คุณจะทํางานที่นี่นานแค่ไหน ภาษาอังกฤษ

คุณจะทํางานที่นี่นานแค่ไหน ภาษาอังกฤษ

วันนี้เรามาดูวิธีใช้ how far กับ how long กันดีกว่า

How far = ไกลแค่ไหน

How long = นานแค่ไหน

How far จะใช้ถามเกี่ยวกับระยะทาง

How far is it from Bangkok to Chiang Mai? = จากกรุงเทพฯไปเชียงใหม่ไกลแค่ไหน?

ตอบ ประมาณ 700 กิโล

How far do you live from here? = คุณพักอยู่ไกลจากที่นี่แค่ไหน?

ตอบ ประมาณ 2 กิโล

How long จะใช้ถามถึงระยะเวลา

How long does it take from Bangkok to Chiang Mai? = จากกรุงเทพฯไปเชียงใหม่นานแค่ไหน?

ตอบ ประมาณ 8 ชั่วโมง

How long will you be in Thailand? = คุณจะอยู่เมืองไทยนานแค่ไหน

ตอบ ประมาณ 5 วัน

ข้อควรจำ หากเราใช้ในรูปประโยคคำถาม ที่ไม่ใช่กริยา be เราจะต้องใช้กริยาช่วยเสมอ

(do/did, have/had, will, are/is ฯลฯ) เช่น

How far do you usually walk? I walk 5 kilometres.  (Present Simple)

ปกติคุณเดินไกลแค่ไหน? ฉันเดินไกล 5 กิโลเมตร

How long did you wait? I waited 30 minutes. (Past Simple)

คุณรอมานานแค่ไหน? ฉันรอนาน 30 นาที

How far will you drive? (Future Simple)

คุณจะขับรถไกลแค่ไหน?

How long have you been living in Canada? (Present Perfect Continuous)

คุณอาศัยอยู่ในแคนาดามานานแค่ไหนแล้ว?

ไม่ยากเลยไม่ไหมล่ะ ต่อไปนี้จะถามเวลาหรือจะถามระยะทางก็รู้แล้วสินะว่าต้องใช้ How far หรือว่า How long

  • เทคนิคภาษาอังกฤษ
  • แกรมมา

เมื่อถึงวัยทำงาน หลายคนก็เริ่มอยากกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง เพราะไม่ต้องมารับผิดชอบอะไรมากมายเหมือนตอนโตแล้ว แต่ก็มีอีกหลายคนที่รัก และมีความสุขในการทำงาน เพราะเค้าได้เจอนในสิ่งที่ชอบและได้ทำมันตลอดชีวิต มันช่างน่าอิจฉาจริง ๆ วันนี้เรามีประโยคคำถามภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงาน และมักจะถูกถามบ่อย ๆ ว่า คุณเริ่มงานเวลาเท่าไหร่ คุณทำงานที่นี่มานานหรือยัง มาให้เพื่อน ๆ ได้ลองเอาไปใช้คุยกับเพื่อนชาวต่างชาติดูค่ะ

คุณเริ่มงานเวลาเท่าไหร่ พูดเป็นภาษาอังกฤษ

What time do you start your work?

หรือถ้าจะถามว่างานของคุณเริ่มต้นเวลาเท่าไหร่ก็ถามได้ดังนี้

What time does your work begin?

คุณเลิกงานเวลาเท่าไหร่

What time does your work end?

แนวทางการตอบคำถามเกี่ยวกับเวลาการทำงาน

I start to work at 10 a.m.

I begin my work at nine every morning.

I end my work at 8 a.m.

ประโยคคำถามอื่น ๆ เกี่ยวกับเวลาการทำงาน

How long have you worked there?

How long have you been working there?

คุณถามงานที่นี่มานานเท่าไหร่แล้ว

I have worked here for 12 years.

ฉันทำงานที่นี่มา 12 ปีแล้ว

I have worked here since 2009.

ฉันทำงานที่นี่มาตั้งแต่ปี 2009

When did you start working here?

คุณเริ่มงานที่นี่ตั้งแต่เมื่อไหร่

I started to work here in 2000.

I started working here in 1983.

How many days do you work in a week?

คุณทำงานกี่วันในหนึ่งสัปดาห์

I work 5 days a week.

ฉันทำงานห้าวันต่อสัปดาห์

Do you work on Wednesdays?

คุณทำงานทุกวันพุธมั้ย

No, I don’t. Every wednesday is my day off.

