สรรพากร รู้ได้ ยัง ไง เงินเข้าบัญชี ไหน

ภาษี e-Payment หรือ ภาษีอีเพย์เมนต์ ได้ประกาศบังคับใช้แล้วกับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะร้านขายออนไลน์ โดยสถาบันการเงินจะต้องส่งข้อมูลบัญชีที่เข้าเงื่อนไขให้กับกรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป เงื่อนไขของการส่งข้อมูล คือทุกบัญชีที่มีธุรกรรมภายในบัญชี ฝาก/รับโอนเงิน 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปี หรือจำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไปต่อปี และมียอดรวมมากกว่า 2,000,000 บาทต่อปี เรามาทำความเข้าใจรายละเอียดกฎหมายอีเพย์เมนต์เพื่อเตรียมตัวรับมือกันค่ะ


สถาบันที่ต้องนำส่งข้อมูลบัญชีให้กรมสรรพากร

  1. ธนาคาร

  2. สถาบันการเงินต่างๆ

  3. Payment Gateway รวมถึง E-Wallet ต่างๆ ด้วยค่ะ


เงื่อนไขของการส่งข้อมูลบัญชีให้กรมสรรพากร

สถาบันจะนับจำนวนธุรกรรมรวมกันทุกบัญชีที่เกิดขึ้นภายใน 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 3000 ครั้งขึ้นไปต่อปี

  2. จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไป และต้องมียอดรวมมากกว่า 2,000,000 บาทต่อปี


ตัวอย่างการนับธุรกรรมทางการเงิน

น้องพิมเพลิน มีบัญชีเงินฝากทั้งหมด 4 บัญชี ดังต่อไปนี้

บัญชี 001 มียอดรับโอนเงินทั้งปีจำนวน 2500 ครั้ง = ไม่ถูกนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

บัญชี 002 มียอดรับโอนเงินทั้งปีจำนวน 3500 ครั้ง = ถูกนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

บัญชี 003 มียอดรับโอนเงินทั้งปีจำนวน 365 ครั้ง รวมยอด 2,700,000 บาท = ไม่ถูกนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร

บัญชี 004 มียอดรับโอนเงินทั้งปีจำนวน 450 ครั้ง รวมยอด 2,700,000 บาท = ถูกนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร


รายการฝาก/รับโอนเข้าบัญชีแบบไหนบ้าง ?

  1. ยอดเงินฝากเข้าบัญชี

  2. ยอดรับโอนเงิน

  3. ยอดเงินฝากเช็คเข้าบัญชี

  4. ยอดจากดอกเบี้ย

  5. ยอดจากเงินปันผล


กรมสรรพากรจะได้รับข้อมูลอะไรบ้างจากสถาบัน?

  1. เลขประจำตัวประชาชน / เลขนิติบุคคล

  2. ชื่อ-สกุล เจ้าของบัญชี / ชื่อนิติบุคคล

  3. จำนวนครั้งของการฝากหรือรับโอนเงิน

  4. ยอดรวมของการฝากหรือรับโอนเงิน

  5. เลขที่บัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน


เริ่มบังคับใช้กฎหมายเมื่อไหร่?

ประกาศกฎหมายเริ่มบังคับใช้เมื่อมกราคมปี 2562 และบังคับให้ส่งรายงานข้อมูลบัญชีที่มีธุรกรรมพิเศษให้แก่กรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคม ปี 2563 เป็นต้นไป และเริ่มใช้จริง โดยสถาบันไม่ต้องนำส่งข้อมูลบัญชีย้อนหลังให้กรมสรรพากร

อัพเดทล่าสุด (10 ม.ค.2564)

ปี 2563 เป็นต้นไป สถาบันจะส่งข้อมูลบัญชีที่เข้าเงื่อนไขให้กับกรมสรรพากร โดยการนับธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงิน ทางธนาคารนับธุรกรรมแบบปีต่อปีตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปีค่ะ


ข้อแนะนำสำหรับร้านค้าออนไลน์

  1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อแจกแจงรายละเอียดในแต่ละธุรกรรมของธุรกิจ

