ลาป่วยได้กี่วัน กฎหมายแรงงาน

เป็นอีกหนึ่งปัญหาคาใจชาวออฟฟิศไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ก็ตาม เพราะไม่แน่ใจว่าลาป่วยแบบนี้ได้ไหม จะให้เอ่ยปากถามตรง ๆ ก็กลัวจะได้คำตอบว่ากฎระเบียบของบริษัทเป็นแบบนี้ ต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าในใจจะแอบสงสัยอยู่ลึก ๆ ว่า สวัสดิการวันลาที่บริษัทให้มันแฟร์กับพนักงานอย่างเรา ๆ หรือเปล่า? ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหรือไม่ ยิ่งในยุคแห่งโควิด-19 ที่วันลาป่วยต้องหายไปฮวบฮาบจนทำให้หลายคนวันลาป่วยแทบหมด ไม่เหลือให้ป่วยอะไรได้อีก เราเลยอยากชวนมาไขข้อข้องใจเรื่องสิทธิการลาป่วยที่มนุษย์ออฟฟิศอย่างเราควรได้กันดีกว่า

ลาป่วยได้กี่วัน กฎหมายแรงงาน
ลาป่วยต้องใช้ใบรับรองแพทย์หรือไม่ กฎหมายว่ายังไง?

กฎหมายคุ้มครองแรงงานว่าด้วยเรื่องลาป่วยและการจ่ายค่าจ้าง

ตามกฎหมายพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 57 วรรคแรก กำหนดให้นายจ้างจ่าย “ค่าจ้าง” ให้แก่ลูกจ้าง ในวัน “ลาป่วย” เท่ากับ “ค่าจ้าง” ในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วัน ทำให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ 30 วันต่อปีและสามารถได้รับค่าจ้างตามปกติ และ มาตรา 32 ระบุไว้ว่า “ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งของสถานพยาบาลของทางราชการ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ” จากข้อกฎหมายจะสามารถแปลตรง ๆ ได้ว่า ลูกจ้างทุกคนมีสิทธิลาป่วยโดยไม่ต้องขอใบรับรองแพทย์ ถ้าขอลาป่วยไม่เกิน 3 วัน หมายความว่า ถ้าเกิดวันนั้นเราเป็นไข้ ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดประจำเดือน แบบที่นอนพักรักษาตัวอยู่บ้านก็หายได้ และอยากพักอยู่บ้านไม่เกิน 3 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอเพื่อขอใบรับรองแพทย์มายื่นให้กับ HR ที่ออฟฟิศ และระหว่างที่เราลาป่วยก็ยังจะรับค่าจ้างปกติ

แต่ถ้าเราเกิดลาป่วยรวมกันไปทั้งหมด 35 วัน ในระยะเวลา 1 ปี แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตามปกติ แต่จะจ่ายให้ไม่เกิน 30 วันเท่านั้น ส่วนที่เกินมาอีก 5 วันนายจ้างมีสิทธิเลือกได้ว่าจะจ่ายหรือกว่าไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้คุ้มครองกรณีที่ลาป่วยเกิน 30 วันต่อปี

ลาป่วยมากกว่า 3 วัน ควรทำยังไงดี ?

ถ้าหากเราต้องลาป่วยมากกว่า 3 วัน อย่างเช่น การลาป่วยเนื่องจากติดโควิด ซึ่งส่วนใหญ่มักกินเวลาหลายวัน เราจำเป็นจะต้องไปหาหมอเพื่อขอใบรับรองแพทย์มาให้บริษัท ถ้าหากว่าบริษัทเราขอเพื่อเป็นหลักฐานการลาป่วย หรือกรณีลาป่วยเนื่องจากต้องมีการผ่าตัด หรือรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็ควรขอใบรับรองแพทย์ไว้เลย เพื่อที่ใช้ยื่นให้กับบริษัทได้รับรู้จะได้สบายใจกันทั้ง 2 ฝ่าย

ข้อสงสัยกรณีลาป่วยแบบต่าง ๆ

ลาป่วยติดต่อกับช่วงหยุดยาว

พนักงานบางคนอาจใช้สิทธิลาป่วยติดกับช่วงวันหยุดยาว เช่น วันหยุดตรงกับวันที่ 1 พ.ค. พนักงานขอลาป่วยต่อในวันที่ 2 – 3 พ.ค. กรณีนี้พนักงานสามารถขอลาป่วยได้โดยไม่ต้องยื่นใบรับรองแพทย์ให้กับบริษัท แต่ถ้าหากพนักงานขอลาป่วยวันที่ 29 – 30 เม.ย. จากนั้นไปเจอวันหยุดวันที่ 1 พ.ค. และยื่นลาป่วยต่อในวันที่ 2 – 3 พ.ค. แม้ว่าจะเป็นการลาป่วยครั้งละ 2 วัน โดยมีวันหยุดขั้นกลาง แต่ตามกฎหมายจะถือว่าเป็นการลาป่วยต่อเนื่อง ซึ่งทำให้นายจ้างมีสิทธิเรียกดูใบรับรองแพทย์จากลูกจ้างได้