ไม่ ฉันไม่ได้ทำ ทุกวันพุธเป็นวันหยุดของฉัน

(Visited 54,088 times, 6 visits today)

การพูดว่า How long you stay in Thailand? X จะทำให้ชาวต่างชาติงงได้

เพราะมันไม่ชัดเจนว่าเรากำลังถามอะไรกันแน่ครับ 

ถ้าจะถามว่า คุณอยู่ประเทศไทยมานานเท่าไหร่แล้ว ก็พูดได้ว่า 

How long have you been in Thailand? 

วิธีตอบก็คือ I've been in Thailand for...จำนวนวัน เดือน หรือปี

หรือถามด้วยประโยคนี้ก็ได้

How long have you been living in Thailand?

คุณมาอยู่ประเทศไทยมานานเท่าไหร่แล้ว

ส่วน คุณจะอยู่ประเทศไทยนานแค่ไหน ก็พูดได้หลายแบบ เช่น

How long will you be in Thailand? 

How long will you be staying in Thailand? 

How long are you gonna be in Thailand?

How long are you planning to be in Thailand? 

เป็นต้นครับ 


มาต่อกันที่พาร์ท 2 ของการ "ตอบคำถามปราบเซียน สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ" สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านพาร์ทแรกคลิกตรงนี้ได้เลย 10 คำถามปราบเซียน สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ (PART 1) งั้นมาเริ่มกันเลยกับคำถามในพาร์ทที่สองครับ...

- Why do you want this job? -

- ทำไมถึงอยากได้งานนี้ -

คำแนะนำ : คุณควรรู้จักบริษัทที่คุณสมัคร และรู้ถึงข่าวสารล่าสุดที่บอกถึงทิศทางที่บริษัทกำลังจะไป และที่สำคัญคุณต้องรู้ว่าตำแหน่งคุณต้องเข้ามาแก้ปัญหาในด้านไหน

สำหรับการตอบคำถามให้ตอบว่า “ทำไมคุณถึงเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้” คุณจะเข้ามาช่วยสร้างอะไรให้กับบริษัท และคุณจะได้อะไรตอบแทนที่นอกเหนือจากตัวเงิน เช่น ความต้องการพิสูจน์ตัวเอง เป็นต้น

“I want this job because it emphasizes sales and marketing, two of my greatest skill sets. I know I could bring my ten years of sales and marketing experience to this company, and help you continue your years of growth.”

ดิฉันต้องการงานตำแหน่งนี้เพราะมันจะช่วยต่อยอดทักษะด้ายการขายและการตลาดซึ่งเป็นสองทักษะที่ดีที่สุดของดิฉัน ดิฉันเชื่อว่าดิฉันสามารถนำเอาประสบการณ์การขายและการตลาดกว่า 10 ปีที่ดิฉันมีมาใช้กับที่นี่ได้ และช่วยให้บริษัทของคุณมียอดขายเติบโตในทุกๆปีค่ะ

“I understand that this is a company on the rise. As I’ve read on your website and in various press releases, you are planning to launch several new products in the coming months. I want ​to be a part of this business as it grows, and I know my experience in product development would help your company as you roll out these products.”

ดิฉันเชื่อว่าบริษัทอยู่ในช่วงขาขึ้นนะคะ จากที่ดิฉันได้อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์และข่าวต่างๆ ทางบริษัทของคุณมีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หลากหลายรายการในเดือนที่จะมาถึงนี้ ดิฉันอยากเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของบริษัทค่ะ และดิฉันรู้ว่าประสบการณ์ทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดิฉันมี จะช่วยบริษัทของคุณในเรื่องของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ว่านี้ได้ค่ะ

“This job is a good fit for what I've been doing and enjoying throughout my career. It offers a mix of short-term projects and long-term goals. My organizational skills allow me to successfully multitask and complete both kinds of projects.”

