบ การดำเนินการระบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อฮาร์ดแวร์ เขียนโปรแกรม ทำการทดสอบ การจัดทำเอกสารระบบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและความพร้อมในการนำไปใช้งาน การถ่ายโอนระบบงาน คือการเปลี่ยนโอนงานระบบเก่าเป็นระบบใหม่ มีอยู่ 4 แบบคือ การถ่ายโอนแบบขนานเป็นการติดตั้งงานเก่าคู่กับงานใหม่ไประยะหนึ่งแล้วค่อยยกเลิกเพื่อตรวจสอบว่าระบบใหม่เป็นยังไง การถ่ายโอนแบบทันที มีข้อดีที่ค่าใช้จ่ายต่ำสุด แต่มีความเสี่ยงสุด การใช้ระบบทดลองนำระบบใหม่มาใช้ทันทีแต่เป็นการใช้เฉพาะส่วนงานที่กำหนด การถ่ายโอนทีละขั้นตอน คือค่อยๆเปลี่ยนงานบางส่วน แล้วค่อยๆเปลี่ยนไปทีละกลุ่มงานจนครบ การอบรมผู้ใช้ระบบเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการทำงานให้สามารถใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบำรุงรักษาระบบ เป็นการดูแลระบบ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานอาจเป็นการปรับปรงแก้ไขโปรแกรมให้รองรับกับความต้องการใหม่ๆ

                วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศ การพัฒนางานแบบดั้งเดิม เป็นการพัฒนาตามระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน เป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุดถูกนำมาใช้กับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนแต่มีการใช้เวลานาน ในการรวบรวมข้อมูล ขาดความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง มีค่าใช้จ่ายสูงไม่เหมาะกับระบบที่ไม่สามารถระบบสารสนเทศล่วงหน้าได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตลอดเวลา การสร้างต้นแบบ เป็นการสร้างแบบจำลองมาเพื่อให้ผู้ใช้ได้เห็นแนวคิดหรือภาพของระบบที่จะพัฒนาขึ้นหากเป็นไปตามความต้องการก็จะปรับปรุงและพัฒนาต่อ การพัฒนาระบบโดยผู้ใช้ โดยการพัฒนาขึ้นด้วยตนเองหรือผู้เชี่ยวชาญมีทักษะความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ แต่ควรมีการกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการพัฒนาระบบไว้เพื่อการเชื่อมต่อประสานงานข้อมูลระหว่างระบบต่างๆ  จะสามารถควบคุมข้อมูลที่กระจายได้ การใช้บริการจากแหล่งภายนอก โดยการซื้อ หรือจ้างบริษัทด้านนี้มาพัฒนาระบบให้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง ความคุ้มค่าทางการเงิน ด้านคุณภาพและความยืดหยุ่นในการทำงาน ความสามารถในการแข่งขัน การใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประยุกต์ สามารถหาซื้อหรือเช่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประยุกต์มาใช้งานได้เนื่องจากการออกแบบผ่านการทดสอบมาแล้ว ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการพัฒนาระบบใหม่ลงมาก

การพัฒนาระบบงานแบบออบเจ็กต์ จะพิจารณาระบบว่าประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุทำงานร่วมกัน มีการจัดกลุ่มของข้อมูลและพฤติกรรมหรือฟังก์ชั่นที่กระทำกับข้อมูลนั้นเป็นกลุ่มในรูปของออบเจ็กต์ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การพัฒนาจึงใช้เวลาน้อย มีข้อดี คือช่วยลดความซับซ้อนในการพัฒนาระบบ สามารถแบ่งออบเจ็กต์ย่อยได้ นำโปรแกรมที่พัฒนาแล้วกลับมาใช้ได้ใหม่ การบำรุงรักษาง่ายเนื่องจากการเก็บข้อมูลและการดำเนินงานแยกออกจากส่วนของการเรียกใช้งาน

