การช่วยฟื้น คืนชีพ มี ความ สำคัญ อย่างไร

การช่วยฟื้น คืนชีพ มี ความ สำคัญ อย่างไร

จะทำอย่างไรเมื่อเจอคนหมดสติ? จะโทรศัพท์เรียกเบอร์ไหนเพื่อขอความช่วยเหลือ? หากจำเป็นต้องช่วยทำ CPR จะทำได้ไหม? คำถามเหล่านี้คงผุดขึ้นมากมาย หากเจออุบัติเหตุหรือคนหมดสติอยู่ข้างหน้าคุณ จะดีกว่าไหมถ้าเรามีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง ถูกวิธี ทำให้ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ลดการบาดเจ็บได้ ดังนั้นตั้งสติให้พร้อมแล้วมาเรียนรู้วิธีช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED ไปพร้อมๆ กันได้เลย


1. ปลุก

เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ อย่าเพิ่งตกใจ ให้ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนเป็นอันดับแรก โดยตรวจดูบริเวณรอบๆ ก่อนเข้าไปช่วยเหลือ เช่น สายไฟฟ้าที่ช็อตอยู่จุดใด บริเวณนั้นใกล้แหล่งน้ำหรือไม่ มีรถสัญจรหรือเปล่า จะได้ไม่เกิดอันตรายซ้ำ หลังจากนั้นให้ปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยการตบไหล่ทั้งสองข้างและเรียกเสียงดังๆ ว่า “คุณคะๆ” หรือ “คุณครับๆ” หากไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจ ให้รีบทำตามขั้นตอนต่อไปโดยทันที

ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจเองได้ ให้จับตัวผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคง และทำการปฐมพยาบาลตามอาการที่เจอซึ่งจะกล่าวในภายหลัง


2. โทร

รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 โดยแจ้งอาการผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้แจ้งเพื่อให้เจ้าเหน้าที่ติดต่อกลับหากที่หาที่เกิดเหตุไม่เจอ รวมถึงแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วย เช่น อาการ สถานที่ที่พบ เส้นทางที่เดินทางมาได้สะดวก หากอยู่เพียงลำพัง อย่าทิ้งผู้ป่วยไปไหน ให้เปิดลำโพงโทรศัพท์ เพื่อสื่อสารและรับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กู้ชีพ หากอยู่หลายคนให้ผู้อื่นเป็นคนโทร.แจ้ง หากแถวนั้นไม่มีเครื่อง AED ให้แจ้งเจ้าหน้าที่นำเครื่อง AED มาด้วย

ตัวอย่างการแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ : พบผู้ป่วยหมดสติไม่หายใจ เป็นผู้ชายอายุประมาณ 50 ปี ที่ป้ายรถเมล์หน้าโรงเรียนเอบีซี ผมผู้พบเหตุ ชื่อนายต้น เบอร์ติดต่อ 081-XXX-XXXX และให้นำเครื่อง AED มาด้วย


3. ปั๊ม

การกดหน้าอกสามารถช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นขณะที่รอหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพ โดยให้คุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วยในระดับไหล่ จัดท่าผู้ป่วยนอนหงายเพื่อเปิดทางเดินหายใจโดยการ ดันหน้าผาก - ดึงคางขึ้น และตรวจสอบการหายใจโดยการเอียงหูฟังแนบที่จมูกผู้ป่วย จากนั้นให้เริ่มช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ด้วยการกดหน้าอก โดยวางสันมือข้างที่ถนัดตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100 - 120 ครั้งต่อนาที

ข้อแนะนำ : หากมีโอกาสได้เรียนให้พยายามซ้อมทำบ่อยๆ เวลาทำจริงเราจะทำได้ด้วยความแรงและน้ำหนักที่ถูกต้อง


4. แปะ

ขณะที่ทำ CPR (กดหน้าอก) เมื่อเครื่อง AED มาถึง ให้ผู้ช่วยเหลืออีกคนหนึ่งเตรียมเครื่อง AED โดยการถอดเสื้อผู้ป่วยออก และติดแผ่นนำไฟฟ้าทั้ง 2 แผ่นบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวาและชายโครงด้านซ้าย โดยให้ทำความสะอาดจุดที่แปะแผ่น เช่น หากผู้ป่วยตัวเปียกจะต้องเช็ดให้แห้งก่อนหรือหากมีขนเยอะก็ให้โกนขนออกก่อน


5. ช็อก

เปิดเครื่อง AED และปฏิบัติตามคำแนะนำจากเครื่อง จนเมื่อเครื่องสั่งให้ทำการช็อก ให้พูดเสียงดังๆ ว่า “ฉันถอย คุณถอย ทุกคนถอย” เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสกับผู้ป่วยก่อนกดปุ่มช็อกไฟฟ้า แต่หากเครื่องไม่สั่งช็อก ให้ทำการกดหน้าอกต่อไปจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง

คำเตือน : ก่อนกดปุ่มช็อกต้องมั่นใจว่าไม่มีใครสัมผัสตัวผู้ป่วยรวมถึงมีสื่อไฟฟ้าต่างๆ


6. ส่ง

ระหว่างที่รอรถพยาบาลมารับ หากผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้ทำการปั๊มหัวใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง AED ไปจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจหรือรถพยาบาลจะมา หลังจากรถพยาบาลมาก็ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัย

เห็นไหมว่าการช่วยกระตุ้นหัวใจไม่ยากอย่างที่คิด หากเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วทำได้ตามขั้นตอนทั้ง 6 ข้อนี้ โดยไม่ตื่นเต้นตกใจ เราจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เขามีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น