  2. ขอใบกำกับภาษีในการซื้อมาขายไปทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานเมื่อทำการยื่นภาษี

  3. จดเทียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ธุรกิจถูกต้องตามกฎหมาย

  4. แยกบัญชีส่วนตัว กับบัญชีที่ใช้ทำธุรกิจ

  5. ศึกษาข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับภาษีออนไลน์


ภาษีอีเพย์เมนต์ถูกบังคับใช้กับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะร้านค้าออนไลน์เท่านั้น จะดีกว่าไหมถ้าเราเตรียมพร้อมรับมือโดยจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และหาตัวช่วยดีๆ เพื่อดูสถิติยอดขายรายเดือนหรือเลือกช่วงเวลาที่ต้องการได้ พร้อมทั้งบอกยอดรับโอนของแต่ละบัญชีได้ด้วย เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลแล้ว :)

ข่าวคราวเรื่องการเก็บภาษีผู้ค้าออนไลน์ว่าทางกรมสรรพากรจะตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคารซึ่งมีมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ได้มีการประกาศบังคับใช้จริงแล้ว โดยกฎหมายนี้มีชื่อว่ากฎหมาย ภาษีอีเพย์เมนต์ หรือพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562


สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือการกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล (ผู้ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะจะต้องมีเงื่อนไข ดังนี้


  • มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้ง และจำนวนมูลค่าของเงินที่รับฝากหรือโอน

กรมสรรพากรจะได้ข้อมูลอะไรบ้าง


  • เลขประจำตัวประชาชน
  • ชื่อ-สกุล
  • เลขที่บัญชีเงินฝาก
  • จำนวนครั้งของการฝากหรือโอนรับเงิน
  • ยอดรวมของการฝากหรือโอนรับเงิน

ข้อมูลธุรกรรมเฉพาะที่กำหนดจะนับเฉพาะการฝากหรือรับโอนเงินเฉพาะขารับรวมกันทุกบัญชีใน 1 ปี ไม่รวมการโอนออกหรือถอนออก และไม่นับบัญชีต่างธนาคารกัน เช่น หากเปิดบัญชีธนาคาร A 5 บัญชี และธนาคาร B อีก 3 บัญชี แต่ละธนาคารก็จะนับเฉพาะยอดฝากหรือโอนเงินของธนาคารตัวเอง ไม่ไปนับยอดจากบัญชีอีกธนาคารหนึ่ง


หากบัญชีของธนาคารไหนมีเงื่อนไขตรงตามที่กรมสรรพากรกำหนด ก็จะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ซึ่งถ้าเจ้าของบัญชียังเสียภาษีไม่ถูกต้อง ก็มีหน้าที่ต้องมาเสียภาษีให้ถูกต้อง



คนค้าขายออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างไรกับ ภาษีอีเพย์เมนต์


ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทุกคนมีหน้าที่ในการเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งกฎหมาย ภาษีอีเพย์เมนต์ ไม่ได้ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเพิ่มขึ้น


แต่เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐจะใช้ในการตรวจสอบข้อมูล ดังนั้นผู้ที่มีบัญชีตรง หรือไม่ตรงเงื่อนไข ก็ยังคงต้องเสียภาษีประจำปี และอาจจะมีการตรวจสอบข้อมูลในทางอื่นๆ


ส่วนใครที่ยังไม่เคยเริ่มเสียภาษีอะไรใดๆ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ก็ต้องลองเริ่มจากการหัดทำบัญชีก่อน


