ติดเชื้อในกระเพาะอาหารกี่วันหาย

อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการอิ่มเร็วหลังรับประทานอาหาร หรือมีอาการหิวมากในตอนเช้าที่ตื่นนอน อาจเกิดจากการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ในระบบทางเดินอาหารก็เป็นได้
ทำความรู้จัก เชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร)
    H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร ติดต่อระหว่างคนสู่คน โดยเชื้อเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่บางรายเชื้ออาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นรวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
อาการของการติดเชื้อเอชไพโลไรเป็นอย่างไร
การติดเชื้อชนิดนี้มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ก็ยังผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติได้ ได้แก่
• ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องส่วนบนบริเวณเหนือสะดือ
• ปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังจากรับประทานอาหาร
• คลื่นไส้ อาเจียน
• จุกเสียดลิ้นปี่
• ท้องอืด เรอบ่อย
• เบื่ออาหาร
• น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
    อาการดังที่กล่าวมานี้ ล้วนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้เรื้อรัง ดังนั้น หากมีอาการลักษณะนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและทำการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีอาการจากการติดเชื้อ H. Pylori ที่มีความรุนแรงมากขึ้นและจำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
ติดเชื้อในกระเพาะอาหารกี่วันหาย

ลักษณะอาการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) แบบรุนแรงที่ควรพบแพทย์ด่วน
1. มีปัญหาในการกลืน
2. ปวดท้องอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
3. อาเจียนเป็นเลือดหรืออาเจียนมีสีน้ำตาลคล้ำ
4. อุจจาระเป็นเลือด ลักษณะของอุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง
    ผู้ป่วยบางรายเมื่อมีการอักเสบที่รุนแรงเกิดขึ้นจนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจมีถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ มีลักษณะเหมือนยางมะตอยได้ (อุจจาระเป็นเลือด) จากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก เสี่ยงต่อ ภาวะโลหิตจาง, กระเพาะอาหารทะลุ รวมถึง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
DID YOU KNOW: องค์การอนามัยโลกจัดให้เชื้อ Helicobacter pylori เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็ง เช่นเดียวกับบุหรี่ และไวรัสตับอักเสบบี ดังนั้น การกำจัดเชื้อให้หมดจึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารในอนาคตได้
สาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไร ติดได้อย่างไร
    จากการศึกษาปัจจุบันยังหาสาเหตุของการติดเชื้อ H. Pylori ได้ไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากแบบไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งสามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้กับทุกเพศทุกวัย โดยที่เมื่อมีเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori เข้ามาในร่างกายเราแล้ว ร่างกายเราก็พยายามจะกำจัดเชื้อแบคทีเรียนี้ ด้วยการส่งเม็ดเลือดขาว และสร้างแอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody)เพื่อทำลายแบคทีเรียนี้ แต่ก็ไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียนี้ได้ เนื่องจากเชื้อ H. Pylori มีอยู่หลายชนิดย่อย ขณะเดียวกับเชื้อ H. Pylori ก็จะเข้าไปโจมตีเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้
ติดเชื้อในกระเพาะอาหารกี่วันหาย

เมื่อไม่มีแน่ใจว่าติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ตรวจอย่างไร
   เบื่องต้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการให้แน่ชัด ในส่วนของการตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้โดย
1. การตรวจเลือด เป็นการตรวจหาสารภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อ วิธีนี้จำเป็นต้องใช้ผลจากการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ วินิจฉัยร่วมด้วย
2. การตรวจลมหายใจ ผู้ป่วยต้องรับประทานสารที่มีส่วนประกอบของโมเลกุลคาร์บอน จากนั้นแพทย์จะให้ผู้ป่วยหายใจใส่ถุง แล้วนำตัวอย่างลมหายใจไปตรวจหาร่องรอยของการติดเชื้อที่ออกมากับแอมโมเนียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. การตรวจอุจจาระ เป็นการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติเจน ซึ่งบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori
4. การส่องกล้อง Endoscopy โดยใช้ท่อที่ต่อกล้องลงไปในทางเดินอาหารซึ่งวิธีนี้สามารถนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจได้ด้วย (biopsy) เพื่อใช้ตรวจหาเชื้อ H.pylor โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์ที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่บริเวณส่วนปลายเข้าไปทางปากเพื่อตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ติดเชื้อในกระเพาะอาหารกี่วันหาย

รักษาการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ได้อย่างไร
    การติดเชื้อ H. Pylori สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2-3 ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อมากขึ้น โดยหลังจากการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อติดตามผลการรักษา หากพบว่ายังมีการติิดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะต้องรักษาซ้ำโดยเปลี่ยนยาตามอาการของแต่ละบุคคล เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีการดื้อยาเกิดขึ้น
โรคติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร)มีการดูแลตนเองและการป้องกันอย่างไร
    วิธีที่ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตัวเองคือ การดูแลสุขอนามัยที่ดี ด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ก็จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงได้ เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำและก่อนจัดเตรียมหรือรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุกลดการรับประทานอาหารที่มีรสจัด การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ รวมถึงเลิกสูบบุหรี่นอกจากนี้ ในส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเชื้อ H. pylori และได้รับยาปฏิชีวนะรักษา การรับประทานยาให้ครบตามจำนวนวันที่กำหนด เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเชื้อมีโอกาสดื้อยาได้ง่าย ทำให้การรักษาอาจไม่ได้ผล

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
โทร. 0-2271-7000 ต่อ โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