งานนี้เหมาะเจาะกับสิ่งที่ดิฉันทำและดิฉันสนุกกับมันในอาชีพของดิฉันค่ะ มันสร้างโอกาสให้ดิฉันได้ทำโปรเจ็คระยะสั้นและระยะยาวผสมผสานกัน ทักษะการจัดการที่ดิฉันมีนั้นจะช่วยให้ดิฉันสามารถทำทั้งสองอย่างได้สำเร็จลุล่วงค่ะ

ข้อควรระวัง : ถึงแม้การตอบว่าเงินเดือนดี สวัสดิการดี หรือบ้านใกล้จะเป็นคำตอบที่แท้จริงในใจคุณ แต่มันไม่ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวคุณ อย่าลืมว่าผู้สัมภาษณ์ต้องการวัดทัศนคติในการเรียนรู้ และความมุ่งมั่นในการทำงานของคุณด้วย ฉะนั้นอย่าลืมตอบให้ดู “มีไฟ” ด้วยนะครับ

- Why are you leaving or have left your job? -

- ทำไมคุณถึงลาออกหรือกำลังจะลาออกจากงานเก่า -

คำแนะนำ : หลายๆบริษัทมักจะถามคุณอยู่แล้วว่าทำไมคุณกำลังจะออกจากงาน หรือคุณออกจากที่เก่าเพราะอะไร ทั้งนี้เพื่อที่จะได้รู้ว่าคุณลาออกมาเองหรือถูกให้ออกจากงานเนื่องจากความผิดพลาดในการทำงานบางอย่างหรือเปล่า อย่างไรก็ตาม คำตอบของคุณควรจะทำให้คุณดูดีอยู่ดี ไม่ว่าจะมาจากเหตุผลอะไรก็ตามนะครับ

“จงโฟกัสที่ปัจจุบันและอนาคต มากกว่าประสบการณ์ในอดีต”

สิ่งที่คุณสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการหลีกเลี่ยงคำตอบตรงๆ ในเรื่องประสบการณ์การทำงานที่เก่าก็คือการพูดถึง “แพสชั่น” หรือความคาดหวังส่วนตัวของคุณที่มีต่อชีวิตการทำงาน โดยโฟกัสว่างานใหม่นี้จะมอบโอกาสทางการทำงานให้คุณอย่างไรได้บ้างนั่นเอง

มาดูตัวอย่างคำตอบกันนะครับ

คุณกำลังมองหาความท้าทาย --- “I found myself bored with the work and looking for more challenges. I am an excellent employee, and I didn't want my unhappiness to have any impact on the job I was doing for my employer.” ผมพบว่าผมเบื่องานเดิมและต้องการมองหาความท้าทายใหม่ๆ ผมเป็นลูกจ้างที่ดีนะครับ และผมไม่ต้องการให้ “ความรู้สึกไม่มีความสุข” ของผมนั้นมากระทบกับงานที่ทำที่บริษัทเดิมครับ

คุณกำลังมองหาความก้าวหน้า --- “There isn't room for growth with my current employer, and I'm ready to move on to a new challenge.” ผมไม่มีโอกาสได้ก้าวหน้าในที่ทำงานเดิมเลยครับ และผมเองพร้อมแล้วที่จะเจอความท้าทายใหม่ๆ

คุณโดนเลย์ออฟมา --- “I was laid off from my last position when our department was eliminated due to corporate restructuring.” ผมถูกให้ออกเพราะแผนกที่ผมทำงานอยู่ถูกยุบ เนื่องจากบริษัทนั้นได้ทำการปรับโครงสร้างองค์กรครับ

คุณมีเหตุผลส่วนตัว --- “I'm relocating to this area due to family circumstances and left my previous position in order to make the move.” ผมย้ายมายังที่นี่เนื่องจากสถานการณ์ทางด้านครอบครัวของผมครับ ผมจึงต้องลาออกจากงานเดิมมา

คุณคิดว่างานเก่าไม่ใช่งานในฝัน --- “I've decided that my current work role is not the direction I want to go in my career and my current employer has no opportunities in the direction I'd like to head.” ผมคิดว่างานเก่านั้นไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่ผมต้องการจะเติบโต และนายจ้างก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับทิศทางที่ผมต้องการจะไปครับ

คุณเพิ่งเรียนจบ --- “I recently received my degree, and I want to utilize my educational background in my next position.” ผมเพิ่งได้รับปริญญามา และผมต้องการใช้ความสามารถจากพื้นฐานการศึกษาที่ผมมีกับงานใหม่นี้ครับ

คุณเบื่อการเดินทาง --- “I was commuting to the city and spending a significant amount of time each day on travel. I would prefer to be closer to home.” ผมเคยต้องเดินทางเข้าเมืองและใช้เวลาอย่างมากมายในการเดินทาง ผมจึงอยากที่จะได้ทำงานใกล้บ้านมากขึ้นน่ะครับ

