การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

จากสถิติข้อมูลในปี 2019 จำนวนประชากรโลก 7,713 ล้านคน พบว่า ประชากรในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงถึง 1,016 ล้านคน ซึ่งองค์การสหประชาชาติยังได้คาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มสัดส่วนขึ้นถึง 1 ใน 5 ของประชากรโลก

สำหรับประเทศไทยบ้านเราช่วงปี 2562 มีอัตราจำนวนเกิดลดต่ำลงเหลือเพียง 6.1 แสนคน ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1.3 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรหันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มคนในวัยนี้ให้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” โดยจะมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2576 จะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตราร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจะสร้างผลกระทบในระดับบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยแรงงานที่มีภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทุกวันนี้ประเทศไทยเรามีสัดส่วนของ กำลังแรงงาน : ผู้สูงอายุ : เด็ก อยู่ที่ 4 : 1 : 1 คาดว่าในปี 2579 จะปรับลงไปอยู่ที่ 2 : 1 : 1 และยังกระทบในเรื่องผู้สูงอายุที่มีสภาวะขาดเงินออม ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย

สำหรับปัญหาในระดับประเทศ จะทำให้ประชากรวัยแรงงานมีแรงกดดันด้านการสร้างผลิตภาพให้ประเทศมากขึ้น ประเทศจะขาดแคลนแรงงาน รวมไปถึงทำให้เกิดวิกฤติการคลัง จากภาระรัฐบาลด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ และการเก็บภาษีที่ลดลงด้วยดังนั้น เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะสังคมสูงวัย จึงควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยจากแนวคิดพฤฒพลัง (Active Ageing) องค์การอนามัยโลก ได้อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการเป็น Active Ageing 3 ประการ คือ การมีสุขภาพดี มีหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต รวมถึงมีส่วนร่วมและมีคุณค่าทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ (Productive Ageing) ยังคงมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางรายได้ และสามารถแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงานของประเทศ และลดภาระพึ่งพิงสวัสดิการจากภาครัฐได้

ปัจจุบันประเทศไทยก็มีนโยบายและมาตรการส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุเช่นกัน โดยกระทรวงแรงงานได้จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับสถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จะต้องให้ค่าตอบแทนขั้นต่ำ 45 บาทต่อชั่วโมง ระยะเวลาการทำงานต่อวันไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และลักษณะงานต้องปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับสถานประกอบการที่มีค่าใช้จ่ายจ้างงานผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และในส่วนของบริษัทเอกชนที่มีนโยบายจ้างงานผู้สูงอายุจะต้องปรับเปลี่ยนลักษณะงาน และระยะเวลาการทำงานให้เหมาะสม

สำหรับการดำเนินการของ สอวช. เกี่ยวกับประเด็น “สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด” อยู่ระหว่างศึกษารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มลักษณะอาชีพในอนาคตที่เป็นโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ โดยวิเคราะห์ร่วมกับบริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และมุ่งเน้นไปที่อาชีพที่เป็นการทำงานนอกระบบที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ในแต่ละกลุ่มที่มีระดับทักษะและบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปสู่การใช้ศักยภาพของการอุดมศึกษา เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อเตรียมพร้อมด้านทักษะ และความรู้สำหรับการทำงานให้กับผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุ รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และกลไกการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดสังคมที่อยู่ร่วมกับความแตกต่างในช่วงวัยได้อย่างมีความสุข

รู้แบบนี้…ก็ถึงเวลาถามตัวเองแล้วว่า ทุกวันนี้คุณมีแผนสำหรับการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้วหรือยัง?

ขอบคุณข้อมูลจาก :

-รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2562 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)

-ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

-WHO (2002) Active Ageing, A Policy Framework. Geneva, World Health Organization.

-ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขอความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำ

-ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 290) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไป

เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร

จากข้อมูลของ United Nation World Population Ageing พบว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยระบุว่าประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนเกิน 10% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและจะเป็นสังคมผู้อายุเต็มรูปแบบ เมื่อสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็น 20%

โดยตัวเลขของประเทศไทย คาดการณ์ว่าในปี 2564 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เพราะประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเกิน 20% ของประชากรทั้งประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและด้านการแพทย์ที่ช่วยให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง

เมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้นทำให้ปัจจัยการผลิตทางด้านแรงงานลดลง เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวมากขึ้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือรายได้ประชาชาติน้อยลง หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ


อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รายงานว่าคนมักเข้าใจผิดว่าสังคมสูงอายุทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยตัวอย่างที่มักหยิบยกขึ้นมา คือ กรณีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในช่วงหลังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำมาก ประมาณ 1 – 2% แต่แท้จริงแล้วการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลงของญี่ปุ่น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเกิดวิกฤติฟองสบู่ในปี 2533 ตามมาด้วยการเกิดวิกฤติการเงินเอเชียในปี 2540 และวิกฤติการเงินโลกในปี 2552 รวมทั้งการดำเนินนโยบายการเงินที่ผิดพลาดของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าสังคมสูงอายุจะต้องนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับต่ำเสมอไป


กระนั้นก็ดี หากพิจารณาตลาดหุ้นซึ่งเป็นตัวสะท้อนภาวะเศรษฐกิจมักจะได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยดัชนีตลาดหุ้นนิเกอิ เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 20,000 จุด มากว่า 10 ปีที่ผ่านมา และไม่เคยขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุดที่เคยทำไว้ที่ระดับ 38,000 จุด เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ดังนั้น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่าเมื่อประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะทำให้ตลาดหุ้นไทยได้รับความน่าสนใจลดลงมากน้อยแค่ไหน

