การแสดงพื้นเมืองแบ่งออกเป็นกี่ภาค

การแสดงพื้นเมือง from พัน พัน

          ศิลปะการแสดงภาคอีสาน จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือ ในการรวมกลุ่มของชนชาติต่างๆ เช่นพวกไทยลาว ภูไทย ไทยพวน แสก โซ่ แต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างตามเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ แต่ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นเพื่อพิธีกรรมทางศาสนา และความสนุกสนานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ การร่ายรำจะมีลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ก้าวเท้า การวาดแขน การยกเท้า การส่ายมือ การส่ายสะโพก ที่เกิดขึ้นจากท่าทางอันเป็นธรรมชาติที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วนำมาประดิษฐ์หรือปรุงแต่งให้สวยงามตามแบบท้องถิ่นอีสานเช่นทำท่าทางลักษณะเเอ่นตัวแล้วโยกตัวไปมา เวลาก้าวตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ เน้นความสนุกสนาน การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ การแสดงพื้นเมืองภาคอีสานจะมีทั้งการแสดงที่เป็นแบบดั่งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา และการแสดงที่เกิดขึ้นในแต่ละท้องถิ่นเป็นไปตามความถนัดหรือความสามารถของแต่ละคน โดยไม่มีระเบียบแบบแผน

                   ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า "เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ" เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า "เรือม หรือ เร็อม" เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก) รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด) วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่งแบบวัฒนธรรม ของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน

         เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน  หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย  แบ่งได้เป็น  2  กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ  กลุ่มอีสานเหนือ  มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า  “เซิ้ง   ฟ้อน  และหมอลำ”  เช่น  เซิ้งบังไฟ  เซิ้งสวิง  ฟ้อนภูไท  ลำกลอนเกี้ยว  ลำเต้ย  ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ  ได้แก่  แคน  พิณ  ซอ  กลองยาว  อีสาน  ฉิ่ง  ฉาบ  ฆ้อง  และกรับ  ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย  ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร   มีการละเล่นที่เรียกว่า  เรือม  หรือ เร็อม  เช่น  เรือมลูดอันเร  หรือรำกระทบสาก  รำกระเน็บติงต็อง  หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว  รำอาไย  หรือรำตัด  หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี  ที่ใช้บรรเลง คือ  วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี  คือ  ซอด้วง  ซอด้วง  ซอครัวเอก  กลองกันตรึม  พิณ  ระนาด  เอกไม้  ปี่สไล  กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

การแสดงพื้นเมืองแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

การละเล่นพื้นเมือง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การแสดงพื้นเมือง และ เพลงพื้นเมือง

นาฏศิลป์พื้นเมือง4ภาค หมายถึงข้อใด

นาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค โดย : ครูสุกัญญา ผิวขา นาฏศิลป์พื้นเมือง การแสดงที่เกิดขึ้น ตามท้องถิ่นและตามพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละ ภูมิภาค โดยอาจมีการพัฒนา ดัดแปลงมา จากการละเล่นพื้นเมือง ประเพณีความเชื่อ และการประกอบอาชีพของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณะเฉพาะของ แต่ละท้องถิ่น

นาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค มีภาคอะไรบ้าง

หน้าเว็บย่อย (4): นาฏศิลป์ภาคกลาง นาฏศิลป์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาฏศิลป์ภาคใต้ นาฏศิลป์ภาคเหนือ

การแสดงพื้นเมืองภาคใดที่มีลักษณะอ่อนช้อยสวยงาม

หากพูดถึงเสน่ห์ของการแสดงพื้นบ้านศิลปะล้านนา ก็อดที่จะนึกถึงศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งที่มีความสวยงาม ท่าทางอ่อนช้อย ค่อยๆเคลื่อนไปพร้อมจังหวะเสียงเพลงของเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ผสานกันบรรเลงเป็นเพลงช้าๆ คล้ายตามท่วงท่าฟ้อนรำ ชวนให้ผู้ชมเข้าไปสู่ห้วงภวังค์แห่งเสน่ห์ของนาฏศิลป์ล้านนาที่เรียกว่า “การฟ้อน”