ภาษามีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร

   ความสำคัญของภาษา

      วัฒนธรรมไทยมีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของตน การที่วัฒนธรรมไทยจะสืบทอดลักษณะ และรายละเอียดทั้ง มวล จาก อดีต มาถึงปัจจุบันและจากปัจจุบันที่จะสืบทอดต่อไปในอนาคตได้นั้น ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือทั้งโดยการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  และการเล่าจดจำสืบกันต่อมาจึงมีคำกล่าวว่า   ภาษาไทยจึงเป็นหัวใจของวัฒนธรรม ถ้าปราศจากจากหัวใจคือภาษาเสียแล้ว วัฒนธรรมก็สืบทอดไม่ได้และต้องสูญหายไปโดยเร็วขณะที่ภาษาไทยทำหน้าที่สืบทอดวัฒนธรรมไทยนั้น  ภาษาไทยยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่เป็นเครื่องสื่อความหมายทางวัฒนธรรมด้วย

    ความสำคัญของภาษา ภาษามีประโยชน์มากมาย ได้แก่ ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาช่วยกำหนดอนาคต ภาษาช่วยจรรโลงใจ 

  .ภาษาช่วยธำรงสังคม

สังคมจะธำรงอยู่ได้มนุษย์ต้องมีไมตรีต่อกัน ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยของสังคมและประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยภาษา คือ

– ภาษาใช้แสดงไมตรีจิตต่อกัน เช่น การทักทายปราศรัยกัน

– ภาษาใช้แสดงกฎเกณฑ์ของสังคมว่าคนในสังคมควรปฏิบัติตนอย่างไร เช่น ศีล ๕ เป็นแนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน

– ภาษาใช้แสดงความสัมพันธ์ของบุคคล แต่ละบุคคลมีฐานะ บทบาท และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นต่างๆ กันไป การใช้ภาษาจึงแสดงฐานะและบทบาทในสังคมด้วย  

. การแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล

ภาษามีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร

ปัจเจกบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคล บุคคลแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป ภาษาจะช่วยสะท้อนลักษณะดังกล่าวของบุคคล ทำให้ทราบถึงอุปนิสัย อารมณ์ รสนิยม ตลอดจนความคิดต่างๆ แต่ละบุคคลจะมีวิธีพูด หรือการใช้ภาษาแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของตน เช่น ถ้าเราอ่านเรื่องของนักเขียนคนนั้นหลายๆ เรื่องก็จะทราบว่านักเขียนคนนั้นชอบหรือไม่ชอบอะไร

.ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา

มนุษย์อาศัยภาษาถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ต่อๆ กันมา ทำให้ความรู้แพร่ขยายมากยิ่งขึ้น มนุษย์ไม่ต้องเสียเวลาเรื่องทุกเรื่องใหม่ แต่สามารถพัฒนาค้นคว้าต่อให้เจริญก้าวหน้าต่อไป    บางครั้งเมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้ภาษาอภิปรายโต้แย้งกัน ทำให้ความรู้ความคิดเจริญงอกงามยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาษาเขียนจะช่วยบันทึกเรื่องราวความรู้ต่างๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป

.ภาษาช่วยกำหนดอนาคต

มนุษย์อาศัยภาษาช่วยกำหนดอนาคตในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำแผน ทำโครงการ คำสั่ง สัญญา คำพิพากษา กำหนดการ คำพยากรณ์ ซึ่งจะเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป ในบางกรณีสิ่งที่กำหนดล่วงหน้าไว้นี้อาจไม่เป็นไปตามนั้นก็ได้ เพราะอนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน

. ภาษาช่วยจรรโลงใจ  

การจรรโลงใจ คือ ค้ำจุนจิตใจให้มั่นคง ไม่ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำ โดยปกติมนุษย์ต้อง

การได้รับความจรรโลงใจอยู่เสมอ มนุษย์จึงอาศัยภาษาช่วยให้ความชื่นบาน ให้ความเพลิดเพลิน เช่น บทเพลง นิทาน คำอวยพร ฯลฯ ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยดี        ภาษามีความสำคัญสำหรับมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลต่อมนุษย์ด้วย ทั้งนี้ เพราะมนุษย์ไม่ได้คิดว่าภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเท่านั้น เช่น การตั้งชื่อก็จะหลีกเลี่ยงคำที่มีเสียงคล้ายคลึงกับสิ่งไม่ดี สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือมีความหมายไม่เป็นมงคล หรือการถูกนินทาก็จะเสียใจ ได้รับคำชมก็ดีใจ ดังกล่าวนี้ในบางครั้งมนุษย์ก็ยึดมั่นกับตัวอักษรโดยไม่พิจารณาเหตุผล   การที่ภาษาช่วยจรรโลงจิตใจของมนุษย์จะช่วยให้สังคมอยู่ได้ด้วยดี ทำให้โลกสดชื่นเบิกบาน ช่วยคลายเครียด