  • เก็บหลักฐานทุกเม็ด เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน จะเล็กจะน้อย หรือมากแค่ไหน อย่าละเลย เก็บให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ เพราะต้องใช้ในเวลาที่จะยื่นแบบภาษี
  • ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับภาษีให้ดีๆ คนทำธุรกิจมีหน้าที่ที่จะต้องรู้ว่า ประเภทธุรกิจที่ทำอยู่มีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง เช่น เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ ฯลฯ หากเพิ่งเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ก็คอยเก็บเอกสารไว้ หรือหาโปรแกรมบัญชีฟรี ช่วยบันทึกเอกสารไปก่อน แล้วรวบรวมไปขอคำปรึกษาการทำบัญชีและเสียภาษีกับสำนักงานบัญชี หรือพนักงานบัญชีอิสระที่คุณรู้จักอยู่
  • ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายไว้ไม่เสียหาย ทำไว้ก่อนอุ่นใจดี ทำให้ละเอียดเท่าไหร่ยิ่งดี ถ้ายังทำไม่เป็น ลองเริ่มต้นหัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายผ่านโปรแกรมบัญชี FlowAccount ที่ช่วยบันทึกค่าใช้จ่าย และแสดงรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือนให้ดูได้อย่างง่ายๆ

สถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์จะเริ่มมีการเก็บข้อมูลบัญชีตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป เพื่อรายงานแก่กรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคม ปี 2563 นี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการจัดเก็บภาษีตามลักษณะการทำธุรกรรมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน และมีการติดตามข้อมูลในการจัดเก็บภาษีอากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูล
– http://www.rd.go.th
– https://voicetv.co.th


แม้จะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียวก็สามารถทำงานใหญ่ได้ด้วยโปรแกรมบัญชี คลาวด์ ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลจากในเว็บไซต์ และมือถือ ให้คุณสามารถเปิดบิลได้ครบ และบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่างที่อยู่นอกออฟฟิศได้เลย 

  • เมนูเอกสารขาย-ซื้อ

การทำเอกสารก็คือการทำบัญชีเบื้องต้น ซึ่งเรามีเอกสารที่ครอบคลุม ช่วยให้คุณเปิดเอกสารซื้อขายได้อย่างมืออาชีพ เพียงทำตามขั้นตอนง่ายๆ ในระบบบัญชี


  • เมนูค่าใช้จ่าย

อยู่ที่ไหนก็บริหารค่าใช้จ่ายธุรกิจง่ายๆ ด้วยการถ่ายรูปบิลอัพโหลดลงโปรแกรมบัญชี ออนไลน์ ช่วยแยกค่าใช้จ่ายให้เป็นหมวดหมู่ ทำให้คุมค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น


เพียงเท่านี้ก็มั่นใจได้แล้วว่า การบันทึกบัญชีมีความถูกต้องครบถ้วน ไม่เปิดช่องโหว่ให้ต้องแก้ไข หรือหาหลักฐานมาประกอบเมื่อเวลาผ่านไป

เงินเข้าบัญชีกี่บาทถึงโดนตรวจสอบ

อ่านสั้นๆ : กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ เริ่มบังคับใช้แล้ว มีผลให้สถาบันทางการเงินต้องรายงานข้อมูลบุคคลที่มีธุรกรรมเฉพาะให้แก่กรมสรรพากร โดยบัญชีจะต้องมีเงื่อนไขคือ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป หรือมียอดฝากหรือโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป

เงินเข้าบัญชีเท่าไรต้องเสียภาษี

1. ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร (แยกแต่ละธนาคารนะคะ แต่รวมทุกบัญชีในธนาคารเดียวกันค่ะ) 2. ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 400 ครั้งต่อปีต่อธนาคารและมียอดเงินรวมตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป

ยื่นภาษีเงินเข้าตอนไหน

โดยกรมสรรพากรจะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบพิจารณาและคืนภาษีภายใน 3 เดือน หากการยื่นแบบฯ ภาษีนั้นมีเอกสารชัดเจนว่าได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำ หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี หรือแบบ ค.10.

สรรพากรสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้กี่ปี

อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากร จะมีสิทธิตรวจสอบภาษีย้อนหลังได้ 2 ปี และถ้าพบความผิดปกติ หรือ เข้าข่ายว่าจะเลี่ยงภาษีมีสิทธิตรวจสอบย้อนหลังได้ 5 ปี และกรณีที่ผู้เสียภาษีเคยยื่นแบบภาษีจะสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 10 ปี นอกจากนี้ กรมสรรพากร มีสิทธิเรียกดู รายการเดินบัญชี (Statement) ได้