หยุดงานแบบไม่รับค่าจ้าง

ในบางครั้งอาการป่วยหรือโรคบางโรคอาจต้องใช้การรักษาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถมาทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แทนที่จะต้องแก้ปัญหาด้วยการลาออก พนักงานและบริษัทสามารถทำข้อตกลงการหยุดงานแบบไม่จ่ายค่าจ้างได้ เช่นการหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หรือ Leave without pay หรือจะให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างตามหลักสัญญาต่างตอบแทน (No work no pay) ซึ่งอาจจะเป็นการลาป่วยเพื่อพักรักษาตัวติดต่อกันเป็นหลักอาทิตย์ หลักเดือน หรือจะเป็นการลาครั้งละไม่กี่วัน แต่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การทำข้อตกลงระหว่างกันให้ชัดเจนแบบนี้ จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และสามารถวางแผนการทำงานให้ไม่สะดุดแม้พนักงานผู้รับผิดชอบต้องหยุดลาป่วยด้วย

ไม่ได้รับความเป็นธรรมในที่ทำงาน ควรทำอย่างไร ?

ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน สามารถร้องเรียนหรือร้องทุกข์ได้ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด 76 จังหวัด หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือร้องผ่านระบบ E-Service ของกรมได้ที่ https://www.labour.go.th/index.php/e-services หรือหากต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน ก็สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผ่านการติดต่อได้หลายช่องทาง ดังนี้

  1.  สายด่วนโทร 1506 กด 3
  2. สายด่วน 1546
  3. ติดต่อ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด/ กรุงเทพฯ หมายเลขโทรศัพท์ จากเว็บไซต์ http://www.labour.go.th เมนูติดต่อกรม เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ในพื้นที่หรือจังหวัดที่คุณทำงาน

รู้อย่างนี้แล้วครั้งหน้าถ้าจะต้องลาป่วย ที่แค่พักรักษาอาการอยู่บ้านไม่เกิน 3 วัน ก็ไม่ต้องส่งใบรับรองแพทย์ก็ได้ หรือถ้าบริษัทมีกฎระเบียบเรื่องการลาป่วยอย่างไร ก็สามารถนำความรู้เรื่องข้อกฎหมายแรงงานมาใช้อ้างอิงได้อย่างชัดเจน ไม่ต้องมีโมเมนท์กระอักกระอ่วนให้ต้องลำบากใจกันทั้งนายจ้างลูกจ้าง หากสื่อสารกันให้ชัดเจนและเข้าใจกันภายในบริษัท พร้อมกับเคารพสิทธิที่ทุกคนควรจะได้รับจากการทำงาน เชื่อได้ว่าจะทำให้สังคมออฟฟิศทำงานร่วมกันได้อย่างดี โดยที่ไม่มีเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มาทำให้กังวลใจ จนงานสะดุด หรือแม้แต่เสียพนักงานดี ๆ ไปเพียงเพราะความเข้าใจผิดเรื่องสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่พนักงานควรได้ อย่างเช่น เรื่องลาป่วยที่เราเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

ลาป่วยได้กี่วัน กฎหมายแรงงาน

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

สิทธิวันลาป่วยของพนักงาน
พนักงานลาป่วยบ่อยจัดการอย่างไร

การลาป่วยของพนักงาน  ลางาน

บทความยอดนิยม

ลาป่วยได้กี่วัน กฎหมายแรงงาน

ช้อปดีมีคืน 2566 รวมทุกเรื่องต้องรู้! ช้อปแบบไหนถึงมี (เงิน) คืน

มาตรการลดหย่อนภาษีประจำปี “ช้อปดีมีคืน” ของทางภาครัฐกลับมาอีกครั้ง ชาวไทยผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจึงพากันให้ความสนใจโครง...

ลากิจตามกฎหมายได้กี่วัน

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 32 ประกอบมาตรา 57 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยจะได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี ซึ่งการลาป่วยตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไปลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนั้นหากเรายังใช้สิทธิ์ลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ...

วันลาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การลาออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ 1. การลาป่วย 2. การลาคลอดบุตร 3. การลากิจส่วนตัว 4. การลาพักผ่อน 5. การลาอุปสมบท หรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ 6. การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล 7. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย 8. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ 9. การลาติดตามคู่สมรส

วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน 2565 กี่วัน

นายจ้างต้องประกาศกำหนดวันหยุด อย่างน้อยปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติแล้ว โดยได้รับค่าจ้าง ถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ลูกจ้างจะได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป

ลสป่วย3วันได้ไหม

กสร. เคลียร์ชัด ลูกจ้างลาป่วยไม่ถึง 3 วัน ไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ได้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานชี้แจงประเด็นข้อสงสัยในสื่อสังคมออนไลน์ บริษัทกำหนดเงื่อนไขลาป่วย 1 - 2 วัน ต้องใช้ใบรับรองแพทย์มาประกอบการลา ถือว่าไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้