การพัฒนาระบบงานประยุกต์แบบรวดเร็ว ใช้เวลาในการพัฒนาที่รวดเร็วและมีคุณภาพดีกว่าการพัฒนารูปแบบเดิม มีอยู่ 4 ขั้นตอน การกำหนดความต้องการ ว่าระบบควรมีหน้าที่และงานใดบ้าง พิจารณาถึงปัญหา การออกแบบโดยผู้ใช้ ผู้ใช้อาจจะมีส่วนร่วมมากในการออกแบบมีการใช้เครื่องมือมาช่วยในการออกแบบ ทำระบบต้นแบบ ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง การสร้างระบบ โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ใช้กับบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หากผู้ใช้ต้องการปรับเปลี่ยน การเปลี่ยนระบบ โดยเปลี่ยนจากระบบเดิมมาเป็นระบบใหม่อาจมีขั้นตอนเหมือนกับวิธีพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จ การสนับสนุนจากฝ่ายบริหารเนื่องจากต้องการทรัพยากรฝ่ายงบประมาณ บุคลากร เวลา การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของทีมพัฒนาระบบ เพื่อทีมงานจะสามารถรวบรวมปัญหาได้ถูกต้อง รู้ความต้องการเป็นอย่างดี แก้ปัญหาหรือเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์การ การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อความเหมาะสม โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายและความง่ายต่อการใช้งานประกอบด้วย ควรพิจารณาด้านความเหมาะสมและความคุ้มค่าที่ได้รับ การบริหารโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทันตามกำหนดเวลา ได้ระบบตรงกับความต้องการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ มีการวางแผน กำหนดขอบเขต วัตถุประสงค์ จัดสรรและควบคุมการใช้ทรัพยากร ดำเนินตามแผนตรวจสอบ

Case Study : ระบบติดตามอากาศยานของวิทยุการบินแห่งประเทศไทย

1. วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศมีหลายวิธีด้วยกัน ในกรณีของระบบติดตามอากาศยานข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของวิทยุการบิน ฯ ท่านคิดว่าควรเลือกใช้วิธีหรือแนวทางใดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบดังกล่าว
  ตอบ ควรใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsorcing) ที่มีความชำนาญในด้านระบบติดตามอากาศยานมาทำการพัฒนาระบบให้ เพราะคุ้มค่าทางด้านคุณภาพ ความยืดหยุ่นในการทำงาน คุ้มค่าด้านการเงินเพราะการลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่าใช้จ่ายสูงทั้งการจัดหาอุปกรณ์ การดูแลรักษา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าติดตั้งค่าดำเนินงาน ฯลฯ และคุ้มค่าในด้านความสามารถในการแข่งขัน

2. ระบบติดตามอากาศยานมีความสำคัญต่อวิทยุการบินฯ อย่างไร และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะได้รับผลกระทบจากการนระบบนี้มาใช้หรือไม่
   ตอบ 
เนื่องจากการควบคุมจราจรทางอากาศ เป็นภารกิจหลักของวิทยุการบินฯระบบมีความสำต่อวิทยุการบินฯ ในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน การควบคุมจราจรทางอากาศ และการให้บริการจราจรทางอากาศบริเวณสนามบินทุกแห่งของประเทศ เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศจะไม่ได้รับผลกระทบจากการนำระบบนี้มาใช้เพราะ ระบบที่เจ้าหน้าที่ควบคุมอยู่ได้รับการพัฒนาที่เป็นมาตรฐาน ส่วนเจ้าหน้าก็ได้รับการฝึกอบรมในการใช้ระบบควบคุมเพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดระหว่างการใช้งาน อีกทั้งระบบได้มีการเชื่อมต่อโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลข้อมูลและสร้างฟังก์ชันการทำงานให้มีศักยภาพมากขึ้นในการใช้สนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบไฟฟ้าสนามบิน และระบบสารสนเทศสนามบินของบริษัทท่าอากาศยาน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้และสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งมีระบบติดตั้งหอบังคับการบินสำหรับกรณีฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยในการบินและมิให้การบินต้องหยุดชงัก ลดอุบัติเหตุและความล่าช้าของอากาศยาน

ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่ขั้นตอน *

วงจรการพัฒนาระบบ หรือ SDLC เป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นล าดับขั้นในการพัฒนา ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วยกิจกรรม 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การกาหนดความต้องการ (Requirement Definition) 2. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 3. การออกแบบระบบ (System Design) 4. การพัฒนาระบบ (System Development) 5.

การพัฒนาระบบมีขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนการพัฒนาระบบ.
1. การกำหนดปัญหา.
2. การวิเคราะห์.
3. การออกแบบ.
4. การพัฒนา.
5. การทดสอบ.
6. การนำระบบไปใช้.
7. การบำรุงรักษา.

ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 6 ระยะ ได้แก่อะไรบ้าง

คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ.
เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งมีแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นระบบมีขั้นตอนดังนี้ ... .
กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ.
กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ.
ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง.
เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา.

การพัฒนาระบบมีกี่แบบ

1) การพัฒนาระบบงานแบบดั้งเดิม (Traditional SDLC Methodology) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบที่มีขั้นตอนที่แน่นอน วิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ที่สุดและนิยมเรียกย่อๆ ว่า SDLC..
การกำหนดความต้องการ.
การออกแบบโดยผู้ใช้.
การสร้างระบบ.
การเปลี่ยนระบบหรือใช้ระบบ.