รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ

ระบบการบำบัดรักษายาเสพติดในประเทศไทย

ระบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น 3 ระบบ ดังนี้ 1. ระบบสมัครใจ หมายถึง การที่ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งดำเนินการรักษาทั้งระบบแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ

  1. ระบบต้องโทษ หมายถึง การที่ผู้ติดยาเสพติดกระทำความผิดและถูกคุมขัง ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาภายใต้กฎข้อบังคับของกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษต่าง ๆ ของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย กรมคุมประพฤติ และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สังกัดศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กระทรวงยุติธรรม

  2. ระบบบังคับ หมายถึง การใช้กฎหมายบังคับให้ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษา ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพที่จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534

ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นเตรียมการ (Pre-Admission) ความหมาย เป็นการศึกษาประวัติข้อมูล และภูมิหลังผู้ติดยาเสพติด ทั้งจากผู้ขอรับการรักษาและครอบครัว เพื่อชักจูงให้คำแนะนำ และกระตุ้นให้ผู้ติดยาเสพติด มีความตั้งใจในการรักษา
การดำเนินการ การสัมภาษณ์ การลงทะเบียนและวิธีการทางการแพทย์ ได้แก่ การตรวจร่างกาย เอกซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ชั่งน้ำหนัก

2. ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) ความหมาย การบำบัดอาการทางกาย ที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด การดำเนินการ การให้ยาชนิดอื่นทดแทน เช่น เมธาโดน ยาสมุนไพรหรือให้เลิกเสพทันทีที่เรียกว่า หักดิบ แบ่งเป็นการถอนพิษแบบผู้ป่วยนอก คือ ไม่ต้องค้างคืนในสถานพยาบาล แต่ต้องรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด และแบบผู้ป่วยใน คือ การค้างคืนในสถานพยาบาล ซึ่งนอกจากจะถอนพิษยาแล้ว ยังมีการรักษาโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมทั้งการให้ความรู้ด้วย เช่น การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค เป็นต้น

3. ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabillitation) ความหมาย เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ของผู้เลิกยาให้มีความเข้มแขง ปรับเปลี่ยนบุคคลิกภาพและพฤติกรรม ให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติ การดำเนินการ ใช้กิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษา ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม การอบรมธรรมะ การสันทนาการ การฝึกอาชีพ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีรุปแบบอื่น ๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพแบบ "ชุมชนบำบัด" ซึ่งเป็นการสร้างชุมชน หรือสังคมจำลองให้ผู้เลิกยาเสพติดมาอยู่รวมกัน เพื่อให้การช่วยเหลือกกันเลียนแบบแปลงพฤติกรรม ฝึกความรับผิดชอบการรู้จักตนเอง และแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เพื่อกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ และการฟื้นฟูจิตใจ โดยใช้หลักศาสนา ได้แก่ การนำผู้เลิกยาเสพติดเข้ารับการอุปสมท การศึกษาหลักธรรมทางศาสนา เป็นต้น

4. ขั้นการติดตามดูแล (After-Care) ความหมาย เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษา ทั้ง 3 ขั้นตอน เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา ให้กำลังใจ ทั้งนี้เพื่อมิให้หวนกลับไปเสพยาซ้ำอีก การดำเนินการ การเยี่ยมเยียน โทรศัพท์ นัดพบ ใช้แบบสอบถามและการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด

รูปแบบการบำบัด

การบำบัดรักษาเป็น 4 ขั้นตอน

1. การเตรียมการ

รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ
รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ

เพื่อเตรียมความพร้อม และ ทำความเข้าใจกับญาติ และ ผู้ป่วยถึงรูปแบบการรักษา การปฏิบัติตนของผู้ป่วย และบทบาทของญาติ ที่จะเข้ามา มีส่วนร่วมในการรักษา

  1. ซักประวัติ
  2. พูดคุยให้คำปรึกษา
  3. ให้ข้อมูลการรักษารูปแบบต่าง ๆ
  4. ประเมินและคัดกรองผู้ช่วย

2. ถอนพิษยา

รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ
รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ

ดูแลบำบัดรักษาผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อขาดยา

  • ให้ยาตามแต่ชนิดของยาเสพติด และตามอาการที่เกิดขึ้น
  • บริการให้คำปรึกษา สุขศึกษา
  • ประเมินผู้ป่วย เข้าสู่ขั้นฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามความสมัครใจ

3. ฟื้นฟูสมรรถภาพ

รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ
รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ

เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ โดยใช้กระบวนการกลุ่มชุมชนบำบัด เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด และพฤติกรรม ให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิต ในสังคมอย่างมีคุณค่า ระยะเวลา ประมาณ 4 เดือน

4. ติดตามผล

รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ

เป็นการติดตามดูแลตนเองและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เพื่อร่วมเป็นกำลังใจและเป็นที่ปรึกษา หากผู้ป่วยมีปัญหาของตนเองขณะอยู่ในสังคมใช้ระยะเวลา 1 ปี โดยติดตาม 7 ครั้ง นับจากวันจำหน่าย

ผู้ป่วยนอก

รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ
รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่รูปแบบ

  • จิตสังคมบำบัด (Matrix Program)
  • Methadone Clinic
  • Clinic ยาเสพติดทั่วไป
  • Clinic โรคทั่วไป

ผู้ป่วยใน

Fast Model การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยในแบบเข้มข้นทางสายใหม่

  • F : Family การที่ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา
  • A : Alternative Treatment Activity การใช้กิจกรรมทางเลือกให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นและ ความต้องการของผู้ป่วย
  • S : Self – Help กระบวนการให้ผู้ป่วยมีการเรียนรู้
  • T : Therapeutic Community แนวทางในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าทางสังคม โดยใช้กระบวนการกลุ่มชุมชนบำบัด

รูปแบบการบำบัดผู้ติดยาเสพติดมีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

ระบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งเป็น 3 ระบบ ดังนี้ 1. ระบบสมัครใจ หมายถึง การที่ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งดำเนินการรักษาทั้งระบบแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณ

วิธีการบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด กี่ระบบ

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น ๓ ระบบคือ ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาล ต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐ และเอกชน

ขั้นตอนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดรูปแบบชุมชนบำบัดมีกี่ขั้นตอนได้แก่อะไรบ้าง

ประวัติชุมชนบำบัด สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีเป็นสถานที่ให้การ บำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด มีขั้นตอนการบำบัดรักษา 4 ระยะ ดังนี้ 1) การเตรียมการก่อน รักษา 2) การบำบัดด้วยยา 3) การฟื้นฟูสมรรถภาพ และ 4) การติดตามหลังรักษา การฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติด เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอน ...

การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดมีกี่ระยะ

1. ระยะจูงใจ ใช้เวลา 30 วัน เพื่อเตรียมความพร้อม 2. ระยะบำบัดรักษา ใช้เวลา 1- 11 เดือน หรือ 2 ปี คือ การให้ผู้ที่ติดยาเรียนรู้ความผิดและรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา 3. ระยะกลับเข้าสู้สังคม ใช้เวลา 3- 5 ปี เช่น การให้ผู้ตดยากลับไปใช้ชีวิตจริงในสังคม