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

สำหรับตลาดหุ้นไทย  หากวิเคราะห์ดูแล้ว เมื่อเดือนมกราคม ปี 2561 ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้นสู่ระดับ 1,838 จุด ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เปิดซื้อขายครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ปี 2518 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นตลาดหุ้นไทยปรับลดลงและเคลื่อนไหวในรูปแบบ Sideway ระดับ 1,600 – 1,700 จุด โดยปัจจัยสำคัญมาจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ความไม่แน่นอนของการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ขณะเดียวกันธนาคารกลางทั่วโลกได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง และมีแนวโน้มว่าจะปรับลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงพร้อมๆ กัน


จากปัจจัยเชิงลบดังกล่าว ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง เนื่องจากภาคการส่งออกปรับลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่า จึงส่งผลต่อบริษัทส่งออก ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมปรับลดลง ขณะเดียวกันเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) ไหลออกอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากนักลงทุนลดน้ำหนักการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงของตลาด (Market Risk) ที่เพิ่มสูงขึ้น


อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในระยะสั้น เพราะหากสงครามการค้ายุติ Brexit มีความชัดเจน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลดลง จะทำให้เศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัวในระดับที่ดี ผลที่ตามมา คือ ภาคการส่งออกของไทยฟื้นตัว บริษัทจดทะเบียนกลับมาสร้างผลกำไร ก็ทำให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง  


โดยผลกระทบของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกับการลงทุนและการออม มีแนวโน้มที่จะลดลงเนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะใช้จ่ายจากเงินออมสะสมของตัวเอง ประกอบกับค่าใช้จ่ายจากการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้เงินออมลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความระมัดระวังในการนำเงินไปลงทุนมากขึ้น แปลว่า จะเน้นการออมกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อรักษาเงินต้น เช่น ฝากออมทรัพย์ ซื้อพันธบัตรรัฐบาล

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนให้มีระบบการออมเพื่อการเกษียณทั้งแบบภาคบังคับ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และแบบสมัครใจ เช่น กองทุนการออมแห่งชาติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม RMF การประกันชีวิตแบบเงินได้ประจำ


โดยระบบการออมเหล่านี้ จะนำเงินสมาชิกหรือเงินของผู้ลงทุนไปลงทุนตามนโยบายที่แต่ละกองทุนได้ประกาศเอาไว้ และหนึ่งในนั้นก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ดังนั้น ถึงแม้ว่าผู้ลงทุนจะไม่ได้ลงทุนหุ้นโดยตรง แต่ก็ลงทุนทางอ้อมผ่านกองทุนเหล่านี้ จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ได้รับผลกระทบมากนักเมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ


ขณะเดียวกัน ด้วยทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำอาจทำให้ผู้สูงวัยบางส่วนที่ออมเงินผ่านสินทรัพย์เสี่ยงต่ำซึ่งให้ผลตอบแทนต่ำ ตัดสินใจแบ่งเงินบางส่วนเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น โดยเน้นลงทุนหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้น ประกอบกับปัจจุบันทุกภาคส่วนในตลาดทุนมีบทบาทมากขึ้นในการเพิ่มระดับการออมเพื่อวัยเกษียณ รวมถึงการมีผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุนที่ตอบโจทย์การออมในระยะยาว ก็ถือเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนผ่านตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง


ดังนั้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ปัจจุบันก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะส่งผลกระทบทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจลดลงหรือตกต่ำ เนื่องจากจำนวนนักลงทุนในวัยแรงงานลดน้อยลง เพราะปัจจุบันยังมีปัจจัยบวกอื่นๆ ที่สนับสนุนให้ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจต่อไป

สังคมผู้สูงอายุส่งผลอย่างไร

ผลกระทบทางด้านสังคม การที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะต้องทำงานมากขึ้นและต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจทำให้ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่นหรืออาจถูกทอดทิ้งได้

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรโลกมีลักษณะอย่างไรและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไร

แนวโน้มสังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั่วโลกโดยเริ่มจากประเทศที่พัฒนาแล้วมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีและตามมาด้วยประเทศกำลังพัฒนา เมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้นทำให้ปัจจัยการผลิตทางด้านแรงงานลดลงการออมลดลง รัฐบาลจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเพื่อดูแลและปฐมพยาบาลผู้ ...

เพราะเหตุใดในอนาคต ประเทศไทยจึงจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

"เพื่อให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัยในประเทศ เพราะการเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องของความมั่นคงทางการเงิน และสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หากทำให้คนในประเทศเห็นความสำคัญของการดูแลตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ตั้งแต่ปัจจุบัน เราจะเป็นประเทศที่อยู่ในสังคมผู้สูงวัยอย่าง ...

ปัจจัยสําคัญที่ทําให้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคืออะไร

สำหรับสาเหตุที่ทำให้มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเจริญก้าวหน้าทำให้สามารถเพิ่มสวัสดิการแก่ประชาชนได้มากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข อนามัยโรงพยาบาลและการคมนาคมขนส่งได้อย่างทั่วถึง ขณะที่ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีการบริโภคที่ถูกหลักโภชนาการ มีการศึกษารู้จักดูแล ...