เมื่อพูดถึงอิทธิพลของภาษาที่มีต่อความคิดของคนเรา หลายท่านคงจะพอทราบว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับทฤษฎี ทฤษฎีหนึ่งที่เรียกกันว่า “Sapir-Whorf Hypothesis” ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ในยุโรป แต่มาเป็นทีรู้จักกันอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 20 ในอเมริกา โดยเริ่มจาก Sapir (1884-1939) นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันได้เสนอความคิดว่า ภาษาเป็นตัวชี้นำความคิดของคนเรา ตนเราไม่ได้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้อย่างอิสรเสรี แต่เรามีชีวิตอยู่ ภายใต้อิทธิพลของภาษากับสังคม เมื่อภาษาเป็นลักษณะใด โลกของคนก็จะเป็นไปตามนั้น ดังนั้น เมื่อ 2 ภาษา ต่างกัน โลกของ 2 คน จะเป็นคนละใบกัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเราจะเห็นหรือได้ยินเป็นอย่างไร ก็จะเป็นไปตามที่ภาษาได้กำหนดทางเลือกไว้ให้กับเรา โดย Sapir บอกว่า “We see and hear and otherwise experience very largely as we do because the language habits of our community predispose certain choices of interpretation” (Sapir, 1988 : 143-148)

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
    ภาษากับมีอิทธิพลต่อความคิดหรือความคิดควบคุมการใช้ภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่า
แท้จริงแล้วภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของมนุษย์หรือความคิดเป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
อย่างไรก็ตามนักภาษาต่างเห็นตรงกันว่า
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันมิได้
ในระหว่างที่มนุษย์คิดก็ต้องอาศัยภาษาและในขณะที่ใช้ภาษาก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่ไปด้วย
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ

1. ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด
มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน
การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะ
“การที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา
และใช้ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิดให้เป็นระบบระเบียบ” เช่น
การบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องราวของคนรุ่นเก่าได้

2. ภาษาเป็นสิ่งสะท้อนความคิดให้ปรากฏ
ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น
จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร
“ภาษาย่อมเป็นเครื่องสะท้อนความคิดอ่านของคนเรา ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียนเราย่อม

ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อบอกสิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นได้เข้าใจหรือได้รับทราบสิ่งที่ต้องการนี้”
แต่ใน

บางครั้งการใช้ภาษาของมนุษย์ก็อาจไม่ได้สะท้อนความคิดที่แท้จริงออกมาก็ได้
ทั้งนี้เพราะมนุษย์รู้จักปกปิดบิดเบือนความคิดที่แท้จริงของตนเอง

3. ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและความคิดก็มีอิทธิพลต่อภาษา
แม้ว่าภาษาจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่มนุษย์กำหนดขึ้นใช้
แต่ส่วนหนึ่งมนุษย์ก็เข้าใจว่าภาษาคือสิ่งที่แทนนั้น
ทำให้การใช้ภาษามีส่วนช่วยกำหนดความคิดของมนุษย์ได้ด้วย
ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงมีอิทธิพลต่อความคิด เช่น
การตั้งชื่อของคนไทยจะต้องเลือกชื่อที่มีความหมายดีเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในทางตรงข้ามความคิดก็เป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
เมื่อมนุษย์ต้องการถ่ายทอดความต้องการของตนให้ผู้อื่นรับรู้
ก็จะต้องเลือกเฟ้นถ้อยคำที่มีความหมายสื่อความให้ตรงกับความคิดของตน

4. ภาษาช่วยพัฒนาความคิดและความคิดก็ช่วยพัฒนาภาษา
สมรรถภาพในการคิดและสมรรถภาพในการใช้ภาษาของบุคคลจะมีผลต่อเนื่องกันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
ขณะที่มนุษย์คิดนั้นจะต้องอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดและจะต้องเลือกถ้อยคำนำมาเรียบเรียงถ่ายทอด
ซึ่งการทำเช่นนี้ความคิดจะถูกขัดเกลาให้ชัดเจนเหมาะสม
ความคิดก็จะพัฒนายิ่งขึ้นด้วยและขณะที่มีความคิดกว้างไกลก็จะรู้จักใช้ภาษาได้กว้างขวางขึ้น
ความคิดจึงช่วยพัฒนาภาษาเช่นกันเราจะเห็นอย่างชัดเจนว่าภาษาสัมพันธ์กับความคิด

แนวทางปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อช่วยสร้างเสริมความคิด อาจทำได้ดังนี้

1. ใฝ่ใจค้นคว้า ในเวลาที่คิดนั้นปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้น คือ คิดไม่ออก
ไม่รู้จะคิดว่าอย่างไร สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดีพอ
ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความคิดจะต้องเป็นผู้ใฝ่ใจศึกษา ค้นคว้าหาความรู้
เก็บข้อมูลต่างๆ สะสมไว้ในสมอง ความรู้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราว
เกิดความคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ ได้
ซึ่งการค้นคว้าหาความรู้อาจทำได้โดยการฟังหรือการอ่าน

2. หมั่นหาประสบการณ์ ประสบการณ์เป็นวัตถุดิบเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้เกิดความ
คิดการได้สัมผัสกับสภาพความจริงจะช่วยก่อกำเนิดความคิดได้ดี
การมีความรู้คู่ประสบการณ์จะทำให้คิดได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงควรสนใจหมั่นหาประสบการณ์อยู่เสมอเพื่อจะได้รู้จริง
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคิดอย่างมาก

3. มีความสามารถทางภาษา การรู้จักจัดลำดับความคิดให้เป็นระเบียบ
เลือกเฟ้นถ้อยคำที่เหมาะสมถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
ก็จะช่วยพัฒนาความคิดขึ้นโดยลำดับและขณะเดียวกันก็พัฒนาความคิดของผู้รับสารด้วย

4. ใช้ปัญญาสร้างภาพ วิธีที่จะช่วยสร้างความคิดอีกวิธีหนึ่ง คือ
การนึกเห็นภาพในใจก่อนภาพนี้ไม่ใช่ภาพประเภทเพ้อฝันไร้สาระ
แต่เป็นภาพที่ใช้ข้อมูลมาประกอบการสร้างความคิดจะทำให้สายตากว้างไกล
การสร้างภาพจะช่วยทำให้ความคิดแจ่มแจ้งชัดเจน เช่น
ในการแก้ไขปัญหาถ้าสร้างภาพนึกเห็นไว้ก่อนว่าสถานการณ์อย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร
วิธีใด ความคิดก็จะบังเกิดควบคู่ไปกับการเห็นภาพ

ภาษามีอิทธิพลอย่างไรบ้าง

1. ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาใช้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สังคมธำรงอยู่ได้ 2. ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล การใช้สำนวนภาษาของแต่ละคนแสดงถึงลักษณะเฉพาะตน 3. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความคิด ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ 4. ภาษาช่วยกำหนดเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ภาษามีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

1.มนุษย์สามารถใช้ภาษาในการติดต่อทำความเข้าใจกันได้ กล่าวคือ สามารถใช้ภาษาแสดงความต้องการทางร่างกายและจิตใจด้วย 2. มนุษย์ใช้ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต 3. ภาษาเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน โดยเน้นการฝึกฝนที่ถูกวิธีเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในประจำวัน

ภาษา คือ อะไร และมีความสําคัญ อย่างไร

ภาษามีความส าคัญในฐานะเครื่องมือถ่ายทอดความคิดของมนุษย์อันสร้างประโยชน์ในแง่การบันทึก ความรู้ของแต่ละช่วงสมัยจนกลายเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสังคม ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็น ความส าคัญของภาษาประเด็นนี้ คือ การจารึกประวัติความเป็นมาของแต่ละชนชาติ โดยประเทศไทย ยกย่องให้จารึกพ่อขุนรามค าแหงเป็นต้นแบบแรกของการบันทึก ...

ภาษาแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของสังคมอย่างไร

3. ภาษาเป็นภาพสะท้อนความเจริญทางสังคม ภาษาประจำชาติที่ใช้สืบต่อถ่ายทอดกันมานั้นจะผูกพันกับสังคมของผู้ใช้ภาษาอย่างใกล้ชิด คำศัพท์ที่มีในภาษาจะแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ อาหารการกิน ความเชื่อ ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ของสังคมนั้น ความเจริญก้าวหน้าของสังคมย่อมมีผลต่อภาษาด้วย ดังนั้นภาษาจึงเป็นหลักฐานแสดงอารยะธรรมต่าง ๆ ของ ...