คุณโดนให้ออก --- “The company was cutting back and, unfortunately, my job was one of those eliminated.” บริษัทเก่าลดต้นทุน และโชคร้ายที่งานของผมก็เป็นหนึ่งตำแหน่งที่โดนโละครับ

ข้อควรระวัง : อย่าด่าเจ้านายเก่า! เพราะโลกธุรกิจนั้นเชื่อมโยงกันไปหมด เผลอๆบริษัทเก่าที่คุณลาออกมา กลับกลายเป็นลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์เจ้าสำคัญของบริษัทใหม่ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นได้ ซึ่งผู้สัมภาษณ์คงไม่อยากจ้างคนที่ด่า “ลูกค้าคนสำคัญ” ของเขาอย่างเสียๆหายๆใช่ไหมล่ะครับ

- How do you handle stress and pressure? -

- คุณรับมือกับความเครียดและความกดดันอย่างไรบ้าง -

คำแนะนำ : คำถามข้อนี้ สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์อยากรู้มากที่สุดคือ “ความเครียดปริมาณมากแค่ไหน ที่จะส่งผลต่อการทำงานของคุณ” และคุณจะจัดการมันได้อย่างไรโดยไม่กระทบกับการทำงานในแต่ละวัน คุณสามารถตอบโดยเล่าถึงสถานการณ์ในอดีตว่าคุณเคยจัดการกับปัญหาที่สร้างความเครียดให้คุณอย่างไรบ้าง คุณอาจบอกว่าเคสที่คุณเล่านั้นได้ทำให้คุณเครียด แต่ความเครียดปริมาณดังกล่าวทำให้คุณรู้สึกตั้งใจทำงานมากขึ้น และทำให้คุณรู้สึกท้าทาย เป็นต้น

ถ้าความเครียดที่เคยเกิดขึ้นกับคุณเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นโดยปกติตามเนื้องาน (ซึ่งมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้) คุณไม่ควรกล่าวถึงมันนะครับ เช่น ถ้าคุณสมัครงานตำแหน่งพนักงานขาย แต่คุณบอกผู้สัมภาษณ์ว่าคุณเครียดเวลาต้องคุยกับคนเยอะๆ (อ้าว...) หรือคุณสมัครเป็นโปรเจ็คแมเนเจอร์ แต่ดันไปบอกว่าเครียดเวลาทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน (เอ๊ะ!) แบบนี้คงหมดโอกาสได้งานกันพอดีจริงไหมครับ

ตัวอย่างการตอบที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ก็คือ...

“I actually work better under pressure, and I've found that I enjoy working in a challenging environment.” จริงๆแล้วดิฉันสามารถทำงานได้ดีขึ้นภายใต้ความกดดันนะคะ ดิฉันพบว่าดิฉันนั้นชอบทำงานในสภาวะที่ท้าทายความสามารถค่ะ”

“I find that when I'm under the pressure of a deadline, I can do some of my most creative work.” ดิฉันพบว่าเมื่อดิฉันอยู่ในสภาวะที่ถูกกดดันด้วยวันเด้ดไลน์ ดิฉันจะสามารถทำงานได้อย่างมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด

หรือจะบอกว่า “I react to situations, rather than to stress. That way, the situation is handled and doesn't become stressful.” ดิฉันเลือกที่จะจัดการกับสถานการณ์นั้นมากกว่าจะมานั่งเครียดกับมันนะคะ ด้วยวิธีนี้ทำให้ดิฉันควบคุมสถานการณ์นั้นไว้ได้และไม่เกิดเป็นความเครียดค่ะ

โดยคุณอาจยกตัวอย่างให้ผู้สัมภาษณ์ฟัง โดยใช้คำว่า “For example”

“For example, when I deal with an unsatisfied customer, rather than feeling stressed, I focus on the task at hand. I believe my ability to communicate effectively with customers during these moments helps reduce my own stress in these situations and also reduces any stress the customer may feel.”

เมื่อดิฉันต้องดูแลลูกค้าที่รู้สึกไม่พึงพอใจกับสินค้า แทนที่ดิฉันจะเครียด ดิฉันกลับมาโฟกัสที่งานที่ดิฉันต้องแก้ไขมากกว่า ซึ่งดิฉันเชื่อมั่นว่าความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับลูกค้าของดิฉันนั้น จะช่วยลดความเครียดในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และยังทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกเครียดไปด้วย