Tags : 

การช่วยฟื้นคืนชีพ การทำ CPR เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่อง AED

คำสำคัญ:

ภาวะหัวใจหยุดเต้น, การช่วยฟื้นคืนชีพ, ภาวะฉุกเฉินระบบหัวใจและหลอดเลือด, Cardiac arrest, cardiopulmonary resuscitation, emergency cardiovascular care

บทคัดย่อ

แนวทางปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินระบบหัวใจและหลอดเลือดปี พ.ศ.2553 เป็นผลจากการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมากจากนานาชาติมาประชุมร่วมกับคณะกรรมการของสมาคมฯ ร่วมกันวิเคราะห์ อภิปรายและพิจารณาให้ข้อสรุปจากการศึกษางานวิจัยที่สนับสนุนการช่วยฟื้นคืนชีพ การทบทวนหลักฐานที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งสืบค้นเพิ่มเติมแล้วนำมาเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน โดยมีประเด็นสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากแนวทางปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพปี พ.ศ.2548ดังนี้

1. ใช้ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน C-A-B แทน A-B-C คือกดหน้าอก เปิดทางเดินหายใจ 30 ครั้ง และช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทั้งในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 1-8 ปี เด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี (ยกเว้นทารกแรกเกิดยังคงใช้ A-B-C) เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจหรือหายใจไม่ปกติ เช่น หายใจเฮือกให้สงสัยว่าผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น โทรตามหน่วยกู้ชีพและเริ่มต้นช่วยฟื้นคืนชีพทันที

2. ยกเลิกการดู การฟัง ความรู้สึกลมผ่านแก้ม การตรวจจับชีพจรสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรใช้เวลาเกิน 10 วินาที ถ้าคลำไม่ได้ภายใน 10 วินาที ให้เริ่มต้น CPR ทันที และใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าอัตโนมัติ (automated external defibrillator: AED) เมื่อเครื่องพร้อม

3. เน้นการกดหน้าอกอย่างมีคุณภาพโดยกดแรงและเร็ว

4. แนะนำให้ใช้กราฟแสดงค่าคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจออก (continuous waveform capnography) ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างการช่วยฟื้นคืนชีพเพื่อยืนยันตำแหน่งท่อช่วยหายใจ และ ประเมินประสิทธิภาพการช่วยฟื้นคืนชีพ

5.แผนปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงไม่แนะนำให้ใช้ยาอะโทรปีน (Atropine) อีก แนะนำให้ใช้ยาอะดีโนซีน (Adenosine) ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่มีคลื่น QRS complexกว้างจังหวะหัวใจเต้นสม่ำเสมอ (regular wide QRS complex tachycardia)

The 2010 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation (CPR) and Emergency Cardiovascular Care (ECC) are base on an international evidence evaluation process that involve the international resuscitation scientists and experts who evaluates, discussed and debated the peer reviewed publications. The key issues and major changes from the 2005 AHA Guidelines for CPR and ECC recommendations for health care providers include the following

1. The sequence of CPR for adults, children and infants began with C-A-B (Chest compressions, Airway, Breathing) (excluding the neonatal CPR began with A-B-C).Beginning CPR with 30 compressions rather than 2 ventilations lead to the shorter delay to first compression. Immediate recognition of cardiac arrest and activation of the emergency response system base on sigh of unresponsive with no breathing or no normal breathing (i.e. victims only gasping).

2. Looks, Listen and Feel for breathing has been remove from the algorithm.

The healthcare provider should not spend more than 10 seconds check for a pulse, and if a pulse is not definitely felt within 10 seconds, should begin CPR and use the automated external defibrillator (AED) when available.

3. Continues emphasis on high quality chest compression.

4. Qualitative waveform capnography is recommended for confirmation and monitoring of endotracheal tube placement and CPR quality.

5. Atropine has been removed from the ACLS Cardiac Arrest Algorithm. Adenosine is recommended in the initial diagnosis and treatment of stable, regular wide QRS complex tachycardia. 

Downloads

Download data is not yet available.

การช่วยฟื้น คืนชีพ มี ความ สำคัญ อย่างไร

How to Cite

นักเรียนอธิบายการช่วยฟื้นคืนชีพพื้นฐานมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

CPR เป็นวิธีการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินร้ายแรง เพื่อทำให้ระบบ ไหลเวียนเลือดในร่างกายของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ โดยการนำออกซิเจนเข้าร่างกาย และทำให้หัวใจเต้น สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจที่หมดสติเฉียบพลัน หยุดการหายใจจาการจมน้ำ ถูกไฟฟ้าช็อต ขาดอากาศหายใจได้ด้วย

วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพมีอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ 1. เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ 2. ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้ เพียงพอ

การช่วยเหลือฟื้นคืนชีพควรคำนึงถึงสิ่งใดมากที่สุด

ผู้ช่วยเหลือต้องคำนึงถึงความปลอดภัยก่อนสิ่งอื่น ต้องมั่นใจว่าตนเองจะสามารถให้การช่วยเหลือในสถานการณ์นั้นๆ โดยไม่ได้รับอันตรายไปด้วย ถึงค่อยเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ตรวจสอบดูว่าผู้ประสบเหตุหมดสติหรือไม่ อาจใช้วิธีเขย่าตัวและปลุกเรียก

หลักการสำคัญในการปฏิบัติการฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานคือข้อใด

การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง B - Breathing : การช่วยให้หายใจ C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง